ปรงหนู


ชื่อวิทยาศาสตร์ Acrostichum speciosum Willd.
ชื่อวงศ์ PTERIDACEAE
ชื่ออื่น ปรง (ตราด)
ลักษณะทั่วไป คล้ายกับปรงทะเล แต่ส่วนมากจะขึ้นแยกเป็นต้น น้อยครั้งที่จะพบขึ้นเป็นกลุ่ม
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปใบหอก กว้างประมาณ
3-4 ซม. ยาว 30-40 ซม. ก้านใบไม่มีหนามแข็งสั้นๆ เหมือนกับปรงทะเล มี 15-30 คู่ เรียงสลับผิวใบเรียบเป็นมันใบที่ไม่สร้างสปอร์ ปลายใบมีลักษณะเรียวแหลม และไม่มีติ่งหนามสั้นๆ ฐานใบเป็นรูปลิ่ม ถึงมนกลม ทั้งสองข้างจะไม่เท่ากัน เส้นกลางใบจะนูนเด่น เส้นใบจะสานกันเป็นร่างแห ก้านใบย่อยสั้น ใบย่อยที่สร้างสปอร์จะอยู่ตอนปลายกิ่ง มีขนาดเล็กกว่าใบย่อยที่ไม่สร้างสปอร์ ซึ่งอยู่ทางด้านโคนใบ กลุ่มของอับสปอร์เรียงตัวชิดกันเต็มพื้นที่ด้านล่างของแผ่นใบย่อย มีขนปกคลุมเล็กน้อย ขยายพันธุ์โดยใซ้สปอร์และลำต้น แต่ปรงหนู ใบจะสั้นกว่าปรงทะเล


นิเวศวิทยา พบตามป่าขายเลนที่ค่อนข้างสูง มีน้ำทะเลท่วมเป็นบางครั้ง
การใช้ประโยชน์ ปลูกตกแต่งเป็นพืชประดับสวนหย่อม หน่ออ่อน รับประทานเป็นผักสด เป็นผักสดในสลัด และปรุงเป็นอาหารต่างๆ ใบ ใช้เป็นอาหารสัตว์ ใบแก่ ใช้มุงหลังคา หรือใช้ทำกระดาษ เส้นใยของใบแก่ ใช้ทำเชือก


การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ใบ ใช้รักษาบาดแผล ช่วยในการ หยุดไหลของโลหิต
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย