ลักษณะสมุนไพรฆ้องสามย่าน


เถาไฟ, ฮ่อมแฮม

ชื่อ
จีนเรียก    โง๋วเยี่ยวซาฉิก  เกยเยี่ยวซาฉิก  โทซาฉิก  กิมทึงซี้ (Kalanchoe laciniata (L) Pers.

ลักษณะ
เป็นพืชล้มลุกอยู่ได้หลายปี โดยมากคนนำมาปลูกเป็นยาตามบ้าน ลำต้นกลมสีเขียว ขึ้นตรง เนื้อเปราะสูงประมาณ 2-3 ฟุต ใบคู่ เอ็นใบเห็นเด่นชัด ใบหนาอมน้ำ หักง่าย ก้านใบยาวประมาณ 3-4 นิ้ว รูปใบเว้าแหว่งคล้ายเล็บขาไก่ ออกดอกหน้าหนาวจนเช้าฤดูร้อน ดอกออกเป็นพวงที่ปลายก้าน กระเปาะดอกสีเหลือง แตกเป็น 4 แฉก คล้ายถ้วยปากแตก ยาว 3-4 หุน ส่วนดอกแยกเป็น 4 แฉก ออกผล 4 ลูกเล็กๆ

รส
ขมฝาด ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถแก้ปวด ไล่ลม ใช้ภายนอกแก้บวม แก้ปวด ฤทธิ์เข้าถึงตับและปอด

รักษา
แก้ฟกช้ำ แก้ขัดยอก แก้แน่นคัดที่ทรวงอก ใช้ภายนอกรักษาตุ่มฝีเป็นหนองบวมเจ็บ

ตำราชาวบ้าน
1. ฟกช้ำบวมเจ็บเนื่องจากถูกของแข็ง ฆ้องสามย่าน ตำกับเกลือ ใช้ทา หรือเอาฆ้องสามย่านครึ่งตำลึงถึง 1 ตำลึง ตำเอานํ้าชงเหล้า รับประทานหรือตำเอาน้ำผสมปัสลาวะเด็กเล็ก รับประทาน หรือฆ้องสามย่านตำกับยอดสะระแหน่ 7 ยอด คั้นเอาน้ำชงเหล้ารับประทาน ส่วนกากใช้พอกที่ฟกช้ำ
2. ทรวงอกเจ็บปวดเพราะถูกของแข็ง-เอาฆ้องสามย่าน ประมาณ 1 ตำลึง ต้มหมู รับประทาน หรือเอาฆ้องสามย่าน ตำเอาน้ำชงเหล้า รับประทาน
3. เป็นตุ่มฝีเจ็บปวดเป็นหนอง-ฆ้องสามย่าน ตำกับน้ำตาลแดง พอก

ปริมาณ
ต้นและใบสดใช้ไม่เกิน 1 ตำลึง ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช