ขลู่มีสรรพคุณอย่างไรบ้าง


ชื่ออื่น ขลู (ภาคใต้) หนวดงั่ว หนวดงิ้ว หนาดงัว หนาดวัว (อุดรธานี) หล่วงไซ (แต้จิ๋ว) หลวนซี (จีนกลาง) Indian Marsh Fleabane
ชื่อวิทยาศาสตร์ pluchea indica (L.) Less    วงศ์ Compositae
(Baccharis indica L.)
ลักษณะต้น เป็นไม้พุ่มเล็กๆ จำพวกวัชพืช มีกิ่งก้านสาขามาก สูง ประมาณ 1 เมตร เปลือกต้นมีขนเล็กๆ ปกคลุม ใบกลมโตขนาดใบพุทรา ปลายใบมน ขอบใบมีรอยหยักแบบฟันเลื่อย ช่อดอกฝอยเป็นพุ่มคล้ายดอกสาบเสือ ช่อดอกยาว 5-10 ซม. มีขนเล็กน้อย ดอกสีม่วงอ่อน มักขึ้นตามริมน้ำ ที่รกร้าง และที่ชื้นแฉะทั่วๆ ไป
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น เปลือกต้น ใบ ราก
สรรพคุณ
ทั้งต้น แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง เป็นยาช่วยย่อย และขับปัสสาวะ
เปลือกต้น แก้ริดสีดวงทวาร
ใบ มีกลิ่นหอม ต้มน้ำดื่มแทนชาเพื่อลดน้ำหนัก แก้ปวดเมื่อย ขับระดูขาว แก้แผลอักเสบ และต้มน้ำอาบบำรุงประสาท
ใบและราก ฝาดสมาน แก้บิด แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้แผลอักเสบ
ตำรับยาและวิธีใช้
1. ยาช่วยย่อย ใช้ใบสดจำนวนพอควรตำละเอียดผสมแป้งข้าวเจ้า และน้ำตาล (ชนิดใดกได้) ทำเป็นขนมนึ่งกิน
2. ริดสีดวงทวาร ใช้เปลือกต้น (ขูดเอาขนออก) แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 นำมาตากแห้งทำเป็นยาสูบ ส่วนที่ 2 ต้มน้ำกิน และส่วนที่ 3 ต้มน้ำเอาไอรมทวารหนัก
3. แผลอักเสบ ใช้ใบหรือรากสดตำพอกบริเวณที่เป็น
สารเคมีที่พบ
ทั้งต้น มี chlorogenic acid และ sesquiterpene
ใบ มีโปรตีน 2.9%
ที่มา:สำลี  ใจดี, สุนทรี  วิทยานารถไพศาล, รพีพล  ภโววาท, จิราพร  ลิ้มปานานนท์, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, วิทิต  วัณนาวิบูล