กระทือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber zerumbet (L.) Smith
ชื่อวงศ์ ZIMGIBERACEAE
ชื่ออื่น กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮยวดำ (ภาคเหนือ)
เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป ไม้ล้มลุก สูง 0.5-1 ม. มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกของเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม แทงหน่อใหม่ เมื่อถึงฤดูฝน


ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรียาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน
ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ
นิเวศวิทยา พบตามป่าดิบชื้นทั่วไป หรือในดินที่ร่วนซุย
การใช้ประโยชน์ หน่ออ่อน เนื้ออ่อนในลำต้น ช่อดอกอ่อน รับประทานเป็นผักสด
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร หัวหรือเหง้าสด ใช้เป็นยาแก้อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง แก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูกหรืออาจมีเลือดปนด้วย)
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย