Month: June 2016

ต้นไม้มงคลประจำวันเกิด

ผู้คนที่สนใจเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้มงคลประจำวันเกิด และเคร่งในเรื่องนี้มีน้อยคนนัก การปลูกต้นไม้มงคลไว้ในบ้าน ได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ทำให้ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ จะรู้สึกได้ถึงความปลอดโปร่ง สบาย ส่งผลทำให้มีสภาพจิตใจที่ดี ผ่อนคลายจากความตึงเครียด ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อาศัยไปในตัว

คนไทยในทุกยุคทุกสมัยมีความเชื่อเรื่องไม้มงคลประจำวันเกิด มีการสืบทอดและยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยเชื่อว่าชีวิตจะมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า สุขภาพร่างกายแข็งแรง หากต้นไม้ประจำวันเกิดที่ปลูกมีความเจริญงอกงามดี หากต้นไม้นั้นมีดอกเบ่งบานสวยงาม ก็จะทำให้ชีวิตมีความสุขและสมหวัง ในตำราโหราศาสตร์ของไทยโบราณได้บันทึกความสัมพันธ์ของต้นไม้แต่ละชนิดกับวันเกิดไว้ว่า มิ่งขวัญของผู้ที่เกิดในแต่ละวันจะสถิตอยู่กับต้นไม้ที่แตกต่างกันไป หากในอาณาเขตบ้านของผู้ที่เกิดตามวันนั้นๆ ได้ปลูกไม้มงคลประจำวันเกิดไว้อย่างถูกต้อง ก็จะเป็นการช่วยเสริมดวงให้มีวาสนาและโชคลาภมากยิ่งขึ้น

สำหรับคนที่เกิดในวันอาทิตย์
ลักษณะของคนที่เกิดในวันอาทิตย์ มักเป็นคนที่มีความทะเยอทะยานสูง มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า ความรักความอบอุ่นและความสุขสบายในวัยเด็กไม่ค่อยจะดีนัก แต่จะมีฐานะที่มั่งคั่งมั่นคงในภายหน้าเมื่อเติบโตขึ้น เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ นิสัยใจคอกว้างขวางอย่างนักเลง จึงควรระวังเรื่องการจับจ่ายใช้สอยให้มาก เป็นคนอารมณ์ร้อน โกรธง่ายหายเร็ว แต่เป็นคนที่มีความจริงใจ รักเพื่อนฝูง ชอบช่วยเหลือ แต่มักทำคุณกับใครไม่ขึ้น เป็นคนพูดจาดี มีความสุภาพอ่อนโยน คล่องแคล่ว … Read More

ประโยชน์ของมังคุด

มังคุด
ชื่อภาษาอังกฤษ mangosteen
ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana Linn.
ชื่ออื่นๆ มังกุสตาน manggustan(มลายู) มังกีส(อินโดนีเซีย) มิงกุทธี(พม่า) มังกุส(สิงหล)
มังคุดมีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกะ เมื่อราวศตวรรษที่ 24 ได้มีการแพร่กระจายไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตก กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ และฮาวาย
มังคุดจัดเป็นพันธุ์ไม้เขตร้อนชนิดหนึ่ง ในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ สมัยรัชกาลที่ 1 ก็ได้มีการกล่าวถึงมังคุด ชื่อวังที่เคยตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชก็มีชื่อว่า “วังสวนมังคุด” ราชทูตจากศรีลังกาที่เข้ามาของพระสงฆ์ไทยก็ได้กล่าวไว้ในจดหมายเหตุว่า ผลไม้ชนิดหนึ่งที่นำออกมารับรองคณะทูตก็คือ มังคุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในประเทศไทยก็มีการปลูกมังคุดกันมาช้านานแล้ว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มังคุดเป็นไม้ยืนต้น มีลำต้นสูงประมาณ 10-12 เมตร ใบเป็นลักษณะใบเดี่ยว เนื้อใบหนาและเหนียว … Read More

การทำสวนสมุนไพร

สมุนไพรที่ใช้เป็นยารักษาโรคในรูปแบบต่างๆ ทั้งยาต้ม ยาชง ยาลูกกลอน ซึ่งคนไทยมักจะรู้จักและคุ้นเคยกันมาตั้งแต่ในสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่นิยมกันมากในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของยารักษาโรค อาหารเสริม และใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางชนิดต่างๆ มากมาย

การปลูกพืชสมุนไพรไว้เป็นอาหาร และใช้รักษาโรคที่อาการไม่รุนแรงมากนัก จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้ แถมยังมีพืชสมุนไพรที่ปลอดจากสารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือนด้วย

พืชที่จะนำมาปลูกในสวนสมุนไพรมักเน้นถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก เป็นพืชที่มักนำมาใช้กันอยู่บ่อยๆ ปัจจัยสำคัญที่จะใช้เลือกพืชสมุนไพรมาปลูกคือ ต้องดูว่าสถานที่ปลูก ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่จะใช้ปลูกพืชชนิดนั้นเหมาะสมกันหรือไม่ ซึ่งมีข้อพิจารณาต่างๆ ดังนี้

1. แสงแดด
ให้พิจารณาดูว่าปริมาณแสงแดดที่ส่องไปยังบริเวณที่จะปลูกในแต่ละวันเป็นอย่างไร เช่น ได้รับแสงแค่รำไร มีแสงส่องเฉพาะในช่วงเช้าหรือช่วงบ่าย หรือได้รับตลอดทั้งวัน

2. อุณหภูมิ
ให้พิจารณาถึงอุณหภูมิที่พืชจะได้รับซึ่งอาจเป็นผลมาจากฤดูกาล สถานที่ที่ใช้ในการปลูก และปริมาณแสงที่จะได้รับ เช่น หากพืชชนิดนั้นทนกับอากาศร้อนได้ดีก็ควรปลูกในบริเวณที่มีแดดจัดซึ่งมีอุณหภูมิสูง

3. น้ำ
ให้พิจารณาถึงแหล่งน้ำที่จะใช้สำหรับการปลูกพืชแต่ละชนิด ซึ่งควรมีการรดน้ำให้แก่พืชในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม ไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป… Read More

เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ

เห็ดเผาะ เป็นเห็ดราที่อยู่ในจำพวกเชื้อราเอ็คโตไมโคไรซา (ectomycorrhiza)
ชื่อภาษาอังกฤษ Astraeus
ชื่อสกุล Astraeus
ชื่อวงศ์ Lycoperdacea

เป็นเห็ดพื้นบ้านที่มักออกดอกในช่วงต้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน มักขึ้นอยู่ตามพื้นที่ในป่าเต็งรัง ชอบขึ้นในดินที่มีลักษณะร่วนซุย และจะออกดอกเพียงปีละครั้งเท่านั้น แหล่งที่พบเห็ดชนิดนี้ได้มากคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ หรือภาคอื่นๆ แต่ไม่พบในภาคใต้ เห็ดชนิดนี้จะมีรสหวานเล็กน้อย เนื้อเห็ดมีความกรุบกรอบ เป็นเห็ดที่คนไทยทางภาคเหนือและภาคอีสานนิยมรับประทานกันมาก และเป็นเห็ดที่ไม่สามารถเพาะขึ้นมาเองได้

ลักษณะของเห็ดเผาะ
ลักษณะของเห็ดเผาะจะกลมค่อนข้างแบน ไม่มีก้านดอก เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกมีประมาณ 1-3 เซนติเมตร ในระยะเริ่มแรกดอกเห็ดจะมีสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาก็จะเริ่มกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำเมื่อดอกเริ่มแก่ขึ้น ภายในผนังดอกทั้งชั้นนอกและชั้นในจะมีสปอร์อยู่เป็นจำนวนมากมาย ดอกเห็ดมักจะแตกเป็น 7-11 แฉกเมื่อแก่ โดยที่ผนังชั้นนอกของเห็ดเผาะจะแข็งและหนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และมีเซลล์เส้นใยหลายชั้นเรียงตัวอัดกันแน่นอยู่ ส่วนผนังชั้นในเมื่อยังอ่อนจะมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อบางๆ … Read More