Month: October 2012

ว่านเพ็ชรน้อยแดง

ว่านเพ็ชรน้อยแดง

ว่านชื่อนี้ในปัจจุบันมีอยู่หลายชนิด คือ

ลักษณะ ใบเล็กยาวสีแดงคล้ำ กลางใบมีเส้นสีแดง เข้มจัด เห็นได้ชัด หัวกลมเล็กๆ มีขึ้นตามป่าทึบบนเขาทั่วไปในเมืองไทย

สรรพคุณ ใช้หัวกินและทา ทำให้เกิดความชาตามผิวหนังระงับ ความปวดเจ็บเมื่อยล้า แก้กษัย, แก้กล่อน หัวดองสุรากินเป็นยาขับระดูขาว แก้อาการกระตุกเนื่องจากเส้นประสาทพิการ

ตำหรับยาอายุวัฒนะมีดังต่อไปนี้ เอาว่านเพชรน้อยว่านกระชายแดง, ว่านกระชายดำ ว่านไพลดำ รวม 4 อย่าง เอาหัวบดเป็นผง ผสมนํ้าผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดถั่วพู กินวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็นก่อนอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย

วิธีปลูก ใช้ดินร่วนๆ หรือดินปนทรายเป็นดินปลูก โดยกลบหัวว่านพอมิดเท่านั้น แล้วเอาน้ำรดพอเปียกทั่ว

Read More

ว่านเพ็ชรนารายณ์หรือว่านนารายณ์

ว่านนารายณ์

ลักษณะ ใบ และก้านมีสีเขียว รูปคล้ายหอก ดอกออกยาว เหมือนธูปจีนดอกใหญ่ ๆ มีสีขาวนวลๆ เป็นขนคล้ายกับพันสำลีไว้กับ ไม้ยาวกว่าคืบขึ้นไป หรือประมาณ 30 ซ.ม. ในเดือน 12 จึงจะออกดอก ว่านต้นนี้มีหัวเป็นรากยาวเลื้อยไกลต้นมาก

สรรพคุณ เมื่อต้องการจะขุดเอาว่านนี้ ต้องหาวันฤกษ์ดียามดีจึงมาขุดเอาไป แล้วนำไปผึ่งแดดไว้ในที่สูง ครั้นถึงวันเดือนดับ คือวันสิ้นเดือนแรม 15 คํ่า จึงแต่งเครื่องบูชามีข้าวตอกดอกไม้ กุ้งพร่าปลายำ อันเป็นเครื่องกระยาบวด แล้วจึงแกะเป็นรูปพระนารายณ์ มือขวาถือ ดอกบัว มือซ้ายถือสังข์ มือขาวบนถือจักร มือซ้ายบนถือพระขรรค์ แล้ว เศกด้วยคาถานี้ “อมชัยยะ ชัยะประชัยยะ ปราชัยยะ อหัง … Read More

การแก้ไขรถติดหล่ม

รถแทรคเตอร์

1.  เมื่อรู้ว่ารถติดหล่มให้รีบหยุดและแก้ไขเสียทันที อย่าพยายามเดินหน้าหรือถอยหลังให้มากนัก จะทำให้รถติดหล่มหนักขึ้น

2. ถ้าติดหล่มไม่มากนักก็ให้ใช้แรงคนดันช่วยด้วยโดยการเคลื่อนรถไปหน้า หรือถอยหลัง ให้เป็นจังหวะๆ พร้อมๆ กับแรงดัน

3.  โดยการใช้รถอื่นช่วยลาก แต่ถ้าติดหล่มหนักๆ ก็จะต้องใช้รถที่มีน้ำหนักมากกว่าช่วยลากจึงจะได้ผล

4.  โดยการขุดเซาะเอาดินใต้ล้อออกแล้วหากิ่งไม้ใบไม้หรือหญ้ารองอัดเข้าไปให้แน่น แล้วจึงเคลื่อนรถออกไป (ห้ามใช้ท่อนไม้กลมๆ อัดใต้ล้อ เพราะว่าจะทำให้ล้อรถหมุนฟรี)

5.  ใช้แบบคานงัดคานดีดให้รถลอยขึ้นแล้วใช้ไม้หรือวัตถุที่แข็งหนุนได้ หรืออาจใช้แจ็กช่วยดันขึ้นมาก็ได้แต่ถ้าดินตรงนั้นอ่อนมาก จนถึงกับไม้หมอนที่เราวางรองรับน้ำหนักใต้แจ็กทรุดตัว่ลงไปด้วย ก็พยายามแจ็กลงไปจนหมดแจ็กแล้วหาไม้มารองใต้แจ็กอันนั้นเพิ่มขึ้นใหม่อีก จนกว่าไม้รองแจ็กจะรับน้ำหนักของรถนั้นได้ จึงจะใช้แจ็กได้ผล

6.  โดยการใช้วิล (สำหรับรถที่มีวิล) คือใช้โซ่วิลผูกติดกับหลักหรือไม้ แล้วติดเครื่องวิลให้รถขึ้นจากการติดหล่ม

7.  ให้เบรคเลี้ยวซ้ายและขวา(รถตีนตะขาบ) ถ้าล้อซ้ายติดหล่มก็ให้เบรคล้อที่ติดหล่มเอาไว้ให้อยู่กับที่ให้ล้อขวาทำงานหมุนให้ล้อซ้ายขึ้นมาอยู่ที่ตรงดินแข็งได้

8.  ใช้ไม้ขวางแท็ค(รถตีนตะขาบ) วิธีนี้ใช้ได้ผลดีมาก คือหาท่อนไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 … Read More

การใช้รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ

เพื่อการบุกเบิก

1.  ก่อนที่จะใช้ ให้บริการเช่นเดียวกับรถยนต์ให้เรียบร้อย

2.  การใช้รถตีนตะขาบจำเป็นต้องรู้จักชิ้นส่วนที่ใช้บังคับรถ เพื่อการปฏิบัติงาน ที่มีระบบผิดแปลกไปจากรถแทรคเตอร์ธรรมดา

ก.  ระบบสตาร์ท มีอยู่สองอย่าง คือ

1.  สตาร์ทแบบใช้มอเตอร์สตาร์ทแบบเดียวกับรถยนต์

2.  สตาร์ทแบบใช้ติดเครื่องเล็ก แล้วใส่เกียร์เครื่องเล็กให้หมุน เครื่องใหญ่ ให้ติดเครื่อง เมื่อเครื่องใหญ่ติดเรียบร้อยแล้วก็ให้ดับเครื่องเล็กเสียทันที

หลักของการสตาร์ท คือ แบบเครื่องเล็กสตาร์ทเครื่องใหญ่ ก่อนจะสตาร์ทเครื่องเล็กให้ปลดเกียร์และคลัชเครื่องเล็กที่จะใส่สำหรับสตาร์ทเครื่องใหญ่และเกียร์คลัชเครื่องใหญ่ให้อยู่ในตำแหน่งว่าง และดึงคันยกเปิดวาวเครื่องใหญ่เอาไว้พร้อมด้วยดึงคันเร่งเอาไว้ครึ่งหนึ่ง ต่อไปก็ให้ติดเครื่องเล็ก แล้วใส่เกียร์ และดึงคลัชจนเครื่องเล็กหมุนเครื่องใหญ่ ในขณะที่เครื่องเล็กกำลังหมุนเครื่องใหญ่อยู่นั้น ให้ดูว่าเกจวัดความดันน้ำมันเชื้อเพลิงทำงานได้ถึงขีดที่กำหนดไว้แล้ว จึงดึงคันปิดวาวเครื่องใหญ่กลับที่เดิม(ปิดวาว) เครื่องยนต์เครื่องใหญ่ก็จะติดเครื่องและปลดเกียร์ปลดคลัชเครื่องเล็กออกมาอยู่ในตำแหน่งว่างทันทีพร้อมด้วยดับเครื่องเล็กให้เรียบร้อย

ข. คลัช จะต้องอยู่ข้างซ้ายมือเสมอเป็นคันยาวออกมาในเมื่อรถดันให้คันคลัชโยกไปข้างหน้า ก็แสดงว่าคลัชถูกปลดอยู่ในตำแหน่งว่าง แต่ถ้าเราดึงมาข้างหลังแรงๆ จนมีเสียงดังก้ก ก็แสดงว่าใส่คลัช ให้คลัชทำงาน… Read More

การปราบหญ้าคาโดยการใช้เครื่องมือทุ่นแรงฟาร์ม

หญ้าคา

หญ้าคาเป็นพืชที่มีลำต้นเลื้อยอยู่ใต้ดิน ส่วนที่โผล่ขึ้นมาจากดินนั้น เป็นกาบใบและใบ ความจริงหญ้าคาบางแห่งใช้ทำประโยชน์ได้ดีมาก เช่น ใช้ใบมุงหลังคาทางภาคอีสาน แต่สำหรับภาคใต้แล้วถือว่าเป็นพืชที่ร้ายแรง ดังนั้นการที่จะปราบให้ได้ผล กระทำได้ดังนี้คือ

1.  ปราบโดยการทับ ได้ผลกับหญ้าคาที่ขึ้นอยุ่หนาแน่น วัตถุที่ใช้ทับได้แก่ลูกกลิ้งหรือท่อนไม้ พยายามทับให้กาบใบหักปูราบไปรับพื้นดิน แล้วอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์หญ้าคาเหล่านี้ก็จะตาย และเป็นปุ๋ย วิธีนี้ชาวสวนเคยทำลองได้ผลมาแล้วเป็นส่วนมาก และได้ผลดีกว่าวิธีใช้ฟันด้วยมีด คือ

เมื่อหญ้าคาเหล่านี้ถูกทับ และเน่าเปื่อยปกคลุมดินอยู่อากาศและแสงสว่างจะไม่เหมาะกับความเจริญเติบโตของต้นหญ้าคาที่เจริญขึ้นมาใหม่ แต่ถึงแม้กระนั้นก็ตามหญ้าคาก็จะพยายามส่งตาที่สมบูรณ์งอกออกมาก่อน ตอนนี้จะงอกออกมามีระยะห่างๆ กันไม่หนาแน่นมากนัก  ถ้าหากเราต้องการจะปราบโดยวิธีนี้อีก เพื่อใช้ใบของหญ้าคาทำปุ๋ยด้วย ก็ปล่อยไว้ให้เจริญงอกงามพอสมควรแล้วจึงทับลงไปอีก แต่ไม่ควรทิ้งไว้จนออกดอก

2.  ปราบโดยการไถ

(1)ลงมือไถครั้งหนึ่ง แล้วทิ้งเอาไว้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือจนกว่าหญ้าคาจะเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่และควรทิ้งไว้ให้สูงประมาณหนึ่งฟุต(เป็นระยะที่ดี) การไถครั้งนี้จะได้รับประโยชน์คือ

ก.  ทำให้ต้นหญ้าคาถูกตัดขาดเป็นท่อนสั้นๆ … Read More

วิธีปราบจอมปลวกด้วยรถแทรคเตอร์ล้อยาง

แทรคเตอร์ล้อยาง

1.  ตอนแรกควรขุดยอดจอมปลวกให้พังลงมาอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อต้องการให้รถแทรคเตอร์ถอยหลังขึ้นไปบนจอมปลวกนั้นๆ ได้

2.  ติดไถดินดาน หรือคราดสะปริงถอยหลังขึ้นไปบนจอมปลวก

3.  เดินหน้ารถด้วยเกียร์ต่ำไปข้างหน้าที่พร้อมด้วยกดเครื่องมือข้างหลังลงไถจอมปลวกเพื่อทำให้ดินแตกร่วน 3-5 ครั้ง (แล้วแต่ความจำเป็น) แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องมือเป็นเครื่องตักดินหรือเกลี่ยดินไปทิ้งจนถึงดินแข็ง แล้วจึงเปลี่ยนใช้ไถอีกให้กระทำดังนี้จนกว่าจะเรียบร้อย

-อย่าถอยรถให้ขึ้นไปอยู่บนส่วนลาดลงของด้านตรงกันข้าม

-ใช้รถที่มีเบรคดีและเคยใช้มาแล้วอย่างคล่องแคล่ว

-พยายามกดเครื่องมือข้างหลังให้ลดลงทำงานเสียก่อนจึงเดินรถไปข้างหน้า

-ดินที่รองล้ออาจยุบตัวไม่เท่ากัน ทำให้รถตะแคงหรือพลิกคว่ำได้

-เมื่อรถติดให้รีบหยุดทันที มิฉะนั้นล้อหน้าอาจยกทำให้ตัวรถไม่อยู่ในแนวตรงได้

-ขณะที่ถอยรถขึ้นไปแล้ว เครื่องไถข้างหลังอาจขึ้นไปกระแทกกับจอมปลวกหรือวัตถุอื่น ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้

Read More

ส่วนประกอบและหน้าที่เครื่องหยอดเมล็ด

เครื่องหยอดเมล็ด

1.  ล้อสำหรับรองรับน้ำหนักและทำหน้าที่หมุนเมื่อถูกลากให้เคลื่อนที่

2.  เพลาล้อ ที่เพลาล้อจะมีฟันเฟืองติดอยู่สำหรับหมุน

3.  เพลาถังเมล็ดพันธุ์ และปุ๋ย ที่เพลาจะมีฟันเฟืองติดอยู่สำหรับหมุนเช่นกัน

4.  โซ่  ทำหน้าที่หมุนเพลาล้อกับเพลาถังเมล็ดพันธุ์และปุ๋ย(เมื่อล้อหมุน) โดยติดฟันเฟืองทั้งสองข้าง

5.  ที่ยกบังคับให้เพลาถังเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยหยุดหมุน(เมื่อล้อหมุน)

6.  ถังเมล็ดพันธุ์และถังใส่ปุ๋ยปรับให้มีระยะตั้งถี่ หรือห่างกันได้ (เฉพาะเครื่องที่มีถังเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยหลายๆ แถว) ภายใต้จะมีท่อทางเดินของเมล็ดพันธุ์และปุ๋ย

7.  จานสำหรับหมุนให้เมล็ดพันธุ์ และปุ๋ยตกลงจากถังตามระยะที่ต้องการ โดยการถูกหมุนด้วยเพลาถังเมล็ดพันธุ์และปุ๋ย ซึ่งจานนี้ตั้งอยู่ที่ก้นถังของเมล็ดพันธุ์และปุ๋ย

8.  เครื่องกาแถว  ทำหน้าที่ขีดเส้นกาแถวในการปลูกแถวต่อไป ให้ได้ระยะตามที่กำหนดไว้  โดยการปรับให้มีระยะถี่ห่างได้

9.  มีแขนสำหรับติดต่อกับตัวรถอยู่ 3 จุด

ระบบการทำงานคือ เมื่อล้อหมุนก็จะต่อสายพานไปหมุน(สายพานแบบโซ่) ฟันเฟืองบังคับให้จานที่ก้นถังหมุนเขี่ยเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยให้ตกลงมาเป็นระยะๆ

การปรับระยะ จะมีช่องปรับระยะให้ถังหยอดเมล็ดตั้งอยุ่ในระยะที่ต้องการได้ 

Read More

คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ใบมีดเกลี่ยดิน

ใบมีดเกลี่ยดิน

วัตถุประสงค์ของการใช้ใบมีดเกลี่ยดินนี้ คือเพื่อปรับพื้นที่ให้อยู่ในลักษณะที่ต้องการ เช่นการปรับพื้นที่ให้เรียบเป็นต้น

การใช้ใบมีดเพื่อการทำงาน

1.  ใช้ใบมีดที่คมมีประสิทธิภาพในการทำงาน

2.  ปรับใบมีดให้เหมาะกับงานนั้นๆ เช่น

-ต้องการถมที่ลุ่ม ใช้ปรับใบมีดให้อยู่ในลักษณะตรง เพื่อจะได้ลากดินสะดวกและได้มาก

-ต้องการตัดคันดิน หรือต้องการให้มุมของใบมีดทำงานหนัก ปรับใบมีดให้เอียงออกไปข้างหน้าข้างหนึ่ง และปรับให้ด้านที่เอียงออกไปนั้นต่ำลงตามความต้องการ ถ้าต่ำมากใบมีดก็จะตัดดินได้มาก

-ปรับใบมีดเพื่อต้องการทำถนน ปรับให้เอียงออกไปข้างหนึ่งและให้มีระดับต่ำกว่าอีกข้างหนึ่งเล็กน้อยเพื่อต้องการตัดดินบนถนนให้นูนเป็นหลังเต่า แล้วเกรดถนนทั้งสองข้างให้มูลดินขึ้นมากองอยู่บนถนนและครั้งต่อไปให้เกลี่ยกลางถนนบางๆ พร้อมด้วยบังคับให้เศษหญ้าและดินที่ยังเป็นก้อนๆ อยู่ลงไปกองรวมกันที่ขอบของถนนข้างใดข้างหนึ่ง

ข้อควรระวัง

1.  ใช้ใบมีดเกลี่ยหน้าดินตื้น ตัดเฉพาะหน้าดินที่ยังไม่เรียบร้อยเท่านั้น

2.  บังคับใบมีดให้ทำงานสม่ำเสมอโดยการประคองยกคันบังคับให้ขึ้นหรือลงช้าๆ

3.  ไม่ควรใช้ใบมีดเกลี่ยดิน เมื่อพื้นดินเปียกแฉะ

Read More

ชนิดของเครื่องตัดหญ้า

เครื่องตัดหญ้า

1.  แบบตะไกรปัตตาเลี่ยน เครื่องตัดหญ้าชนิดนี้ใช้ตัดหญ้าได้ผลดีมาก

2.  แบบพัดลม มีรูปร่างลักษณะเป็นพัดลมแฉกเดียวและมีกรอบหุ้ม เครื่องตัดหญ้าชนิดนี้ใช้กับหญ้าหนาๆ ไม่ค่อยได้ผล แต่ก็สามารถตัดหญ้าได้เรียบดี

การปรับเครื่องตัดหญ้าแบบตะไกรปัตตาเลี่ยน

1.  ปรับให้แผงใบมีดทางด้านหน้าต่ำลงก็จะตัดหญ้าได้สั้น

2.  ปรับให้แผงใบมีดทางด้านสูงขึ้นทำให้ตัดหญ้าได้ยาว

Read More

ชนิดของเครื่องพรวนเพื่อการเพาะปลูก

เครื่องพรวนจาน

1.  เครื่องพรวนจาน มีรูปร่างลักษณะคล้ายๆ คันไถกระทะแต่เล็กกว่า ซึ่งมีประกอบกันหลายๆ จานเป็นแถวเดี่ยวหรือสองแถวซ้อนกัน ใช้สำหรับพรวนดินเพื่อการปลูกพืช

2.  เครื่องพรวนจอบหมุน มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับไถจอบหมุน และทำงานอย่างเดียวกัน

3.  เครื่องพรวนแบบใช้ผาน มีรูปร่างลักษณะคล้ายๆ ผานของไถหัวหมู(ไถพื้นเมือง) ใช้พรวนดินที่ไม่มีรากไม้ตอไม้และหญ้าหนาๆ ได้ดี ส่วนมากใช้พรวนระหว่างแถวของพืช

การปรับเครื่องพรวนจาน

1.  ถ้าต้องการให้ดินแตกละเอียดมาก ก็ปรับให้จานพรวนทำงานต้านกับดินมากๆ

2.  ถ้าต้องการให้ดินแตกร่วนพอสมควร หรือต้องการพรวนให้ลึก ก็ปรับให้จานพรวนทำงานต้านกับดินน้อยลงตามลำดับที่ต้องการ

ตัวอย่างของการไถหรือพรวนพื้นที่

การไถจากกลางพื้นที่โดยการวนออกนอก


แบบที่ 1 การเลี้ยวรถเข้าไถครั้งต่อไปตามลูกศรโดยจะต้องเดินจากเบอร์ 1,2,3 ตามลำดับไป และไถวนไปให้ขี้ไถพลิกเข้าข้างใน

แบบที่ 2 การเลี้ยวรถโดยการถอยหลัง เมื่อเข้าไถช่องต่อไปและเดินตามเบอร์เช่นเดียวกับแบบที่ 1

ไถจากข้างๆ Read More