พลับพลา

(Phlapphla)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Microcos tomentosa Sm.
ชื่อวงศ์ TILIACEAE
ชื่ออื่น พลา น้ำลายควาย
ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 6-8 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม แตกกิ่งตา มีกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นเป็นพูหรือร่อง เปลือกต้นสีเทาแตกหลุดล่อนเป็นแผ่นบางๆ


ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 4-8 ซม. ยาว 8 -17 ซม. ปลายใบมักมี 3 พู เป็นติ่งแหลมสั้นๆ โคนใบมนหรือตัดตรงขอบใบหยัก ฟันเลื่อย แผ่นใบบางและแห้งย่นเป็นลอน สีเขียวเข้ม มีขนสีน้ำตาล ปกคลุมทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 0.5-1 ซม.


ดอก สีเหลืองอ่อน ดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอก ตั้งยาว 3-15 ซม. ดอกย่อย 10-25 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปซ้อน สีเขียวอมเหลือง ด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนสีนํ้าตาลปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม เกสรเพศผู้ 5 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1-1.5 ซม. ออกดอกเดือน มี.ค.-มิ.ย.
ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปไข่กลับ กว้าง 0.5-1 ซม. ยาว 1 .0-1 .5 ซม. สีเขียว ผิวมีขนปกคุม เมื่อสุกมีสีน้ำตาลอมดำ เปลือกบาง เนื้อเยื่อบางๆ เกาะติดเส้นใยเหนียวหุ้มเมล็ดแข็ง เมล็ดรูปไข่ สีน้ำตาลอ่อน ติดผลเดือน พ.ค.-ส.ค. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา พบทั่วไปทั้งในป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น
การใช้ประโยชน์ เปลือกต้น ใช้ทำเชือก ผลสุกสีดำ รสหวานฝาด บริโภคสด
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร เปลือกจากเนื้อไม้ผสมปรุงเป็นยา บำรุงเลือดสตรี
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย