Month: September 2012

อุปกรณ์การสอนวิชาเกษตร

ตามปรกติมนุษย์เรามีประสาทในการรับรู้ความรู้สึกไม่เท่ากัน เช่นการเห็น มนุษย์จะจำได้ 83% แต่การฟังมนุษย์จะจำได้ประมาณ 11% ส่วนการดมกลิ่น การสัมผัส และการชิมรส มนุษย์จะจำได้เพียง 3.5, 1.5 และ1% ตามลำดับ แต่ถ้าเราได้ยินได้ฟังควบคู่กับการได้เห็นก็จะทำให้มนุษย์เราจำได้เป็นเปอร์เซ็นต์สูงและจำได้นานกว่า เครื่องมืออุปกรณ์ที่ช่วยในการเห็นการฟัง เรียกว่าโสตทัศนูปกรณ์

อุปกรณ์การสอนเป็นเครื่องมือที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการสอนการเรียนในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาเกษตร อุปกรณ์การสอนวิชาเกษตรพอจะแบ่งออกได้เป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ

ก. อุปกรณ์ในห้องเรียน ในห้องโสต หรือ ในอาคาร คือ อุปกรณ์ขนาด เล็ก ที่สามารถเคลื่อนที่ หยิบยกได้ง่าย เช่น

1. กระดานดำ หรือกระดานชอล์ค ซึ่งอาจทำด้วยกระดาน ไม้อัดเป็นแผ่นเดียวตลอด … Read More

การส่งเสริมการเกษตร

การส่งเสริมเกษตรคืออะไร

การส่งเสริมการเกษตร คือ การเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรกับแหล่งวิทยาการเพื่อที่จะกระจายความรู้ใหม่ๆ และหลักการที่ดีไปสู่เกษตรกร และทำให้เกษตรกรเหล่านี้ได้นำวิทยาการแผนใหม่ไปใช้ในฟาร์มของตน

การส่งเสริมการเกษตร เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย กล่าวคือผลของการค้นคว้าวิจัยทางเกษตรกรรมจะไม่มีประโยชน์อย่างแท้จริง ถ้าไม่ได้นำผลเหล่านี้ไปมอบให้แก่เกษตรกรซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติความสัมพนธ์ระหว่างการส่งเสริมเกษตรกับการค้นคว้าวิจัยพอสรุปเป็นแผนผังได้ดังนี้

ลักษณะของงานส่งเสริมการเกษตร

1. งานส่งเสริมการเกษตรเป็นแบบของการศึกษานอกโรงเรียนที่รัฐหรือเอกชน ก็สามารถทำได้

2. การส่งเสริมการเกษตรเป็นการติดต่อสองทางกลับไปกลับมาระหว่าง สถาบันกับเกษตรกร โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเป็นตัวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

3. ควรเริ่มด้วยสภาพที่เป็นอยู่จริง ๆ ของเกษตรกร และเรื่องที่จะส่งเสริมนั้นจะต้องเป็นความต้องการที่แท้จริงของเขาด้วย

4. เกษตรกรต้องมีโอกาสเรียนรู้ด้วยการกระทำของจริง

5. เป็นการติดต่อกับคนในชนบทเป็นส่วนใหญ่ และเป็นการปฏิบัติงานกับสมาชิกทุกคนในครอบครัวโดยไม่จำกัดเพศและอายุ

6. ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นจุดเริ่มต้น

7. มีวิธีปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องกัน

8. มีวิธีดำเนินงานที่เป็นประชาธิปไตย

9. เป็นการสร้างผู้นำในท้องถิ่น

10. มีโครงการหรือแผนปฏิบัติงานที่แน่นอนและรู้ว่าจะประสานงานกับใครบ้าง

11. มีการติดตามผลงานหลังการปฏิบัติ… Read More

หลักและวิธีสอนวิชาเกษตร

การสอนเป็นทั้งศิลปและวิทยาศาสตร์ ที่อาจจะเป็นเทคนิคเฉพาะตัวหรือสร้างสรรให้เกิดขึ้นมาภายหลังก็ได้ การสอนคนมีเป้าหมายอันสุดท้ายว่าให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์นั้นๆ และสามารถทำให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีพหรือเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้สอคคล้องกับสิ่งที่พึงประสงค์ได้

ในกระบวนการสอนการเรียนใดๆ ก็ตาม ครูหรือผู้อำนวยการสอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด และน่าจะกล่าวได้ว่า ครูดีเบ็นศรีแก่ชาติ ครูเก่งกาจชาติมั่นคง และการที่เรา หรือใครจะเป็นครูดีได้นั้นก็ยังมีส่วนประกอบที่สำคัญอีก 3-4 ประการคือ

1. มีความรู้ทางวิชาการในสาขาเฉพาะของตนเอง สาขาใกลเคียง และความรู้ทั่วไปดี

2. มีเทคนิคและทำการสอนดี

3. มีคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมและมนุษยสัมพันธ์ดี

4. มีความรับผิคชอบ กระตือรือล้น และตรงต่อเวลา

หลักการสอนวิชาเกษตรสำหรับเด็กหรือยุวเกษตรกร

1. ครูควรยึดเด็กเป็นหลัก คือพยายามสอนในสิ่งที่เด็กอยากรู้อยากเห็น

2. ครูควรสอนโดยใช้วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เด็กสนใจและตั้งใจจะเรียนในวิชานั้น ๆ

3. ครูควรส่งเสริมให้เด็กคิดหาเหตุผล … Read More

บทบาทของครูเกษตร

ครู คือ บุคคลที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้และเกิดพัฒาการโดยรอบขึ้นในตัวผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรมในระดับที่วิญญูชนจะพึงปฏิบัติได้ และมีลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งในแง่บุคคลิกทั่วไป ความสัมพันธ์ต่อศิษย์และบทบาทต่อสังคม

เมื่อมองในอีกลักษณะหนึ่ง ครูก็คล้าย ๆ กับคนสวนที่จะช่วยรดน้ำพรวนดิน ช่วยใส่ปุ๋ย และเสริมสร้างบรรยากาศให้ต้นไม้แต่ละต้น ได้เจริญเติบโตตามที่เขาถนัดและตามที่เขาพอใจ

ครูเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของระบบการศึกษาทุกระดับ แม้ว่าสถานศึกษาใดจะมีอาคาร ที่ดิน วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ พร้อมเพียงใดก็ตามถ้าองค์ประกอบที่เรียกว่า “ครู”ไม่ดีแล้วก็ย่อมทำให้การสอนการเรียนหย่อนประสิทธิภาพได้ ความสำคัญของครูสามารถจะเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

ครูดี + การสอนดี = โรงเรียนดี

ครูในระดับประถมศึกษาถือได้ว่าเป็นครูที่สำคัญที่สุด เพราะเขาเป็นผู้วางรากฐานและหล่อหลอมเยาวชนไทยให้เป็นคนดีในอนาคฅ เหมือนดังคำขวัญที่ว่า เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง ดังนั้นครูเกษตร หรือครูสามัญและผู้ที่ทำหน้าที่สอนวิชาเกษตร ควรจะมีลักษณะ บทบาทและหน้าที่ต่องานภายในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาดังนี้

คุณลักษณะของครูเกษตรหรือผู้ที่จะสอนวิชาเกษตร

1. ใจรัก ต้องเป็นผู้ที่ชอบการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ธรรมชาติวิทยา และมีความจริงใจในอาชีพครูเกษตร… Read More

การจัดกิจกรรมการเกษตร

กิจกรรมการเกษตรที่จะส่งเสริมอาชีพการเกษตรและสนับสนุนการศึกษาอบรมในสาขาเกษตร มีมากมายหลายชนิดเช่น

ก. การจัดกระดานแสดง (Display Board) หรือป้ายประกาศ (Bulletin Board) โดยการหาภาพโป๊สเตอร์ เอกสาร สิ่งพิมพ์ ตัวอย่างของจริง หุ่นจำลอง ฯลฯ มาติดตั้งไว้บนกระดานแสดง หรือป้ายประกาศ พร้อมด้วยคำอธิบาย และรายละเอียดย่อ ๆ ประกอบภาพและสิ่งของเหล่านั้น กระดานแสดงหนึ่งแผ่นควรมีหนึ่งเรื่อง เพื่อให้คนเข้าใจง่ายขึ้น แล้วติดตั้งกระดานแสดงนี้ไว้ในที่ชุมชน ห้องสมุด ระเบียงห้อง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ในหมู่บ้าน ฯลฯ

ข. การจัดงานนิทรรศการ (Exhibition)

นิทรรศการ หมายถึงการจัดแสดงวัตถุ สิ่งของ เอกสาร แผ่นภาพ แบบจำลองของจริง หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้การศึกษา ให้ความรู้ … Read More

บัญชีฟาร์มและสหกรณ์

โดยทั่ว ๆ ไปเกษตรกรไทย ไม่ได้เก็บตัวเลขสถิติต่าง ๆ ในการทำฟาร์มของเขาจึง เป็นการยากที่จะวิเคราะห์และปรับปรุงการทำฟาร์มให้ดีขึ้นบัญชีฟาร์มมีประโยชน์หลายประการเช่น

1. ช่วยบันทึกความจำ ให้รู้แน่ว่าวํนไหน ทำอะไร มีค่าใช้จ่ายเท่าไร ฯลฯ

2. มีข้อมูลไว้เพื่อการวิเคราะห์ เพื่อรู้ถึงฐานะทางการเงิน, กำไรขาดทุน และจุดบกพร่องที่จะแก้ไขต่อไป ตลอดจนการคำนวณที่จะแบ่งผลกำไรให้ผู้ร่วมงาน การคำนวณดอกเบี้ยและภาษีอากรต่าง ๆ

สมุดบัญชีฟาร์มจะมีจำนวนมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่ขนาดของฟาร์มหรือความละเอียคละออที่ต้องการ เช่นเจ้าของฟาร์มขนาดเล็กอาจจ่ะต้องการสมุดเพียงเล่มเดียวเพื่อลงบัญชีรับและจ่ายเท่านั้น แต่ถ้าฟาร์มใดทำบัญชีไว้โดยละเอียดก็ย่อมทำให้เจ้าของได้ทราบข้อบกพร่องของข้อมูลต่างๆ ได้มาก

สำหรับขบวนการบัญชีฟาร์มที่ละเอียด อาจประกอบด้วยสมุดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน กับสมุดบัญชีแยกประเภท

ก. บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของฟาร์ม เป็นสมุดจดรายการทรัพย์สินทั้งหมดของฟาร์มที่มีอยู่รวมทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ดังนั้นก่อนจะเปิดบัญชีเจ้าของฟาร์มจะต้องสำรวจรายการทรัพย์สินของฟาร์มเท่าที่มีอยู่ ทำเป็นบัญชีแยกแต่ละชนิดและประเภทไป เช่น บัญชีที่ดินและโรงเรือน บัญชีเครื่องจักรและเครื่องมือต่าง ๆ บัญชีสัตว์เลี้ยง บัญชีผลิตผลทางพืช บัญชีสิ่งของคงเหลือ … Read More

การตลาดเกษตร

ในปัจจุบันเกษตรกรไทยประสบปัญหาเรื่องตลาดแปรปรวน และราคาสินค้าเกษตร ขึ้นๆ ลงๆ อย่างมาก โดยทั่วๆ ไปเกษตรกรผู้ผลิตจะเป็นผู้ที่อยู่ปลายแถว และเสียเปรียบคนอื่นอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ การผลิตทางเกษตรเห็นผลช้า ลงทุนมากแค่ได้กำไรน้อย หรือบางทีก็ขาดทุน

การตลาดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการผลิตทางเกษตร และการตลาดเกษตร ในเมืองไทยเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนมาก ลำพังเกษตรกรฝ่ายเดียวจะไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องตลาดได้เลย แต่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย เช่นผู้ผลิต ผู้บริโภค พ่อค้าคนกลาง องค์การธุรกิจ กฏหมายข้อบังคับ ส่วนราชการต่าง ๆ รัฐบาล และต่างประเทศ

การพัฒนาเกษตรในเมืองไทยยังไม่เจริญรุดหน้าเท่าที่ควร ก็เพราะปัญหาเรื่องตลาด เข้ามาเกี่ยวข้อง แม้ว่ารัฐจะมีนโยบายในการพัฒนาการเกษตรอย่างจริงจัง หรือมีแผนจะยกระดับ ความรู้ เพิ่มเทคโนโลยี่ให้เเก่เกษตรกรมากสักเท่าใดก็ตาม แต่ถ้ารัฐยังไม่ปรับปรุงเรื่องการตลาด (ราคาและแรงจูงใจ)ให้ดีขึ้น ก็เป็นการยากที่เกษตรกรจะยอมรับวิทยาการแผนใหม่ทางการเกษตร ดังนั้นถ้าเราจะกล่าวว่าการ่ตลาดเป็นตัวควบคุมการยอมรับวิทยาการแผนใหม่ก็คงจะไม่ผิดนัก ตัวอย่างเช่นว่าถ้ายางราคาดีชาวสวนยางก็จะยอมรับวิทยาการแผนใหม่อย่างรวดเร็ว… Read More

การแปรรูปผลิตภัณฑ์และการถนอมอาหาร

การถนอมอาหารมีวิธีการต่าง ๆ หลายวิธี เช่น

1.  วิธีการหุงทั่ว ๆ ไป  เช่น การต้ม นึ่ง อบ ปิ้ง ย่าง เผาลวกน้ำร้อน ตุ๋น ทอด จี่ เจียว กวน

2.  การตากแห้งหรือทำให้แห้ง  เช่น การผึ่งแดด การย่าง การรมควัน

3.  การดองโดยใช้เกลือ น้ำตาล น้ำปลาน้ำส้มเข้าช่วย เช่น การดองเค็ม ดองหวาน ดองเปรี้ยว เค็ม หวาน

4.  การใส่เกลือทำเค็ม  เช่น การทำปลาเค็ม … Read More

การเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์ทางเกษตร

เราปลูกพืชก็เพื่อหวังผล  ดังนั้นเมื่อถึงเวลาอันสมควรเราก็ต้องทำการเก็บเกี่ยวพืชผลที่เราปลูก  เนื่องจากพืชพรรณที่ปลูกมีมากมายหลายชนิด  ดังนั้นเวลาที่จะเก็บเกี่ยวจึงแตกต่างกันไปตามชนิดของพืชและวัตถุประสงค์ของผู้บริโภค เช่น

ชนิดของพืชที่ปลูก ลักษณะและช่วงเวลาที่ควรเก็บเกี่ยว
ผักคะน้า 45-50 วัน หลังจากเพาะเมล็ด หรือขณะที่ดอกยังไม่บาน
ผักคะน้า(ฉีดยาดีลดริน) ควรเก็บหลังจากฉีดยาอย่างน้อย 15 วัน
กะหล่ำปลี 60-90 วัน นับจากวันย้ายปลูก ลักษณะหัวแน่นใส เคาะดู จะมีเสียงแน่นและหนัก
กะหล่ำปม 40-60 วันหลังจากย้ายปลูก ปมโตเต็มที่ สีเขียวอ่อน ยังไม่แตกและซีด
แตงกวา 30-45 วัน นับจากปลูก ผลยังอ่อนและมีหนามอยู่
ถั่วลันเตา 45-60 วัน ขณะที่ฝักยังอ่อนเมล็ดไม่แก่
ถั่วฝักยาว 50-60
Read More

การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง

ปลากะพงขาวเป็นปลาน้ำกร่อยขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ตามปากแม่น้ำที่ติดต่อถึงทะเล และยังสามารถแพร่เข้าไปอยู่ได้ในแม่น้ำลำคลองแหล่งน้ำจืด  ฉะนั้นในท้องที่บางแห่งจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า “กะพงน้ำจืด” ปลากะพงขาวมีลักษณะตัวยาวและแบนข้าง ปากกว้างมีฟันเล็กละเอียด ริมฝีปากล่างยื่นยาวกว่าริมฝีปากบนเล็กน้อย กระดูกแก้มที่ขอบเป็นหยักละเอียด และที่มุมเป็นหนามแหลม ลำตัวตอนบนเป็นสีฟ้าอมเขียว ด้านข้างและส่วนท้องสีขาวเงิน ครีบหางสีเหลืองดำ

การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง  มีความเหมาะสมกับสภาพท้องที่ตามแหล่งน้ำตื้น เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง แหล่งน้ำกร่อยในทะเลสาบ และทะเลชายฝั่ง  ซึ่งสามารถดัดแปลงเป็นที่เลี้ยงปลาได้สะดวกและลงทุนน้อย  แต่สามารถเลี้ยงปลาได้หนาแน่นเป็นจำนวนมากและไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคภัยต่าง ๆ  จากการทดลองเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง  ปรากฏว่าเป็นปลาที่มีความอดทน  สามารถปรับตัวอยู่ได้ทั้งน้ำจืดน้ำเค็ม  สามารถฝึกให้เชื่องและเลี้ยงรวมฝูงได้ดี  เติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูง เนื้อปลากะพงขาวมีรสชาดดีเป็นที่นิยมบริโภค จึงเป็นปลาที่มีราคาแพง ก.ก.ละ 40-50 บาท สามารถทำรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงพอสมควร  ดังนั้นการเลี้ยงปลากะพงขาวสามารถประกอบเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดี

การรวบรวมลูกปลากะพงขาว

ลูกปลากะพงขาวขนาดเล็กมักเข้ามาอาศัยตามแหล่งน้ำตื้นตามบริเวณชายฝั่ง  และเข้าไปอาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองหนองบึง … Read More