การสร้างสูตรอาหารสัตว์น้ำ

ในการทำให้ส่วนผสมของอาหารปลา จะมีโปรตีนได้ตามที่ต้องการของปลาแต่ละประเภท และจะใช้วัสดุใดบ้างนั้น เราจะสามารถรู้ส่วนผสมของอาหารนั้นโดยวิธีการคำนวณแบบสร้างรูปสี่เหลี่ยม(Square method) ซึ่งมีวิธีการคำนวณได้ ดังนี้

1. สร้างรูปสี่เหลี่ยมขึ้นรูปหนึ่ง ตรงกลางสี่เหลี่ยมเขียนจำนวนโปรตีนที่ต้องการไว้ตรงกลาง

2. มุมบนทางซ้ายมือของรูปสี่เหลี่ยม ใส่จำนวนโปรตีนของวัสดุที่มีโปรตีนต่ำ

3. มุมล่างทางซ้ายมือของรูปสี่เหลี่ยม ใส่จำนวนโปรตีนของวัสดุที่มีโปรตีนสูง

4. ลากเส้นทะแยงมุมจากมุมทั้งสี่ของรูปสี่เหลี่ยมไปยังตัวเลขกลาง ตัวเลขกลาง คือ เปอร์เซ็นต์โปรตีนที่เราจะต้องสร้างขึ้นในสูตรอาหาร หรือเป็นเปอร์เซ็นต์โปรตีนในวัสดุอาหารที่ให้โปรตีน ในสูตรอาหาร

5. หักลบกันทางด้านทะแยง โดยใช้ตัวเลขจำนวนมากเป็นตัวตั้ง และตัวน้อยเป็นตัวลบ

6. ผลที่ได้จากการลบกันทางทะแยง จะเป็นจำนวนส่วนของวัสดุที่จะใช้ผสมเป็นอาหาร

วิธีการคำนวณดังตัวอย่างต่อไปนี้

เมื่อต้องการผสมอาหารชนิดหนึ่งจำนวน 100 กก. ให้มีโปรตีน 16% ซึ่งประกอบด้วยกากมันสำปะหลัง รำ ปลาป่นจืด โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้รำและกากมันสำปะหลังป่นในปริมาณเท่าๆ กัน ทั้งนี้สมมุติให้โปรตีนของกากมันสำปะหลังป่น = 5.4 รำ = 9.4 ปลาป่นจืด = 33.3% จากการใช้ Square method balance เราจะได้ส่วนผสมของอาหาร ดังนี้

วิธีทำ

ค่าโปรตีนโดยเฉลี่ย                                          =  5.4+9.4

2

= 7.4 เปอร์เซ็นต์

เปอร์เซ็นต์ของปลาป่นจืด                                = 33.3 เปอร์เซ็นต์

ปริมาณกากมันสำปะหลังป่นและรำที่ใช้  = 17.3×100/25.9 = 67%

ปริมาณกากมันสำปะหลัง                                = 67/2 = 33.5%

ปริมาณรำ                                                = 67/2 = 33.5%

ปริมาณปลาป่นจืด                                   = 100-67 = 33%

จากการใช้วัสดุอาหารทั้ง 3 อย่างในปริมาณที่คำนวณไว้ จะได้อาหารผสมที่มีโปรตีน 16% ตามความต้องการ

เนื่องจากปัจจุบันนี้อาหารผสมได้มีการวิวัฒนาการขึ้น ได้มีการผสมวัตถุประเภทแร่ธาตุและวิตามินลงในอาหารเพื่อให้อาหารนั้นมีคุณภาพสูงขึ้น แต่วิตามินและแร่ธาตุที่เติมลงไปปราศจากโปรตีน การคำนวณโดยวิธีนี้จึงมีข้อแตกต่างไปบ้าง ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างต่อไปนี้

– เมื่อต้องการผสมอาหารชนิดหนึ่งจำนวน 100 กก. ให้มีโปรตีนของอาหารนั้น 16% โดยกำหนดใหใช้ข้าวโพดเป็น 3 เท่าของแป้งสาลี (แป้งหมี่) และใช้กากถั่วเหลืองและกากเมล็ดฝ้ายในปริมาณเท่าๆ กัน และวิตามินแร่ธาตุ 3% โดยกำหนดให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนของข้าวโพด = 9%ข้าวสาสี = 12% กากถั่วเหลือง = 44% และกากเมล็ดฝ้าย = 36%

วิธีทำ

โปรตีนรวมของข้าวโพด                            =9×3             =27

โปรตีนรวมของข้าวสาลี                            =12×1          =12

โปรตีนเฉลี่ยของข้าวโพดและข้าวสาลี      = 27+12/4   =9.75%

โปรตีนเฉลี่ยของกากถั่วเหลืองกับกากเมล็ดฝ้าย = 44+36/2 = 40%

วัสดุอาหารที่ให้โปรตีนจริงๆ                     = 100-3  = 97%

โปรตีนในเนื้อแท้จริง        = 16×100/97  = 16.5 %

เมื่อได้ข้อมูลต่างๆ แล้ว จึงสร้างรูปสี่เหลี่ยมเพื่อการคำนวณจะได้ผลดังนี้

ปริมาณข้าวโพดและข้าวสาลีที่ใช้     = 23.50×97/30.25 = 75.5%

ปริมาณข้าวสาลีที่ใช้                         = 75.5/4                  = 18.9%

และปริมาณข้าวโพด                                = 75.5-18.9            = 56.6%

ปริมาณกากถั่วเหลืองและกากเมล็ดฝ้ายที่ใช้ = 97.0-75.5 = 21.5%

ปริมาณกากถั่วเหลือง      = 21.5/2                                  =10.75%

ปริมาณกากเมล็ดฝ้าย      = 10.75 %

จากการใช้วัสดุอาหารดังนี้ ข้าวโพด 56.6 กก. ข้าวสาลี 18.9 กก. กากถั่วเหลือง 10.75 กากเมล็ดฝ้าย 10.75 กก. และวิตามินแร่ธาตุ 3 กก. มารวมกันจะได้อาหารผสมที่มีโปรตีน 16% ตามที่ต้องการ

ในการสร้างสูตรอาหาร เมื่อได้สูตรอาหารที่ต้องการ และรู้วัสดุที่ทำมาใช้เพื่อที่จะทำให้สูตรอาหารนี้สมบูรณ์ขึ้นในแง่เกี่ยวกับโภชนาศาสตร์ จึงต้องมีการเติมสารที่เป็นประโยชน์ ซึ่งได้แก่กรดอมิโนที่จำเป็น แร่ธาตุ และวิตามินอีกหลายชนิดให้มากพอกับความต้องการของสัตว์น้ำที่จะเลี้ยง

1. การเติมกรดอมิโนที่จำเป็น (Essential aminoacid) กรดอมิโนเป็นองค์ประกอบของโปรตีน โดยมีกรดอมิโนหลายๆ ชนิดมารวมกันเป็นโปรตีน และตัวกรดอมิโนนี้จะเป็นเครื่องชี้บ่งถึงคุณภาพของโปรตีนนั้น ในการที่จะทำให้โปรตีนนั้นประกอบด้วยกรดอมิโนตรงตามความต้องการของสัตว์น้ำ ปัจจุบันนิยมใช้กรดอมิโนสังเคราะห์ผสมลงไป การผสมกรดอมิโนมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณกรดอมิโนที่มีอยู่เดิมในวัสดุที่ใช้ทำอาหารนั้น อย่างเช่น

ในตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อยากจะให้อาหารผสมนี้มีกรดอมิโนชื่อ Methionii อยู่ 0.66% ดังนั้น จะต้องเติมกรดอมิโนสังเคราะห์ชื่อ Methionine ซึ่งมีความบริสุทธิ์ 98% จำนวนเท่าใด โดยที่สมมุติว่าสารต่อไปนี้มี Methionine อยู่

กากถั่วเหลือง   0.59%

กากเมล็ดฝ้าย  0.50%

ข้าวโพด           0.12%

ข้าวสาลี           0.10%

วิธีการคำนวณ

กากถั่วเหลือง   = 0.59×10.75/100 = .063%

กากเมล็ดฝ้าย  = 0.50 X10.75/100 = .054%

ข้าวโพด           = 0.12 X 56.6/100  = .068%

ข้าวสาลี           = 0.10 X18.9/100   = .019%

มีเมทิโอนินรวมอยู่    = .063+.054+.068+.019

= .204

ยังขาดเมทิโอนินอยู่  = .66-.204      = .456

สารสังเคราะห์เมทิโอนินบริสุทธิ์ 98% ในสารสังเคราะห์

= 100%

สารสังเคราะห์เมทิโอนินบริสุทธิ์ .456% ในสารสังเคราะห์

= 100 X.456/98 %

= .465%

เพื่อที่จะให้อาหารมีเมทิโอนิน 0.66% จะต้องเติมสารสังเคราะห์เมทิโอนิน = 0.465%

2. การผสมวิตามินและแร่ธาตุให้ได้ปริมาณตามที่ต้องการ มีหลักและวิธีการดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้

ถ้าหากต้องการให้อาหารนี้มีแร่ธาตุแคลเซียมอยู่ 0.6% และฟอสฟอรัส 0.6% ในอาหารที่ใช้วัสดุดังกล่าวมาแล้วตอนต้น ซึ่งจากตารางวิเคราะห์สมมุติว่ามีแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกากถั่วเหลือง กากเมล็ดฝ้าย ข้าวโพด และข้าวสาลี ดังตารางนี้

  ปริมาณคิดเป็นเปอร์เซ็นต์
แคลเซียม ฟอสฟอรัส
กากถั่วเหลือง 0.28 0.59
กากเมล็ดฝ้าย 0.20 0.83
ข้าวสาลี 0.02 0.09
ข้าวโพด 0.03 0.34

ในการคำนวณขั้นแรก เราต้องรู้ถึงปริมาณของธาตุทั้งสองที่มีอยู่ในวัสดุที่ประกอบเป็นอาหารในขั้นต่อไปจึงเติมแร่ธาตุลงไปเพื่อให้ตามที่กำหนดไว้

วิธีการคำนวณ

  ปริมาณคิดเป็นเปอร์เซ็นต์
แคลเซียม ฟอสฟอรัส
กากถั่วเหลืองจะมีแร่ธาตุอยู่เดิม 0.28×10.75/100=.030 0.59×10.75/100=.063
กากเมล็ดฝ้ายจะมีแร่ธาตุอยู่เดิม 0.20×10.75/100=.022 0.83×10.75/100=.089
ข้าวสาลีจะมีแร่ธาตุอยู่เดิม 0.02 x18.9/100=.004 0.09×18.9/100=.017
ข้าวโพดจะมีแร่ธาตุอยู่เดิม 0.03×56.6/100=.017 0.34 x56.6/100=.912
รวม =.073 =.316
อาหารผสมนี้ยังขาดแคลเซียม =.6-.073 =.527
อาหารผสมนี้ยังขาดฟอสฟอรัส =.6-.361 =.239

แร่ธาตุที่ใช้เติมเพื่อให้อาหารนี้ สมมุติว่าใช้แคลเซียมฟอสเฟตซึ่งมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสอยู่ 17.0 และ 21.0% ตามลำดับ

ฟอสฟอรัส 21 กก. จะมีในแคลเซียมฟอสเฟต   = 100 กก
ฟอสฟอรัส .239 กก.                                        =  0.239×100/21

= 1.138 กก.

ดังนั้น เมื่อเติมแคลเซียมฟอสเฟต 1.138 ก็จะได้ธาตุฟอสฟอรัสตามที่ต้องการ

แคลเซียมฟอสเฟต 100 กก. จะมีแคลเซียม      = 17

แคลเซียมฟอสเฟต 1.138 กก. จะมีแคลเซียม   = 17×1.138/100= 0.193

ในการเติมแคลเซียมฟอสเฟต 1.138 กก. จะทำให้อาหารนั้นมีแคลเซียมอยู่ 0.193 กก.

ในอาหารนั้นยังขาดแคลเซียม  = .527-.193 กก.

= .334     กก.

ในการเติมแคลเซียมล้วนๆ ใช้หินปูนบดซึ่งจะมีแคลเซียมล้วนๆ อยู่ 33.8%

แคลเซียม 33.8% จะมีในหินปูน       = 100%

แคลเซยม .334 กก.  =.334×100/33.8

= .988     กก.

ดังนั้นเมื่อเติมแคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) จำนวน .988 กก. ก็จะได้ธาตุแคลเซียมอยู่ในอาหารตามที่กำหนดให้

ในการผสมพวกแร่ธาตุดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป็นการผสมที่คำนึงถึงตัวแร่ธาตุที่มีอยู่เดิม และถือว่าเป็นธาตุหลักในกรณีที่การสร้างสูตรอาหารจะต้องเติมธาตุย่อย (Trace mineral) ซึ่งเป็นธาตุที่สำคัญซึ่งร่างกายของสัตว์ต้องการในปริมาณน้อยและขาดไม่ได้ ธาตุย่อยเหล่านี้ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ทองแดง แมงกานีส ฯลฯ การเติมธาตุย่อยเหล่านี้จะไม่คำนึงถึงธาตุย่อยที่มีอยู่เดิมในอาหารนั้น หลักการคำนวณจึงแตกต่างออกไปบ้างเช่น

ต้องการให้อาหารผสมที่เตรียมไว้มีธาตุสังกะสี (Zn) อยู่ในอาหารนั้น 50 มก./อาหาร 1 กก. วัสดุที่ใช้เติมเป็นสารประกอบสังกะสีออกไซด์ (ZnO) ซึ่งธาตุสังกะสี และธาตุออกซิเจนมีน้ำหนักอะตอมเท่ากับ 65.37 และ 16 ตามลำดับ

วิธีทำ

สารประกอบสังกะสีออกไซด์มีนํ้าหนักอะตอม  = 65.37x 16

= 81.37

ธาตุสังกะสี 65.37 มก. ในสังกะสีออกไซด์                        = 81.37 มก.

ธาตุสังกะสี 1 มก. ในสังกะสีออกไซด์                       = 81.37X1

65.37

ธาตุสังกะสี 50 มก. ในสังกะสีออกไซด์                     = 81.37X50

65.37

= 62.24 มก.

ดังนั้นในการทำอาหารให้อาหารผสมมีธาตุสังกะสีอยู่ 50 มก. จะต้องเติมสังกะสีออกไซด์ 62.5 มก. และสำหรับธาตุย่อยอื่นๆ ใช้วิธีทำแบบเดียวกันโดยเติมสารประกอบที่มีธาตุย่อยเหล่านั้นลงไป

การผสมวิตามินในอาหารปลา มักจะใช้วิตามินอิสระ (Individual Vitamin) แต่ละตัวผสมลงในอาหารเพื่อให้ได้ตามสูตรที่กำหนดให้ อย่างเช่น ในสูตรอาหารต้องการจะให้มีวิตามินเออยู่ในอาหารนั้น จำนวน 12 ล้านหน่วยสากล (I.U.) ในวิตามินสังเคราะห์ ชื่อวิตามินเอ อะซิเตรด (Vitamin A acetrate) ซึ่งมีความเข้มข้น 500,000 หน่วยสากล/กรัม

วิธีทำ

วิตามินเอ 500,000 หน่วยสากลในวิตามินอะซิเตรด = 1  กรัม

วิตามินเอ 12,000,000 หน่วยสากลในวิตามินอะซิเตรด

= 12,000,000X1

500,000

= 24        กรัม

ดังนั้นจะต้องผสมวิตามินสังเคราะห์ วิตามินเอ อะซิเตรด 24 กรัมลงไป จึงจะได้วิตามินเอตามที่ต้องการ