Category: การทำประมง

เรียนรู้วิธีการทำประมง เลี้ยงสัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา

สาเหตุที่ทำให้ปลาเป็นโรค

โรคพยาธิและการป้องกันรักษา

โรคของปลาเกิดขึ้นได้ทั้งในแหล่งนํ้าธรรมชาติและปลาที่เลี้ยงในบ่อ การเกิดโรคและพยาธิย่อมมีสาเหตุมาจากปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัย เมื่อปลาที่เลี้ยงเป็นโรคและพยาธิแล้วถ้าคุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมโทรมมากขึ้น อาการของโรคก็เพิ่มทวียิ่งขึ้นและถึงตายในที่สุด

น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของปลา ถ้าคุณสมบัติของน้ำเสื่อมโทรมลงอันเกิดจากการขาดออกซิเจน มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 20 ppm. แก๊สแอมโมเนีย ไนไตรท์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์สูง เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาเกิดความเครียดและถึงตายในที่สุดได้ ดังนั้นการป้องกันโรคและพยาธิจึงทำได้ง่ายโดยรักษาคุณสมบัติของน้ำในบ่อที่เลี้ยงปลาให้มีสภาพดีอยู่เสมอ การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาปลาในระดับความเข้มข้นที่สามารถทำลายโรคและพยาธิให้ตายได้ ย่อมมีผลกระทบต่อปลาไม่มากก็น้อย จึงควรนำมาใช้เป็นวิธีสุดท้าย

สาเหตุที่ทำให้ปลาเป็นโรค

การทราบสาเหตุแห่งการก่อให้เกิดโรคและพยาธิ ย่อมเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งสามารถจะได้รับการแก้ไข หรือทำลาย สาเหตุดังกล่าวก่อนที่จะสายเกินไป โดยสรุปแล้วปลาที่เป็นโรค และพยาธิมีสาเหตุต่างๆ ดังนี้

1. นำลูกปลาติดโรค-พยาธิ มาเลี้ยง โดยไม่ได้กำจัดโรค และพยาธิเสียก่อน

2. เลี้ยงปลาหนาแน่นเกินไป

3. ให้อาหารมากเกินไปจนปลากินไม่หมด และมีเศษเหลือตกค้างสะสมในบ่อและเกิดเน่าบูดเป็นพิษต่อปลา

4. ให้อาหารน้อยเกินไปจนไม่พอกิน ทำให้ปลาที่เลี้ยงอ่อนแอ … Read More

การลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำ

ในการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำนั้น การลำเลียงขนส่งพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อลงบ่อเลี้ยง ซึ่งไม่ว่าจะใกล้หรือไกลก็เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง สัตว์น้ำบางชนิดจะต้องขนส่งในระยะไกล เช่น การลำเลียงพันธุ์ปลาจีน จากประเทศจีนมาเมืองไทยสมัยก่อน ได้ใช้ถังไม้สูง 2 เมตร เส้นผ้าศูนย์กลางขนาด 2 เมตร เป็นภาชนะลำเลียง ในระหว่างการลำเลียงจะมีการตีน้ำเพื่อเพิ่มแก๊สออกซิเจน และจะต้องใช้เวลาลำเลียงเป็นแรมเดือน สมัยก่อนการลำเลียงลูกปลาสวายจากจังหวัดนครสวรรส์มาขายในกรุงเทพฯ ถ้าลำเลียงด้วยกระชังไม้ไผ่ผูกติดมาข้างเรือ การลำเลียงปลานวลจันทร์ทะเลของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ก็ต้องลำเลียงจากแหล่งลูกปลามายังบ่อเลี้ยงด้วยระยะทางไกลๆ ทั้งสิ้น

ภาชนะที่ใช้ในการลำเลียงก็มีแตกต่างกันไปตามจุดมุ่งหมายและตามลักษณะท้องถิ่นของประเทศแต่ละประเทศ ประเทศอินโดนีเซียมีครุไม้ไผ่ทำด้วยน้ำมันดินมีขนาดความจุ 15 ลิตร ในฟิลิปปินส์ อินเดีย ใช้หม้อดินในการลำเลียงพันธุ์ปลาในบางท้องที่ ในประเทศไทยในสมัยริเริ่มส่งเสริมการเพาะเลี้ยงได้ใช้ถังสังกะสีกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50-60 ซม. ลำเลียงพันธุ์ปลามาแล้ว

ต่อมาได้มีการพัฒนาเกี่ยวกับการลำเลียงขนส่งพันธุ์สัตว์น้ำจำนวนมากๆ ซึ่งจะต้องเตรียมภาชนะขนาดใหญ่หรือจำนวนมากๆ ในระยะทางไกล จึงมีการใช้ถังรูปแบบต่างๆ และมีการใช้เครื่องปั๊มอากาศ เพื่อเพิ่มออกซิเจนแก่สัตว์น้ำในเวลาเดินทาง มีการใช้ถุงพลาสติกใส่น้ำอัดออกซิเจน … Read More

วิธีการให้อาหารสัตว์น้ำ

การให้อาหาร เนื่องจากปลาเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจึงเป็นการยากที่จะทราบว่าปริมาณอาหารที่ให้ปลานั้น ปลากินหมดหรือไม่ ถ้าให้อาหารมากเกินไป ปลากินไม่หมด ก็เป็นการสิ้นเปลืองและทำให้น้ำเสีย ซึ่งเป็นอันตรายต่อปลา และหากให้น้อยเกินไป ปลาจะเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ เพื่อที่จะลดปัญหาเหล่านี้มีข้อควรปฏิบัติคร่าวๆ ดังนี้

1. ให้ปลากินอาหารเป็นเวลาและให้ในเวลากลางวัน

2. ตำแหน่งที่ให้อาหารทุกครั้งควรเป็นสถานที่เดิม

3. มีแป้นหรือภาชนะรองรับอาหารเป็นที่ๆ ในบ่อนั้น

4. ก่อนให้อาหารควรให้สัญญาณ เช่น การใช้มือหรือไม้ตีน้ำให้กระเทือน

5. ปรับปริมาณอาหารที่ให้ทุก 1-2 สัปดาห์

6. ให้อาหารปลาโดยใช้เครื่องมือให้อาหารแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ สำหรับปริมาณอาหารที่จะใช้เลี้ยงปลานั้น มีวิธีการที่จะให้ได้ 2 วิธี คือ

ก. โดยการคาดคะเนจากการกินอาหารปลา วิธีนี้ผู้เลี้ยงจะต้องสังเกตอยู่เสมอ โดยถือปฏิบัติว่าอาหารที่ให้แต่ละครั้งนั้น ปลากินหมดหรือไม่ หากปลากินหมดก็เพิ่มให้อีก และถ้าปลากินเหลือก็ลดปริมาณอาหารที่ให้… Read More

อาหารสำเร็จรูปเลี้ยงสัตว์น้ำ

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้อาหารสำเร็จรูป

ในปัจจุบันนี้ อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด เกร็ด และผง เข้ามามีบทบาทต่อกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมาก และได้มีบริษัทเอกชนจำนวนมากรายผลิตอาหารสำเร็จรูปเพื่อขายให้กับฟาร์มและเกษตรกรนำไปเลี้ยงสัตว์น้ำ

แต่ “อาหารสำเร็จรูป” ก็นับว่าเป็นของใหม่สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งทางราชการก็ยังมิได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์น้ำ แต่เพื่อประโยชน์ของผู้เลี้ยงสัตว์น้ำเอง ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำควรทราบเกี่ยวกับลักษณะที่ดีของอาหารสัตว์น้ำสำเร็จรูป โดยพิจารณาตามข้อสังเกตต่อไปนี้

1. ป้ายหรือฉลาก โดยปกติแล้วอาหารสำเร็จรูปที่ขายหรือที่จำหน่ายในท้องตลาดซึ่งบรรจุในถุงหรือกล่องในรูปแบบต่างๆ จะมีข้อความที่บ่งถึงวัสดุต่างๆ ที่นำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ ส่วนประกอบทางเคมีของอาหาร น้ำหนักอาหาร ตารางใช้อาหารและบริษัทผู้ผลิต ดังนั้น ผู้ใช้อาหารควรได้พิจารณาตามข้อความในฉลากนั้น เช่น วัสดุที่ประกอบเป็นอาหารก็ควรเป็นวัสดุหรือผลพลอยได้จากสัตว์ อาทิ ปลาป่น น้ำมันปลา แกลบกุ้ง เนื้อป่น เพราะสัตว์น้ำสามารถใช้ประโยชน์จากวัสดุอาหารโปรตีนที่มาจากสัตว์ได้ดีกว่าวัสดุอาหารที่ทำจากพืช หรือคุณค่าทางอาหารที่ระบุไว้ในฉลาก ตัวเลขควรบ่งบอกถึงระดับโปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน และควรมีเปอร์เซ็นต์ของกากหรือของเถ้าจำนวนน้อย สำหรับหลักเกณฑ์ในการตัดสินตัวเลขนั้น จำเป็นต้องพิจารณาอย่างกว้างๆ … Read More

หลักการซื้ออาหารสัตว์น้ำ

ในปัจจุบันนี้ อาหารสัตว์น้ำมีราคาแพง ทำให้ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำต้องประสบความลำบากในการเลี้ยงสัตว์นํ้าให้มีกำไรดี การเลี้ยงสัตว์น้ำให้ได้กำไรดีมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยกัน อาหารสัตว์น้ำเป็นปัจจัยที่คัญประการหนึ่งซึ่งผู้เลี้ยงสัตว์น้ำอาจจะลดต้นทุนการผลิตลงได้ถ้าหากเลือกซื้อหาอาหารได้ถูกต้อง ในการซื้ออาหารได้ถูกต้องนั้นในบางครั้งผู้ซื้ออาจซื้อของบางอย่างโดยอาจจะจ่ายเงินต่อนํ้าหนักของในราคาสูง แต่คุณค่าของอาหารสูงกว่าของที่ซื้อมาโดยจ่ายเงินน้อย แต่เมื่อมาเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารแล้วของที่ซื้อมาราคาแพงกลับมีคุณค่าสูงกว่าของที่ซื้อมาในราคาถูกในวงเงินที่เท่ากัน แต่ในการที่ซื้อของให้ได้ดังที่ได้กล่าวมานี้จะต้องมีหน่วยวัดเป็นเครื่องตัดสิน หน่วยวัดที่ใช้ในการตัดสินนั้น ในวงการอาหารสัตว์น้ำวัดได้จากหน่วยวัดต่อไปนี้ คือ

1. พลังงานการดูดซึม (Metabolized Energy)

2. โปรตีน (Protein)

3. กรดอมิโน (Amino acid)

ตัวอย่างต่อไปนี้ จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการซื้อของโดยใช้เงินได้อย่างคุ้มค่าของเงิน

1. พลังงาน

ต้องการซื้อของให้ได้ของที่คุ้มค่าเงินโดยคิดจากพลังงาน เช่น สมมุติว่า รำหยาบราคา 100 บาท/100 กก. หรือ 1 บาท/กก. มีพลังดูดซึมเท่ากับ 1,200 กิโลแคลลอรี่/อาหาร … Read More

การทำอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ

ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นฟาร์มขนาดกลางและมีทุนรอนพอสมควร ผู้เป็นเจ้าของฟาร์มมีความรู้ทางด้านอาหารปลาบ้าง ก็สามารถที่จะผลิตอาหารปลาขึ้นมาใช้เองได้ทั้งในรูปของอาหารแบบชนิดเปียกและแห้งโดยใช้เครื่องมือในการผลิตที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดอีกทั้งราคาก็ไม่แพงมากนัก ประกอบกับวัสดุที่จะใช้ทำเป็นอาหารส่วนใหญ่ก็เป็นของที่ผลิตขึ้นเองในประเทศ และมีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป

เครื่องมือที่ใช้ทำอาหารปลาจะประกอบด้วยเครื่องมือที่เป็นหลักอยู่ 4 ตัว คือ

เครื่องบด เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับบดวัสดุอาหารที่เป็นเม็ดหรือชิ้นให้กลายเป็นฝุ่นแห้งแป้งขนาดของวัสดุที่ได้ออกมาขึ้นอยู่กับแร่งหรือตะแกรงในเครื่องนั้นๆ การบดให้วัสดุเป็นผงละเอียดจะช่วย ทำให้การใช้ประโยชน์จากอาหารนั้นของปลาดีขึ้น เครื่องบดที่นำมาใช้มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบอาหารแห้ง เช่น บดข้าวโพด ถั่ว ข้าว อีกแบบหนึ่งเป็นอาหารสด เช่น บดหรือป่นผักตบชวา ผักบุ้ง ผลได้ออกมาจะมีลักษณะคล้ายกะปิ

เครื่องชั่ง ใช้สำหรับชั่งวัสดุต่างๆ ตามจำนวนที่คำนวณไว้ก่อนที่จะเข้าเครื่องผสมอาหาร

เครื่องผสม เป็นเครื่องมือที่จะผสมให้วัสดุต่างๆ ซึ่งมีจำนวนแตกต่างกันให้คลุกเคล้าเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งนี้ในการทำอาหารวัสดุบางชนิดจะถูกนำมาใช้เป็นจำนวนน้อย เช่น พวกวิตามิน แร่ธาตุ หรือพวกสารเหนียว การใช้เครื่องผสมจะทำให้สารอาหารต่างๆ ที่ใส่เข้าไปกระจายไปผสมกับวัสดุอื่นๆ … Read More

การสร้างสูตรอาหารสัตว์น้ำ

ในการทำให้ส่วนผสมของอาหารปลา จะมีโปรตีนได้ตามที่ต้องการของปลาแต่ละประเภท และจะใช้วัสดุใดบ้างนั้น เราจะสามารถรู้ส่วนผสมของอาหารนั้นโดยวิธีการคำนวณแบบสร้างรูปสี่เหลี่ยม(Square method) ซึ่งมีวิธีการคำนวณได้ ดังนี้

1. สร้างรูปสี่เหลี่ยมขึ้นรูปหนึ่ง ตรงกลางสี่เหลี่ยมเขียนจำนวนโปรตีนที่ต้องการไว้ตรงกลาง

2. มุมบนทางซ้ายมือของรูปสี่เหลี่ยม ใส่จำนวนโปรตีนของวัสดุที่มีโปรตีนต่ำ

3. มุมล่างทางซ้ายมือของรูปสี่เหลี่ยม ใส่จำนวนโปรตีนของวัสดุที่มีโปรตีนสูง

4. ลากเส้นทะแยงมุมจากมุมทั้งสี่ของรูปสี่เหลี่ยมไปยังตัวเลขกลาง ตัวเลขกลาง คือ เปอร์เซ็นต์โปรตีนที่เราจะต้องสร้างขึ้นในสูตรอาหาร หรือเป็นเปอร์เซ็นต์โปรตีนในวัสดุอาหารที่ให้โปรตีน ในสูตรอาหาร

5. หักลบกันทางด้านทะแยง โดยใช้ตัวเลขจำนวนมากเป็นตัวตั้ง และตัวน้อยเป็นตัวลบ

6. ผลที่ได้จากการลบกันทางทะแยง จะเป็นจำนวนส่วนของวัสดุที่จะใช้ผสมเป็นอาหาร

Read More

องค์ประกอบของอาหารสัตว์น้ำที่ควรรู้

อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำนั้น มีหลักเกณฑ์ที่ควรพิจารณาอยู่ 3 ประการ คือ

1. สารอาหารที่สัตว์น้ำต้องการ

2. ส่วนผสมทางเคมีของสารอาหาร

3. แบบของอาหาร

ทั้ง 3 ประการที่ได้กล่าวมานี้ขออธิบายโดยย่อ ดังนี้

ก. สารอาหารที่สัตว์น้ำต้องการ ในอาหารที่สัตว์น้ำกินเข้าไปจะประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์น้ำสารอาหารเหล่านี้ได้แก่

-โปรตีน เป็นอาหารที่ให้พลังงานและเป็นตัวเสริมสร้างส่วนต่างๆ ให้แก่ร่างกาย (ตัวโปรตีนประกอบด้วยโมเลกุลของอมิโนแอซิค และตัวอมิโนแอซิคจะเป็นเครื่องชี้บ่งแสดงถึงคุณภาพของโปรตีนนั้นๆ)

การใช้โปรตีนในสัตว์น้ำเพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้

(1) สำหรับลูกสัตว์น้ำ ต้องการโปรตีนเพื่อความเจริญเติบโตซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอสร้างฮอร์โมน และพวกน้ำย่อยต่างๆ

(2) สำหรับสัตว์น้ำโตเต็มวัยต้องการโปรตีน เพื่อการเจริญเติบโตน้อยลง แต่ต้องการโปรตีนไปสร้างในส่วนที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์เพิ่มขึ้น

-คาร์โบไฮเดรต เป็นพวกที่ให้พลังงานที่มีราคาถูกที่สุดในประเภทอาหารประเภทพลังงาน การใช้ประโยชน์จากคาร์โบไฮเดรตของปลา

(1) ปลาใช้ธาตุอาหารนี้อย่างทันทีทันใด และแปรเปลี่ยนมาเป็นพลังงาน

(2) … Read More

การเพาะเลี้ยงไข่น้ำ (ผำ)

ไข่น้ำหรือผำ เป็นพืชประเภทลอยบนผิวน้ำ มีชื่อสามัญว่า Water meal และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Wolffia arrhiza (L) Wimm เป็นพืชในตระกูล Lemnaceae เช่นเดียวกับแหนเป็ด พบมากในประเทศแถบยุโรป แอฟริกากลาง แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย บราซิล อินโดนีเซีย และประเทศไทย ไข่น้ำเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่น่าสนใจมาก เพราะสามารถใช้เป็นอาหารของคนและสัตว์ได้ ในทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จัดเป็นอาหารธรรมชาติประเภทพืชที่มีคุณค่ามากชนิดหนึ่ง

ชีววิทยาบางประการของไข่น้ำ

การศึกษาชีววิทยาของไข่น้ำพบว่า ไข่น้ำมีอยู่หลายชนิด มีชื่อพื้นเมืองว่า “ผำ” เป็นพันธุ์ไม้ที่มีต้นเล็กที่สุดในโลก เป็นพืชน้ำที่ไม่มีราก มีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือยาวรี สีเขียวเป็นมันมีขนาดเส้นศูนย์กลาง 0.5-1.5 มิลลิเมตร ชอบขึ้นในที่อากาศร้อนและแสงแดดมาก ไข่น้ำมักมีตัวเบียฬอาศัยอยู่มาก โดยทั่วไปมักพบในแหล่งน้ำซึ่งมีน้ำนิ่ง เช่น หนอง … Read More

การเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อดิน

บ่อดินที่จะใช้เพาะเลี้ยงไรแดง ควรมีขนาดประมาณ 200-800 ม.2 โดยมีวิธีดำเนินการ ดังนี้

1. กำจัดสิ่งรกบริเวณขอบบ่อ ศัตรูต่างๆ ของไรแดง ประมาณ 2 วัน

2. เติมน้ำกรองลงบ่อให้มีระดับน้ำสูงจากพื้นบ่อ ประมาณ 25-40 ซม. พร้อมกับเติมปุ๋ย และอาหารลงไป

3. สูตรอาหารที่ใช้ดังนี้

  บ่อ 200 ม.2 บ่อ 800 ม.2
ปูนขาว 15 กก 60 กก.
อามิ-อามิ 25 ลิตร
Read More