อาการวิทยาในพืช

SYMPTOMATOLOY
ลักษณะอาการของโรค (clinical appearances or syndrome) เป็นลักษณะของพืชที่สังเกตุเห็นได้ด้วยตาเปล่า และอาจสามารถตรวจสอบได้ด้วยกลิ่น การสัมผัส หรือแม้แต่การชิม ประกอบด้วยอาการ (symptoms) เป็นการเปลี่ยนแปลงของพืชที่เกิดจากปฏิกริยาทั้งภายใน หรือภายนอก กับส่วนที่แสดงออกให้เห็นได้ของเชื้อสาเหตุโรค (signs) ร่วมกัน ส่วนของเชื้อดังกล่าว ได้แก่ เส้นใย สปอร์ fruiting bodies ฯลฯ โดยอาจพบเจริญอยู่บน หรือในเนื้อเยื่อพืชที่เป็นโรค
ลักษณะอาการของโรค อาจพบหลายแบบปะปนกันได้ ทั้งนี้ก็แล้วแต่ชนิดของโรค
ลักษณะอาการของโรคที่สำคัญ มีหลักเกณฑ์ที่ควรสังเกตุ ดังนี้
1. อาการของสัณฐาน (morphological symptoms) เป็นลักษณะรูปร่าง ส่วนต่างๆ ภายนอกของพืช เช่น … Read More

ปรสิตและเชื้อโรค

PARASITE AND PATHOGEN
ปรสิต (Parasite)
เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บน หรือในสิ่งมีชีวิตอื่น โดยได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตนั้น เพื่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ การที่ปรสิตได้รับอาหารและน้ำจากพืชนั้น อาจทำให้พืชมีประสิทธิภาพในการเจริญเติบโต และอื่นๆ น้อยลงกว่าพืชปกติหรือไม่ก็ตาม
การที่ปรสิตทำให้พืชเป็นโรคโดยไปเบียดเบียน แร่ธาตุอาหารจากพืซที่ปรสิตไปอาศัยอยู่และทำให้พืชเจริญเติบโตผิดปกติ ลักษณะนี้เรียกว่า pathogenism
เชื้อโรค (Pathogen)
เชื้อโรคเป็นปรสิตที่ทำให้พืชเป็นโรค เช่น เชื้อรา บักเตรี วิสา และมายโคพลาสมาเป็นต้น นักวิทยาซาสตร์บางท่านยังได้ให้ความหมายของ pathogen คลุมไปถึงสาเหตุอื่นที่ทำให้พืชเป็นโรคได้อีกด้วยเช่น สาเหตุที่เกิดจากสภาพทางฟิสิกส์ และทางเคมี
เชื้อโรคที่กล่าวถึงในหนังสือนี้ มีความหมายเฉพาะเชื้อสาเหตุของโรคที่เป็นโรคติดเชื้อโดยสาเหตุดังกล่าวเชื้อก่อโรคขนาดเล็กๆ ได้แก่เชื้อรา บักเตรี วิสา มายโคพลาสมา และไส้เดือนฝอย ศัตรูพืช … Read More

ประวัติโรคพืชวิทยา

HISTORY OF PLANT PATHOLOGY
ประวัติของโรคพืชวิทยานั้น พอจะแบ่งออกได้เป็น 4 ยุค โดยอาศัยวิทยาการและเวลาที่เกิดขึ้นเป็นหลักดังนี้
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
มนุษย์รู้จักและได้รับความเสียหายจากโรคพืชมาตั้งแต่สมัยโบราณ พอสรุปได้ดังนี้
สมัยเฮบรู (Hebrews) ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์ไบเบิลถึงการระบาดและเสียหายของโรคไหม้ blast ราสนิม (rust) และ mildews คนในสมัยนั้นเชื่อว่าโรคที่เกิดขึ้นนี้เป็นความโกรธแค้นของพระเจ้า เป็นการลงโทษของพระเจ้าต่อผู้ทำความผิด
สมัยกรีก(Greeks) ประมาณ 500 ถึง 320 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีนักปรัชญายิ่งใหญ่ 2 ท่านที่ได้ให้ความสนใจพืชและเขียนเรื่องเกี่ยวกับโรคพืชไว้
Theophrastus (370-286 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นคนแรกที่ได้ศึกษาและเขียนเกี่ยวกับโรคของต้นไม้ ธัญพืช และถั่วต่างๆ ในหนังสือ Histria … Read More

การจำแนกและวินิจฉัยโรคพืช

Etiology เป็นคำมาจากภาษากรีก 2 คำ คือ aitia หมายถึงสาเหตุ และ ology หมายถึงวิทยา มุฏฐานของโรคจึงเป็นวิทยาศาสตร์ทางสาเหตุโรค (primary causal agent) และรวมถึงการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรง และทางอ้อม ตั้งแต่โรคเริ่มเกิดและกาฟักตัวของโรค โดยเฉพาะการศึกษาเชื้อและการจำแนกเชื้อสาเหตุ การพิสูจน์ความสามารถของเชื้อที่ทำให้เกิดโรค หลักของกลไกการเกิดโรค (pathogenesis) และชีพจักรของเชื้อโรค
ส่วนประกอบของโรค (Disease components)
ส่วนประกอบซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคนั้น ทราบกันดีในชื่อ “disease triangle”  ได้แก่ ต้องมีพืชอาศัยที่เป็นโรคง่าย (susceptible host) เชื้อสาเหตุที่รุนแรง (virulent and agressive pathogen) และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม … Read More

โรคพืชคืออะไร

โรคพืชวิทยาตรงกับภาษาอังกฤษว่า plant pathology เป็นคำมาจากภาษากรีก 2 คำ คือ pathos หมายถึง suffering การทนทุกข์ทรมาน ความเจ็บป่วย หรือความเสียหาย และ logos หมายถึง speech การกล่าวถึง ดังนั้นโรคพืชวิทยาจึงหมายถึงการกล่าวถึงความเสียหายของพืช เพราะพืชไม่ใช้คำว่าเจ็บป่วย เราใช้เฉพาะในคนและสัตว์ ทั้งนี้อาจเนื่องจากไม่สามารถแสดงอาการของการเจ็บปวดให้เห็นได้ สำหรับพืชที่มีอาการได้รับความเสียหายดังกล่าวนั้น เราเรียกว่าโรคพืช (plant disease)
พืชปกติ คืออะไร (What is healthy or normal plants)
พืชปกติคือพืชที่มีสรีระวิทยาต่างๆ ทำหน้าที่ปกติได้ดีที่สุดตามความสามารถของสายพันธุ์ หน้าที่ดังกล่าว ได้แก่ การแบ่งเซล การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซล … Read More

ปลูกกาแฟเป็นการค้า

การทำงบประมาณกระแสการเงินในการปลูกกาแฟเป็นการค้า (Cash Flow Budget – Coffee Commercial)
การทำงบประมาณกระแสการเงินในการปลูกกาแฟเป็นการค้านี้ มีประโยชน์และเป็นสิ่งจำเป็นต้องทราบสำหรับการส่งเสริมให้กสิกรปลูก ในการตอบปัญหาที่จะได้รับจากคำถามว่าถ้ากสิกรจะปลูกกาแฟจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนเท่าใด จะต้องใช้แรงงานจำนวนเท่าใด และจะได้รับผลตอบแทนอย่างไร คุ้มค่าหรือไม่เพียงไร และจะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อเพิ่มรายได้สุทธิให้มากขึ้นได้หรือไม่อย่างไร หรือใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาให้กู้ยืมเงินจากธนาคารด้วย นอกจากนี้สามารถนำไปใช้กับพืชนิดอื่นๆ ได้ด้วย
ปัจจัยในการเกษตรกรรมทั่วๆ ไปมี ๔ อย่าง คือ
๑. ที่ดิน กสิกรมีที่ดินของตนเอง หรือเช่า
๒. ทุน กสิกรมีทุนของตนเอง หรือกู้ยืมมาลงทุน
๓. แรงงาน กสิกรใช้แรงงานของตนเอง หรือจ้าง
๔. การประกอบการ กสิกรมีความรู้หรือความสามารถในการจัดการหรือไม่ เพียงใด
การทำงบประมาณนี้ … Read More

การคั่วบดและวิธีชงกาแฟ


หลังจากเริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวได้แล้วนั้น นอกจากขายเพื่อมีเงินได้แล้ว คงมีเหลือเก็บไว้ส่วนหนึ่ง เพราะอาจเก็บไว้ชงดื่มเอง แต่วิธีการคั่วกาแฟนั้น ปกติผู้ผลิตจะปกปิดเป็นความลับ ว่ามีวิธีการและใช้ตัวผสมอะไรอัตราส่วนเท่าไร ซึ่งทำให้ราคากาแฟผงชงหรือกาแฟผงสำเร็จรูป มีราคาแตกต่างกันไป
กาแฟอราบิก้านั้น หากทำการคั่ว ชงดื่มล้วนๆ แล้ว จะมีกลิ่นหอมแต่รสไม่ขม และเหม็นเขียวเล็กน้อย ไม่เป็นที่พอใจสำหรับผู้ดื่ม เพราะเคยดื่มแต่กาแฟผสมอย่างอื่น คั่วจนไหม้มีรสขม เช่นน้ำตาล ข้าวโพด ข้าวและเมล็ดมะขาม เป็นต้น ดังนั้น กาแฟผงชงที่พ่อค้าท้องถิ่นทำการคั่วขายนั้น จึงมีสีดำและขมจนไม่รู้ว่ามีเมล็ดกาแฟอยู่ เพียงกี่ส่วนนอกเหนือจากตัวผสม เพื่อเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น จึงไม่เป็นการแปลกที่บางท่านชิมกาแฟอราบิก้าล้วนๆ คั่ว ชงแล้วบอกว่าเหมือนเมล็ดมะขามคั่ว แต่เรียกน้าดำๆ ขมๆ นั้นว่ากาแฟ ดังนั้น จึงควรศึกษาถึงหลักการและเหตุผลเล็กๆ น้อยๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้
ขณะทำการคั่วเมล็ดกาแฟนั้น จะเกิดปฏิกิริยาภายในเมล็ดดังนี้ จากที่กล่าวมาแล้ว … Read More

กาแฟลิเบอริก้า(Liberica Coffee)


กาแฟลิเบอริก้า Coffea liberica มีถิ่นกำเนิด เป็นไม้พื้นเมืองใกล้มอนโรเวีย ในลิเบอเรีย และถูกตั้งชื่อตามประเทศ ถูกนำไปปลูกแพร่หลายในที่นี้และในอาฟริกาตะวันตก เข้าสู่ซีลอนและชวา ในปี ค.ศ. ๑๘๗๓ และมาลายา ในปี ค.ศ. ๑๘๗๕ ใช้ปลูกแทนที่กาแฟอราบิก้า ซึ่งถูกทำลายโดยเชื้อราสนิมในที่ระดับต่ำ และต่อมาปลูกแทนด้วยพันธุ์ลูกผสมข้ามธรรมชาติระหว่าง C. liberica XC. arabica ซึ่งถูกพบครั้งแรก ในปี ค.ศ. ๑๘๘๕ และต่อมาถูกแทนที่ด้วยกาแฟโรบัสต้า ซึ่งถูกนำเข้ามา ในปี ค.ศ.๑๙๐๐ กาแฟลิเบอริก้าได้ถูกนำไปปลูกอย่างกว้างขวางทั่วทั้งเขตร้อนชื้นจาก Kew และแหล่งอื่นๆ แต่ไม่มีที่ใดที่มีความสำคัญอย่างจริงจัง เพราะคุณภาพไม่สูงเท่ามาตรฐาน มีรสขมกว่า ซึ่งดูเหมือนจะเป็นที่พอใจในมาลายาและทางตะวันออก ใช้เป็นตัวผสมในกาแฟชนิดอื่นๆ สำหรับในจังหวัดเชียงใหม่ … Read More

กาแฟโรบัสต้า(Robusta Coffee)


กาแฟโรบัสต้า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าธรรมชาติ อาฟริกา บริเวณเส้นศูนย์สูตรจากระดับความสูง ๑,๕๐๐ เมตร ชาวอาฟริกันในอูกานดาได้ปลูกกันเป็นจำนวนเล็กน้อยโดยใช้เมล็ดที่เก็บมาจากในป่า ก่อนนักสำรวจชาวยุโรปจะค้นพบต้นกาแฟนี้ถูกจำแนกและตั้งชื่อว่าCoffea canephora โดย Pierre ปี ค.ศ. ๑๘๙๗ และแพร่กระจายไปยังกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม โดยได้ชื่อว่า C.robusta ในการค้า คงเรียกว่า กาแฟโรบัสต้า เพื่อให้แตกต่างจากกาแฟอราบิก้า หลังจากนั้นได้ถูกส่งเข้าไปในชวา และพบว่ามีการเจริญเติบโตแข็งแรงดี และมีความต้านทานโรคราสนิมได้อย่างดี ดังนั้น จึงปลูกกันอย่างกว้างขวาง และตั้งแต่ปี คศ.๑๙๐๐ การปลูกกาแฟโรบัสต้าก็ได้แพรหลายทั่วไปในเขตร้อนชื้น ซึ่งสามารถปลูกได้ผลสำเร็จดีในระดับความสูงต่ำกว่าบริเวณที่ไม่เหมาะสำหรับกาแฟอราบิก้า- และโรคราสนิม เป็นปัญหาสำคัญปัจจุบันยังคงเป็นพันธุ์ที่สำคัญที่สุดพันธุ์หนึ่งของอาฟริกา และ เอเซีย แต่มีปลูกกันน้อยมาก ในแหล่งปลูกกาแฟที่กาแฟอราบิก้ายังคงปลูกได้ดี
การใช้ประโยซน์ก็เช่นเดียวกับกาแฟอราบิก้า มีคุณภาพปานกลาง กลิ่น-รส … Read More

การเก็บเกี่ยวและกรรมวิธีการผลิตเมล็ดกาแฟ


กาแฟจะเริ่มให้ผลผลิตในปีที่ ๓- ๔ หลังปลูก และจะให้ผลผลิต เต็มที่ เมื่ออายุ ๖ – ๘ ปี หลังออกดอก จนถึงผลสุก ใช้เวลา ๗ – ๙ เดือน แล้วแต่สภาพภูมิอากาศบนที่สูงสุกช้ากว่า ผลกาแฟจะสุกจนเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ แล้วแต่พันธุ์ การ เก็บเกี่ยวจะกระทำโดยการใช้มือปลิดผลกาแฟที่แก่เต็มที่ ซึ่งอาจจะสุกไม่พร้อมกัน ทำให้เก็บเกี่ยวได้หลายรุ่น จำเป็นต้องเลือกเก็บผลกาแฟที่สุกเต็มที่เท่านั้น ทดสอบโดยใช้นิ้วชี้ และหัวแม่มือบีบผลกาแฟ ถ้าผลกาแฟแก่เต็มที่ เมล็ดจะหลุดออกมาโดยง่าย ใส่ในถังหรือตะกร้าของผู้ เก็บเกี่ยวแต่ละคน แล้วนำไปรวมกันเพื่อทำการผลิตเมล็ดกาแฟ ซึ่งมีอยู่ ๒ วิธี ด้วยกันคือ
๑. Read More