การออกแบบและสร้างที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

บ่อปลา แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้

บ่อเพาะฟัก (Breeding and Hatching Pond) บ่อดังกล่าวนี้มีรูปร่างหลายรูปแบบ เช่น กลม สี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปไข่ ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ส่วนใหญ่จะใช้บ่อซีเมนต์สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 10-50 ตารางเมตร เพราะสามารถใช้ได้ทั้งบ่อเพาะฟักและอนุบาล ถ้าเป็นบ่อกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-4 เมตร ความลึกประมาณ 1 เมตร ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับบ่อซีเมนต์ดังกล่าว บ่อดังกล่าวนี้สร้างด้วยอิฐบล็อคหรืออูฐมอญ หรือเป็นถังกลมไฟเบอร์กลาส ตั้งอยู่บนพื้นแบบลอยเพื่อสะดวกในการชักน้ำเข้าและระบายน้ำทิ้ง จับลูกปลาหรือทำความสะอาดบ่อดังกล่าวนี้สร้างอยู่ภายในโรงเพาะฟักซึ่งมีหลังคาคลุมหรือกลางแจ้งก็ได้ และมีระบบน้ำและเครื่องเป่าลมช่วยเพิ่มออกซิเจน อุปกรณ์การเพาะฟักอื่นๆ เช่น กระชังอวนสำหรับพ่อแม่ปลา อวนกระชังสำหรับรองรับไข่ปลา กรวยเพาะฟัก ฯลฯ บ่อเพาะฟักเหล่านี้ควรมีระบบท่อเชื่อมกับบ่ออนุบาล เพราะเมื่อฟักลูกปลาเป็นตัวแล้ว ก็สามารถปล่อยลูกปลาผ่านตามท่อโดยไม่ต้องจับลงสู่บ่ออนุบาลได้ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและปลอดภัย (รูปที่ 9, 10, 11, 12 และ13)

สำหรับบ่อเพาะฟักระดับชาวบ้าน อาจใช้บ่อดินหริอซีเมนต์ขนาดเล็ก ถังส้วม หรือแปลงนาข้าวที่ได้ปรับปรุงแล้วก็ใช้ได้

บ่ออนุบาล (Nursery Pond) เป็นบ่อสำหรับเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนหลังจากถูกปลาฟักออกเป็นตัวแล้ว เพิ่งเริ่มจะกินอาหารธรรมชาติได้ซึ่งจำเป็นต้องนำมาเลี้ยงในบ่ออนุบาล บ่ออนุบาลจะเป็นบ่อดิน นาข้าวที่ได้ปรับปรุงแล้ว บ่อซีเมนต์ ถังส้วมก็ใช้เป็นปออนุบาลได้ ความลึกของบ่อประมาณ 60-120 ซม. ความลึกของปออนุบาลควรพิจารณาถึงคุณสมบัติของดินที่สร้างบ่อ อัตราการระเหยของน้ำและการซึมของน้ำด้วย ในบ่ออนุบาลควรมีเครื่องเป่าลมช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ตลอดจนระบบน้ำซึ่งสามารถ ถ่ายเทและเปลี่ยนนํ้าได้ตามความต้องการ ทั้งนี้เพื่ออนุบาลลูกปลาที่มีความหนาแน่นต่อหน่วยพื้นที่และลูกปลาที่เลี้ยงแข็งแรงเจริญเติบโตดีปราศจากโรค (รูปที่ 14, 15, 16 และ 17)

บ่อเลี้ยง (Rearing Pond) ถ้าเป็นฟาร์มเลี้ยงปลาในเชิงธุรกิจและการค้า ก็ควรเป็นบ่อดินขนาด 1-3 ไร่ มีจำนวนหลายบ่อเพื่อที่จะได้มีเนื้อที่ในการผลิตปลาได้มาก และหมุนเวียนในการจับปลาจำหน่าย ความลึกของบ่อประมาณ 1.50-2.00 เมตร ถ้าเป็นบ่อสำหรับเลี้ยงปลาเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเหลือจำหน่ายบ้าง ก็ควรจะเป็นขนาด 200 ตารางเมตรขึ้นไป บ่อดังกล่าวนี้อาจใช้เป็นบ่อที่เลี้ยงพ่อแม่ปลาก็ได้

สำหรับรูปร่างของบ่อควรเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อสะดวกในการจับปลา และประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจับปลา ตลอดจนการสร้างบ่อด้วยเครื่องมือจักรกล

บ่อพักน้ำ (Sedimentation Pond) หรืออาจจะเรียกว่าเป็นบ่อเก็บน้ำ (Reservoir) เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้โดยเฉพาะในการเพาะฟัก ซึ่งต้องการน้ำใสและสะอาด เพราะในฤดูเพาะฟักไข่นั้น ส่วนใหญ่ตรงกับฤดูฝน ซึ่งคุณสมบัติของน้ำจากแหล่งนํ้าธรรมชาติที่นำมาใช้อาจมีตะกอนขุ่น ไม่เหมาะสมกับการฟักไข่ปลา บ่อดังกล่าวนี้จะเป็นบ่อที่ช่วยให้ดินตะกอนตก และน้ำใสขึ้นก่อนที่จะนำไปใช้ หรือเป็นปอที่ใช้กักตุนน้ำไว้ใช้ในยามขาดแคลนก็ได้

เมื่อเลือกทำเลที่ตั้งเลี้ยงปลาได้แล้ว ก็ดำเนินการตามลำดับต่อไปนี้

1. การเขียนแผนผัง คือจะต้องร่างแผนผัง และพิจารณาการวางแผนรูปร่างบ่อ ชนิด และปริมาณของบ่อ เพื่อมิให้เกิดการผิดพลาด และเป็นระบบถูกต้องตามหลักวิชาการและวัตถุประสงค์ที่จะใช้งาน การวางผังบ่อนับว่าสำคัญและเป็นประโยชน์ในการควบคุมการขุดบ่อและสร้างบ่อ โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

-การวางผังบ่อ ควรพิจารณาวางผังบ่อให้เหมาะสมกับพื้นที่การใช้งานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยพิจารณาความแตกต่างของพื้นที่ดังได้กล่าวไว้แล้วในลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

-ออกแบบในลักษณะพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งจะต้องวางผังระบบส่งน้ำและส่วนประกอบ ตามความจำเป็นของขั้นตอน (รูปที่ 18)

-ออกแบบในลักษณะพื้นที่รับน้ำฝนอย่างเดียว วัตถุประสงค์ก็คือให้มีพื้นที่รับน้ำฝนที่เข้าบ่อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อัตราส่วนของแหล่งรับน้ำฝน (Watershed) ประมาณ 5-10 ไร่ (ทุ่งหญ้า หรือท้องนา) ต่อพื้นที่ปอที่จะขุดประมาณ 1 ไร่ (รูปที่ 19)

รูปที่ 19แสดงรูปร่างลักษณะบ่อดินและส่วนประกอบ

2. การวางผังในที่ดิน เป็นการกำหนดที่จะถมคันดิน การเว้นที่สำหรับเป็นฐานบ่อ และบริเวณที่จะขุดบ่อ ซึ่งควรใช้ไม้หลักปักในการวางผังเช่นเดียวกับการก่อสร้างอาคาร

3. การเตรียมสถานที่ งานขั้นแรกที่จะต้องดำเนินการขุดบ่อก็คือ แผ้วถางต้นไม้ เก็บเศษไม้ออกให้หมด และอาจจะต้องทำการปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสมกับสภาพที่จะสร้างปอ และสะดวกในการปักหลักวางแนวบ่อหรือคันปอ บรรดากอไม้ต่างๆ ก็ต้องขุดทิ้ง

4. ชานปอและคันดิน การทำคันปอ ควรให้คันบ่ออยู่ห่างจากขอบบ่อ ประมาณ 2-3 เมตร โดยรอบบ่อทั้ง 4 ด้าน การที่ต้องเว้นชานบ่อเพื่อป้องกันการทรุดและพังทลายของดินเมื่อถูกน้ำฝนชะ จะได้ต่ำ อยู่บนชานบ่อไม่ไหลลงบ่อ ทำให้บ่อตื้นเขินเร็ว

ความสูงของคันบ่อ แล้วแต่ความจำเป็นที่จะใช้ในการป้องกันน้ำท่วม โดยปกติจะสูงประมาณ 1.50-2.00 เมตร ในกรณีที่สร้างบ่อเพื่อเก็บกักน้ำในพื้นที่ดินทรายจะต้องขุดบ่อทำแกนด้วยดินเหนียวหนา 40-50 ซม. และเพิ่มอัตราส่วนความกว้างของคันดินเป็น 2 เท่า

ความกว้างของสันคันบ่อไม่ควรน้อยกว่า 1 เมตร และถ้าเป็นการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืชหรือปศุสัตว์ คันบ่อก็จะมีความกว้างประมาณ 5-10 เมตร นอกจากนี้คันบ่อที่กว้างจะสะดวกต่อการใช้ยานพาหนะขนย้ายลำเลียงปลาและอุปกรณ์ต่างๆ

เชิงลาดคันบ่อ ควรเป็น 1 : 1 สำหรับดินเหนียว และ 1 : 1.5 สำหรับดินร่วน และถ้าเป็นบ่อขนาดใหญ่ที่รับคลื่นและลม หรือลักษณะเป็นดินร่วนควรมีเชิงลาด 1 : 4 เมื่อทำคันเรียบร้อยแล้ว ควรปลูกหญ้าคลุมดินเพื่อป้องกันการพังทลาย ถ้าเป็นคันบ่อขนาดเล็กไม่ควรปลูกต้นไม้บนคันเพราะรากจะชอนไช ทำให้น้ำรั่วซึมได้(รูปที่ 20 และ 21)

5. ระบบชักนํ้าเข้าปอ โดยทั่วไปสร้างเป็น 2 แบบ คือ

-ชนิดเป็นท่อ เหมาะในการส่งน้ำโดยเครื่องสูบน้ำ ท่อทางน้ำเข้าควรให้น้ำผ่านได้สมํ่าเสมอ มีตะแกรงป้องกันศัตรูของปลาเข้าบ่อ และป้องกันปลาหนีจากบ่อ โดยทวนน้ำออกไป

-ชนิดเป็นรางเปิด ซึ่งอาจทำด้วยคอนกรีต ร่องดิน ก่ออิฐ ส่วนดีของรางเปิดนี้จะสะดวกในการซ่อมแซม และการส่งน้ำเข้าบ่อทำให้เพิ่มออกซิเจนขึ้น รางเปิดดังกล่าวนี้จะสร้างขึ้นบนส่วนกลางของคันบ่อขนาดกว้างประมาณ 40 ซม. ลึก 50 ซม. ฝังลงใต้ดิน โดยให้ขอบบนของรางอยู่เสมอกับพื้นผิวดิน คันบ่อ ลำรางขนานไปทางด้านหัวบ่อ มีช่องปิดเปิดน้ำเชื่อมด้วยท่อกลมขนาด 20 ซม. เพื่อรับน้ำจากรางดังกล่าวปล่อยลงบ่อให้กระทบผิวน้ำด้านบน (รูปที่ 20 และ 21)

6. ระบบระบายน้ำทิ้ง ในเขตพื้นที่ชลประทานถ้าเป็นบ่อขนาดใหญ่ ควรทำเป็นประตูระบายน้ำด้วยคอนกรีต ลักษณะของประตูระบายน้ำประกอบด้วยส่วนที่สามารถควบคุมน้ำ มีช่องสำหรับใส่ไม้อัดน้ำ 2 ช่อง ระหว่างช่องทั้งสองอาจใส่ดินอัดให้แน่นก็ได้ และมีช่องใส่ตะแกรงป้องกันปลาหนีอีก 1 ช่อง ประตูน้ำดังกล่าวอาจทำด้วยไม้ซึ่งมีความหนาประมาณ 2 นิ้ว (รูปที่ 22 และ 23)

ช่องสำหรับใส่ตะแกรงอาจทำตะแกรงเฉพาะส่วนล่าง แต่ส่วนบนใช้ใม้อัดน้ำปิดไว้ มีประโยชน์มากในการระบายน้ำส่วนล่างทิ้งออกไป พร้อมกับแก๊สที่เป็นพิษหรือเศษเหลือตามก้นบ่อ

สำหรับในพื้นที่ลุ่มหรือที่ราบ จำเป็นจะต้องขุดคูระบายน้ำทางด้านใดด้านหนึ่งของบ่อ เพื่อใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำทิ้งลงคูดังกล่าวหรือลงแปลงนั้นเพื่อเป็นปุ๋ยของข้าวต่อไป

7. วิธีขุดและสร้างคันดิน ทำการขุดดินตามผังที่ได้กำหนดไว้โดยไม้ปักหลัก นำดินที่ขุดบริเวณบ่อปลาขึ้นมาถมแผ่เกลี่ยให้เป็นชั้นๆ ขึ้นไปจนถึงสันคันบ่อ และชั้นๆ หนึ่งไม่ควรหนาเกิน 25 ซม. ใช้เสาไม้กระทุ้งให้ดินแน่นจับตัวกันแต่ละชั้นโดยมิให้เป็นโพรง ซึ่งจะเป็นปัญหาในการยุบตัวของดินเกิดขึ้นภายหลัง หรือทำให้น้ำรั่วซึมไหลเข้าออกได้

สำหรับก้นบ่อควรจะขุดให้ลาดเทจากทางน้ำเข้าไปทางระบายน้ำออกเพื่อระบายน้ำออกจากบ่อให้หมด เพื่อจับปลาหรือทำความสะอาดบ่อปลาโดยการตากแดดให้พื้นก้นบ่อแห้ง และเพื่อความสะดวกในการจับปลา ควรมีบ่อรวมปลาขนาดเล็กไว้ด้วย

อนึ่ง ในปัจจุบันนี้การขุดบ่อมักนิยมทำด้วยเครื่องมือจักรกล เช่น รถแทรกเตอร์ หรือรถตักดิน เพราะค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการใช้แรงงานจากคนขุดเป็นอันมาก โดยเฉพาะในบ่อขนาดใหญ่ดำเนินการแบบธุรกิจการค้า นอกจากนี้ยังปฎิบัติการได้รวดเร็ว บดอัดดินคันบ่อและพื้นบ่อได้แน่น มีคุณภาพดีกว่า การใช้แรงงานจากคน

8. การคำนวณปริมาตรดินที่ขุด เพื่อเป็นประโยชน์ในการคำนวณปริมาณของดินที่จะขุดว่ามีมากน้อยเพียงใด สำหรับใช้ในการถมคันบ่อหรือใช้ในการปรับปรุงพื้นที่และค่าใช้จ่ายที่จะจ้างแรงงานคนขุด โดยปกติคิดราคาค่าจ้างขุดเหมากันเป็นคิวบิกเมตรและราคาค่าขุดจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับขนาดของบ่อ ถ้าเป็นบ่อใหญ่ ระยะทางขนย้ายดินไกลราคาค่าขุดจะแพงกว่าบ่อขนาดเล็ก ดังนั้น ถ้าเป็นบ่อขนาดใหญ่ ควรใช้รถขุดจะสะดวกและค่าจ้างถูกกว่าการใช้แรงงานจากคน สำหรับสูตรในการคำนวณปริมาณของดินได้ แสดงไว้แล้ว (รูปที่ 24)

9. รูปลักษณะของบ่อปลาและอาคารประกอบโดยทั่วไป ได้ออกแบบแสดงไว้ในรูปที่ 18 แล้ว

นาข้าว โดยปกติชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะทำนาโดยเฉลี่ยครอบครัวละ 10-100 ไร่ ขึ้นอยู่กับฐานะและจำนวนสมาชิกในครอบครัวมมากหรือน้อย การเตรียมหรือดัดแปลงเพื่อใช้เลี้ยงปลานั้นควรอนุโลมตามรูปแบบเดิมของกระทงนา ซึ่งมีความมั่นคงและน้ำไม่รั่วซึมอยู่แล้ว โดยเสริมคันดินให้แน่นและสูงขึ้นตามต้องการ ซึ่งจะเป็นการประหยัดทั้งเงินและเวลา และในการสร้างคันดินขึ้นใหม่ก็ควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมคางหมู ก็ไม่เป็นปัญหาแต่ประการใด ดังนั้น รูปแบบของแปลงนาจะเป็นรูปร่างอย่างใดก็ได้ โดยจะเป็นผืนนาแปลงเดียวหรือจะประกอบด้วยแปลงนา 2-3 แปลง ติดต่อกัน แต่เมื่อรวมเป็นเนื้อที่แล้ว ควรไม่น้อยกว่า 2-5 ไร่ จึงจะเป็นการเพียงพอที่จะเลี้ยงปลาในนา ที่จะให้ผลตอบแทนคุ้มค่า ส่วนการออกแบบและการเตรียมนาเพื่อใช้เลี้ยงปลาดำเนินการดังนี้

1. ขุดคูภายในโดยรอบของนาที่จะใช้เลี้ยงปลา เสริมคันนาเดิมให้สูงพ้นระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบปี โดยเฉพาะคันนาที่อยู่ทางลาดต่ำอาจจะต้องเสริมให้กว้างและสูงมากขึ้นได้ระดับเดียวกันกับคันนาด้านอื่น และพื้นที่นาโดยทั่วไปควรเก็บกักน้ำให้มีระดับสูง 30-50 ซม.ตลอดฤดูกาลทำนา

2. ควรขุดคูภายในอย่างน้อย 1 ด้าน ทางด้านที่ลาดตํ่าขนาดกว้าง 1.50 ม. ลึก 75 ซม. โดยให้ขอบของคูอยู่ห่างจากคันนาประมาณ 50 ซม. เพื่อป้องกันดินพังทลาย สำหรับพื้นที่ของคูไม่ควรเกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมดที่ใช้เลี้ยงปลา

3. ทำบ่อรวมปลาเชื่อมกับคูดังกล่าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นที่ 10-20 ตารางเมตร ลึกประมาณ 1 เมตร ในส่วนที่ลุ่มของน้ำเพื่อใช้รวบรวมปลาในฤดูเก็บเกี่ยวข้าวซึ่งต้องระบายน้ำออกจากผืนนา และบ่อดังกล่าวนี้ในช่วงการเลี้ยงก็ใช้เป็นที่ให้อาหารปลา ใส่ปุ๋ยหมัก หรือมีคอกสํตว์ เช่น สุกร ไก่ อยู่ข้างบนเพื่อใช้มูลเป็นอาหารปลา และเป็นปุ๋ยต่อต้นข้าว

การทำบ่อรวมปลาและการขุดคูภายในนั้น อาจทำได้หลายรูปแบบ แต่จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและจุดประสงค์ของเจ้าของนา คือ ถ้าใช้เนื้อที่ของนาในการขุดคูภายในและบ่อรวมปลามาก ก็จะเหลือเนื้อที่ปลูกข้าวน้อย อาจได้ผลผลิตปลาสูงขึ้น แต่ผลผลิตข้าวก็จะลดน้อยลงตามส่วน (ดูรูปที่ 25 และ 26)

4. ในพื้นที่เขตชลประทานหรือนาที่อยู่ใกล้แหล่งนํ้า ควรจะดำเนินการเลี้ยงปลาในนาให้ครบวงจร โดยมีบ่อขนาด 100-300 ตารางเมตร หรือดัดแปลงจากแปลงนาให้ได้แปลงนาขนาด 200-400 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็นบ่อเลี้ยงพ่อแม่ปลา และเพาะหรืออนุบาลลูกปลาชนิดที่เพาะได้ง่าย เช่น ปลาไน นิล หมอตาล ซึ่งพันธุ์ปลาดังกล่าวนี้สามารถเพาะได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และใช้เวลาอนุบาล 2-3 เดือน ลูกปลาจะโต ขนาด 5-10 ซม. พอเหมาะที่จะใช้เลี้ยงในนาในช่วงฤดูทำนาซึ่งเป็นฤดูฝน

5. ใช้ท่อซีเมนต์ ท่อแอสเบสตอส หรือท่อเอสลอน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 – 30 ซม. ชักน้ำเข้าแปลงนาทางหัวท้ายของท่อดังกล่าวควรหุ้มด้วยอวนไนลอนตาถี่เพื่อป้องกันศัตรู ของปลาเข้ามาในแปลงนา และป้องกันปลาที่เลี้ยงมิให้หลบหนีจากนา

6. พันธุ์ข้าวที่ปลูกในนาที่เลี้ยงปลานั้น ควรใช้ที่มีอายุในการเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน และทำการปลูกด้วยวิธีปักดำ ทั้งนี้เพื่อให้เวลาที่ใช้เลี้ยงปลาในน้ำมีระยะนานพอที่ปลาโตได้ขนาดที่ ต้องการ

7. การปล่อยปลาลงเลี้ยงควรปฏิบัติหลังจากทำการปักดำข้าวกล้าแล้ว เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 7-10 วัน

กระชัง

กระชังที่ใช้เลี้ยงปลามีรูปร่างหลายแบบ ที่สำคัญคือจะต้องมีช่องตาให้น้ำไหลถ่ายเทได้สะดวก และสามารถกักขังปลาที่จะเลี้ยงไว้ได้ด้วย โครงสร้างของกระชังที่เลี้ยงปลาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1. โครงร่าง เพื่อให้กระชังคงรูปอยู่ได้ โดขทั่วๆ ไปมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาจทำด้วยไม้จริง ไม้ไผ่ หรือท่อน้ำพีวิซี.

2. ตัวกระชัง เป็นส่วนที่รองรับและกักขังปลาที่เลี้ยง วัตถุที่ใช้ควรเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ไม้เนื้อแข็ง หรือวัสดุที่ใช้เป็นเนื้ออวนจำพวกไนลอน โพลีเอททีลีน พลาสติก ซึ่งมีช่องตาขนาดต่างๆ เหมาะสมที่จะเลือกใช้ในการเพาะอนุบาล และเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ได้ตามความเหมาะสม

3. ทุ่นลอย เป็นส่วนที่ช่วยพยุงให้กระชังลอยน้ำอยู่ได้ สามารถรับน้ำหนักของตัวกระชัง และผู้เลี้ยงปลาที่ลงไปปฎิบัติงานได้

ชนิดของกระชัง

1. กระชังไม้ไผ่ อายุการใช้งานประมาณ 2-3 ปี ขนาดที่นิยม 2x5x1.5 เมตร การสร้างอาจใช้วิธีสานคล้ายชะลอม หรือใช้ตะปูตอกยึด ราคาถูก อายุใช้งานประมาณ 1-1 1/2 ปี กระชังแบบนี้มีข้อเสียคือ ผนังไม่เรียบ กระแสน้ำไหลถ่ายเทไม่สะดวก เศษอาหารเหลือตกค้างตามก้นกระชัง และทำความสะอาดกระชังได้ยาก (รูปที่ 27)

รูปที่ 27 แสดงกระชังไม้ไผ่สาน

2. กระชังไม้เนื้อแข็ง เหมาะสำหรับผู้ที่มีทุนมาก และเลี้ยงปลาที่มีราคาแพง กระชังที่ประกอบด้วยไม้เนื้ออ่อนมีอายุการใช้งานประมาณ 5-6 ปี กระชังที่ประกอบด้วยไม้เนื้อแข็งมีอายุการใช้งานประมาณ 8-10 ปี ขนาดของกระชังที่นิยมใช้มี 3 ขนาด ได้แก่

ขนาด 2.5×8 เมตร ลึก 1.5 เมตร ขนาด 2.5×5 เมตร ลึก 1.5 เมตร และขนาด 2.5×3 เมตร ลึก 1.5 เมตร กระชังดังกล่าวใช้ลำไม้ไผ่หัวละ 25 ลำ เป็นลูกบวบ (รูปที่ 28)

3. กระชังอวน เป็นกระชังที่ทำด้วยเนื้ออวนไนลอนหรือโพลีเอททีลีนต้องเป็นเนื้ออวนประเภทไม่มีปม เนื่องจากไม่ทำให้ปลาบอบช้ำและบาดเจ็บ กระชังอวนนี้นิยมใช้เลี้ยงปลาน้ำกร่อยบริเวณชายฝั่งทะเล อายุการใช้งาน 2-3 ปี กระชังอวนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

-กระชังอวนผูกติดกับหลัก เหมาะสำหรับเลี้ยงปลาในบริเวณชายฝังเขตน้ำตื้น ที่มีระดับน้ำขึ้นลงแตกต่างกันไม่เกิน 1.5 เมตร การติดตั้งกระชังต้องใช้เชือกผูกยึดมุมกระชังทั้งด้านบนและด้านล่าง มัดให้ติดกับเสาไม้ที่ปักแน่นอยู่ในน้ำ ขนาดกระชังและขนาดอวนขึ้นอยู่กับจำนวนและขนาดของปลาที่ปล่อยลงเลี้ยง (รูปที่ 29)

รูปที่ 29แสดงแบบของกระชังอวนที่ผูกติดกับหลักไม้

-กระชังมุ้งไนลอน ขนาด 1x2x1 เมตร ช่องตาอวนขนาด 0.2 ซม. ใช้สำหรับอนุบาลลูกปลา

-กระชังขนาด 2x4x2 เมตร เนื้ออวนเป็นชนิดโพลีเอททีลีน เบอร์ 6 ช่องตาขนาด 1.5 ซม. ใช้สำหรับเลี้ยงปลาขนาดรุ่น

-กระชังขนาด 5x5x2.5 เมตร หรือ 10x5x2.5 เมตร เนื้ออวนเป็นชนิดโพลีเอททีลีน เบอร์ 15 หรือ 16 ช่องตาขนาด 5-7.5 ซม. ใช้สำหรับเลี้ยงลูกปลาขนาดประมาณ 10 ซม.

-กระชังอวนลอย เป็นกระชังที่เหมาะสำหรับเลี้ยงปลาบริเวณชายฝั่งนํ้าลึกที่มีระดับน้ำขึ้นลงแตกต่างมากกว่า 2 เมตร กระชังดังกล่าวประกอบด้วย

โครงร่าง อาจประกอบด้วย ไม้ไผ่ หรือท่อเหล็กชุบเป็นกรอบรอบปาก กระชังสำหรับแขวนลอยกระชัง และใช้เป็นทางเดินเวลาปฎิบัติงานบนกระชัง

ทุ่นลอย ได้แก่ สไตโลโฟม ถังนํ้ามัน ถังพลาสติก หรือไม้ไผ่มัดเป็นแพ

ตัวกระชัง ทำด้วยเนื้ออวนไนลอน หรือโพลีเอททีลีน มี 3 ขนาดด้วยกัน คือ

1. กระชังขนาด 1x2x1.2 เมตร ช่องตาอวน 2/8 นิ้ว ใช้สำหรับอนุบาลลูกปลาขนาด 2.5 ซม.

2. กระชังขนาด 5x5x2 เมตร ช่องตาอวน 6/8 นิ้ว ใช้สำหรับเลี้ยงปลาวัยรุ่นขนาด 10 ซม.

3. กระชังขนาด 5x5x2 เมตร ช่องตาอวน 4 ซม. สำหรับเลี้ยงลูกปลาใหญ่ขนาดตั้งแต่ 20 ซม. ขึ้นไป

ตุ้มถ่วง อาจใช้ก้อนหิน แท่งปูนซีเมนต์หล่อ เพื่อตรึงเนื้ออวนของกระชังให้ตึงอยู่เสมอ

คอก

คอกที่เลี้ยงปลาสามารถสร้างขึ้นในแหล่งน้ำโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นที่ล้อมขัง เช่นเดยวกับกระชัง แต่มีขนาดใหญ่กว่า และต้องอยู่ประจำที่ในระดับน้ำลึกระหว่าง 1-3 เมตร ตลอดช่วง ระยะการเลี้ยง

1. ชนิดรูปร่างและขนาดของคอกเลี้ยงสัตว์น้ำ

ชนิดของวัสดุที่ใช้ในการสร้างคอกเลี้ยงปลา จะแตกต่างกันไปตามสภาพท้องถิ่น และความนิยม คอกเลี้ยงปลาจะประกอบไปด้วย

-ไม้ไผ่ อวนไนลอน เชือกไนลอน ลวดตาข่าย และเฝือกไม้ไผ่ วัสดุดังกล่าวเหล่านี้จะใช้ในการสร้างคอกเลี้ยงปลาได้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม แต่ในปัจจุบันนี้มักจะใช้เชือกที่ตัดมาจากยางรถยนต์เก่าๆ จะประหยัดรายจ่ายได้มากกว่าการใช้เชือกไนลอน

2. ลักษณะคอกเลี้ยงปลา

ลักษณะคอกเลี้ยงปลาอาจมีรูปร่างกลม สี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า และสี่เหลี่ยมคางหมู

การสร้างคอกเลี้ยงปลาเป็นรูปวงกลม จะช่วยให้ประหยัดค่าก่อสร้างได้มากในบางกรณีคอกเลี้ยงปลาอาจเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ดัดแปลงด้านที่รับลมเป็นรูปตัววี เพื่อเป็นการช่วยลดแรงดันของกระแสน้ำ และช่วยป้องกันการสะสมของวัชพืชรอบๆ คอกเลี้ยงปลา แต่ลักษณะคอกเลี้ยงปลารูปวงกลมจะมีความยาวเส้นรอบวง (ความยาวของรั้ว) สั้นที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอกเลี้ยงปลารูปอื่นๆ (รูปที่ 30)

3. ขนาดของคอกเลี้ยงปลา

ขนาดของคอกควรมีขนาด 1-10 ไร่ หรือมากกว่านั้นขึ้นไป เช่น

-ขนาดของคอกวงกลม 1 ไร่ จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 46เมตร และมีเส้นรอบวงยาว 145 เมตร ตัวคอกทำด้วยเนื้ออวนโพลีเอททีลีนเบอร์ 12 ขนาดตา 2 ซม. ความสูงของคอกประมาณ 3.5-4 เมตร ต้องใช้เนื้ออวน 1 ผืนต่อกัน เสาหลักมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 นิ้ว มีความยาว 5 เมตร ปักลงในพื้นดินเป็นวงกลมบริเวณช่วงล่างของคอกต้องใช้อิฐหรือตะขอเหล็ก ตะขอไม้กดทับถ่วงให้เนื้ออวนติดกับดิน

ขนาดของคอกเลี้ยงปลาขนาดใหญ่มักจะใช้ผลผลิตต่อหน่วยเนื้อที่น้อยกว่าคอกเลี้ยงปลาที่มีขนาดเล็กกว่า และคอกเลี้ยงปลาที่มีขนาดใหญ่มากๆ จะมีความแข็งแรงลดน้อยลง ผู้เลี้ยง

จำเป็นต้องสร้างรั้วเพื่อแบ่งซอยคอกขนาดใหญ่นั้นออกเป็นส่วนๆ อันจะช่วยเสริมให้คอกแข็งแรงมากขึ้น

4. วิธีการสร้างคอกเลี้ยงปลา

ในการสร้างคอกเลี้ยงปลานั้นมีระดับตามขั้นตอน ดังนี้

-การเตรียมไม้ไผ่ที่จะนำไปปักเป็นรั้ว ต้องเสี้ยมด้านโคนให้แหลม ใช้เหล็กทะลวงข้อจากด้านโคนขึ%