บัญชีฟาร์มและสหกรณ์

โดยทั่ว ๆ ไปเกษตรกรไทย ไม่ได้เก็บตัวเลขสถิติต่าง ๆ ในการทำฟาร์มของเขาจึง เป็นการยากที่จะวิเคราะห์และปรับปรุงการทำฟาร์มให้ดีขึ้นบัญชีฟาร์มมีประโยชน์หลายประการเช่น

1. ช่วยบันทึกความจำ ให้รู้แน่ว่าวํนไหน ทำอะไร มีค่าใช้จ่ายเท่าไร ฯลฯ

2. มีข้อมูลไว้เพื่อการวิเคราะห์ เพื่อรู้ถึงฐานะทางการเงิน, กำไรขาดทุน และจุดบกพร่องที่จะแก้ไขต่อไป ตลอดจนการคำนวณที่จะแบ่งผลกำไรให้ผู้ร่วมงาน การคำนวณดอกเบี้ยและภาษีอากรต่าง ๆ

สมุดบัญชีฟาร์มจะมีจำนวนมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่ขนาดของฟาร์มหรือความละเอียคละออที่ต้องการ เช่นเจ้าของฟาร์มขนาดเล็กอาจจ่ะต้องการสมุดเพียงเล่มเดียวเพื่อลงบัญชีรับและจ่ายเท่านั้น แต่ถ้าฟาร์มใดทำบัญชีไว้โดยละเอียดก็ย่อมทำให้เจ้าของได้ทราบข้อบกพร่องของข้อมูลต่างๆ ได้มาก

สำหรับขบวนการบัญชีฟาร์มที่ละเอียด อาจประกอบด้วยสมุดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน กับสมุดบัญชีแยกประเภท

ก. บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของฟาร์ม เป็นสมุดจดรายการทรัพย์สินทั้งหมดของฟาร์มที่มีอยู่รวมทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ดังนั้นก่อนจะเปิดบัญชีเจ้าของฟาร์มจะต้องสำรวจรายการทรัพย์สินของฟาร์มเท่าที่มีอยู่ ทำเป็นบัญชีแยกแต่ละชนิดและประเภทไป เช่น บัญชีที่ดินและโรงเรือน บัญชีเครื่องจักรและเครื่องมือต่าง ๆ บัญชีสัตว์เลี้ยง บัญชีผลิตผลทางพืช บัญชีสิ่งของคงเหลือ บัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีเงินสดและทริพย์สิน

ข. บัญชีแยกประเภท (หรือสมุดเงินสดของฟาร์ม) เป็นบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย แต่ละวัน โดยอาจจะแยกบัญชีค่าใช้จ่ายในฟาร์ม บัญชีขายพืชผล บัญชีขายไข่ บัญชีขายปศุสัตว์ บัญชีรายรับเบ็ดเตล็ด เป็นต้น

สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

สหกรณ์ (cooperation) เป็นวิธีประกอบการเศรษฐกิจแบบหนึ่ง ที่บุคคลผู้อ่อนแอ ในทางเศรษฐกิจ รวมแรง รวมปัญญาและรวมทุนกันจัดตั้งขึ้นโดยความสมัครใจ ตามหลักการช่วยตัวเองและช่วยซึ่งกันและกันและประหยัด เพื่อให้เกิดความเจริญในทางเศรษฐกิจและสังคม สหกรณ์มีหลักการปฏิบัติอยู่ 4-5 ประการคือ

1. ต้องเปิดรับสมาชิกอยู่เสมอ

2. มีการควบคุมตามหลักประชาธิปไตย (หนึ่งคนหนึ่งเสียง)

3. แบ่งเงินกำไรให้แก่สมาชิกตามส่วนธุรกิจที่ได้ทำกับสหกรณ์

4. จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ทุนเรือนหุ้นในอัตราจำกัด (ร้อยละ 8)

5. อื่น ๆ เช่นจะส่งเสริมการศึกษาของสมาชิก จะค้าขายโดยวิธีเงินสด และสหกรณ์ จะเป็นกลางทางการเมืองและศาสนา

กลุ่มเกษตรหมายถึงกลุ่มเกษตรกรซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแล้วกลุ่มเกษตรกรเกิดขึ้นจากการที่คณะบุคคลผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในตำบลเดียวกันไม่น้อยกว่า 30 คน รวมกันดำเนินกิจการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม กลุ่มเกษตรกรนี้สามารถจะแปรรูปและขอจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ได้

หน้าที่และวัตถุประสงค์หลักของกลุ่มเกษตรกรคือ

1. จัดให้ได้มา ซื้อ ถือกรรมสิทธิ์หรือทรัพย์สิทธิครอบครอง กู้หรือยืม เช่า เช่าซื้อ รับโอนสิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อ จำนองหรือจำนำ ขายหรือจำหน่าย ด้วยวิธีอื่นใดซึ่งทรัพย์สิน

2. ให้กู้ ให้ยืม ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ให้สินเชื่อ โอนรับจำนองหรือรับจำนำ ซึ่งทรัพย์สินแก่สมาชิกหรือของสมาชิก

3. ร่วมทุนในการประกอบกิจการกับกลุ่มเกษตรอื่น

4. กระทำธุรกิจและการค้าเพื่อประโยชน์ของสมาชิก

5. ให้บริการต่าง ๆ แก่สมาชิก โดยเรียกหรือไม่เรียกค่าตอบแทน

6. ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก

7. กระทำกิจการอย่างอื่น บรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มเกษตรกร โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

สหกรณ์ในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยรัฐบาลได้จัดตั้งสหกรณ์หาทุนสมาคมแรกขึ้นมาที่จังหวัดพิษณุโลกเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 ชื่อว่า สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ การสหกรณ์ในประเทศไทยได้วิวัฒนาการขึ้นมาเรื่อย ๆ และมีหลายรูปหลายแบบ ขณะนี้สหกรณ์มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ

ก. สหกรณ์จำกัด คือสหกรณ์ซึ่งสมาชิกมีความรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ผู้ส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ

ข. สหกรณ์ไม่จำกัด คือสหกรณ์ซึ่งสมาชิกทุกคนมีความรับผิคร่วมกัน เพื่อหนี้ทั้งปวงของสหกรณ์โดยไม่จำกัด

ผู้ที่เลื่อมใสในวิธีการของสหกรณ์ หากมีความประสงค์จะจัดตั้งสหกรณ์ ก็จะต้องรวบรวมสมาชิกให้ได้ไม่น้อยกว่า 10 คน ถ้ามีสมาชิกริเริ่มเกินกว่า 10 คน ก็ให้ผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสหกรณ์เลือกตั้งคณะผู้จัดตั้งขึ้นไม่น้อยกว่า 10 คน เพื่อลงลายมือชื่อยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสหกรณ์ พร้อมกับบัญชีรายชื่อของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ทั้งหมด และรายการอื่น ๆ ตามแบบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด และสำเนารายงานการประชุมของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสหกรณ์หนึ่งฉบับ  และข้อบังคับสองฉบับ

ข้อบังคบของสหกรณ์อย่างน้อยจะต้องมีรายการดังต่อไปนี้

1. ชื่อสหกรณ์

2. ประเภทของสหกรณ์

3. วัตถุประสงค์

4. ที่ตั้งสำนักงาน

5. ทุนซึ่งแบ่งเป็นหุ้น มูลค่าของหุ้น การชำระค่าหุ้นด้วยเงินหรือทรัพย์สินอื่น การขายและการโอนหุ้น ตลอดจนการจ่ายคืนค่าหุ้น

6. การดำเนินงาน การบัญชี และการเงินของสหกรณ์

7. คุณสมบัติของสมาชิก วิธีรับสมาชิกและการขาดจากสมาชิกภาพ

8. การประชุมใหญ่

9. การเลือกตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการ

10. การแต่งตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การกำหนดอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้จัดการ

สหกรณ์มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ทว่าสหกรณ์มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ประเภทของสหกรณ์ที่ทางราชการรับจดทะเบียนมี 6 ประเภทคือ

1. สหกรณ์การเกษตร

2. สหกรณ์ประมง

3. สหกรณ์นิคม

4. สหกรณ์ร้านค้า

5. สหกรณ์บริการ

6. สหกรณ์ออมทรพย์

สหกรณ์ส่วนมากที่พบอยู่ในเมืองไทย เป็นสหกรณ์ชนิดจำกัดสินใช้สหกรณ์จำกัดมีอำนาจหน้าที่ และวัตถุประสงค์หลัก ๆ ดังนี้

1. จัดให้ได้มา ซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ทรัพยสิทธิ์ครอบครอง กู้หรือยืม เช่าเช่าซื้อ รับโอนสิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อจำนองหรือจำหน่ายด้วยวิธีอื่นใดซึ่งทรัพย์สิน

2. ให้กู้ ให้ยืม ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ให้สินเชื่อ โอนรับจำนองหรือรับจำนำซึ่งทรัพย์สินแก่สมาชิกหรือของสมาชิก

3. ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงินโดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

4. ค้ำประกินเงินกู้หรือสินเชื่อของสมาชิก รวมทั้งการค้ำประกันการให้เช่าซื้อหรือให้ยืมทรัพย์สินอื่นแก่สมาชิก

5. รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือฝากประจำจากสมาชิก ได้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

6. ซื้อหุ้นของธนาคารซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สหกรณ์

7. ซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้ของชุมนุมสหกรณ์

8. ซื้อหุ้นของสหกรณ์อื่น หรือของสถาบันซึ่งประกอบธุรกิจอันทำให้เกิดความสะดวกหรือส่งเสริมความเจริญแก่กิจการของสหกรณ์โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

9. ดำเนินธุรกิจและการค้าเพื่อประโยชน์ของสมาชิก

10. ให้การสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัวที่ต้องภัยพิบัติเกี่ยวกับอาชีพ

11. ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก

12. ขอหรือรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากทางราชการ หน่วยงานของต่างประเทศหรือบุคคลอื่นใด ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายหรือแนวทางดำเนินงานตามที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด

13. ดำเนินกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับ หรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

สหกรณ์การเกษตรกร

สหกรณ์การเกษตร คือ สหกรณ์ซึ่งมีสมาชิกเป็นเกษตรกรชาวไร่ชาวนา จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขความเดือคร้อนในการประกอบอาชีพของสมาชิก สมาชิกเป็นผู้ลงทุนถือหุ้นในสหกรณ์ รวมทั้งเป็นผู้มอบพืชผลที่เพาะปลูกได้ให้สหกรณ์จัดการขายสมาชิกจึงมีความสำคัญอย่างมากในสหกรณ์ ฉะนั้นผู้ที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร หรือผู้ที่จะสมัครเขาเป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร จึงควรทราบเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับสมาชิก ดังนี้

สมาชิกต้องเป็นเกษตรกร บรรลุนิติภาวะ มีสัญชาติไทย สมาชิกจะต้องเลือกสังกัด กลุ่มย่อยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และต้องชำระค่าหุ้นอย่างน้อย 1 หุ้น (ห้าสิบบาท) และชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าคนละ 20 บาท

หมายเหตุ ขณะนี้มีสหกรณ์ปศุสัตว์ สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ ฯลฯ เกิดขึ้นอีกมากมาย สหกรณ์เหล่านี้ได้รับการจดทะเบียนอยู่ในประเภทสหกรณ์การเกษตรเช่นกัน โดยแต่ละสหกรณ์จะมีวัตถุประสงค์และข้อบังคับขึ้นมาเองต่างหาก