Month: February 2013

การบริหารโรคของถั่วลันเตา

รายละเอียดของเรื่องนี้ส่วนหนึ่งได้มาจากผลการวิจัยของ โครงการ พ-ผ 5.1.27 ซึ่งผู้เรียบเรียงได้รับงบประมาณอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคถั่วลันเตาเป็นระยะเวลา 3 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2527-2529 ซึ่งเวลาก็ได้ผ่านมากว่า 7 ปีแล้ว แต่ข้อมูลที่ได้รับโดยเฉพาะ เรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารโรคก็ยังไม่ล้าสมัยเกินกว่าที่จะนำมากล่าวถึง ซึ่งยังสามารถใช้เป็นแนวทางหรือนำไปเลือกปฏิบัติกับพืชถั่วลันเตาที่มีการปลูกอยู่ในปัจจุบันได้โดยตรง หรืออาจนำไปดัดแปลงใช้บริหารกับโรคพืชผักที่ใกล้เคียงกันได้อีกด้วย

ถั่วลันเตาเป็นพืชผักที่นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการ สูงแล้ว ยังมีราคาจำหน่ายในตลาดที่ค่อนข้างสูง เพราะเป็นพืชที่ต้องการความดูแลอย่างพิถีพิถันจึงจะได้ผลผลิตดี แต่ปัญหาที่สำคัญของการเพาะปลูกถั่วลันเตาก็คือศัตรูพืชพวกโรคและแมลง โดยเฉพาะโรคนั้นเป็นอุปสรรคต่อการปลูกถั่วลันเตามากที่สุด ทั้งนี้โรคที่พบระบาดกับถั่วลันเตาตามแหล่งปลูกบางแห่งของประเทศไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ตาก เพชรบูรณ์ นครราชสีมา และกาญจนบุรี ในช่วงระหว่างมกราคม 2527 – มกราคม 2529 มีทั้งหมด 10 โรค คือ … Read More

โรคของหน่อไม้ฝรั่งในประเทศไทย

1.โรคราสนิม (rust)

มีผู้พบโรคราสนิมของหน่อไม้ฝรั่งครั้งแรกในทวีปยุโรป และพบต่อมาในรัฐแถบตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อราวปี ค.ศ. 1880 ฝั่งตะวันออกเมื่อปี 1896 โดยได้เกิดระบาดทำความเสียหายให้กับหน่อไม้ฝรั่งที่ปลูกในรัฐบอสตัน นิวเจอร์ซี่ เดลลาแวร์ และลองไอร์แลนด์ ปัจจุบันพบระบาดทั่วไปในเกือบทุกแห่งของโลกที่มีการปลูกพืชนี้

นอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับหน่อไม้ฝรั่งแล้ว ยัง พบว่าเชื้อสาเหตุโรคชนิดเดียวกันนี้ สามารถเข้าทำลายพืชพวก หอม กระเทียม และอื่นๆ ในตระกูล Alliums ได้อีกด้วย สำหรับในหน่อไม้ฝรั่งแม้ว่าโรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดอาการหรือทำลายส่วนหน่ออื่นที่รับประทานได้ ส่วนใหญ่จะเป็นกับต้น กิ่งก้านที่แก่แล้ว แต่ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบราก ทำให้ต้นโทรม ผลผลิตลดลง แต่ถ้าเป็นรุนแรงมากๆ ก็อาจทำให้ถึงตายทั้งต้นได้

ลักษณะอาการโรค

อาการระยะเริ่มแรกจะปรากฏบนกิ่งหรือแขนงเล็กๆ ที่เพิ่งแตกออก โดยจะเกิดเป็นตุ่มยาวเล็กๆ สีน้ำตาลหรือแดงขึ้นก่อน ต่อมาตุ่มเหล่านี้จะแตกออกเกิดแผลเล็กๆ มากมาย ลักษณะเป็นจุดหรือขุยสีน้ำตาลแดง … Read More

โรคของพริกในประเทศไทย

พริกเป็นพืชผักในกลุ่ม Solanacious เซ่นเดียวกับมะเขือเทศแต่อยู่ใน Genus Capsicumในประเทศไทยที่นิยมปลูกมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดทั้งเผ็ดและไม่เผ็ดเช่น พริกขี้หนู (bird chilli) พริกมันหรือพริกชี้ฟ้า (hot pepper) พริกหยวก (banana pepper) และพริกยักษ์ หรือพริกหวาน (bell pepper) แม้ว่าพริกจะเป็นพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารประเภทปรุงแต่งรส แต่ก็เป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจจัดอยู่ในกลุ่มของพืชอาหารหลักชนิดหนึ่งของชาวไทยสามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศและตลอดปี ขณะเดียวกันก็ปรากฎว่ามีโรคและศัตรูหลายชนิดขึ้นเกาะกินทำลายทำให้เกิดความเสียหายทั้งคุณภาพและปริมาณเป็นจำนวนมากในแต่ละปีเช่นกัน

1. โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)

แอนแทรคโนสเป็นโรคที่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดและทำความเสียหายที่ผลพริก ซึ่งชาวบ้านทั่วๆ ไปรู้จักกันในชื่อของโรคกุ้งแห้ง เนื่องจากลักษณะอาการแห้ง หงิกงอ และสีของผลพริกที่เปลี่ยนโป โรคนี้พบระบาดทำความเสียหายให้แก่พริกชนิดต่างๆ เช่น พริกมันแดง พริกบางช้าง พริกเหลือง พริกหนุ่ม ฯลฯ ในแหล่งที่มีการปลูก เช่น ในท้องที่จังหวัดนครปฐม … Read More

หลักการป้องกันกำจัดโรคพืช

(Principles of plant disease control)

การป้องกันกำจัดโรคพืช หมายถึง การปฏิบัติหรือการกระทำใดๆ ก็ตามในอันที่จะขัดขวางไม่ให้มีโรคเกิด หรือไม่ก็เพื่อบรรเทาและลดความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นจากการกระทำของโรคนั้นๆ ที่มีต่อพืชโดยมีหลักปฏิบัติใหญ่ๆ ที่อาจทำได้รวม 6 ประการด้วยกันคือ

1. การหลีกเลี่ยงไม่ให้มีโรคเกิดขึ้นกับพืช voidance of the pathogen)

หมายถึงการปลูกพืชโดยวิธีเลี่ยงให้ห่างจากเชื้อโรค หรือแหล่งที่เกิดของโรค ซึ่งอาจทำได้โดย

1.1 การเลือกลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสม (choice of geographic area) ได้แก่การเลือกพื้นที่ปลูกที่มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืซแต่ละชนิดเช่น พวกกะหล่ำและผักกาดต่างๆ ที่อวบน้ำหรือมีเนื้อมากหากปลูกในที่แห้งและเย็นจะไม่ได้รับความเสียหายจากโรคเน่าเละที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มะเขือ เทศ มันฝรั่ง ถ้าปลูกในท้องถิ่นที่อากาศค่อนข้างอบอุ่นและแห้งก็จะปลอดจากโรคเลทไบล๊ท์ที่เกิดจากเชื้อรา ytophthora infers tans เป็นต้น… Read More

โรคของมะนาว

(diseases of lime)

มะนาวแม้จะมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นเช่นเดียวกับไม้ผลต่างๆ แต่ประโยชน์และลักษณะการใช้มะนาวกลับมาอยู่ในหมู่ของพืชผัก เพราะมีรสเปรี้ยวจัด ไม่นิยมบริโภคทั้งลูก ส่วนใหญ่จะนำมาประกอบหรือปรุงแต่งรสอาหาร หรือไม่ก็นำมาแปรรูปทำเป็นมะนาวดอง มะนาวแช่อิ่ม มะนาวตากแห้ง เป็นต้น ในรูปของ preserved food จัดเป็นอาหารผักที่จำเป็นชนิดหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของชาวไทยทุกครัวเรือน

มะนาวเป็นพืชตระกูลส้มมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus aurantifolia Swingle มีโรคและศัตรูต่างๆ เช่นเดียวกับส้มทั่วๆ ไป แต่ที่นับว่าสำคัญและควรจะกล่าวถึงก็ได้แก่

โรคหูดหรือแคงเคอร์ (canker of lime)

โรคหูดหรือแคงเคอร์จัดเป็นโรคสำคัญที่ระบาดทำความเสียหายให้กับพืชในตระกูลส้มเกือบทุกชนิด เช่น มะกรูด มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง ส้มซ่า โดยเฉพาะมะนาวจัดเป็นพืชตระกูลส้มที่อ่อนแอและง่ายต่อการเกิดและติดโรคนี้มากที่สุด จะพบได้ทุกแห่งทุกภาคที่มีการปลูกมะนาวแทบจะกล่าวได้ว่าเป็นกับมะนาวทุกต้นที่ขึ้นและเจริญเติบโตอยู่ในประเทศไทย เป็นโรคที่ชาวสวนทุกคนรู้จักคุ้นเคยกันดี … Read More

โรคของผักบุ้ง

(diseases of Chinese water convolvulus)

ผักบุ้ง (Ipomoea aquatica) ตามธรรมชาติเป็นพืชน้ำขึ้นและเจริญเติบโตในลักษณะลอยทอดลำต้นแผ่กระจายบนผิวน้ำ แต่ก็มีบางชนิดที่เจริญงอกงามได้ดีบนบก มีทั้งที่ขึ้นเองในธรรมชาติ และมีผู้นำเอามาปลูกเป็นการค้า เป็นพืชผักที่มีผู้นิยมบริโภคกว้างขวาง เพราะนำมาปรุงหรือประกอบเป็นอาหารได้หลายชนิดทั้งสุกและดิบ มีคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะไวตามินเอสูง ช่วยเกี่ยวกับสายตาทำให้สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืด และก็เช่นเดียวกับผักอื่นทั่วๆ ไป ผักบุ้งก็มีศัตรูและโรคหลายชนิดขึ้นทำลายเกาะกินก่อให้เกิดความ เสียหายอยู่เสมอ โดยเฉพาะผักบุ้งจีนซึ่งมีผู้ปลูกและบริโภคมากที่สุด มีโรคที่จัดว่าสำคัญที่สุดและควรจะกล่าวถึง คือ

โรคสนิมขาว (white rust or white blister)

ในบรรดาโรคต่างๆ ที่เป็นกับผักบุ้งทั้งไทยและจีน โรคสนิมขาวนับเป็นโรคที่แพร่หลายและสร้างความเสียกายมากที่สุดจะพบได้ในเกือบทุกแห่งและทุกท้องถิ่นที่มีการปลูกโดยเฉพาะผักบุ้งจีน

อาการโรค

อาการโรคสนิมขาวในผักบุ้งที่พบทั่วๆ ไปแบ่งออกได้เป็นสองแบบ ตามลักษณะการเข้าทำลายและอาการที่แสดงออก คือ อาการเฉพาะแห่ง เป็นอาการที่แสดงออกในลักษณะเปิดโดยจะเกิดขึ้นตรงจุดที่เชื้อเข้าทำลาย เริ่มจากจุดเซลล์ตายสีเหลืองซีดขึ้นที่ด้านบนของใบก่อน … Read More

โรคของขิง

(diseases of ginger)

ขิงเป็นพืชผักในตระกูล Zingiberaceae รวมถึงพวก ข่า ขมิ้น กระชาย กระวาน ไพล เปราะหอม เป็นพืซที่จัดอยู่ในประเภทเครื่องเทศ (spices) ใช้ประโยชน์ได้ทั้งเป็นอาหารรับประทานโดยตรง ปรุงแต่งรส และใช้ประกอบเป็นตัวยาสมุนไพรสำหรับรักษาโรคบางชนิดได้ โดยการนำเอาส่วนของต้นหรือแง่งที่อยู่ใต้ดิน (rhizomes) มาใช้ บรรดาพืชทั้งหมดในตระกูลนี้ ขิง (Zingiber officinale) จัดว่าสำคัญและนิยมปลูกมากที่สุดเพราะใช้ประโยชน์ได้มากและกว้างขวางกว่าเพื่อน นอกจากใช้ประกอบอาหารหรือรับประทานสดแล้ว ยังนำมาใช้ทำเป็นผลิตกัณฑ์ต่างๆ เช่น ในทางการแพทย์นำมาใช้เป็นองค์ประกอบของยาแก้โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปต่างๆ เช่น ขิงผง ชาขิง ขิงตาก ขิงดอง เป็นต้น จำหน่ายได้ทั้งในและส่งเป็นสินค้าออก ไปต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ปากีสถาน … Read More

โรคของหอม-กระเทียม

(diseases of Allium spp.)

หอมกระเทียมเป็นผักที่อยู่ใน Family Amarylliaceae Genus Allium มีอยู่หลายชนิดที่นิยมปลูก และใช้บริโภคได้ เช่น หอมต้นหรือหอมแบ่ง (shallot-Allium ascalonicum) หอมหัวใหญ่ (onion-Allium cepa) หอมแดงหรือหอมหัว (multiplier onion-Allium cepa var. aggregatum) กระเทียมหัว (garlic-Allium sativum)กระเทียมใบ (leek- Allium porrum) และกุ๊ยฉ่าย (chives-Allium schoenoprasum) ผักในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่แม้จะเป็นผักที่ใช้ประกอบและปรุงแต่งรสอาหารเช่นเดียวกับคึ่นฉ่ายและพริก แต่ก็มีปริมาณการใช้ที่ค่อนข้างมากและมีราคาสูงเมื่อเทียบกับผักชนิดอื่น จึงมีผู้นิยมปลูกและผลิตเป็น

จำนวนมากในแต่ละปี โดยเฉพาะหอมแบ่งและหอมแดง เป็นผักที่จัดอยู่ในประเภทพืชอาหารหลักชนิดหนึ่งของคนไทย ซึ่งบริโภคกันเกือบจะทุกครัวเรือนส่วนกระเทียมนั้นยิ่งในปัจจุบันพบว่าเป็นสมุนไพรมีคุณค่าทั้งทางอาหารและทางยาสูงจึงยิ่งทำใหัมีผู้นิยมบริโภคมากขึ้น … Read More

โรคของมะเขือยาว

(diseases of eggplant)

มะเขือยาวแม้จะเป็นพืชผักในตระกูล Solanaceae เช่นเดียวกับมะเขือเทศ พริกและมันฝรั่ง แต่โรคของมะเขือยาวค่อนข้างจะแตกต่างออกไปจากโรคของพวก Solanaceous ชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะของมันเอง ซึ่งต่างทั้งอาการและเชื้อสาเหตุ

โรคต้นและใบไหม้แห้ง (blight)

โรคต้นและใบไหม้แห้งที่เกิดจากเชื้อ Phomopsis vexans เป็นโรคสำคัญที่ระบาดแพร่หลายและสร้างความเสียหายให้กับมะเขือยาวมากโรคหนึ่ง โดยจะก่อให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น อาการโคนเน่าคอดิน (damping-off) ของต้นกล้า อาการลำต้นเน่าหรือแผลสะเก็ด (stem canker) อาการใบไหม้แห้ง (leaf blight และอาการผลเน่า (fruit rot)

อาการโรค

โรคจะเกิดขึ้นกับต้นมะเขือยาวได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ในระยะที่ยังเป็นต้นกล้าหรือต้นอ่อนจะก่อให้เกิดอาการแผลสีนํ้าตาลหรือดำขึ้นที่บริเวณลำต้น ทำให้ต้นล้มใบเหี่ยวและแห้งตายทั้งต้นคล้าย damping-off สำหรับต้นโตอาการแผลจะเกิดที่โคนลักษณะเน่าแห้ง สีนํ้าตาลหรือเทา … Read More

โรคของมันฝรั่ง

(diseases of potato)

มันฝรั่งเป็นพืชผักในกลุ่ม Solanaceous เช่นเดียวกับมะเขือเทศ และพริกดังได้กล่าวแล้ว ด้วยเหตุนี้โรคส่วนใหญ่ของมันฝรั่งจึงเป็นโรคที่คล้ายกันหรือชนิดเดียวกันกับที่พบในมะเขือเทศและพริก ไม่ว่าจะเป็นชนิดของเชื้อ สาเหตุทั้งรา แบคทีเรีย และไวรัส ตลอดจนอาการที่แสดออกก็เป็นอาการที่เกือบจะกล่าวได้ว่าเหมือนกันหรือเป็นแบบเดียวกัน แต่ก็มีอยู่บางโรคที่แตกต่างออกไปและเป็นโรคที่เป็นกับมันฝรั่งโดยเฉพาะ เช่น

โรคต้นเน่าดำ (black leg)

มักจะพบเป็นกับมันฝรั่งที่ปลูกจากหัวที่มีการตัดแบ่งออกเป็นชิ้นๆ (cut seed) และปลูกในดินแฉะ หรือดินที่มีความชื้นสูงต่อเนื่องกันนานๆ

อาการโรค

อาการเริ่มแรกจะเกิดขึ้นที่ส่วนของลำต้นที่เชื่อมต่อกับรากที่อยู่ใต้ผิวดิน โดยเกิดแผลจุดสีดำเล็กๆ ขึ้นก่อนแล้วขยายลุกลามขึ้นมายังส่วนของต้นที่อยู่เหนือขึ้นมาอย่างรวดเร็วกระจายไปยังกิ่งก้านอื่นๆ แผลซึ่งขยายใหญ่ขึ้น จะมีสีดำแห้งคอดลงจนรอบต้น อาการติดตามที่จะสังเกตเห็นได้ต่อมาคือใบจะม้วนห่อเหี่ยว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในรายที่รุนแรงพืชจะเหี่ยวแล้วแห้งตายทั้งต้น ถ้าเป็นระยะที่มีการสร้างหัวมันแล้ว หัวที่อยู่ใต้ดินพวกนี้จะเน่าตามไปด้วย โดยจะเริ่มจากขั้วที่ต่อเชื่อมกับ Stolon แล้วค่อยๆ เน่าลึกเข้าไปภายใน โดยสีของแผลอาจจะต่างกันตั้งแต่สีนํ้าตาลอ่อนไปจนสีน้ำตาลเข้มหรือดำ

สาเหตุโรค Read More