ซุปไก่สกัด


จากตำนานความเชื่อมานานนับร้อยปีถึงคุณค่าบำรุงของซุปไก่ซึ่งนับเป็นหนึ่งในอาหารบำรุงชั้นยอดของชาวจีน จนกระทั่งเมื่อวิทยาการเจริญก้าวหน้าจึงได้มีการวิเคราะห์ทางโภชนาการของซุปไก่สกัด ก็พบว่ามีคุณค่าบำรุงเหมาะสำหรับจะเป็นอาหารเสริมสุขภาพของร่างกาย ทำให้เกิดวิวัฒนาการผลิตซุปไก่สกัดในรูปของอุตสาหกรรม ซึ่งจากบันทึกทางประวัติศาสตร์เท่าที่พบนั้น ชาติแรกที่เริ่มทำซุปไก่สกัดในรูปของอุตสาหกรรม ซึ่งจากบันทึกทางประวัติศาสตร์เท่าที่พบนั้น ชาติแรกที่เริ่มทำซุปไก่สกัดในรูปของอุตสาหกรรมออกวางจำหน่ายคือ อังกฤษ หลังจากนั้นซุปไก่สกัดก็เริ่มแพร่ความนิยมอย่างรวดเร็วทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีนซึ่งคุ้นเคยกับรสชาติของซุปไก่อยู่แล้ว ดังนั้น ในปัจจุบันซุปไก่สกัดจึงจัดเป็นอาหารเสริมสุขภาพที่ได้รับความนิยมมากประเภทหนึ่ง ซึ่งสำหรับประเทศไทยตลาดซุปไก่สกัดกำลังขยายตัวทั้งตลาดภายในประเทศและตลาตต่างประเทศ
วัตถุดิบในการผลิต
ในการผลิตซุปไก่สกัดนั้น วัตถุดิบที่สำคัญก็คือ ไก่ซึ่งส่วนใหญ่ไก่ที่ใช้ก็คือ ไก่ทระทง ซึ่งมีการเลี้ยงเป็นแบบอุตสาหกรรมภายในประเทศ นอกจากนี้บางบริษัท ก็ใช้ไก่ดำซึ่งก็มีการส่งเสริมการเลี้ยงภายในประเทศ แม้ว่าการเลี้ยงจะไม่แพร่หลายเหมือนกับการเลี้ยงไก่กระทงก็ตาม และบางบริษัทก็นำเข้าซุปนกเป็ดนํ้าซึ่งถือเป็นอาหาร บำรุงชั้นยอดประเภทหนึ่ง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะไก่ดำและนกเป็ดนํ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคยเช่นเดียวกับไก่กระทงที่ในปัจจุบันกลายเป็นอาหารประจำวันแทบจะทุกครัวเรือน
ไก่ดำ ไก่ดำพันธุ์แท้นั้นจะต้องมีลักษณะที่สำคัญ คือ จะต้องดำทั้งตัว ทั้งภายนอกและข้างใน อย่างไรก็ตาม สำหรับขนแม้ว่าจะมีสีขาวหรือสีนํ้าตาลแซมบ้างก็ไม่ถือว่าผิดลักษณะ ไก่ดำหรือที่ชาวจีนเรียกว่า โอกุโกย ซึ่งชาวจีนสมัยก่อนนิยมเลี้ยงไว้สำหรับใช้ตุ๋นกับเครื่องยาจีนเพื่อให้สตรีหลังคลอดบุตรกินเพื่อบำรุงร่างกาย นอกจากนี้ยังใช้ตุ๋นเพื่อบำรุงร่างกายให้กระชุ่มกระชวยแข็งแรงและกระปรี้กระเปร่า รวมทั้งปรุงแต่งกับเครื่องยาสมุนไพรเป็นทั้งอาหารและยาบำรุงกำลังสำหรับคนในราชสำนักของจีนในสมัยโบราณ
ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของไก่ดำอยู่ทางตอนเหนือของมองโกเลีย ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในเขตยึดครองของรัสเซีย ไก่ดำเป็นไก่ป่าหรือไก่ภูเขา ส่วนใหญ่ชาวเขาเผ่าต่างๆ นิยมเลี้ยงไว้กินเป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่แข็งแรง ทรหดอดทน มีความต้านทานโรคสูงกว่าไก่บ้าน ซึ่งชาวเขามีความเชื่อว่าสัตว์อะไรก็ตามที่มีความแข็งแรง ถ้าคนได้กินเข้าไปก็จะเกิดพลังแข็งแกร่งเช่นเดียวกับสัตว์ชนิดนั้น
ไก่ดำเป็นที่นิยมของชาวจีนตั้งแต่โบราณ ดังนั้นจึงน่าจะเชื่อถือได้ว่าไก่ดำจะ มีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารต่อร่างกายของมนุษย์ หลักฐานการใช้ไก่ดำเป็นอาหารบำรุงก็คือ โรงพยาบาลชั้น 1 ในสมัยราชวงศ์ถัง ใช้ไก่ดำเป็นเครื่องยาจีนรักษาคนไข้ที่เป็นเชื้อพระวงศ์โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าตำรายาสมุนไพรจีนโบราณหลายชนิดใช้ไก่ดำเป็นส่วนผสมสำหรับรักษาคนไข้ และปัจจุบันโรงพยาบาลในเมืองใหญ่ๆ ได้ประดิษฐ์หม้อตุ๋นขนาดใหญ่แบบใหม่สำหรับตุ๋นไก่ดำกับเครื่องยาจีนเพื่อทำนํ้าซุปให้คนไข้กินจะได้ฟื้นไข้หายเร็วขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังมีโรงงานทำยาเม็ดโดยการนำเอาสมุนไพรจีนและนํ้าซุปไก่ดำมาผสมให้เข้ากัน ทำให้เป็นผงและอัดเป็นเม็ด
สำหรับประเทศไทย ไก่ดำเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเมื่อผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันนำไก่เนื้อกระดูกดำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระราชทานให้โครงการหลวงเกษตรที่สูงนำไปเลี้ยงที่ดอยอ่างขางเพื่อขยายพันธุ์ให้ชาวเขาต่อไปและเมื่อครั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายไก่เนื้อกระดูกดำอีกสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งก็ประทานให้โครงการหลวงเกษตรที่สูงไปเลี้ยงอีกเช่นกัน ปัจจุบันสายพันธุ์ไก่ดำจากสาธารณรัฐประซาชนจีนเป็นไก่เนื้อพันธุ์แท้ (เรียกกันว่า พันธุ์ไท้ปั้ว กังไส หรือซิลกี้) ส่วนสายพันธุ์จากไต้หวันเป็นลูกผสมที่คงลักษณะเนื้อและกระดูกดำไว้ เรียกกันว่า ไก่เนื้อดำไต้หวัน
ในด้านการเพาะเลี้ยงไก่ดำในลักษณะเป็นฟาร์มเพื่อการค้าในประเทศไทยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2522 ซึ่งบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่นำพันธุ์ไก่ดำมาเพาะเลี้ยง เพาะพันธุ์ ขายเนื้อ และแบ่งกระจายพันธุ์ให้กับเกษตรกรรายอี่นๆ เลี้ยงด้วย คือ คุณคเชนทร์ ภูตินาค ซึ่งไก่ดำที่นำเข้าเป็นไก่ดำพันธุ์มองโกล หลังอาน มีขนและเนื้อสีดำ กล่าวกันว่าไก่พันธุ์มองโกลนี้มีเนื้อแน่นและคุณค่าทางอาหารสูงสุด หลังจากคุณคเชนทร์ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงไก่ดำในประเทศไทย ก็มีพ่อค้าอีกกลุ่มหนึ่งได้เดินทางไปไต้หวันและญี่ปุ่น พร้อมกับได้นำเอาพันธุ์ไก่ดำพันธุ์ไต้หวันและญี่ปุ่นกลับมาทดลองเลี้ยง การทดลองเพาะพันธุ์ไก่ดำเพื่อการค้าและการผลิตอุตสาหกรรมประเภทสำเร็จรูป พัฒนาไปจนถึงขั้นสามารถนำเอาพันธุ์มองโกลมาผสมกับพันธุ์ญี่ปุ่นและไต้หวัน ซึ่งลูกพันธุ์ผสมที่ออกมาจะเลี้ยงง่ายกว่าและโตเร็วกว่า ทำให้ประหยัดต้นทุนการเลี้ยงไปได้มาก แม้เนื้อไก่จะไม่ดำสนิทเหมือนพันธุ์แท้ก็ตาม แต่ทว่าเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร นอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วยังสามารถจำหน่ายได้ในราคาถูกกว่าด้วย นอกจากนี้ อาหารโดยทั่วไปไก่ดำจะกินใบกระถินเป็นหลัก แต่ไก่ดำพันธุ์ใหม่สามารถจะกินอาหารได้เหมือนไก่ธรรมดาๆ จนเป็นเหตุให้มีข้อถกเถียงในปัจจุบันว่าระหว่างไก่ดำพันธุ์แท้กับไก่ดำพันธุ์ผสมนั้นพันธุ์ใดมีคุณค่าทางอาหารมากกว่ากัน
ข้อดีของไก่ดำเมื่อเปรียบเทียบกับไก่รุ่นพันธุ์เนื้อโดยทั่วไป ได้แก่
– มีความต้านทานต่อโรคทั่วๆ ไปดีกว่าไก่เนื้อมาก
-สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและดินฟ้าอากาศเมืองไทยได้เป็นอย่างดี
-ในสภาวะอากาศร้อนอัตราการไข่ก็ไม่ลดลง
-เฉลี่ยอัตราการไข่ต่อตัวต่อปีประมาณ 180-200 ฟอง ซึ่งสูงกว่าไก่อูหรือไก่ไทยซึ่งเป็นไก่พื้นบ้านที่มีอัตราไข่ต่อตัวต่อปีประมาณ 169-195 ฟอง
-ในอายุแรกเกิดจนถึงอายุ 6 สัปดาห์ อัตราของการตายประมาณร้อยละ 3-4 และหลังอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป อัตราการตายลดลงเหลือร้อยละ 2 เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ถ้าจะเลี้ยงไก่ดำ ปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึง คือ จะต้องมั่นใจว่าไก่ดำพ่อแม่พันธุ์ที่นำมาเริ่มต้นขยายพันธุ์เป็นไก่ดำพันธุ์แท้ เนื่องจากราคาพ่อแม่พันธุ์จะสูงมากแล้ว ต้นทุนการเลี้ยงรวมทั้งค่าพันธุ์ประมาณ 34-36 บาท/ กิโลกรัม ลูกไก่รุ่นถัดไปที่จะเลี้ยงออกจำหน่ายควรเป็นพันธุ์แท้ด้วย จะทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อถือ การ จำหน่ายย่อมจะได้ราคาดีไปด้วย ปกติราคาจำหน่ายประมาณ 150-200 บาท/กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นไก่พันธุ์ไม่แท้ผู้เลี้ยงจะเสียทั้งเวลาและเงินทุนในการเลี้ยง
จากความเชื่อถือว่าเมื่อได้บริโภคเนื้อของไก่ดำแล้วจะทำไห้สุขภาพอนามัยสมบูรณ์และมีกำลังวังชา รวมทั้งยังมีสรรพคุณรักษาโรคบางโรคได้อีกด้วย และเมื่อนำเนื้อไก่ดำตุ๋นกับเครื่องยาจีนแล้วจะทำให้ร่างกายมีพลานามัยดี รักษาร่างกายที่ทรุดโทรมให้ดีขึ้น จนกระทั่งเมื่อได้มีการใช้วิทยาการสมัยใหม่วิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของไก่เนื้อ กระดูกดำเทียบกับไก่กระทงและไก่ไข่ ซึ่งผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าไก่เนื้อดำมีโปรตีนสูงกว่าไก่เนื้อทั่วๆ ไป กล่าวคือ จากการทดลองสุ่มตัวอย่างเฉพาะส่วนเนื้อล้วนๆ จากไก่พันธุ์ต่างๆ เปรียบเทียบกับไก่กระทงอายุ 7 สัปดาห์ และแม่ไก่ไข่ปลดระวางอายุ

ค่าโภชนะโดยประมาณของเนื้อไก่ดำเปรียบเทียบกับไก่กระทงและไก่ไข่*

ที่มา:บัณฑิต ธานินทร์ธราธาร อรทัย  ไตรวุฒนานนท์ และศิริลักษณ์  พรสุขศิริ “ไก่เนื้อกระดูกดำเป็นยาบำรุง(โด๊ป) จริงหรือ”

เกษตรกรวันนี้, ปีที่ 6 ฉบับที่ 65, พฤศจิกายน 2529, หน้า 83.

หมายเหตุ:การวิเคราะห์กระทำที่ต้องปฏิบัติการอาหารสัตว์ ภาควิชาสัตว์บาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

ผลการวิเคราะห์กรดอะมิโนในเนื้อไก่ดำและไก่ไข่

(ug/g dry matter)*

หมายเหตุ: *การวิเคราะห์กรดอะมิโนโดยศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
ประมาณ 1 ½ ปี จะเห็นว่าไก่เนื้อดำไต้หวันมีโปรตีนสูงสุดถึงร้อยละ 85.4 รองลงมา ได้แก่ ไก่เนื้อดำซิลกี้ และไก่เนื้อดำลูกผสมมีโปรตีนร้อยละ 81.4 และ 80.0 ตามลำดับ ในปริมาณโปรตีนในไก่กระทงและไก่ไข่มีเพียงร้อยละ 63.2 และ 57.8 ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโน ก็พบว่าไก่เนื้อดำที่มีโปรตีนสูงกว่าจะมีกรดอะมิโน เกือบทุกชนิดสูงกว่าด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณกรดอะมิโนจะผันแปรตามอายุ เพศ พันธุ์ และอาหารที่ใช้เลี้ยง ดังนั้น จากไก่ที่สุ่มมาทำการวิเคราะห์จึงบอกได้เพียงว่าไก่อายุและขนาดที่ใช้บริโภคพันธุ์ต่างๆ นั้นไก่เนื้อดำจะมีโปรตีนสูงกว่าไก่เนื้อปกติ
ปัจจุบันผู้ที่ต้องการจะบริโภคไก่ดำจะหาไก่ดำมาบริโภคได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ เพราะตามแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าจะมีไก่ดำชำแหละขายทั่วๆ ไป ไก่ดำที่วางจำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นไก่ดำขนาดนํ้าหนักประมาณ 600 กรัม ราคาประมาณ 150-200 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากผู้บริโภคต้องการทำเป็นไก่ตุ๋นทั้งตัวนอกจากนี้ผู้บริโภคยังสามารถจะเลือกบริโภคซุปไก่ดำสกัดทั้งในรูปการบรรจุกระป๋องหรือบรรจุในขวดแก้ว
สาเหตุที่ราคาไก่ดำอยู่ในเกณฑ์สูงถึงกิโลกรัมละ 150-200 บาทนั้น นอกจากจะเป็นเพราะคนให้ความนิยมบริโภคโดยถือเป็นอาหารบำรุงชั้นยอดแล้ว โดยธรรมชาติไก่ดำจะโตช้ากว่าไก่เนื้อทั่วๆ ไป กล่าวคือ การเลี้ยงไก่เนื้อทั่วๆ ไปให้ได้นํ้าหนัก 1.8 กิโลกรัมจะใช้เวลาเพียง 49 วันเท่านั้น แต่ถ้าจะเลี้ยงไก่ดำให้มีนํ้าหนัก 1 กิโลกรัมต้องใช้ เวลาเลี้ยงไม่ต่ำกว่า 2-3 เดือน และถ้ายิ่งเลี้ยงแบบปล่อยให้หาอาหารกินเองเหมือนการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแล้ว จะต้องใช้เวลาไม่ตํ่ากว่า 4 เดือนจึงจะได้ไก่ดำมีนํ้าหนัก 1 กิโลกรัม ซึ่งนํ้าหนักไก่ดำที่จะส่งตลาตควรจะอยู่ระหว่างตัวละ 1-1.2 กิโลกรัมเท่านั้น ถ้าเป็นไก่ดำที่นํ้าหนักถึง 1.5 กิโลกรัมจะนำลงตุ๋นในหม้อดินไม่ได้
นกเป็ดน้ำ เป็ดเป็นตระกูลใหญ่ นกเป็ดน้ำเป็นเพียงสายหนึ่งในตระกูลเป็ด แม้แต่นกเป็ดนํ้ายังแบ่งออกเป็นหลายชนิด อย่างไรก็ตาม นกเป็ดนํ้าที่อพยพจากทางเหนือมาอยู่ในบริเวณทะเลสาบมณฑลหูเป่ย โดยปกติเท่าที่ปรากฎจะมีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น ชนิดหนึ่งขนหัวและคอเป็นสีเขียว ส่วนอีกชนิดหนึ่งมีขนเป็นจุดด่างสีนํ้าตาลทั่วทั้งตัวคล้ายนกกระทา ชนิดแรกมีรูปร่างเล็กกว่านํ้าหนักตัวประมาณ 1 ปอนด์ ส่วนชนิดพี่สองนํ้าหนักประมาณ 2 ปอนด์ ซึ่งจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการพบว่านกเป็ดน้ำทั้งสองชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุดในบรรดานกเป็ดนํ้าทั้งหลาย

ตารางแสดงคุณค่าทางอาหารของเนื้อนกเป็ดน้ำ

(ในส่วนที่บริโภคได้ 100 กรัม)

ที่มา:กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
นกเป็ดน้ำมีเนื้อแน่น เกือบจะไม่มีไขมัน เหมาะสำหรับต้มตุ๋นเท่านั้น ไม่เหมาะที่จะนำมานึ่ง ผัด อบ ย่างหรือทอด วิธีตุ๋นนกเป็ดนํ้า ต้องใช้ไฟปานกลางต้มตุ๋นเป็นเวลานาน คือต้องใช้เวลา 3 ชั่วโมงขึ้นไปสำหรับต้ม และ 4 ชั่วโมงขึ้นไปสำหรับตุ๋น คุณสมบัติพิเศษของการบริโภคนกเป็ดน้ำก็คือ การให้คุณค่าบำรุงโดยปราศจากอาการร้อนใน และกลิ่นคาว ชาวจีนเชื่อกันว่า ถ้าบริโภคนกเป็ดนํ้าอย่างสมํ่าเสมอจะเพิ่มพูนพลังทำให้ร่างกายแข็งแรง ใช้รับประทานได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ก่อให้เกิดอาการโรคภูมิแพ้ ในบรรดาตำรับยาบำรุงแล้ว นกเป็ดนํ้าตุ๋นถือได้ว่าให้ผลดีและปลอดภัยที่สุด วงการแพทย์จีนให้ความเห็นยืนยันว่า นกเป็ดนํ้ามีคุณค่าในการบำรุงสูง ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันพบว่านกเป็ดน้ำสามารถผลิตฮอร์โมนได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้เป็นที่ต้องการของร่างกายมนุษย์ การใช้นกเป็ดนํ้าสดๆ ตุ๋นกับ “ตังถั่งเฉ้า” (หญ้าหนอน) และผสมกับเครื่องยาจีนอื่นๆ เช่น เส็กตี่ อึ้งคี้ เน็กซัวยัง ซึงจื้อ มักกังเน้ย และนึงจิงจื้อ โดยใช้ไฟปานกลางนกเป็ดนํ้าตุ๋นที่มีรสชาติกลมกล่อม มีคุณค่าทางอาหารสูง บำรุงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปอด ตับ และไต บำรุงโลหิต ทำให้เส้นผมและหนวดเคราดกดำ อาการท้องผูกในผู้สูงอายุ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย นอนไม่หลับและขี้ลืม
กรรมวิธีการผลิต
กรรมวิธีการผลิตซุปไก่สกัดจะมีขั้นตอนเหมือนกับทุกบริษัท ไม่ว่าจะใช้วัตถุดิบเป็นไก่กระทง ไก่ดำ หรือนกเป็ดน้ำก็ตาม เริ่มต้นตั้งแต่การนำไก่จากฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงเองไว้ป้อนโรงงานหรือรับซื้อจากเกษตรกร โดยคัดเลือกตัวไก่ที่สมบูรณ์แข็งแรงเลือกเอาส่วนที่มีโภชนาการมากที่สุด คือ ส่วนหน้าอกไก่ ซึ่งมีแร่ธาตุและคุณค่าทางอาหารสูง นำเข้าเครื่องต้มผสมด้วยส่วนผสมตามแต่ต้องการ ซึ่งแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันไป เช่น ซุปไก่บอนแบคก็จะใส่เห็ดหอม ค่ายหยังเฉินและแบรนด์อาจจะเติมโสมหรือถั่งเฉ้า หลังจากต้มจนเนื้อเปื่อยยุ่ยแล้วจึงผ่านเข้าเครื่องฆ่าเชื้อที่ความร้อนประมาณ 120 องศาเซลเซียส ในความดันปกติ เป็นเวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง ขั้นตอนต่อไป คือ การเลาะเนื้อออกจากกระดูก คัดเอาเฉพาะเนื้อล้วนๆ กรองแยกน้ำซุปและไขมัน หลังจากนั้นเคี่ยวน้ำซุปให้มีความเข้มข้นตามต้องการ แล้วแยกไขมันออก กรองให้ใส หลังจากนั้นจึงบรรจุใส่ภาชนะปิดฝาและฆ่าเชื้อด้วยระบบสเตอริไรส์ ซึ่งสามารถจะยืดอายุการเก็บรักษาได้นานถึง 10 ปี จนกว่าจะมีการเปิดภาชนะ ทำให้ต้องรับประทานให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง

ขั้นตอนการผลิตซุปไก่สกัด


คุณค่าทางโภชนาการของซุปไก่สกัด
แหล่งโปรตีนที่มีอยู่ในอาหารมีมากมายทั้งจากสัตว์และพืช แต่อาหารที่จัดว่ามีโปรตีนสูง ได้แก่ โปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่ ซึ่งโปรตีนจากไก่จะมีกรดอะมิโนชนิดที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิดในปริมาณและสัดส่วนที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยที่โปรตีนจากพืชมักจะมีปริมาณตํ่ากว่าและมักจะขาดกรดอะมิโนชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย ส่วนโปรตีนจากอาหารเสริมประเภทซุปไก่สกัด ซึ่งเป็นโปรตีนจากไก่ที่ถูกสกัดโดยใช้ความร้อนทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที จึงเหมาะที่จะเป็นอาหารเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างพักฟื้น สตรีที่มีครรภ์หรืออยู่ในระหว่างการให้นมลูก เด็กในวัยเจริญเติบโต ตลอดจนบุคคลทั่วๆ ไปที่ต้องการพลังและความพร้อมในการปฏิบัติงาน

คุณค่าทางโภชนาการของซุปไก่สกัด

(ในส่วนที่บริโภคได้ 100 กรัม)


ที่มา:รวบรวมจากรายงานการศึกษาของหลายสถาบัน
ที่มา:ส่วนวิจัยเกษตรกรรม ฝ่ายวิชาการ ธนาคารกสิกรไทย