มะเขือเทศ (Tomato)


ลักษณะทั่วไป
เป็นพืชที่ยอมรับปลูกกันทั่วไปบนที่สูง (เช่นเดียวกับกะหล่ำปลี) มีตลาดเอกชนรองรับอยู่มาก ตลาดมีความต้องการสูง (รับประทานสดและแปรรูป) โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างนอกฤดูปลูก (ฤดูฝน) เหมาะที่จะปลูกในสภาพที่สูง ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ เพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตต่อพื้นที่ปลูกสูง ใช้ต้นทุนปัจจัยการผลิตมาก ดังนั้นการผลิตจึงไหวตัวง่ายมากขึ้นกับระดับราคา ส่วนใหญ่จะปลูกโดยใช้พื้นที่มาก
ข้อมูลการผลิต
พันธุ์ VF และ Table (FARMER 301)
ฤดูปลูก ตลอดปี
ความสูง 300-1500 เมตร
ความเป็นกรดด่างของดิน 6.0-6.8
ชนิดของดิน ร่วนปนทรายระบายดี เป็นพื้นที่ไม่เคยปลูก พริก พริกหวาน มะเขือยาว หรือยาสูบมาก่อน

พันธุ์

VF 134-1-2(แปรรูป)

FARMER(รับประทานสด)

ระยะปลูก(ต้นxแถว)

20x150 ซม.(แถวเดี่ยว)

45x75 ซม.

จำนวนต้น (ต่อ 100 ตร.ม.)

333 ต้น

300 ต้น

ความกว้างของแปลง

75 ซม.

100 ซม.

ระยะห่างของแปลง

75 ซม.

50 ซม.

ระยะเวลาที่เจริญเติบโตเต็มที่

60-90 วัน

105-110 วัน

การเตรียมกล้า

ระยะปลูก(ต้นxแถว)

5x10 ซม.

5x10 ซม.

จำนวนต้น

666/100 ตร.ม.(กล้าเสีย 50%)

600/100 ตร.ม. (กล้าเสีย 50%)

พื้นที่แปลงกล้า

11-13 ตร.ม.

สำหรับย้ายปลูกในพื้นที่ 100 ตร.ม.

ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)*
การผลิต
(เป็นข้อมูลของพันธุ์ VF เท่านั้น) ปลูกได้เพียงปีละ 2 ครั้ง เพราะอายุพืชยาว (1) ฤดูหนาว/ร้อน ธ.ค.-มิ.ย. (2) ฤดูฝน เม.ย./พ.ค. – ต.ค./พ.ย. โดยผลิตในฤดูหนาว/ร้อน จะสูงกว่าเล็กน้อย เพราะไม่ค่อยมีปัญหาโรคพืช สำหรับพันธุ์ประเภท Table มักให้ผลดีสู้ไม่ได้
ผลผลิต
ฤดูหนาว/ร้อน 325-375 กก. ฤดูฝน 275-325 กก. สำหรับเกษตรกรมือใหม่ หรือที่ยังขาดประสบการณ์อาจได้ผลผลิตประมาณ 50-150 กก. ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.
*พื้นที่ปลูกจริง 100 ตร.ม. อาจจะต้องการพื้นที่ประมาณ 2 เท่าคือราว 200 ตร.ม. ขึ้นอยู่กับว่าพื้นที่เป็นนาข้าวหรือพื้นที่ดอยที่มีความลาดชัน
เกรด
ขึ้นอยู่กับฝีมือ ความชำนาญของคนเก็บ ควรเก็บเมื่อผลเริ่มมีสีเรื่อๆ เกรดของพืชขึ้นอยู่กับขนาดผลและสี ดังนั้นถ้าขาดแคลนแรงงาน เก็บผลผลิตไม่ทัน ผลที่สุกเกินไปจะไม่ได้คุณภาพเกรดดี โดยเฉลี่ยผลผลิตจะเป็นเกรด A ประมาณ 50%
ราคาขายของเกษตรกร
ราคาจะดีกว่าในฤดูฝน (5-7 บาท/กก.) เปรียบเทียบกับฤดูหนาว/ร้อน (3-5 บาท/กก.) ราคามีแนวโน้มลดลง เพราะเกษตรกรปลูกมากขึ้นทุกปี มีตลาดเอกชนรองรับกว้างขวางเพราะพื้นที่ปลูกมีมาก
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ต้นทุนสูง ต้องฉีดพ่นสารเคมีควบคุมการระบาดของโรคและแมลงอย่างสม่ำเสมอ (14-16 ครั้ง/ฤดูปลูก) ใช้ยากำจัดเชื้อราสูงในการปลูกฤดูฝนและใช้ยาฆ่าแมลงสูงในฤดูร้อน ต้องจ้างแรงงานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนย้ายไปยังจุดที่จะทำการขนส่ง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ค่าไม้และเชือกสำหรับทำค้าง
ผลตอบแทน
กำไรขึ้นอยู่กับระดับราคาเป็นอย่างมาก เพราะการปลูกมะเขือเทศ มักทำในพื้นที่ขนาดใหญ่ (1-3 ไร่) โดยได้ผลผลิตถึงประมาณ 2-4 ต้น/ไร่ ถ้าราคาลดลงเพียง กก.ละ 1 บาท รายได้เบื้องต้นจะลดลงถึง 2000-4000 บาท/ไร่ จนถึงกับทำให้ขาดทุนได้
ผลตอบแทนแรงงาน(ต่อวันทำงาน)
ค่อนข้างต่ำ เพราะใช้แรงงานมาก และกำไรเบื้องต้นต่ำ
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
ไม่ควรปลูกมะเขือเทศตามหลังพืชตระกูลเดียวกัน เช่น พริกยักษ์ ยาสูบ หรือมันฝรั่ง ควรย้ายที่ปลูกทุกๆ ปี เกษตรกรไม่ควรสูบบุหรี่ในขณะที่ทำงานในแปลงเพาะปลูก เจ้าหน้าที่ควรตรวจสอบการใช้สารเคมีของเกษตรกรให้ตรงตามคำแนะนำ ปัญหาการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ การส่งผลผลิตไปตลาดไม่ทัน เนื่องจากผลแก่สุกพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ต้องวางแผนให้ดีและควรเก็บเกี่ยวผลเมื่อเริ่มมีสีแดงเรื่อ
การตลาด
ตลาดกว้างขวาง มีตลาดเอกชนรองรับ การสูญเสียผลผลิตระหว่างขนส่งไปตลาดในฤดูร้อน จะสูงกว่าในฤดูอื่น เพราะผลสุกเร็ว ในฤดูร้อน ราคาตลาดสูงสุด (13-16 บาท/กก.) แต่อัตราการสูญเสียมีประมาณ 20-30% ทำให้ราคารับซื้อจากเกษตรค่อนข้างต่ำ ส่วนราคาตลาดในฤดูฝน ประมาณ 7-10 บาท/กก.
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ตร.ม.)


ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ศัตรูพืชและโรค
ศัตรูพืช
ไส้เดือนฝอย (Nemotode) เกิดได้ทุกระยะ สังเกตจากต้นชงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น รากเป็นปม ป้องกันโดยใส่ ฟูราดาน รองพื้นหลุมกล้าหรือโรยรอบต้น หรือใช้วิธีผสมกับดินเมื่อทำการเตรียมดิน
แมลงหวี่ขาว (White Fly) พบได้ทุกระยะ ดูดกินน้ำเลี้ยง และเป็นพาหะแพร่เชื้อไวรัส ป้องกันแก้ไขโดยฉีดพ่น พอส์ส หรือ ทามารอน สัปดาห์ละครั้ง หรือตามความจำเป็น
หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera) พบในระยะติดผล เจาะผลทำให้ผลเน่าเสีย ป้องกันแก้ไขโดยใช้ แลนเนท หรือยา Synthetic Pyrethroid ในระยะติดผลทุกๆ 7 วัน
เพลี้ยอ่อน  พบตลอดปี โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อน ดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดใบ ป้องกันแก้ไขโดยใช้ แลนเนท พอส์ส หรือ นุวาครอน ฉีดพ่นเป็นระยะทุก 7 วัน
โรค
โรคใบไหม้ (Late Blight) เกิดจากเชื้อ Phytophthora infestans พบมากในฤดูฝน สังเกตจากรอยแผลสีน้ำตาลบนใบ ทำให้ลำต้นเปราะและหักง่าย ป้องกันโดยใช้ แอนทราคอล สัปดาห์ละครั้ง เมื่อพบอาการโรคแก้ไขโดยฉีดพ่น แอพรอน 35 หรือ ไรโนมิล MZ สัปดาห์ละครั้ง จนกว่าอาการโรคหายไป
โรคใบจุด  พบได้ทุกระยะ แต่พบมากช่วงติดผล มักทำลายใบแก่ สังเกตได้จากแผลกลมสีน้ำตาลมีจุดสีเทาตรงกลาง ป้องกันแก้ไขโดยฉีดพ่น ไดเทนเอ็ม 45 หรือ โคแมค สัปดาห์ละครั้งหรือตามความจำเป็น
โรคราแป้ง พบช่วงติดผลถึงเก็บเกี่ยว สังเกตจากปุยสีขาวบนใบ ใช้อาฟูกาน หรือเบนเลท สัปดาห์ละครั้งตั้งแต่ระยะปลูก จนถึงเก็บเกี่ยว
โรคเหี่ยว  พบทุกระยะ โดยเฉพาะระยะติดดอก ช่วงฝนชุกอากาศชื้น ป้องกันแก้ไขโดยฉีดพ่น คูปราวิท หรือ โคแมค ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงเก็บเกี่ยว
ข้อควรระวัง
ใช้ยากำจัดเชื้อราทั้ง 2 ชนิดให้พอดี ถ้าเข้มข้นเกินไปต้นจะไหม้เฉาตาย และอย่าฉีดพ่นในวันที่อากาศร้อน
อื่นๆ
การขาดธาตุแคลเซี่ยม (ก้นดอกเน่า) พบตั้งแต่ระยะติดผลเป็นต้นไป โดยผลมีรอยคล้ำที่ก้นและเน่าในเวลาต่อมา ป้องกันแก้ไขโดยฉีดพ่น แคลเซี่ยมคลอไรด์ เมื่อเริ่มปลูกจนถึงช่วงติดผล
การใช้แรงงาน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม ในกรณีนี้ค่อนข้างสูง เป็นพื้นที่ห่างไกลทางคมนาคม กิจกรรมบางอย่างต้องใช้เวลามากในการขนย้ายปัจจัยการผลิตไปยังแปลงปลูก นอกจากนั้นพื้นที่ปลูกจริงกับพื้นที่ทำการเกษตรต่างกันประมาณ 2 เท่าเช่นพื้นที่ปลูกพืชจริง 1 ไร่ อาจครอบคลุมพื้นที่ดินราว 2 ไร่
ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงการเตรียมกล้า
ขุดพลิกดินตากแดดทิ้งไว้ 7 วัน ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร แปลงห่างกันร่องละ 50 ซม. ย่อยดินให้ละเอียด เก็บเศษหญ้าทิ้ง ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ปูนขาวและปุ๋ย 15-15-15 คลุกเคล้าในดินให้ทั่ว ปรับหน้าแปลงให้เรียบและแต่งข้างแปลงให้แน่น ทำร่องปลูกลึก 1 ซม. ขวางแปลง ความห่างระหว่างร่อง 10 ซม. หยอดเมล็ดลงร่องให้ต้นห่างกัน 5 ซม. โรยฟูราดานในร่อง กลบดิน ราดยา เซฟวิน 85 และ ไดเทนเอ็ 45 รดน้ำให้ชุ่ม แล้วคลุมแปลงด้วยตาข่ายพลาสติค ป้องกันแสงแดดและฝนตกกระแทก
ข้อควรระวัง
ถ้าปลูกถี่เกินไป ทำให้เกิดโรคโคนเน่า และถ้าอากาศชื้น จะเกิดโรคใบไหม้ เมื่อเกิดปัญหารุนแรง ควรเตรียมพื้นที่แปลงกล้าใหม่
ช่วงการปลูก
กำจัดวัชพืชและใส่ปูนขาว ก่อนทำการขุดเตรียมดิน เตรียมดิน 7 วัน ก่อนย้ายกล้าปลูก โดยใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ย 15-15-15, 0-4-0 คลุกเคล้าในดิน สำหรับแปลงปลูกพันธุ์ประเภท Table ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ร่องระหว่างแปลง 50 ซม. สำหรับพันธุ์ VF ใช้แปลงกว้าง 75 ซม. ร่องระหว่างแปลง 75 ซม. แต่ละแปลงจะปลูก 2 แถว ระยะห่างระหว่างต้น 45×45 ซม. รดน้ำแปลงให้ชุ่ม ทำการย้ายปลูกในตอนเย็น ไม่ให้ต้นอ่อนถูกแดดเผา (แล้วแต่พื้นที่ปลูก) เมื่อย้ายกล้าปลูกแล้วใส่ยาฟูราดาน สำหรับพันธุ์ Table ให้ใส่ที่โคนต้นแล้วกลบดิน ส่วนพันธุ์ VF ใช้วิธีขุดร่องห่างจากต้น 10 ซม. โดยฟูราดาน กลบดินแล้วรดน้ำทำการปลูกซ่อมเมื่อพบต้นกล้าตาย
ช่วงการดูแลรักษา
ใส่ปุ๋ยครั้งแรกหลังย้ายปลูกได้ 15 วัน ใช้ปุ๋ย 46-0-0 หรือ 21-0-0 หรือ 27-0-0 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. รอบโคนต้นแล้วกลบดิน ทำค้าง เมื่อพืชอายุได้ 2 สัปดาห์ พันธุ์ VF ต้องทำค้างรอบด้าน (สูง 50 ซม. ระยะห่าง 75 ซม.รอบแปลง) ส่วนพันธุ์ Table ใช้ไม้ค้ำอันเดียว สูง 175-200 ซม. ให้ต้นเลื้อยขึ้นไป การปลูกมะเขือเทศต้องทำการแต่งกิ่งใบโดยเด็ดดอกแรกทิ้ง ตัดแต่งกิ่งอ่อนแอและใบบางส่วนทิ้งเพื่อให้ทรงต้นโปร่ง พันธุ์ Table ต้องการเก็บกิ่งไว้เพียงกิ่งเดียว ในแต่ละแขนงต้องแต่งกิ่งใบค่อนข้างบ่อย ส่วนพันธุ์ VF เก็บไว้ 3-4 กิ่ง ถ้ายอดยังอ่อนใช้มือเด็ด แต่ถ้าแก่แล้วให้ใช้กรรไกรตัด
หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรก 10-15 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใช้สูตร 27-0-0 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. (แล้วแต่พื้นที่ปลูก) ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ระยะเริ่มติดดอกใช้สูตร 13-13-21 ในอัตรา 50 กรัม/ตร.ม. ทำการกำจัดวัชพืชทุกครั้ง พร้อมกับการใส่ปุ๋ย คอยเก็บใบแก่และผลที่ถูกแมลงเจาะทิ้งเสีย ทำการฉีดพ่นยาเคมี เป็นระยะสม่ำเสมอ ป้องกันโรคและแมลงเข้าทำลาย จำนวนครั้งแล้วแต่การระบาด
ข้อควรระวัง
กำจัดวัชพืชควรใช้กรรไกรตัด การใช้มือถอนทิ้ง จะกระทบกระเทือน ทำให้รากต้นมะเขือเทศขาดและต้นเหี่ยวเฉา
ช่วงการเก็บเกี่ยว
พันธุ์ Table
เก็บเมื่อผลมีสีแดง 20-30% ให้มีขั้วติด เช็ดผลให้แห้ง ทำการแยกเกรด แล้วห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนบรรจุ
พันธุ์ VF
ถ้าส่งตลาดกรุงเทพฯ เก็บเมื่อผลมีสีแดง 20% ถ้าส่งตลาดเชียงใหม่ เก็บเมื่อผลมีสีแดง 50% เก็บให้มีขั้วติดถ้าขายตลาดผู้บริโภค เช็ดผลให้แห้ง คัดเกรดแล้วทำการบรรจุ
ข้อควรระวัง
1. พันธุ์ Table ขั้วผลจะหลุดง่าย
2. ผลจะแตก ถ้าอากาศร้อนมาก แล้วตามด้วยในตกชุก
3. ในฤดูร้อน ผลจะสุกเร็ว ทำให้เกิดปัญหาแรงงานไม่พอ ขนส่งไปตลาดไม่ทันและพืชผลเสียหาย
ที่มา:ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่