อาร์ทีเมีย

วงจรชีวิตของอาร์ทีเมีย, ไรน้ำเค็ม, ไรสีน้าตาล (Brine Shrimp) Anemia spp.

อาร์ทีเมีย (Brine Shrimp) นี้ ได้ถูกนำมาใช้เป็นอาหารที่ดีสำหรับอนุบาลพวก Crustacean และปลาวัยอ่อน เช่น กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium sp.) กุ้งทะเล (Penaeus sp.) กุ้งมังกร (Homarus sp.) ปูและปลาชนิดต่างๆ ได้มีการทดสอบโดยการใช้อาร์ทีเมียกับตัวอ่อนของกุ้งกุลาดำ (P.monodon) และปลานวลจันทร์ทะเล (Chanos chanos) ว่าให้อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายสูงกว่าอาหารสูตรต่างๆ หรืออาหารที่มีชีวิต ได้แก่ Copepod และ Rotifer ยังไม่มีอาหารสูตรชนิดไหนที่ให้คุณค่าเท่า กับหรือดีกว่าอาร์ทีเมีย

เมอเร็วๆ นี้ ประเทศปานามาได้พบว่า การใช้อาร์ทีเมียระยะเต็มวัยเป็นอาหาร จะมีผลทำให้พวก Crustacean สมบูรณ์ทางเพศเร็วขึ้นกว่าการใช้เทคนิคทางด้านการทำลายก้านตา และควบคุมแสงสว่าง ในประเทศบราซิลได้ศึกษาโดยการใช้อาร์ทีเมียแห้งแทนเนื้อปลาในสูตรอาหารเม็ดชนิดต่างๆ เพื่อใช้เป็นอาหารของกุ้งในบ่อที่เลี้ยง

อาร์ทีเมียมีพฤติกรรมหลายอย่างซึ่งทำให้สามารถใช้เป็นอาหารเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ นอกจากนี้อาร์ทีเมียยังง่ายต่อการนำมาใช้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้ดี กินอาหารทุกชนิดด้วยวิธีการกรอง เติบโตได้รวดเร็วในอัตราที่หนาแน่นมากกว่า 10,000 ตัว/ลิตร และยังสามารถกินอาหารชนิดเดียวได้ตลอดโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอาหาร ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อสูง ช่วงวงจรการสืบพันธุ์สั้น ให้ไข่ดก วงจรชีวิตยืนยาว (6 เดือนหรือมากกว่า) คุณค่าทางอาหารสูง ประกอบด้วย โปรตีน 40-600% อุดมไปด้วย Amino acid, Vitamin, Hormone, Carotenoids และอื่นๆ อยู่มาก

ในปัจจุบันได้มีการขยายการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมากขึ้น ทำให้ปีหนึ่งๆ มีความต้องการอาร์ทีเมียมากเกินกว่ากำลังผลิต จึงจำเป็นที่จะต้องผลิตอาร์ทีเมียให้มากกว่าที่ต้องการใช้

สภาพพื้นที่ดินเค็มของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอยู่จำนวนมาก ที่มีความเค็มตั้งแต่ 60 ppt. ขึ้นไป ซึ่งไม่สามารถจะใช้ประโยชน์ในด้านเพาะปลูกได้ เป็นพื้นที่เหมาะสมที่จะเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมีย เพราะจะปราศจากตัวเบียนและสัตว์น้ำอื่นๆ ที่คอยแย่งอาหาร