การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาไร่กาแฟ

๑. การปลูกไม้บังร่ม การปลูกกาแฟควรมีใม้บังร่มหรือไม่จำเป็นต้องมีไม้บังร่มดี ยังเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่ แหล่งปลูกกาแฟที่สำคัญๆ ของโลก ปลูกกาแฟโดยไม่มีไม้บังร่ม และมีแนวโน้มที่จะ เลิกใช้ไม้บังร่ม เพราะพบว่าในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการปฏิบัติรักษาอย่างดี ต้นกาแฟสามารถเจริญเติบโตได้ดี และให้ผล ผลิตสูงที่สุด และให้ผลผลิตเร็ว และสูงกว่าต้นกาแฟที่ปลูกในร่ม แต่มีปัญหาคือ เรื่องการติดผลดกเกินไป การตายยอด(Die- back) การให้ผลดกปีเว้นปี เป็นโรคและมีอายุการให้ผลผลิตสั้น ดังนั้น การปลูกไม้บังร่ม จึงจำเป็นสำหรับต้นกาแฟที่ปลูกภายใต้สภาพการปฏิบัติรักษาที่ไม่ดีพอ โดยผลประโยฃน์ที่จะได้รับจากไม้บังร่ม คือ
๑. ยืดระยะอายุการให้ผลผลิตออกไป
๒. ป้องกันการติดผลดกเกินไป ซึ่งทำให้ต้นตายจากยอดลงมา
๓. ทำให้ผลผลิตสม่ำเสมอทุกปี
๔. ลดอุณหภูมิของอากาศและดิน
๕. ลดการคายน้ำและการระเหยน้ำ
๖. ใบที่ร่วงหล่น ช่วยคลุมดินและเพิ่มธาตุอาหารและอินทรีย์วัตถุ
๗. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช และการใส่ปุ๋ยเคมี
ดังนั้น การปลูกไม้บังร่ม เป็นสิ่งจำเป็นแค่ไหน แล้วแต่สถานการณ์และความสามารถในการจัดการของผู้ปลูก ถ้าปลูกกลางแจ้งและสามารถให้ปุ๋ยบำรุงได้ดีพอ ก็ให้ผลน่าพอใจกว่าถ้าไม่สามารถใส่ปุ๋ยให้ได้เพียงพอ และมีปัญหาการใช้ปุ๋ยก็จำเป็นต้องปลูกไม้บังร่ม เพราะต้นกาแฟที่อยู่ในร่มเงานั้น ใช้ปุ๋ยน้อยจึงให้ผลผลิตต่ำกว่า อย่างไรก็ดีในระดับความสูงจากน้ำทะเลมากๆ ปริมาณแสงแดดไม่มากและอุณหถูมิไม่สูงมาก ประกอบกับการเลือกทำเล ทิศทางการปลูกไม้บังร่มอาจมีความจำเป็นน้อยกว่ากาแฟที่ปลูกในที่ระดับต่ำกว่า แต่ในช่วงแรกของการปลูก ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยร่มเงาจากไม้บังร่มหรือร่มเงาที่ทำขึ้นชั่วคราว หลังจากนั้น ๓-๔ปี พุ่มกาแฟจะขยายเกือบชนกัน ทำให้เกิดร่มเงาบังร่มให้แก่กันและกันได้ สำหรับพันธุ์Caturra และ Cattui นั้น พบว่าสามารถปลูกกลางแจ้งบนที่สูงได้ดี
ไม้บังร่มแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด
๑. ไม้บังร่มธรรมชาติ ก็ได้แก่การอาศัยต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทำการตัดไม้ขนาดเล็กๆ ออกแล้วปลูกกาแฟเข้าไป ต้นกาแฟพวกนี้เจริญเติบโตได้ แต่ให้ผลผลิตน้อย
๒. ไม้บังร่มที่ปลูกขึ้นเอง อาจเป็นไม้บังร่มชั่วคราวและไม้บังร่มถาวร ไม้บังร่มชั่วคราวที่ใช้กันอยู่ได้แก่ ถั่วมะแฮะ ละหุ่ง และกล้วย อย่างช้าที่สูดสามารถปลูกไปพร้อมกับต้นกาแฟ ทางด้านตะวันออกและตะวันตกของต้นกาแฟห่างออกไปจากต้นประมาณ ๑ เมตร ไม้ บังร่มพวกนี้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้
ในระดับความสูง ประมาณ ๓๐๐ – ๗๐๐ เมตร ใช้กล้วยน้ำว้าก็ เหมาะสมดีแต่ระดับความสูงมากขึ้นไป ควรปลูกฮั่วมะแฮะหรือละหุ่ง เมื่อต้นกาแฟเจริญเติบโตขึ้น ก็ค่อยๆ ตัดไม้บังร่มพวกนี้ออกเป็นส่วนๆ ให้ต้นกาแฟได้รับแสงแดดมากขึ้น
ไม้บังร่มถาวร พบว่าขนุนสามารถเจริญได้ดี ให้ทรงพุ่มดีและไม่ทิ้งใบในฤดูแล้ง ถ้าต้องการไม้บังร่มถาวร ควรปลูกไว้ตามระยะห่างที่เหมาะสม เช่น ๑๐ X ๑๐ เมตร หรือ ๑๕ X ๑๕ เมตร หรือ ๒๐ X ๒๐ เมตร แล้วแต่ความต้องการร่มเงามากน้อยเพียงใด
๒ . การปลูกพืชคลุมและการคลุมดิน
การปลูกพืชคลุมดินและการคลุมดิน เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญในการป้องกันการพังทะลายของดิน และเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในฤดูแล้ง ในสภาพที่การพังทะลายของดินไม่เป็นปัญหา และสามารถให้ความชุ่มชื้นแก่ดินได้ในฤดูแล้ง การทำให้พื้นที่ไร่กาแฟหมดจดปราศจากวัชพืชนั้นดีที่สุด ในสภาพบนที่ระดับความลาดชันสูง ดินมีปัญหาการพังทะลายและเป็นป่าหญ้าคา ซึ่งไม่มีประโยชน์ในการบำรุงดิน ควรปลูกพืชตระถูลถั่วคลุมดินดังนี้ ระดับความสูง ๑,๐๐๐ เมตร ขึ้นไป ปลูกถั่วกรีนลีฟ ระดับความสูง ๖๐๐ -๑,๐๐๐ เมตร ปลูกได้ทั้งถั่ว กรีนลีฟและสไตโลชนิดค้างปี (perenial stylo) แต่ถ้าต่ำกว่า ๖๐๐ เมตรลงไปให้ปลูกถั่วสไตโลชนิดค้างปี เช่น พันธุ์สโคฟิลด์ หรือพันธุ์คุ๊ก (cv. cook or Schofield) จะดีกว่า
การปลูกพืชคลุมดินนี้ต้องคอยระวังไม่ให้พืชเหล่านี้เข้าไปขึ้นพัน และรบกวนต้นกาแฟ จะต้องหมั่นตัดเสมอ หากว่าพืชคลุมดินแห้งตายในฤดูแล้ง จะต้องระมัดระวังไฟไหม้หรือป้องกันไฟป่าลุกลามเข้าไป ส่วนการคลุมดินเป็นการรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดินตลอดฤดูแล้ง และ ยังเน่าเปื่อยให้อินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารแก่ดิน โดยใช้เศษซากพืชหรือฟางข้าวหรือพืชคลุมดินที่ถูกตัดออกเสมอๆ ควรนำมาใช้ในการคลุมดินด้วย เอาวัสดุคลุมดินเหล่านี้คลุมรอบโคน ลำต้น ตลอดทรงพุ่มหนาประมาณ ๖” ต้องระวังให้ห่างจากโคนต้นอย่าให้ไปสุมกันที่โคนต้น จะทำให้ต้นเน่าและเป็นที่อาศัยของแมลงกัดกินเปลือกรอบต้นด้วย นอกจากรักษาความชื้นในดินแล้ว ยังช่วยควบคุมวัชพืชด้วย เมื่อถึงฤดูฝนควรเอาวัสดุคลุมดินนี้ออก แต่แนะนำให้ไม่ควรทิ้ง แต่ควรทำการขุดฝังรอบๆ ทรงพุ่ม จะให้ประโยชน์ดีกว่ามาก
๓. การใส่ปุ๋ย
กาแฟเป็นพืชที่ต้องการอาหารหลัก เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ครบถ้วนทุกตัว และต้องการอาหารธาตุรองเช่นเดียวกับพืชอื่นๆ เช่น แมงกานีส แมกนีเซียม สังกะสีและเหล็ก ฯลฯ ธาตุสังกะสี เป็นธาตุรองชนิดเดียวที่กาแฟแสดงอาการขาดอย่างชัดเจนทุกระยะ ส่วนการขาดธาตุอื่นๆ อาจแสดงภายหลังเมื่อเริ่มให้ผลผลิตก็ได้ ดังนั้น การพิจารณาแก้ไขต้องกระทำเมื่อกาแฟแสดงอาการขาดธาตุอาหารโดยทันที
กาแฟเป็นพืชที่ใช้ธาตุอาหารมากตลอดเวลาที่ได้รับแสงแดดและอุณหภูมิสูง เพื่อทำการสังเคราะห์แสง และใช้ในการเจริญเติบโตจนหมด เป็นพืชที่เลี้ยงลูกผลจนตัวตาย ถ้าหากดินไม่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์พอ ก็ไม่ยอมทิ้งให้ผลร่วงหล่นเหมือนพืชบางชนิด ดังนั้นจะ พบเสมอว่าต้นกาแฟมีอาการตายจากยอดลงมา ภายหลังการให้ผลดกมากเกินควรต้นจะอ่อนแอและถูกโรคเข้าแทรก ถ้าอาการรุนแรงจะตาย ถ้าไม่รุนแรงจะใช้เวลาพักฟื้นอย่างน้อย ๒ ปี และอย่างน้อยที่สุดทำให้กาแฟมีผลดกปีเว้นปี
การใส่ปุ๋ย เป็นหัวใจของการปลูกกาแฟให้ได้รับผลสำเร็จ การใส่ปุ๋ยให้กาแฟจะได้รับผลตอบแทนคุ้มค่า แต่ถ้าการใส่ปุ๋ยเป็นปัญหาหรืออุปสรรคแล้ว ควรจัดการเรื่องไม้บังร่มสำหรับไร่กาแฟที่มีปัญหา เกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยก่อนเป็นสิ่งแรก
สูตรปุ๋ย หรือจำนวนปุ๋ยที่ต้องการไม่สามารถระบุกำหนดลงไปให้แน่นอนได้ เพราะการเกษตรไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะบอกได้ว่าใส่ปุ๋ย ๕ กิโลกรัม ได้ผลผลิตเพิ่ม ๒๐ กิโลกรัม ถ้าใส่ปุ๋ย ๑๐ กิโลกรัม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลผลิตเพิ่ม เป็น ๔๐ กิโลกรัม เพราะมีปัจจัยที่มองไม่เห็นเกี่ยวข้องกันหลายอย่าง จำนวนปุ๋ยที่จะใช้เท่าใด จึงขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและสิ่งแวดล้อม เช่น ปริมาณร่มเงาด้วย
กาแฟจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงวันยาว แต่ต้องมีธาตุไนโตรเจนเพียงพอ ดังนั้น จึงใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียวในช่วงปลายฤดูฝน และปกติจะไม่ใส่ธาตุโปแตสเซียม จนกว่ากาแฟจะออกดอกผล แต่ถ้าดินมีปริมาณโปแตสเซียมในดินต่ำก็จำเป็นต้องใส่ ส่วนธาตุฟอสฟอรัส ดินภูเขามักจะขาดธาตุนี้ หรือมีความสามารถในการตรึงไว้ พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ จึงจำเป็นต้องใส่ให้เพียงพอด้วย สำหรับปริมาณธาตุอาหารที่ต้องใส่ให้กาแฟแต่ละต้นอาจทราบได้โดยการวิเคราะห์ดิน แต่ถ้าไม่มีข้อมูลทางนี้ เพื่อเป็นการปลอดภัย ควรใส่ปุ๋ยผสมที่มีครบในอัตราส่วน N:P:K = 1:1:1 และในทางปฏิบัติสูตรปุ๋ยที่มีอัตราส่วนธาตุอาหารต่างๆ กัน หาซื้อยากในท้องตลาด กสิกรอาจไม่สามารถผสมปุ๋ยใช้เอง ปุ๋ยดังกล่าวที่กสิกรสามารถหาซื้อได้ง่ายในท้องตลาด เช่น
ปุ๋ยสูตร     ๑๖-๒๐-๐     หรือ แอมโมฟอส    ราคาประมาณ ๔.๗๐ บาท/กก.
๑๓-๑๓-๒๑         หรือ ไนโตรฟอสก้า     ราคาประมาณ ๔.๙๐ บาท/กก.
๑๕-๑๕-๑๕        หรือ ไนโตรฟอสก้า    ราคาประมาณ    ๔.๙๐  บาท/กก.
๒๑-๐-๐        หรือแอมโมเนียมซัลเฟต    ราคาประมาณ    ๒.๙๐  บาท/กก.
๔๖-๐-๐        หรือยูเรีย        ราคาประมาณ     ๕.๐๐    บาท/กก.
๐-๔๕/๔๖-๐        หรือทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต ราคาประมาณ ๗.๐๐ บาท/กก.
สำหรับชนิด, จำนวนปุ๋ยและจำนวนครั้งที่ใส่นั้น อาจต้องสังเกตอาการของต้นกาแฟด้วยว่าแสดงอาการขาดปุ๋ยหรือไม่ ถ้าใส่ตามจำนวนแนะนำแล้วยังแสดงอาการขาดก็ต้องใส่เพิ่มให้อีก จนอาการขาดธาตุอาหารนั้นหายไป และในทางตรงกันข้ามถ้ากาแฟแสดงอาการสมบูรณ์ ใบเขียวเป็นมันอยู่แล้ว จำนวนปุ๋ยที่แนะนำอาจลดลงไปได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอยู่ในร่มเงามาก เหล่านี้เป็นต้น จะเห็นได้ว่าปริมาณของปุ๋ยที่จะใช้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ ปริมาณแสงแดดหรือความเข้มและระยะเวลาที่ต้นกาแฟได้รับแสงแดด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือปริมาณของร่มเงาที่กาแฟได้รับ หรือกาแฟนั้นอยู่กลางแจ้งหรือมีไม้บังร่ม และไม้บังร่มนั้นให้ร่มเงามากน้อยเพียงใด ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงพบว่าปริมาณปุ๋ยที่จะใช้ซึ่งได้จากการวิ¬เคราะห์ดิน มักต่ำกว่าความเป็นจริง จึงมิได้นำมาแสดงไวู คงแสดงแต่ตารางที่แนะนำในแหล่งปลูกกาแฟสำคัญๆ คือ ฮาวาย ซึ่งปลูกกลางแจ้งไม่มีไม้บังร่ม และใส่ปุ๋ยมากที่สุดในบรรดาแหล่งปลูกกาแฟทั้งหลาย และตารางที่แนะนำในอินเดีย ซึ่งปลูกกาแฟโดยมีไม้บังร่ม ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะทำการทดลองเกี่ยวกับปุ๋ยกาแฟ คือควรจะมีการศึกษาถึงปัจจัยนี้ด้วย เช่น มีร่มเงา ๐,๒๕,๕๐,๗๕,๑๐๐ เปอร์เซนต์ หรือจำนวนชั่วโมงของแสงแดดที่กาแฟได้รับ ก็จะสมบูรณ์และเป็นประโยชน์มากทีเดียว
สูตรปุ๋ยและอัตราและช่วงเวลาในการใส่จะแนะนำให้เห็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาดังนี้
ตารางที่ ๑. แสดงอัตราการใส่ปุ๋ยกาแฟของชาวไร่กาแฟที่มลรัฐฮาวาย เป็นอัตรา กรัม/ต้น

อายุกาแฟ

เริ่มฤดูฝน

๑๕-๑๕-๑๕

กลางฤดูฝน

๑๕-๑๕-๑๕

ปลายฤดูฝน

แอมโมเนียมซัลเฟต

๒๐๐

๑๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๒๐๐

๓๕๐

๓๕๐

๓๐๐

๕๕๐

๕๕๐

๔๐๐

๘๐๐

๘๐๐

๔๐๐

ในฮาวายปลูกกาแฟกลางแจ้งไม่มีร่มเงา
จำนวนปุ๋ยกิโลกรัม/ไร่ = อัตรา/ต้น x จำนวนต้น/ไร่
ตารางที่ ๒. แสดงอัตราและระยะเวลาที่แนะนำให้ใส่ปุ๋ยกาแฟในประเทศอินดีย

อายุ

ปี

ปุ๋ย

สูตร

พฤษภาคม

กรัม

กรกฎาคม

กรัม

กันยายน

กรัม

ตุลาคม

กรัม

๑๖-๒๐-๐

๒๑-๐-๐

๓๗

๗๕

๗๕

๑๖-๒๐-๐

๒๑-๐-๐

๘๕

๘๕

๘๕

๗๕

๑๕-๑๕-๑๕

หรือ

๑๗-๑๗-๑๗

๒๑-๐-๐

๑๕๐

๑๕๐

๑๕๐

๒๐๐

๑๕-๑๕-๑๕

หรือ

๑๗-๑๗-๑๗

๒๑-๐-๐

๒๕๐

๒๕๐

๒๕๐

๒๕๐

๑๕-๑๕-๑๕

หรือ

๑๗-๑๗-๑๗

๒๑-๐-๐

๓๕๐

๓๕๐

๓๕๐

๒๕๐

ในประเทศอินเดียปลูกกาแฟโดยมีร่มเงา
ระยะปลูก ๒.๕x๒.๕ เมตร
ปุ๋ยกาแฟไม่ต้องเพิ่มหลังปีที่ ๕
ตารางที่ ๓. แสดงค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยให้ต้นกาแฟที่ปลูกกลางแจ้ง

อายุกาแฟ

จำนวนปุ๋ย กรัม/ต้น

ราคาปุ๋ยที่ใส่ บาท/ต้น

รวมเป็นเงิน

บาท/ต้น

รวมเป็นเงิน

บาท/ไร่

๑๕-๑๕-๑๕

๒๑-๐-๐

๑๕-๑๕-๑๕

๒๑-๐-๐

๒๐๐

๑๐๐

๑.๐๐

๐.๓๐

๑.๓๐

๓๓๒.๘๐

๔๐๐

๒๐๐

๒.๐๐

๐.๖๐

๒.๖๐

๖๖๕.๖๐

๗๐๐

๓๐๐

๓.๕๐

๐.๙๐

๔.๔๐

๑,๑๒๖.๔๐

๑,๑๐๐

๔๐๐

๕.๕๐

๑.๒๐

๖.๗๐

๑,๗๑๕.๒๐

๑,๖๐๐

๔๐๐

๘.๐๐

๑.๒๐

๙.๒๐

๒,๓๕๕.๒๐

ตารางที่ ๔. แสดงค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยให้ต้นกาแฟที่ปลูกโดยมีร่มเงา

อายุกาแฟ

จำนวนปุ๋ย กรัม/ต้น

ราคาปุ๋ยที่ใส่ บาท/ต้น

รวมเป็นเงิน บาท/ต้น

รวมเป็นเงิน บาท/ไร่

๑๖-๒๐-๐*

Or

๑๕-๑๕-๑๕

๒๑-๐-๐

๑๖-๒๐-๐*

Or

๑๕-๑๕-๑๕

๒๑-๐-๐

๑๕๐*

๗๕

๐.๗๑*

๐.๒๓

๐.๙๔

๒๔๐.๖๔

๒๕๕*

๗๕

๑.๒๑*

๐.๒๓

๑.๔๔

๓๖๘.๖๔

๔๕๐

๒๐๐

๒.๒๕

๐.๖๐

๒.๘๕

๗๒๙.๖๐

๗๕๐

๒๕๐

๓.๗๕

๐.๗๕

๔.๕๐

๑,๑๕๒.๐๐

๑,๐๕๐

๒๕๐

๕.๒๕

๐.๗๕

๖.๐๐

๑,๕๓๖.๐๐

*ปุ๋ย ๑๖-๒๐-๐
ราคาปุ๋ยเมื่อกันยายน ๒๕๒๒ ปุ๋ย ๑๕-๑๕-๑๕ ประมาณ ๕.๐๐ บาท/กก. แอมโมเนียมซัลเฟต ๓.๐๐ บาท/กก. ปุ๋ย ๑๖-๒๐-๐ ประมาณ ๔.๗๕ บาท/กก.
ในปีแรกจะต้องบวกค่าปุ๋ยรองก้นหลุมด้วย ตามชนิดปุ๋ยที่ใช้ดังนี้
** ทริปเปิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต ๑๐๐ กรัม/ต้น = ๐.๗๐ บาท/ต้น = ๑๗๕.๒๐ บาท/ไร่
รอคฟอสเฟต ๒๐๐-๕๐๐ กรัม/ต้น = ๐.๔๐-๐.๙๐ บาท/ต้น = ๑๘๐-๒๒๙.๔๐ บาท/ไร่
กระดูกป่น ๒๐๐ กรัม/ต้น = ๐.๙๐ บาท/ต้น = ๒๒๙.๔๐ บาท/ไร่
จากตารางเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าการปลูกกาแฟกลางแจ้ง โดยไม่มีร่มเงา จะต้องใส่ปุ๋ยเป็นจำนวนมากกว่ากาแฟที่ปลูกโดยมีร่มเงา เมื่อคิดดูแล้วจะใช้ค่าใช้จ่ายมากกว่ากันประมาณ ๓๔.๙๕%
กาแฟจะตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมาก แต่การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลงไปจำนวนมากก็จะไปยับยั้งการเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส และในทางตรงกันข้าม ถ้าฟอสฟอรัสมีมากก็จะทำให้การ เป็นประโยขน์ของไนโตรเจนมีน้อยลง และในระยะแรกนั้น ธาตุโปแตส เซียม อาจยังไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ เพราะดินถูเขาโดยมากมีโปแตสเซียมสูงอยู่แล้ว แต่เมื่อกาแฟเริ่มให้ผล จำเป็นต้องใส่ธาตุโปแตสเซียมให้ด้วย ดังนั้นปุ๋ยที่แนะนำจึงมีอัตราส่วน 1:1:1
การใส่ปุ๋ยให้หว่านรอบโคนต้นภายในทรงพุ่ม แล้วเกลี่ยเบาๆ ให้ เข้ากับดิน ระมัดระวังหลีกเลี่ยงการทำลายรากฝอยหาอาหารของกาแฟบนผิวดิน
วิธีสังเกตว่าต้นกาแฟมีความอุดมสมบูรณ์หรือแสดงอาการขาดธาตุอาหารใดหรือไม่จำเป็นต้องสังเกตเพราะบางครั้งถึงแม้จะใส่ปุ๋ยให้แล้ว แต่ยังแสดงอาการขาดธาตุอาหาร แสดงว่าอาหารยังไม่เพียงพอ อาจเป็นเพราะติดผลดกเกินไป หรือได้รับแสงแดดมากเกินไป จำเป็นต้องแก้ไขโดยเร็ว โดยการเพิ่มปริมาณปุ๋ย หรือเพิ่มร่มเงาให้ต้นกาแฟ ถ้าหากไม่สามารถที่จะลงทุนใส่ปุ๋ยให้ต้นกาแฟได้อีก
ต้นกาแฟที่สมบูรณ์จะมีลักษณะใบเขียวเป็นมัน ส่วนต้นที่ไม่สมบูรณ์ เพราะขาดธาตุอาหารนั้นจะแสดงออกมาให้เห็นได้ดังนี้
ไนโตรเจน ต้นกาแฟที่ขาดธาตุนี้จะแสดงอาการใบเหลืองทั่วทั้งใบ ทั้งต้น มักสังเกตได้ง่ายว่าต้นที่มีอาการจะได้รับแสงแดดมาก
ฟอสฟอรัส ต้นกาแฟที่ขาดธาตุนี้จะแสดงอาการใบแก่จะมีสีเขียวออกน้ำเงิน ตกห้อย และบิดกลับข้าง แล้วตามด้วยแถบสีเหลืองมะนาว ซึ่งอาจจะเปลี่ยนเป็นสีบรอนซ์แดง แต่พบได้น้อยในไร่
โปแตสเซียม ต้นกาแฟที่ขาดธาตุนี้ จะแสดงอาการจากใบแก่ก่อน โดยบริเวณขอบใบจะแห้งเป็นสีน้ำตาลรอบๆ ใบ อาจตายด้วยอาการใบร่วง เพราะธาตุโปแตสเซียมจะถูกดึงไปอยู่ที่บริเวณผลมาก
สังกะสี ต้นกาแฟมักแสดงอาการขาดธาตุนี้อย่างเด่นชัดได้ทุกระยะ คือมีอาการด่างที่ใบอ่อน ทำให้ปล้องสั้น ใบเล็กแคบ อาจตายด้วยอาการตายที่ปลายกิ่งเข้ามา
แมกนีเซียม ต้นกาแฟที่ขาดมักแสดงอาการขาด เมื่อใส่โปแตส เซียมมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคลุมดินรอบต้นอย่างหนามาก มีอาการด่างที่ใบแก่ เส้นกลางใบจะเหลือง และมีแถบสีเขียว เล็กๆ อยู่ข้างใดข้างหนึ่ง
สำหรับการให้ปุ๋ยทางใบ เพื่อแก้อาการขาดธาตุอาหาร ใช้ส่วนผสมข้างล่างนี้ ทำการฉีดพ่นให้แก้ไขก่อนออกดอกและภายหลังมรสุม หรือเมื่อต้นกาแฟแสดงอาการขาด

อาการขาด

สารเคมี

อัตราส่วน

Zn

ซิงค์ซัลเฟต

๔๐ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ๑ ปี๊บน้ำมันก๊าด

Mg

แมกนีเซียมซัลเฟต

๒๕ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร

N

ยูเรีย

๒๐๐ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร

NP

แอมโมฟอส

๕๐๐ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร

K

นิวเรทออฟโปแตส

๓๕ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร

หมายเหตุ
๑. การใช้แอมโมเนี่ยมซัลเฟตติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินมีสภาพเป็นกรด หลังการใช้เป็นเวลา ๔ ปี ควรใส่หินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนต บดละเอียด ๓๕๐ กก./ไร่
๒. การใช้ปุ๋ยเคมี เป็นเวลานานจะทำให้โครงสร้างของดินเสีย ความร่วนซุย ควรมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตราประมาณ ๑๐ กก./ต้น/ปี จะเป็นประโยชน์ และได้ผลดีมากขึ้น
๓. การใส่ปุ๋ยให้กาแฟที่ปลูกบนขั้นบันไดเฉพาะต้น ควรใส่ปุ๋ยทางด้านในให้มากกว่าทางด้านนอก เพราะมักจะพบว่ารากกาแฟจะไปรวมกับทางด้านนอกมาก การใส่ปุ๋ยด้านใน จะช่วยกระตุ้นให้รากกาแฟแผ่ขยายเข้าด้านในด้วย
๔. การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่ง เป็นการควบคุมลักษณะทรงพุ่ม และความสูงของต้น ซึ่งมีผลต่อการเก็บเกี่ยว ซึ่งประกอบด้วยวิธีการตัดยอด เพื่อให้สูงเท่าที่จะสะดวกในการเก็บเกี่ยว ตัดกิ่ง ที่อ่อนแอและกิ่งแห้ง เด็ดหน่อกิ่งตั้งที่ออกมาแน่นเกินไป ตัดกิ่งแขนงชุดที่สอง ที่อยู่ติดลำต้นเกินไปออก ตัดกิ่งที่งอกสวนกันภายในทรงพุ่มออก และตัดกิ่งล่างบนพื้นดินที่ติดดินออก
การศึกษาถึงอุปนิสัย การเจริญเติบโตให้ผลผลิตและการแตกกิ่งก้านสาขาดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จะช่วยให้เข้าใจถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องตัดแต่งกิ่ง และจะทำให้สามารถทำการตัดแต่งได้ถูกต้อง กล่าวโดยสรุป
การตัดแต่งกิ่งมีจุดประสงค์ คือ
๑. เพื่อให้เกิดการเจริญของส่วนที่จะให้ผลผลิตปีต่อๆ ไป
๒. เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างพื้นที่ใบกับผลกาแฟ
๓. เพื่อป้องกันการให้ผลดกเกินไป อันเป็นเหตุให้เกิดการตายยอด
๔ . เพื่อไม่ให้เกิดผลดกปีเว้นปี
วิธีการตัดแต่งกิ่ง
๑. ระบบตัดยอดวิธีนี้มีเพียงลำต้นเดียว เมื่อเจริญสูงขึ้นมาจนถึงระดับที่เก็บเกี่ยวสะดวก คือ ไม่สูงจนถึงกับต้องปีนเก็บ ปกติคือระดับยืนเอามือเก็บผลกาแฟได้ประมาณ ๑๕๐- ๑๘๐ เซนติเมตร เมื่อตัดยอดแล้วจะมีหน่อกิ่งตั้งแตกมามากมายให้ปลิดออกให้หมด กิ่งข้างก็จะเจริญยาวออกมากขึ้น ขณะเดียวกันจะเกิดกิ่งแขนงแตกออกมาจากกิ่งข้างนี้มาก และกิ่งแขนงเหล่านี้จะมีกิ่งแขนงแตกย่อยออกมาอีก จะทำให้เก็บเกี่ยวลำบากต้องหมั่นตัดออก โดยจะตัดกิ่งแขนงออกปีละข้างก็ได้ แต่กสิกรที่ขยันอาจตัดแต่งให้โปร่งทุกปี
๒. ระบบหลายต้น วิธีนี้ เมื่อเริ่มปลูกจะทำการเด็ดยอดทิ้ง จะเกิดกิ่งตั้งขึ้นมา ๒ กิ่ง ตรงข้ามกัน เมื่อปล่อยให้สูงประมาณ ๕๐ ซม. กิ่งตั้ง ๒ กิ่งนี้จะถูกเด็ดยอดอีกครั้งหนึ่ง เกิดเป็นกิ่งตั้งจำนวน ๔ กิ่ง และเมื่อสูงขึ้นประมาณ ๑.๕๐-๑.๘๐ เมตร ยอดทั้ง ๔ จะถูกตัด และควบคุมความสูงไว้เพียงแค่นี้ กิ่งตั้งที่แตกใหม่จะถูกปลิดทิ้งหมด หลังกาแฟให้ผลผลิต คือ อายุประมาณ ๔ ปี หลังการเก็บเกี่ยวแล้วให้ตัดกิ่งตั้งออก ๑ กิ่ง จากจำนวน ๔ กิ่ง จะเหลือกิ่งตั้ง ๓ กิ่ง และจะมีหน่อกิ่งตั้งแตกออกมามากมายให้ปลิด เหลือเพียง ๑ กิ่ง ปล่อยให้เจริญขึ้นไป ปีต่อมาก็ตัดกิ่งตั้งกิ่งที่ ๒ ออก และปล่อยให้มีกิ่งตั้งขึ้นแทนอีก ๑ กิ่ง ปีต่อไปก็ตัดกิ่งตั้งที่ ๓ ออก ปล่อยให้มีกิ่งตั้งขึ้นแทนอีก ๑ กิ่ง ปีต่อไปกิ่งตั้งที่ ๔ ก็จะถูกตัดออกและปล่อยให้มีกิ่งตั้งแทนอีก ๑ กิ่ง ดังนั้น ก็จะมีกิ่งตั้งที่มีอายุ ๑, ๒, ๓ และ ๔ ปี ตามลำดับ ตัดหมุนเวียนกันไปเช่นนี้ แต่จากการที่มีหลายลำต้นจะทำให้กิ่งข้างแตกสวนกันภายในทรงพุ่ม ทำให้ทรงพุ่มทึบ เก็บเกี่ยวไม่สะดวก ให้ทำการตัดแต่งกิ่งที่สวนกันที่เป็นปัญหาออกด้วย
วิธีนี้ทำได้ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อย เป็นวิธีที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไป เหมาะสำหรับพันธุ์ ทิปิคาและเบอร์บอน
วิธีนี้ถ้าไม่ใช้วิธีเด็ดยอด เมื่อปลูกจะใช้วิธีปลูกให้ต้นกล้าเอียงประมาณ ๔๐ องศา ก็จะทำให้เกิดกิ่งตั้งขึ้นมาหลายกิ่งเช่นกัน และสำหรับต้นใหญ่ที่มีอายุมากก็ใช้วิธีโน้มให้ลำต้นเอนลงมา ก็จะแตกกิ่งตั้งใหม่ที่มีอายุอ่อน ทำให้สามารถเปลี่ยนกาแฟต้นที่มีอายุแก่ให้กลับ เป็นหนุ่มได้อีก และทั้ง ๒ วิธีนี้อาจให้มีกิ่งตั้ง ๓ หรือ ๖ กิ่งก็ได้โดยใช้รอบการตัดแต่ง ๓ ปี สำหรับที่มี ๖ กิ่งตั้งให้ทำการตัดแต่งปีละคู่ ก็จะครบรอบในเวลา ๓ ปี
วิธีนี้ ไม่เหมาะกับพันธุ์แคทัวร่า เพราะมีต้นเตี้ยและข้อสั้นมาก หลังจากเด็ดยอดจะทำให้การเจริญเติบโตช้า โดยเฉพาะการให้มีกิ่งตั้งหลายกิ่งจะทำให้กิ่งข้าง กิ่งแขนงขึ้นสวนเบียดเสียดกัน ทำให้ทรงพุ่มแน่นทึบ สำหรับพันธุ์นี้ควรใช้วิธีตัดแต่งกิ่งระบบเบอร์ มองท์ – ฟูกูนากา (B – F system) แต่ถ้าไม่อยากใข้ระบบนี้ ก็ให้ดัดแปลงดังนี้
วิธีดัดแปลง คือ หลังจากปลูกพอต้นกาแฟสูงระดับเข่า ก็ทำการตัดยอด และกิ่งตั้งที่แตกขึ้นมาใหม่จะถูกปลิดทิ้งหมด ปล่อยให้มีการ เจริญทางกิ่งข้างยาวออกไป จนเป็นพุ่มกว้าง ตามต้องการก็ปล่อยให้มีกิ่งตั้งขึ้นมา ๑ กิ่ง เมื่อกิ่งตั้งนี้เจริญสูงขึ้นมาถึงระดับเอวก็ตัดยอดอีกครั้งหนึ่ง ปล่อยให้กิ่งข้างเจริญออกไป เป็นพุ่มกว้างตามต้องการ แล้วจึงปล่อยให้มีกิ่งตั้งเจริญขึ้นมาอีก ๑ กิ่ง จนสูงถึงระดับไหล่ก็ทำเช่นเดียวกัน แต่พอสูงถึง ๑ .๕๐ – ๑.๘๐ ม. ก็ตัดยอดและบังคับให้สูงแค่นั้น โดยการเด็ดกิ่งตั้งที่แตกออกมาใหม่จนหมด
๓. ระบบเบอร์มองท์ – ฟูกูนากา (B – F system) วิธีนี้นิยมใช้กันมากในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา วิธีนี้ต้นกล้ากาแฟจะต้องปลูกแบบ เป็นแถวชิด คือ ระยะระหว่างต้น ชิดกันมากกว่าระยะระหว่างแถว สำหรับพันธุ์แคทัวร่า อาจใช้ระยะปลูก ๒.๕ X ๑ เมตร สำหรับพันธุ์ Typica และ Bourbon ระยะปลูกควรจะเป็น ๑.๒ X ๓ เมตร แถวของ กาแฟจะถูกแบ่งเป็นแปลงละ ๔ แถว และให้ชื่อว่าแถวที่ ๑,๒, ๓ และ ๔ ตามลำดับ การตัดแต่งจะเริ่มตั้งแต่แถวที่ ๑ เมื่อกาแฟมีอายุ ๓ ปี โดยตัดสูงจากพื้นดิน ๗๕ ซม. เมื่อกาแฟอายุ ๔ ปี จะทำการตัดแถวที่ ๓ และปีต่อๆ ไป ตัดแถวที่ ๒ แถวที่ ๔ ตามลำดับ แล้วกลับมาตัดแถวที่ ๑ อีกเช่นนี้เรื่อยไป
การตัดแต่งแบบนี้ ลำดับแถวที่จะถูกตัดออกแต่ละปี คือ๑- ๓- ๒- ๔ ระบบนี้ทำให้ต้นกาแฟไม่ใหญ่จนชิดกัน ถึงผลผลิตจะน้อยไปบ้างแต่ก็เก็บเกี่ยวได้ง่าย
สำหรับไร่กาแฟที่ปลูกพันธุ์เบอร์บอนหรือทิปิคาไปแล้ว ต้องการใช้พันธุ์ Caturra หรือ Cattui ปลูกแทรกเข้าไปเพื่อใช้การตัดแต่งกิ่งระบบเบอร์มองท์ – ฟูกูนากาให้ทำดังต่อไปนี้
๑. ที่ซึ่งปลูกกาแฟอยู่แล้วโดยรระยะปลูก ๒ X ๒ เมตร หรือ ๒.๕ X ๒.๕ เมตร ให้ปลูกกาแฟระหว่างต้นในแถวเดิม โดยมีระยะห่างระหว่างต้นเดิมเท่าๆ กัน (ต้นกาแฟ ซึ่งปลูกแล้วไม่เกินสองปี)
๑.๑ การตัดแต่งกาแฟที่ปลูก ๔ แถว ใน ๑ แปลง ให้เริ่มตัดแต่งแถวแรกในปีที่ ๓ หลังการปลูกและตัดแต่งอีกทุก ๔ ปี
๑ .๒ การตัดแต่งให้ตัดทั้งแถวรวมทั้งต้นเดิมด้วย โดยตัด เหนือพื้นดิน ๗๕ เซนติเมตร
๑.๓  รอบของการตัดสำหรับแปลงที่มี ๔ แถว แสดงดังรูปข้างล่างนี้


๒. ที่ซึ่งปลูกกาแฟอยู่แล้ว โดยมีระยะปลูก ๓ คูณ ๓ เมตร ให้ปลูกกาแฟ ๒ ต้น ระหว่างต้นเดิมในแต่ละแถว โดยเว้นระยะห่างระหว่างต้น ๑ เมตร (ต้นกาแฟซึ่งปลูกแล้วไม่เกินสองปี)
๒.๑ การตัดแต่งให้ปฏิบัติ เช่นเดียวกับข้อ ๑ นอกจากมี ๕ แถวต่อแปลงและรอบของการตัดแต่ง ๕ ปี ดังรูปแสดง

๓. การปลูกที่ใหม่โดยใช้ระบบ B-F ให้ปลูกกาแฟโดยมีระยะปลูก ๒ คูณ ๑ เมตร โดยมี ๔ แถว ในแต่ละแปลง โดยใช้รอบการตัดแต่ง ๔ ปี
๔. ต้นกาแฟ ซึ่งปลูก ๒ ปีขึ้นไป ไม่ควรตัดแต่งด้วยระบบ BF
อย่างไรก็ดี การส่งเสริมให้กสิกรทำการตัดแต่งกิ่งโดยเฉพาะระบบนี้ คงเป็นปัญหาพอสมควร เพราะโดยทั่วไป กสิกรมักเสียดายที่จะต้องทำการตัดกิ่งหรือต้นที่กำลังให้ดอกผลอยู่ทั่วไป ซึ่งคงเป็นปัญหาสำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมไม่น้อยทีเดียว
ที่มา:อนันต์  อิสระเสนีย์