Month: July 2012

ชื่อสามัญของหญ้าแฝก

จีน : Xiang-Geng-chao

เอธิโอเปีย

Amharic : Yesero mekelakeya

กาน่า

Dagomba : Kulikarili

อินเดีย

Hindi : Bala, Balah, Bena, Ganrar, Khas, Onei, Panni

Urdu : Khas

Bengali : Khas-Khas

Gujarati : Valo

Marathi : Vala Khas-Khas

Mundari : Birnijono, Sirum, Sirumjon… Read More

ข้อแนะนำในการปลูกหญ้าแฝก

ข้อสังเกตทั่วไป

(1) แนวรั้วหญ้าแฝกที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ช่วยลดการไหลบ่าของกระแสนํ้าและทำให้ปริมาณนํ้าในดินเพิ่มขึ้นการไหลบ่าของกระแสนํ้าในหน้าแล้ง ทำให้มีการรักษาความชื้นใต้แนวรั้วแฝกได้ดีขึ้น

(2) มีตัวอย่างจำนวนมากที่แสดงว่า พื้นที่ซึ่งมีความลาดเอียง 5% ดินตะกอนจะถูกพัดพามาทับถมกันไว้ที่ด้านหลังแนวหญ้าแฝกหนาประมาณ 10 เซนติเมตร เป็นประจำทุกปี

(3) นอกจากจะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและรักษาความชื้น หญ้าแฝกยังใช้เป็นหญ้าแห้งสำหรับเลี้ยงสัตว์ มุงหลังคาบ้าน ปกคลุมต้นไม้ รองนอนให้สัตว์ เป็นแนวต้านลม ป้องกันไหล่ถนน และใช้ทำไม้กวาด

(4) ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการระบายนํ้าให้แก่ การเพาะปลูกพืชบริเวณไหล่เขา อย่างเช่นแนวต้นยาสูบบนพื้นที่ลาดแบบขั้นบันได แนวรั้วหญ้าแฝก จะเป็นเครื่องป้องกันอย่างดีเยี่ยมไม่ให้เกิดการกัดเซาะ หากปลูกไว้ตามแนวระดับที่มีระยะห่างแน่นอนตายตัวตามไหล่เขา

(5) รากของต้นหญ้าแฝกส่วนใหญ่จะหยั่งลึกลงไปในดินอย่างน้อย 3 เมตร และรากส่วนอื่น ๆ จะงอกออกไปตามแนวพื้นที่กว้างไม่เกิน 50 เซน­ติเมตร ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกมากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะดินตามแนวรั้วหญ้าแฝกมีปริมาณความชื้นสูง… Read More

การใช้หญ้าแฝกในกรณีอื่น ๆ

นอกจากความสำเร็จในฐานะที่เป็นระบบช่วยอนุรักษ์ดินและรักษาความชื้นได้แล้ว หญ้าแฝกยังได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในด้านอื่น ๆ อีก หลายอย่างด้วย ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ การช่วยเสริมความมั่นคงให้กับสภาพภูมิประเทศ รวมทั้งเขื่อน คูคลอง และถนนหนทาง ตัวอย่างรูปที่ 83 แสดงการใช้หญ้าแฝกในการเสริมความมั่นคงของแปลงนาข้าวที่อาศัยคันนาในการรักษาระดับนํ้าชลประทานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คันนาเหล่านี้ สามารถพังทลายลงจากการที่ถูกลมพัดพามาปะทะ (การพังทลายจากคลื่นซัด) และจากการที่หนู ปู และสัตว์อื่น ๆ ขุดรูอยู่ การพังทลายขนานใหญ่ในเวลาต่อมาอาจนำไปสู่การสูญเสียพืชผล ไม่นับการสูญเสียนํ้าชลประทานที่มีค่ามหาศาล และในบางกรณีไม่อาจนำกลับคืนมาใหม่ได้

รูปที่ 33 การเสริมความมั่นคงคันดิน

หญ้าแฝกสามารถปลูกบนพื้นที่คันนาเพื่อรักษาสภาพของคันนาเพื่อรักษาสภาพของคันนาไว้ หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตได้ดีภายใต้สภาวะเหล่านี้ และไม่เกิดความเสียหายอันเนื่องจากน้ำท่วมไหลบ่าในบางครั้ง นอกจากนี้รากของมันยังประกอบด้วยนํ้ามันที่สามารถขับไล่หนู ยิ่งกว่านันเนื่องจากรากของมันเจริญเติบโต หยั่งลึกตรงลงไปในดิน และไม่แผ่กระจายออกไปรบกวนพืชผลต่าง ๆ หญ้าแฝกจึงไม่มีผลต่อต้นข้าวหรือเมล็ดข้าวในแต่ละปี หญ้าแฝกจะสามารถตัดให้สั้นอยู่ในระดับเดียวกับพื้นดิน เพื่อป้องกันมิให้ไปบังพืชที่ปลูกได้

รูปที่ 34 Read More

อนุรักษ์หน้าดินด้วยหญ้าแฝก

ทำไมหญ้าแฝกจึงเป็นพืชที่เหมาะสำหรับระบบการอนุรักษ์ดินและรักษาความชุ่มชื้นของดิน

แม้ว่าในระยะหลายปีมานี้ จะได้มีการทดลองปลูกหญ้าและต้นไม้หลายชนิดเพื่อใช้เป็นพืชป้องกันดินพังทลาย แต่หญ้าแฝกเป็นพืชชนิดเดียวเท่านั้น ที่ได้ผ่านการทดสอบ ดังที่ปรากฎอย่างชัดเจนตามคุณสมบัติข้างล่าง ซึ่งได้มาจากการสังเกตหญ้าแฝก zizanioides ทั่วโลก พบว่าเป็นพืชที่มีลักษณะเด่น และเหมาะสมที่จะปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและรักษาความชุ่มชื้นไม่มีพืชใดเสมอเหมือนในเรื่องความทนทาน และความหลากหลายของประโยชน์ใช้สอยลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของหญ้าแฝก ได้แก่

  • เมื่อปลูกอย่างถูกต้องแล้วหญ้าแฝก zizanioies จะเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นแนวรั้วที่หนาแน่นและถาวร มีรากเป็นเส้นใยที่แข็งแรง สามารถทะลุและชอนไชลงในดินลึกได้ถึง 3 เมตร ต้านทานต่อการที่ดินเป็นโพรงและแตกระแหงได้
  • มีอายุข้ามปีและไม่ต้องดูแลมาก
  • ปกติแล้วไม่แพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด และเนื่องจากไม่มีหน่อหรือแขนงจึงไม่กลายเป็นวัชพืช
  • มีเหง้าอยู่ใต้ดินซึ่งจะช่วยให้ปลอดภัยจากไฟไหม้หรือถูกสัตว์เล็ม
  • มีใบที่แหลมและรากที่มีกลิ่นทำให้สัตว์ จำพวกหนู งู และสัตว์อื่น ๆ ไม่รบกวน
  • ใบและรากของหญ้าแฝกจะทนทานต่อโรคพืชส่วนใหญ่
  • โดยทั่วไปสัตว์ไม่ชอบรสชาติของหญ้าแฝก แต่ใบอ่อนสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์หรือใช้แทนหญ้าแห้งได้ (ในรัฐคานาทากะ อินเดีย หญ้าแฝก zizanioides
Read More

การรักษาความชุ่มชื้นในดิน

แม้ว่ามาตรการในการเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดินจะจำเป็นต่อการเพาะปลูกแบบอาศัยน้ำฝน แต่วิธีการรักษาความชุ่มชื้นไว้ในพื้นที่เดิมตามที่เรียกกัน แทบจะไม่มีการปฏิบัติกันเลย และไม่เป็นที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวาง ไม่มีพื้นที่ไหนที่เป็นที่ราบ เพราะการไหลบ่าของนํ้าเกิดขึ้นในทุกพื้นที่ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าพื้นที่จะราบเพียงใดถ้าหากเป็นการเพาะปลูกแบบอาศัยนํ้าฝนแล้วก็จำเป็นจะต้องจัดแนวระดับที่ดิน การปรับรูปที่ดิน การปรับระดับผิวดิน และเทคนิคทำนองนี้จะทำกันแต่ในพื้นที่ชลประทานเท่านั้น แต่ในพื้นที่เพาะปลูกที่อาศัยน้ำฝนจะต้องทำเป็นแนวระดับ รูปที่ 31 แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเพาะปลูกบนพื้นที่ราบโดยไม่ได้ทำแนวร่องเป็นแนวระดับ

จากรูป A น้ำฝนไหลตรงผ่านทุ่งไป รูป B แสดงผลที่ตามมา เนื่องจากไม่มีความชุ่มชื้น ต้นไม้จึงเหี่ยวและตายไปเพราะแสงแดด รูป C แสดงพื้นที่ เดียวกันแต่ปลูกพืชตามแนวร่องโดยมีร่องลึกสำหรับดักนํ้าที่ไหลล้น ซึ่งต้องทำก่อนที่จะปลูกหญ้าแฝก น้ำฝนที่ถูกเก็บไว้ได้ในร่องดินก็มีโอกาสที่จะซึมลงไป ในดิน แนวร่องแต่ละแนวอุ้มน้ำฝนที่ตกได้ปริมาณ 50 มิลลิเมตร ดังนั้นเมื่อเกิดพายุส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีน้ำไหลบ่า นอกจากนี้ระบบเก็บน้ำตามธรรมชาตินี้ ยังทำให้ต้นไม้ได้ประโยชน์จากแสงแดดตามที่แสดงไว้ในรูป D ในรูป E แนวร่อง … Read More

การสร้างแนวรั้วหญ้าแฝก

ต่อไปนี้จะให้คำแนะนำในการสร้างแนวรั้วหญ้าแฝกทีละขั้น รวมทั้งคำแนะนำปลีกย่อยต่าง ๆ ในการจัดการกับต้นกล้า เวลาที่เหมาะในการปลูก และสิ่งที่ควรทำหลังจากปลูกหญ้าแฝกไปแล้ว

ขั้นแรกคือ การหาต้นกล้าหญ้าแฝกมา โดยมักจะหาได้จากสถานีเพาะชำหญ้าแฝก หากว่าหญ้าแฝกไม่เป็นที่รู้จักในพื้นที่ของท่าน ให้ลองสอบถามไปยังสวนพฤกษศาสตร์ต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อขอพันธุ์หญ้าแฝก (Vetiveria zizanioides) ถ้ามีการเก็บรวบรวมไว้ในเอกสารประมวลพันธุ์พืช เราสามารถจะดูลักษณะแหล่งที่มา และชื่อพื้นเมืองของหญ้าแฝกได้จากเอกสารดังกล่าว โดยทั่วไปจะพบหญ้าแฝกในแถบเขตร้อน หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตได้ดีในเขตนี้ ไปจนถึงละติจูดที่ 42 องศาเหนือ การตั้งเรือนเพาะชำหญ้าแฝกทำได้ไม่ยากเลย สถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับการเพาะชำ คือ ทางนํ้าไหลลงสู่เขื่อนขนาดเล็กหรืออ่างเก็บน้ำ เพราะทางน้ำไหลนั้น จะเป็นแหล่งทดนํ้าให้แก่หญ้าแฝกพร้อมกันนั้น หญ้าแฝกจะช่วยกรองโคลนตมออกจากนํ้าให้ด้วย แอ่งนํ้าขนาดใหญ่ที่ใช้หญ้าแฝกปกป้องก็เป็นแหล่งเพาะชำ อนุโลมที่ดีได้เช่นกัน เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรปลูกกล้าหญ้าแฝกเป็น 2 หรือ 3 แถว เพื่อเป็นแนวรั้วหญ้าที่ขนานกันกั้นขวางร่องน้ำไว้ แถวของแนวรั้วหญ้า … Read More

การปลูกรั้วหญ้าแฝกตามแนวระดับ

รูปที่ 10 แนวตัดขวางของรั้วหญ้าแฝก

รูปที่ 10 แสดงให้เห็นภาพตัดขวางการทำงานของรั้วหญ้าแฝกตามแนวระดับ ใบและลำต้นของหญ้าแฝกจะชะลอความเร็วของน้ำไหลบ่าที่พัดพาเอา ตะกอนมาด้วยที่ A และทำให้เกิดการสะสมของตะกอนบริเวณด้านหลังของหญ้าแฝกที่ B นํ้ายังคงไหลต่อลงไปตามทางลาดเอียงที่ C ด้วย อัตราความเร็วที่ลดลงมาก ระบบรากที่อุ้มนํ้าไว้ได้ของหญ้าแฝกตามรูป D จะยึดดินที่อยู่ใต้ต้นหญ้าไว้ ลึกถึง 3 เมตร รากต้นหญ้าแฝกที่รวมตัวเป็นกระจุกหนาแน่นใต้ดินตามแนวระดับของพื้นที่ จะป้องกันการเกิดร่องนํ้าและโพรงใต้ดิน รากของหญ้าแฝกมีนํ้ามันกลิ่นฉุนซึ่งช่วยป้องกันการรบกวนจากสัตว์ จำพวกหนู และสัตว์อื่น ๆ ได้ ชาวนาอินเดียจำนวนมากรายงานว่า กลิ่นของน้ำมันนี้ยังทำให้หนูไม่มาอาศัยในบริเวณที่ปลูกหญ้าแฝกด้วย ระบบรากที่หนาแน่นนี้ ยังช่วยป้องกันไม่ให้หญ้าชนิดอื่น ๆ เช่น หญ้าคอสตอลเบอร์มิวด้า (Cynodon dactylon) ซึ่งเป็นพวกวัชพืชขึ้นในบริเวณที่เป็นไร่นา อีกทั้งเกษตรกรที่อยู่ใกล้ ๆ … Read More

หญ้าแฝก

ในบรรดาหญ้าใบหยาบที่มีอายุข้ามปีที่พบอยู่ในซีกโลกตะวันออก จำนวน 10 สายพันธุ์ ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Anjiropogoneae นั้น หญ้าแฝก (Vetiveria Zizanioides) ได้พิสูจน์แล้วว่า เป็นหญ้าที่เหมาะอย่างยิ่งในการอนุรักษ์ดินและรักษาความชุ่มชื้น

หญ้า V. Zizanioides (L) Nash (2n = 20) Khus; เป็นหญ้าแฝกที่ขึ้นเป็นกระชุกหนา ไม่มีหนวด (Awnless) เป็นเส้น ไม่มีขน มีอายุข้ามปี เป็นหญ้าที่ ไม่ค่อยแพร่พันธุ์และไมแพร่พันธุ์เลย เมื่ออยู่นอกเขตที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ คือในพื้นที่ที่เป็นหนองนํ้า ไม่มีรากแขนงหรือแขนง ขยายพันธุ์โดยการแบ่งราก หรือปักชำ หญ้าแฝกขึ้นเป็นกอใหญ่จากรากที่เป็นกระชุกใยเหมือนฟองนํ้า (รูป A) มีลำต้นสูง … Read More

การเกษตรโดยอาศัยนํ้าฝน

ไม่ว่าพื้นดินจะราบเรียบเพียงใดก็ตาม วิธีการเพาะปลูกแบบดั้งเดิมในพื้นที่ที่อาศัยนํ้าฝน จะทำตามแนวยาวของพื้นที่ลาดเอียง หรือขึ้นลงตามแนวเนินดิน (รูปที่ 4) ระบบนี้เป็นการเพิ่มการไหลบ่าของนํ้า (runoff) และการสูญเสียดินซึ่งจะยังผลให้การพังทลายของดินเลวร้ายยิ่งขึ้น มากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณนํ้าฝนได้สูญเสียไปในขณะที่เกิดนํ้าไหลบ่า ซึ่งเป็นผลให้พืชไม่ได้รับประโยชน์จากนํ้าฝนส่วนนั้นเลย ยิ่งพื้นที่มีความลาดเอียงมากขึ้นเท่าใด ความเร็ว และการพังทลายของดินจากน้ำไหลบ่าก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ประโยชน์ของน้ำฝนจะมีน้อยเพราะว่าไม่มีโอกาสซึมลงในดิน การไถคราดตามแนวยาวของพื้นที่ลาดเอียงดังในรูปที่ 4 นั้น เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำฝนให้ไหลออกจากไร่นามากขึ้น โดยที่เกษตรกรไมรู้ตัว

รูปที่ 4 การทำการเกษตรแบบดั้งเดิมใดยอาศัยนํ้าฝน


รูปที่ 5 การเพาะปลูกโดยใช้แนวรั้วของพืชตามแนวระดับ


รูปที่ 5 เป็นตัวอย่างที่ได้แนะนำ การใช้แนวรั้วหญ้าแฝกตามแนวระดับ เพื่อ ป้องกันการชะล้างพังทลายและรักษาความชื้นตามธรรมชาติของดินไว้ แนวรั้วนี้นอกจากไม่ต้องการ การบำรุงรักษาแล้ว ยังทำหน้าที่ปกป้องพื้นดินจากการพังทลายได้นานหลายปี เพราะว่าแนวรั้วหญ้าแฝกนั้นจะสร้างเนินดินธรรมชาติขึ้น … Read More

การสูญเสียหน้าดิน

การสูญเสียหน้าดินเป็นรูปแบบการพังทลายของดินที่สร้างความเสียหายมากที่สุด เนื่องจากมักจะไม่ได้รับความสนใจ ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีการหาแนวทางแก้ไข การสูญเสียหน้าดินจากนํ้าฝนเป็นการสูญเสียดินจำนวนหลายพันล้านตันทุกปี เมื่อฝนตกหนักเศษดินแยกหลุดออกและไหลตามนํ้าฝน ซ้ำยังเซาะเอาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไป กลายเป็นดินโคลนที่ตกค้างในทางระบายนํ้าและแม่นํ้าลำธาร การสูญเสียหน้าดินนำไปสู่การพังทลายของดินในรูปแบบ อื่น ๆ ที่ร้ายแรง ตัวอย่างเช่น ร่องนํ้าเซาะและแอ่งนํ้าเซาะ ซึ่งเป็นการพังทลายของดินที่ฝ่ายอนุรักษ์ให้ความสนใจเป็นอย่างมากจนถึงทุกวันนี้ การสูญเสีย หน้าดินแม้จะมองเห็นไม่ชัดนัก แต่ก็ปรากฎร่องรอย ดังในรูปที่ 1 คือเศษดินที่กองอยู่หลังสิ่งกีดขวาง (เช่น ก้อนอิฐ) บนพื้นที่ลาดเอียง (A) เศษหินที่ทิ้งอยู่ กระจัดกระจายเนื่องจากหนักเกินกว่าที่นํ้าจะไหลพัดพาไปได้ (B) หรือเศษดินและซากต่าง ๆ ที่ติดอยู่ใต้กิ่งไม้ เศษกิ่งไม้ หรือแม้แต่หญ้าแห้งที่จับเป็นก้อน (C)

รูปที่ 1 ร่องรอยของการสูญเสียหน้าดิน

ผลของการสูญเสียหน้าดินจะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น ในพื้นที่ป่าไม้ซึ่งไร้พืชปกคลุมดิน อย่างเช่นพื้นที่ทำการเกษตรหรือพื้นที่รกร้างที่มีไม้ยืนต้นเพียงไม่กี่ต้น ซึ่งการสูญเสียหน้าดินจะเห็นได้จากรากที่โผล่ขึ้นมา … Read More