Month: August 2012

กระเทียม

กระเทียมเป็นพืชที่มีความอัศจรรย์พันลึกอย่างคิดไม่ถึงทีเดียว กระเทียมเป็นอาหารที่เก่าแก่มากที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ กระเทียมแพร่กระจาย เพาะปลูก และใช้กันทั่วโลกตั้งนมนานมาแล้ว อายุรุ่นราวคราวเดียวกับข้าวก็ว่าได้ กระเทียมใช้กันทั้งในตะวันออกและตะวันตก ฝรั่งในยุโรปนั้นใช้กระเทียมมานานไม่แพ้ชาวตะวันออกในเอเชียเหมือนกัน

กระเทียมมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Garlic และชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium Sativum Linn เป็นพืชหัวสกุลเดียวกับพวกหอมหัวใหญ่ หอมแดง กุยช่าย ต้นหอม และอยู่ในวงศ์เดียวกับต้นลิลลี่ (Lily) อัลเลียมมีที่มาจากภาษาเซลติกซึ่งเป็นบรรพชนของคนยุโรปตอนเหนือ “al” ตามภาษาเซลติกแปลว่า “ร้อน,, ส่วนซัลติวุม คือเพาะปลูก

กระเทียมเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ต้นสูงประมาณ 30-45 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดิน กระเทียมมิได้ขึ้นเองตามธรรมชาติจากหัวหรือเมล็ด แต่ต้องอาศัยคนปลูกโดยใช้กลีบกระเทียมที่เตรียมมาเพาะในดินเท่านั้น การเจริญเติบโตของต้นกระเทียมที่สำคัญอยู่ที่หัวที่อยู่ใต้ดินและเติบโตขึ้นโดยมีกลีบประมาณ 10-12 กลีบ หัวกระเทียมบางพันธุ์มีกลีบชั้นเดียว แต่บางพันธุ์ก็มีกลีบ 2 … Read More

โหระพา

โหระพาเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล Labiatae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ocimum basilicum Linn. เป็นผักที่ใช้บริโภคเป็นผักสดหรือใช้ประกอบอาหารอื่น ๆ ก็ได้ ทำให้อาหารมีรสชาติและกลิ่นหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น ใช้ใบปรุงอาหาร เป็นผักชูรสได้หลายชนิด เช่น แกงเผ็ด แกงเลียง ผัด ทอด รับประทานสด เป็นเครื่องแนมอาหารคาวหรืออาหารว่างได้เป็นอย่างดี นอกจากจะใช้เป็นอาหารแล้วยังมีคุณค่าทางยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เมล็ดเมื่อแช่นํ้าจะพองตัวใช้รับประทานแก้บิด ช่วยหล่อลื่นลำไส้

โหระพาเป็นพืชที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุสั้น มีความสูงของ ทรงพุ่มไม่เกิน 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ก้านใบและลำต้นมีสีม่วงแดง ใบสีเขียว ใบเป็นรูปหอกยาวประมาณ 1 -3 นิ้ว … Read More

กะเพรา

กะเพราหรือทางภาคเหนือเรียกว่า กอมก้อ เป็นพืชที่อยู่ในตระกูล Labiatae มีชื่อวิทยาคาสตร์ว่า Ocimum sancium Linn. พืชที่อยู่ในตระกูลนี้ ที่สำคัญได้แก่ โหระพา แมงลัก เป็นต้น กะเพราเป็นพืชผักจำพวกเครื่องเทศ ที่ใช้ใบสดใบอ่อนในการประกอบอาหารเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวและช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม ใบกะเพราใช้เป็นผักชูรส เช่น ใส่แกงเผ็ด แกงป่า แกงเลียง ผัดเผ็ด ผัดกะเพรา ใส่หอยนึ่ง ฯลฯ นอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารมากมาย แล้วผลพลอยได้จากการบริโภคกะเพรายังช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์เป็น ยาสมุนไพร ทำให้เลือดลมดี กะเพราเป็นพืชที่ปลูกกันแถวเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มานานแล้ว โดยเฉพาะในประเทศไทยและมาเลเซีย

กะเพราเป็นไม้พุ่มล้มลุก ซึ่งอาจสูงถึง 1 เมตร ใบเป็นรูปไข่ บาง และนุ่ม ลำต้นและใบมีขนปกคลุมทั่วไป ใบมีสีเขียว บางสายพันธุ์สีม่วงอมแดง … Read More

ผักชี

ผักชีมีชื่อเรียกหลายชื่อแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือเรียกว่า ผักหอมป้อมและผักหอมผอม ภาคอีสานเรียกว่า ผักหอมน้อย และที่นครพนม เรียกว่า ผักหอม ผักชีเป็นผักที่อยู่ในตระกูล Unbelliferae มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Coriandrum sativa Linn. เป็นผักที่ใช้บริโภคส่วนของใบและก้านใบ เป็นผักสด หรือใช้รับประทานกับสาคูไส้หมู ต้นและรากใช้เป็นส่วนประกอบอาหารได้หลายอย่าง ใช้ต้มเป็นนํ้าซุปหรือนํ้าก๋วยเตี๋ยวทำให้มีกลิ่นหอมและ รสชาติดี เมล็ดใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องแกงเผ็ด นำมาบดคลุกกับเนื้อวัวสด ใช้ทำเนื้อสวรรค์ที่มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน กลิ่นหอมของเมล็ด ราก ใบ และต้นของผักชีสามารถใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้

ผักชีเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุสั้นคือประมาณ 40-60 วัน ลำต้น ราก ใบ ก้านใบ ดอก และเมล็ดมีกลิ่นหอม สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว … Read More

ผักกาดเขียวปลี

ผักกาดเขียวปลีหรือที่เรียกว่า ผักกาดดอง เป็นผักกาดที่ปลูกกันมานานแล้วอยู่ในตระกูล Cruciferae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica juncea เป็นผักที่นิยมนำมาดอง ไม่นิยมรับประทานสดเพราะมีรสขม แม้แต่ต้มสุกแล้ว ก็ยังไม่หายขม แต่จะมีคุณภาพดีหลังจากดองเค็มแล้วเพราะจะกรอบ เปราะ ไม่ยุ่ยเปื่อย ในระยะแรก ๆ นิยมนำมาทำผักกาดดองในระดับครอบครัว ต่อมาได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะความต้องการของต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่ออุตสาหกรรมการทำผักกาดดองขยายตัวขึ้นความต้องการวัตถุดิบก็ย่อมมากขึ้น นับเป็นผักที่ทวีความสำคัญทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผักกาดเขียวปลีมีลักษณะและรูปร่างต้นหลายแบบ ตั้งแต่พวกไม่เข้าปลีมีแต่เพียงใบเรียงตัวกันหลวม ๆ พวกเข้าปลีกลมแน่น และ พวกที่มีส่วนลำต้นพองหนา

ผักกาดเขียวปลีมีถิ่นกำเนิดในเอเซียใต้ เอเซียกลาง และเอเซียตะวันออก มีปลูกมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้วในประเทศจีนทางตอนใต้ของลุ่มแม่นํ้าแยงซีโดยเฉพาะในมณฑลเสฉวนและในอินเดีย

ลักษณะทั่วไป

ผักกาดเขียวปลีเป็นผักประเภทอายุปีเดียว รากเป็นระบบรากแก้ว เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ใบยาวประมาณ 15-50 เซนติเมตร กว้าง … Read More

ผักกาดหอม

ผักกาดหอมเป็นผักที่ใช้บริโภคส่วนใบ เป็นผักจำพวกผักสลัดที่มีคุณค่า ทางอาหารสูง นิยมบริโภคกันแพร่หลายที่สุดในบรรดาผักสลัดด้วยกัน โดย ส่วนใหญ่นิยมใช้รับประทานสดและนำมาประกอบอาหารหลายชนิด คนไทยนิยมใช้ผักกาดหอมกินกับอาหารจำพวกยำต่าง ๆ สาคูหมู หรือข้าวเกรียบปากหม้อ เป็นต้น ประโยชน์ของผักกาดหอมนอกจากจะใช้กินเป็นผักสดที่มีคุณค่าทางอาหารสูงแล้ว ยังจัดเป็นอาหารทางตาด้วยโดยการนำมาตกแต่งอาหารให้มี สีสันสวยงามนำรับประทานมากขึ้น นอกจากนี้ผักกาดหอมยังมีคุณสมบัติในการเป็นยาอีกด้วย ความต้องการผักกาดหอมมีอยู่ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงเทคกาลต่าง ๆ จึงนับได้ว่าผักกาดหอมเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ชนิดหนึ่งที่นับวันจะทวีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ผักกาดหอมมีชื่อเรียกอื่น ๆ ได้หลายชื่อเช่น ภาคเหนือเรียกว่าผักกาดยี ภาคกลางเรียกว่าผักสลัด เป็นต้น ผักกาดหอมเป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูล Com- positae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lactuca sativa มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและ ยุโรป มีปลูกในประเทศไทยมาช้านานแล้ว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ราก รากของผักกาดหอมเป็นระบบรากแก้ว มีรากแก้วที่แข็งแรง … Read More

ผักกาดเขียวกวางตุ้ง

ผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล Cruciferae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica chinensis Jusl var parachinensis (Bailey) Tsen & Lee เป็นพืชอายุปีเดียว โดยใช้บริโภคส่วนของใบและก้านใบ เป็นผักที่นิยมบริโภคกันมาก ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว อายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 35-45 วันก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง นำมาประกอบอาหารประเภทผัด แกงจืด ผักจิ้ม เป็นต้น สามารถปลูกได้ทุกฤดูและนิยมปลูกกันทั่วประเทศทั้งในรูปของสวนผักการค้าและสวนผักใกล้บ้านเพื่อบริโภคในครอบครัว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ราก เป็นระบบรากแก้ว อยู่ในระดับตื้น ส่วนที่ใหญ่สุดของรากแก้ว ประมาณ 1.20 เซนติเมตร มีรากแขนงแตกออกจากรากแก้วมาก โดยรากแขนง แผ่อยู่ตามบริเวณผิวดิน รากแก้วอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นถ้าดินมีสภาพชื้นและเย็น ลำต้น ตั้งตรง … Read More

ผักบุ้งจีน

ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักเมืองร้อนชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภคกันมาก ผักบุ้งที่ปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 2 ประเภทคือ ผักบุ้งไทย ซึ่งมีดอกสีม่วงอ่อน ลำต้นสีเขียวหรือม่วงอ่อน ใบสีเขียวเข้ม ก้านใบมีสีม่วง และผักบุ้งจีน ลักษณะใบมีสีเขียว ก้านสีเหลืองหรือขาว ก้านดอกและดอกมีสีขาว

ผักบุ้งจีนเป็นผักที่อยู่ในตระกูล Convolvulaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea aguatica Forsk เป็นผักพื้นเมืองของทวีปเอเชียเขตร้อน อาฟริกา และออสเตรเลีย แล้วแพร่กระจายไปยังเขตร้อนต่าง ๆ ของโลก ผักบุ้งจีนเป็นผักที่ปลูกเพื่อบริโภคส่วนของใบและลำต้น โดยนำมาใช้ประกอบอาหารได้อย่าง กว้างขวาง เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง รับประทานสด แกง ก๋วยเตี๋ยว หรือใช้เป็นผักจิ้มนํ้าพริกก็ได้ จึงนิยมปลูกผักบุ้งจีนเป็นการค้าอย่างแพร่หลาย ทั้งการปลูกเพื่อบริโภคสด และการผลิตเมล็ดพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันผักบุ้งจีนได้พัฒนา เป็นพืชส่งออกที่มีความสำคัญ โดยการส่งออกทั้งในรูปผักสดและเมล็ดพันธุ์ … Read More

ผักกาดขาว

ผักกาดขาวเป็นผักที่อยู่ในตระกูล Cruciferae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica pekinensis มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น ผักกาดขาวปลี แป๊ะช่าย แป๊ะช่ายลุ้ย เป็นต้น เป็นพืชอายุปีเดียว มีระบบรากตื้น ใบมีลักษณะห่อปลียาว หรืออาจห่อหลวม ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ใบมีสีขาวถึงสีเขียวอ่อน เป็นพืชวันยาว ดอกมีสีเหลืองยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผักกาดขาวส่วนใหญ่มีการผสมข้ามโดยแมลงและผึ้ง

ผักกาดขาวมีถิ่นกำเนิดในตอนเหนือของประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ จากนั้นก็มีการแพร่กระจายออกไปสู่ประเทศในแถบเอเซีย โดยมีเส้นทางสำคัญ 2 สาย คือ ทางตะวันออก ซึ่งมีเส้นทางแพร่กระจายไปสู่ประเทศเกาหลี แล้วแพร่กระจายเข้าไปในประเทศญี่ปุ่น ส่วนอีกทางหนึ่งเป็นเส้นทางแพร่กระจายผ่านภาคกลางแล้วลงสู่ภาคใต้ของประเทศจีน จากนั้นก็เข้าสู่ประเทศไต้หวัน และเผยแพร่ไปสู่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนแหลมอินโดจีน ได้แก่ ประเทศไทย … Read More

กะหล่ำปลี

กะหลํ่าปลีเป็นผักที่อยู่ในตระกูล Cruciferae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassicaoleracea var. capitata Linn. แหล่งกำเนิดดั้งเดิมของกะหล่ำปลี อยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน ต่อมาได้มีผู้นำเข้ามาเผยแพร่ทั่วทวีปยุโรป และอเมริกา จนกระทั่งเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2470 ซึ่งในขณะนั้นคนไทย ได้เริ่มรู้จักกะหลํ่าปลีบ้างแล้ว โดยครูโรงเรียนเกษตรในสมัยก่อนเป็นผู้นำเข้ามาปลูก พบว่าได้ผลดีในฤดูหนาวของภาคเหนือและภาคอีสาน เช่น จังหวัด เชียงใหม่ อุดรธานี เลย เป็นต้น ต่อมาปี พ.ศ. 2481 ปรากฎว่าได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง จึงได้มีการเผยแพร่ออกสู่เกษตรกรผู้ปลูกมากขึ้น อย่างไรก็ตามฤดูปลูกกะหลํ่าปลียังคงทำกันเฉพาะฤดูหนาวเท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2505 ได้มีความพยายามปลูกผักนอกฤดูมากขึ้น ประกอบกับการค้นคว้าและพัฒนาพันธุ์พืชมีความก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้มีกะหลํ่าปลีพันธุ์ทนร้อนซึ่งเหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทย ปัจจุบันจึงสามารถปลูกกะหลํ่าปลีได้ทุกฤดูกาลและทั่วทุกภาค จะเห็นได้ว่ากะหลํ่าปลีมีจำหน่ายในตลาดผักตลอดทั้งปี

กะหลํ่าปลีเป็นผักอายุประมาณ 2 … Read More