Category: ปศุสัตว์

ความรู้ด้านการปศุสัตว์ สำหรับเกษตรกรชาวไทย

การเพาะกุ้งเครฟิชและวิธีเลี้ยง

กุ้งเครฟิช เป็นกุ้งที่มีสีสันสวยงาม เช่น สีส้ม สีขาว สีฟ้า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีผู้คนหันมาเลี้ยงกันมากขึ้น

ประวัติของกุ้งเครฟิช (Crayfish)กุ้งเครฟิช
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Crayfish
มักใช้เรียกกุ้งน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ที่มีลำตัวใหญ่ เปลือกหนาก้ามใหญ่และดูแข็งแรง

ถิ่นกำเนิดของกุ้งเครฟิชอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปยุโรป, โอเชียเนีย และบริเวณใกล้เคียง เช่น อีเรียน จายา และ เอเชียตะวันออก ปัจจุบันได้มีการจัดจำแนกกุ้งเครฟิชออกเป็น 500 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่นั้นมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ก็ยังมีอีกหลายร้อยชนิดที่ยังไม่ได้รับการจำแนก และหลายชนิดก็ยังมีสีสันที่หลากหลายมากอีกด้วย

กุ้งเครฟิชจะมีเปลือกที่ทำหน้าที่คล้ายๆ ชุดเกราะคลุมลำตัว ส่วนหัวและส่วนกลาง เอาไว้ปกป้องอวัยวะภายในที่บอบบาง เช่น เหงือกหายใจบริเวณใกล้ๆปาก ที่มีลักษณะคล้ายขนนก และทำหน้าที่ในระบบหายใจที่สำคัญคือ เป็นทางผ่านของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านช่องเหงือก

ส่วนขาของกุ้งเครฟิช จะมีอยู่สองหน้าที่คือ … Read More

เกสรผึ้ง

(BEE POLLEN)
เกสรผึ้งเป็นที่รู้จักกันหลายชื่อ ได้แก่ เกสรดอกไม้ บีพอลเลน หรือง้วนผึ้ง จริงๆ แล้ว เกสรผึ้งเป็นอาหารบำรุงที่ได้รับการค้นคว้าและพัฒนาขึ้นมาใหม่ ซึ่งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาพัฒนาขึ้นมาเป็นอาหารโปรตีนเสริม หรือทดแทนอาหารสำหรับผู้ที่ขาดแคลนโปรตีน ซึ่งเกสรผึ้งนับเป็นแหล่งอาหารประเภทโปรตีนที่มีคุณภาพสูงสำหรับมนุษย์จะมีแมลงเพียงชนิดเดียวคือผึ้งเท่านั้นที่สามารถเก็บรวบรวมเกสรไว้ได้เป็นจำนวนมากที่สุด ผึ้งใช้เกสรจากดอกไม้เป็นแหล่งโปรตีน โดยจะนำมาผสมกับนํ้าผึ้งและนํ้าลาย เรียกว่า BEE BREAD ใช้เป็นอาหารสำหรับประชากรผึ้งในรังเพื่อให้มีกำลังในการทำงาน ถ้าไม่มีเกสรในรังผึ้งราชินีผึ้งจะหยุดออกไข่ ผึ้งงานจะหยุดสร้างไขผึ้งและช่องในรวงผึ้ง
ผึ้งจะใช้ตัวคลุกเค้าเกสรดอกไม้ให้ติดกับขนบนตัว (เกสรส่วนมากจะเป็นเกสรตัวผู้) แล้วจึงใช้ขาคู่หน้าแปรงเอาละอองเกสรมาเก็บไว้ที่ขาคู่หลังที่มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า “ตะกร้าเกสร” (POLLEN BASKET OF CORBICULA) ละอองเกสรจำนวนมากมายนี้จะเกาะยึดกันเป็นปริมาตรทรงกลม มีขนาดความยาวระหว่าง 1-5 มิลลิเมตร ความกว้างระหว่าง 1-3 มิลลิเมตร หลังจากนั้นผึ้งจะบินกลับรังนำเอาเกสรดอกไม้เก็บไว้ในหลอดรวง ผึ้งตัวอื่นจะใช้นํ้าผึ้งปิดช่องที่เก็บเพื่อไม่ให้อากาศเข้าและทำให้ละอองเกสรดอกไม้เสียได้ เนื่องจากเอนไซม์นํ้าตาลบางชนิดในนํ้าผึ้งจะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นกรด
แลคติก … Read More

นมผึ้ง

(ROYAL JELLY)
นมผึ้งมีชื่อเรียกต่างๆ กันหลายชื่อ ได้แก่ อาหารวุ้น วุ้นทิพย์ หรือควีนเยลลี่ (QUEEN JELLY) เป็นอาหารสำหรับตัวอ่อนของผึ้งและราชินีผึ้ง มีลักษณะสีขาวคล้ายนมข้นหวาน กลิ่นออกเปรี้ยวๆ และรสค่อนข้างเผ็ดเล็กน้อย นมผึ้งนี้ผลิตโดยผึ้งงานจากต่อมที่อยู่บริเวณส่วนหัว คือ ต่อมไฮโปฟารินเอลและต่อมแมนดิบิวลาร์ (HYPOPHARYNGEAL AND MADIBULAR GLAND) ผึ้งงานจะผลิตนมผึ้งเพื่อเลี้ยงตัวอ่อนของผึ้งทุกชนิดที่มีอายุไม่เกิน 3 วัน เฉพาะผึ้งที่เป็นผึ้งราชินีเท่านั้นที่จะได้รับนมผึ้งตลอดชีวิต เนื่องจากจำเป็นจะต้อง ได้รับโปรตีนตลอดเวลาเพื่อใช้ในการผลิตไข่ นมผึ้งนี้นับเป็นอาหารสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ราชินีผึ้งตัวโตที่สุด และอายุยืนที่สุดในรังคือ มีอายุประมาณ 3-5 ปี ในขณะที่ผึ้งชนิดอื่นๆ มีอายุเพียง 2-6 เดือนเท่านั้น โดยปกติราชินิผึ้งที่สมบูรณ์จะวางไข่วันละ 1,500-2,000 ฟอง
นักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้ทำการศึกษาองค์ประกอบในนมผึ้งเป็นเวลานานกว่า … Read More

การเลี้ยงผึ้งในลักษณะอุตสาหกรรม


ในการเลี้ยงผึ้งแบบอุตสาหกรรมรวมนั้น ผู้เลี้ยงผึ้งอาศัยหลักในการผลิต โดยสร้างสภาพให้เหมือนภายในรังผึ้งที่เอื้อต่อการผลิต กล่าวคือ มีจำนวนผึ้งงานอายุ 5-15 วัน อย่างพอเพียง และมีการทดแทนอย่างสมดุล มีปริมาณอาหารมากพอ โดยเฉพาะเกสรดอกไม้และน้ำหวาน รวมทั้งปราศจากศัตรูรบกวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคและไรผึ้ง
การจัดเรียงคอนผึ้งมี 2 ลักษณะ คือ แบบชั้นเดียว จำนวนคอนในรัง 7-9 คอน และแบบซ้อนชั้น ซึ่งมีจำนวนคอนในรัง 15-18 คอน รายละเอียดของการจัดเรียงคอนทำได้ดังนี้
-การจัดเรียงคอนแบบชั้นเดียว 9 คอน


1. และ 11. คอนเกสรและนํ้าหวาน
2. คอนดักแด้แก่จวนจะออกเป็นตัวโตเต็มวัย
3. คอนว่างสำหรับผึ้งแม่รังไข่หรือราชินีผึ้ง
4. คอนไข่ปนหนอน
5. … Read More

แหล่งเลี้ยงผึ้ง

ผลิตภัณฑ์ผึ้ง
ประเทศไทยและประเทศอื่นในทวีปเอเชียได้รู้จักเก็บเกี่ยวนํ้าผึ้งจากผึ้งพื้นเมือง ได้แก่ผึ้งมิ้ม (APIS FLOREA) ผึ้งหลวง (APIS DOR SATA) และผึ้งโพรง (APIS CERANA) มาเป็นเวลานานนับศตวรรษ ซึ่งพบว่าผึ้งมิ้มและผึ้งหลวงนั้นไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นผึ้งเลี้ยง เพราะผึ้งทั้งสองชนิดนี้มีอุปนิสัยที่จะต้องสร้างรังในที่โล่ง ไม่สามารถปรับตัวให้ อาศัยอยู่ในภาชนะหรือหีบเลี้ยงที่มนุษย์สร้างขึ้นได้ ส่วนผึ้งโพรงจะมีลักษณะการดำรงชีวิตที่แตกต่างออกไป โดยจะทำรังเป็นรวงซ้อนกันหลายๆ ชั้นตามโพรงไม้ ดังนั้นโดยทั่วๆ ไปแล้วผึ้งโพรงจะเป็นผึ้งเลี้ยงของเอเชีย
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาดูลักษณะอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งของโลก ผลผลิตน้ำผึ้งจะมีประมาณปีละ 600,000 ตัน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นผลผลิตที่ได้มาจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ (APIS MELUFERA) ประเทศผู้ผลิตรายสำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาชนจีน เม็กซิโก บราซิล อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ … Read More

ธุรกิจการเลี้ยงโคนม

นมพร้อมดื่ม
นมพร้อมดื่มจัดเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อันเป็นผลผลิตจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มในเชิงการค้าได้เริ่มขึ้นในประเทศไทยเป็นเวลา 25 ปีมาแล้ว อันมีผลสืบเนื่องมาจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ ได้เสด็จประพาสทวีปยุโรปในปี พ.ศ. 2503 ทั้งสองพระองค์ทรงให้ความสนพระทัยเกี่ยวกับกิจการการเลี้ยงโคนมของเดนมาร์กเป็นอย่างมาก รัฐบาลเดนมาร์กและสมาคมเกษตรกรเดนมาร์กจึงได้ร่วมน้อมเกล้าฯ ถวายโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้เป็นของขวัญแด่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ และเพื่อให้การดำเนินโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยบรรลุตามเจตนารมณ์ ที่ตั้งไว้ จึงได้มีการตกลงทำสัญญาให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเดนมาร์ก ซึ่งรัฐบาลเดนมาร์กได้ให้ความช่วยเหลือจัดตั้งฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงขึ้นที่ตำบลมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี พร้อมทั้งจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาเริ่มดำเนินการ
นอกจากโครงการความช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเดนมาร์กแล้ว รัฐบาลไทยยังได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลียภายใต้แผนโคลัมโบ ได้มอบอุปกรณ์การผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์แก่ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใน ปี พ.ศ. 2504 รวมทั้งความช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมันตะวันตก โดยจัดทำโครงการ ในลักษณะคล้ายคลึงกับที่เดนมาร์กดำเนินการอยู่ที่มวกเหล็ก เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ปี 2507 ส่วนในด้านของกรมปศุสัตว์ก็เริ่มโครงการผสมเทียมโคโดยใช้นํ้าเชื้อจากพ่อพันธุ์โคนม พร้อมทั้งจัดตั้งสถานีผสมเทียมแห่งแรกที่อำเภอห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ และแห่งที่สองที่ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พ่อพันธุ์โคนมที่ใช้ผสมเทียมชุดแรกเป็นโคนมพันธุ์บราวน์สวิส ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา… Read More

การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง

ปลากะพงขาวเป็นปลาน้ำกร่อยขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ตามปากแม่น้ำที่ติดต่อถึงทะเล และยังสามารถแพร่เข้าไปอยู่ได้ในแม่น้ำลำคลองแหล่งน้ำจืด  ฉะนั้นในท้องที่บางแห่งจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า “กะพงน้ำจืด” ปลากะพงขาวมีลักษณะตัวยาวและแบนข้าง ปากกว้างมีฟันเล็กละเอียด ริมฝีปากล่างยื่นยาวกว่าริมฝีปากบนเล็กน้อย กระดูกแก้มที่ขอบเป็นหยักละเอียด และที่มุมเป็นหนามแหลม ลำตัวตอนบนเป็นสีฟ้าอมเขียว ด้านข้างและส่วนท้องสีขาวเงิน ครีบหางสีเหลืองดำ

การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง  มีความเหมาะสมกับสภาพท้องที่ตามแหล่งน้ำตื้น เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง แหล่งน้ำกร่อยในทะเลสาบ และทะเลชายฝั่ง  ซึ่งสามารถดัดแปลงเป็นที่เลี้ยงปลาได้สะดวกและลงทุนน้อย  แต่สามารถเลี้ยงปลาได้หนาแน่นเป็นจำนวนมากและไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคภัยต่าง ๆ  จากการทดลองเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง  ปรากฏว่าเป็นปลาที่มีความอดทน  สามารถปรับตัวอยู่ได้ทั้งน้ำจืดน้ำเค็ม  สามารถฝึกให้เชื่องและเลี้ยงรวมฝูงได้ดี  เติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูง เนื้อปลากะพงขาวมีรสชาดดีเป็นที่นิยมบริโภค จึงเป็นปลาที่มีราคาแพง ก.ก.ละ 40-50 บาท สามารถทำรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงพอสมควร  ดังนั้นการเลี้ยงปลากะพงขาวสามารถประกอบเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดี

การรวบรวมลูกปลากะพงขาว

ลูกปลากะพงขาวขนาดเล็กมักเข้ามาอาศัยตามแหล่งน้ำตื้นตามบริเวณชายฝั่ง  และเข้าไปอาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองหนองบึง … Read More

การเลี้ยงปลาดุก

ปลากดุกเป็นปลาที่คนไทยนิยมรับประทานเป็นอาหารประจำวันมาช้านาน และถือว่าเป็นปลาที่เนื้อมีรสดีชนิดหนึ่งมีราคาค่อนข้างสูง ปลาดุกเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายโตเร็วและอดทนต่อสิ่งแวดล้อม  สะดวกต่อการขนส่งในระยะทางไกล

ปลาดุกที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลายมีอยู่ 2 ชนิดคือปลาดุกอุยและปลาดุกด้าน ปลาดุกด้านมีความเหมาะสมที่จะเลี้ยงกว่าปลาดุกอุย  จึงจะเสนอวิธีการเลี้ยงปลาดุกด้านในโอกาสนี้

ปลาดุกเป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด ตัวยาวเรียว ครีบหลังยาวไม่มีกระโดง ครีบท้องยาวเกือบถึงโคนหาง มีหนวดคู่ มีอวัยวะช่วยในการหายใจ  ซึ่งช่วยให้ปลาดุกทนสามารถอยู่พ้นน้ำได้นาน ปลาดุกด้านมีกระดูกท้ายทอยแหลมกว่าของปลาดุกอุย

ขนาดของบ่อ บ่อควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อที่ประมาณ 400-800 รารางเมตร ลึกประมาณ 1 เมตร และมีชานบ่อ ปลาดุกเป็นปลาที่ชอบหนีจึงควรหาวัสดุล้อมรอบบ่อ อาจจะเป็นตาข่ายหรือไม้รวกขัดให้แน่นก็ได้ ขนาดบ่อดังกล่าวใช้เลี้ยงตั้งแต่ลูกปลาวัยอ่อน จนถึงปลาขนาดใหญ่

การเตรียมบ่อ

บ่อใหม่ หากเป็น่บ่อที่ขุดใหม่ ดินมักเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโดยทั่วบ่อในอัตรา 1 ก.ก. ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร… Read More

การเลี้ยงปลาไน

ปลาไนเป็นปลาน้ำจืด รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีเกล็ดกลมใหญ่ทั่วตัว ยกเว้นที่หัวไม่มีเกล็ดปากเล็กไม่มีฟัน ริมฝีปากหนา มีหนวด 4 เส้น สีของลำตัวเป็นสีเงินปนเทา หรือสีเหลืองอ่อนแกมขาว  บางตัวมีสีทองตลอด เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง ชอบอยู่ในน้ำอุ่น อุณหภูมิระหว่าง 20-30 องศาเซนติเกรด สามารถวางไข่ได้ในบ่อและมีลูกเป็นจำนวนมาก

ขนาดของบ่อและการเตรียมบ่อ

1. บ่อ

บ่ออนุบาล ใช้สำหรับเลี้ยงลูกปลาจากวัยอ่อน จนมีความยาว 5-7 เซนติเมตร ควรเป็นบ่อดินขนาด 200-400 ตารางเมตร  น้ำลึกไม่เกิน 1 เมตร

บ่อเลี้ยง ใช้สำหรับเลี้ยงปลาที่มีความยาว 5-7 เซนติเมตร  ให้เป็นปลาขนาดใหญ่ควรเป็นบ่อดินขนาดตั้งแต่ 400 ตารางเมตรขึ้นไป  … Read More

การเลี้ยงปลาสลิด

ปลาสลิดรูปร่างคล้ายปลากระดี่  แต่มีขนาดโตกว่าลำตัวมีสีพื้นที่ค่อนข้างดำ และมีลายดำเป็นริ้ว ๆ พาดขวางลำตัว ตัดกับลายดำ เป็นแถบยาวจากหัวถึงโคนหาง ขนาดใหญ่จะยาวประมาณ 20 ซม. ชอบอยู่ในน้ำนิ่ง เช่น ตามหนองและบึง จึงสามารถที่จะนำมาเลี้ยงในบ่อ หรือในนาได้

การเตรียมบ่อ บ่อใหม่ ดินมักเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยทั่วบ่อในอัตรา 1 ก.ก. ต่อเนื้อที่บ่อ 10 ตารางเมตร และควรมีชานบ่อกว้างประมาณ 1 เมตร ไว้สำหรับเป็นที่อาศัยและเป็นที่วางไข่ของปลา

บ่อเก่า จำเป็นต้องปรับปรุงใหม่  โดยกำจัดวัชพืชออกให้หมด ลอกเลน ตบแต่งคันบ่อและท่อระบายน้ำให้เรียบร้อย แล้วตากบ่อจนแห้ง  โอกาสนี้แสงแดดจะช่วยกำจัดเชื้อโรคและช่วยให้ดินมีคุณสมบัติดีขึ้น

ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องกำจัดศัตรูได้แก่ พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน … Read More