หลักการซื้ออาหารสัตว์น้ำ

ในปัจจุบันนี้ อาหารสัตว์น้ำมีราคาแพง ทำให้ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำต้องประสบความลำบากในการเลี้ยงสัตว์นํ้าให้มีกำไรดี การเลี้ยงสัตว์น้ำให้ได้กำไรดีมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยกัน อาหารสัตว์น้ำเป็นปัจจัยที่คัญประการหนึ่งซึ่งผู้เลี้ยงสัตว์น้ำอาจจะลดต้นทุนการผลิตลงได้ถ้าหากเลือกซื้อหาอาหารได้ถูกต้อง ในการซื้ออาหารได้ถูกต้องนั้นในบางครั้งผู้ซื้ออาจซื้อของบางอย่างโดยอาจจะจ่ายเงินต่อนํ้าหนักของในราคาสูง แต่คุณค่าของอาหารสูงกว่าของที่ซื้อมาโดยจ่ายเงินน้อย แต่เมื่อมาเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารแล้วของที่ซื้อมาราคาแพงกลับมีคุณค่าสูงกว่าของที่ซื้อมาในราคาถูกในวงเงินที่เท่ากัน แต่ในการที่ซื้อของให้ได้ดังที่ได้กล่าวมานี้จะต้องมีหน่วยวัดเป็นเครื่องตัดสิน หน่วยวัดที่ใช้ในการตัดสินนั้น ในวงการอาหารสัตว์น้ำวัดได้จากหน่วยวัดต่อไปนี้ คือ

1. พลังงานการดูดซึม (Metabolized Energy)

2. โปรตีน (Protein)

3. กรดอมิโน (Amino acid)

ตัวอย่างต่อไปนี้ จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการซื้อของโดยใช้เงินได้อย่างคุ้มค่าของเงิน

1. พลังงาน

ต้องการซื้อของให้ได้ของที่คุ้มค่าเงินโดยคิดจากพลังงาน เช่น สมมุติว่า รำหยาบราคา 100 บาท/100 กก. หรือ 1 บาท/กก. มีพลังดูดซึมเท่ากับ 1,200 กิโลแคลลอรี่/อาหาร 1 กก. และรำละเอียดราคา 130 บาท/100 กก. หรือ 1.30 บาท/กก. และมีพลังงานดูดซึม = 1,663 กิโลแคลอรี่/อาหาร 1 กก. ในการที่จะรู้ว่าซื้อรำหยาบหรือรำละเอียดดีก็ต้องมาตัดสินว่าเงิน 1 บาท ที่ซื้อของแต่ละอย่างนั้นอย่างไหนให้ค่าพลังงานดูดซึมมากกว่ากัน ในกรณีนี้ลองเปรียบเทียบดู

เงิน 1 บาท ที่ซื้อรำหยาบ  = 1,200 กิโลแคลอรี่

เงิน 1 บาท ที่ซื้อรำละเอียด       =  1663

1.3

= 1,280 กิโลแคลอรี่

ดังนั้น จะเห็นว่าถ้าเราซื้อรำละเอียดใช้เลยงสัตว์น้ำก็จะได้ประโยชน์มากกว่าซื้อรำหยาบเลี้ยงสัตว์ เพราะจ่ายเงิน 1 บาท ได้ค่าพลังงานดูดซึมจากรำละเอียดสูงกว่ารำหยาบ

2. โปรตีน

ต้องการซื้อฃองให้ได้ของคุ้มค่าเงินโดยคิดจากเปอร์เซ็นต์ โปรตีนในวัสดุอาหารที่จะซื้อระหว่างการซื้อปลาป่นสกัดน้ำมันกับกากถั่วเหลือง

ในกรณีนี้ สมมุติให้ปลาป่นราคา 850 บาท/100 กก.โดยที่ปลาป่นนั้นมีเนื้อโปรตีน 55% และกากถั่วเหลืองราคา 700 บาท/100 กก. โดยที่กากถั่วเหลืองมีโปรตีน 42% อยากทราบว่าจะซื้อวัสดุอาหารชนิดใดมาผสมอาหารจึงจะคุ้มกับค่าของเงินที่เสียไป

เงิน 1 บาท ที่ซื้อปลาป่นจะได้โปรตีน          550/8.5 = 62.5 กรัม

เงิน 1 บาท ที่ซื้อกากถั่วเหลืองจะได้โปรตีน 420/7 = 60.0 กรัม

ดังนั้นในกรณีนี้ จึงควรซื้อปลาป่นผสมทำเป็นอาหารสัตว์ดีกว่าซื้อกากถั่วเหลือง

3. กรดอมิโน

เนื่องจากกรดอมิโนที่จำเป็นมีอยู่ถึง 10 ชนิด ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ แต่ใน 10 ชนิดที่กล่าวมานี้ Lysine เป็นตัวที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง ในตัวอย่างต่อไปนี้จะพิจารณาถึงค่าวัสดุอาหาร

โดยพิจารณาจากตัว Lysine เช่น เมื่อต้องการซื้อกากถั่วเหลืองราคา 700 บาท/100 กก. และมี Lysine อยู่ในอาหาร 2.75% และปลาป่นราคา 850 บาท/100 กก. และมี Lysine อยู่ในอาหารนั้น 5.02%

เงิน 1 บาท ที่ซื้อปลาป่นจะได้ Lysine       50.2/8.5 = 5.9 กรัม

เงิน 1 บาท ที่ซื้อกากถั่วเหลืองจะได้ Lysine 27.5/7 = 4.0 กรัม

ดังนั้นในกรณีนี้ จึงควรซื้อปลาป่นผสมทำเป็นอาหารสัตว์ดีกว่าใช้กากถั่วเหลือง