ถิ่นกำเนิดของต้นเนียง

(Djenkol tree)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Archidendron jiringa (Jack) I.C. Nielsen
ชื่อวงศ์ LEGUMIMOSAE – MIMOSACEAE
ชื่ออื่น ชะเนียง พะเนียง ลูกเนียง
ถิ่นกำเนิด มาเลเซียและภาคใต้ของประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 6-10 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม แน่นทึบ แตกกิ่งก้าน สาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา เรียบ ต้นแก่แตกหลุดล่อนเป็นแผ่น


ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคู่ เรียงสลับ แกนกลางใบ ประกอบยาว 25-40 ซม. แยกแขนงคู่ตรงข้ามยาว 10-15 ซม.ใบย่อย 4-6 ใบ เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-9 ซม. ยาว 5-10ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบห่อขึ้น เป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว สีเขียวสด ใบอ่อน สีแดงอมนํ้าตาล


ดอก สีขาวหรือครีม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงที่ด้านข้าง ของกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3-6 ดอก ดอกตูมรูปร่างกลม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ขอบหยักซี่ฟันตื้นๆ 5 จัก กลีบดอก มี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันตลอด ปลายกลีบจะแยกออก เกสรตัวผู้จำนวนมาก เส้นผ่านศูนย์กลางช่อดอก 2-2.5 ซม. ออกดอกเดือน ม.ค.-ก.พ.
ผล ผลแห้งแตกตามรอยตะเข็บ เป็นฝักทรงแบนโป่งพอง คอดเล็กน้อย ระหว่างเมล็ด บิดเป็นเกลียว สีน้ำตาลคล้ำหรือม่วงอมดำ เมื่อสุกสีน้ำตาลอมดำ เมล็ดหนาทรงกลมแป้น สีน้ำตาลเข้ม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-4 ซม. 2-12 เมล็ดต่อฝัก ติดผลเดือน มี.ค.-พ.ค. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา พบตามป่าดิบชื้น ทางภาคตะวันออกและภาคใต้
การใช้ประโยชน์ ลูกอ่อน ปอกเปลือกจิ้มนํ้าพริก หรือกินร่วมกับ อาหารรสเผ็ด เพาะเป็นต้นอ่อนแล้วดองเป็นผักจิ้มผักแกล้ม
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย