Month: November 2012

ไทรโคโคเลีย

HEPATICOPSIDA

ลีเวอร์เวิร์ธ มีทั้งพวกที่มีใบ (leafy liverwort) และพวกที่เป็นแผ่น (thalloid liverwort) ทั้งหมดมีประมาณ 9,500 ชนิด ไบรโอไฟท์พวกนี้ต่างจากมอสคือ ใบเรียงเป็น 3 แถว 2 แถวด้านข้างเรียงซ้อนทับกันคล้ายเกล็ด ส่วนใบแถวที่สามอยู่ทางด้านล่างของต้นซึ่งมักจะทอดไปตามผิวพื้น มักจะไม่พบอับสปอร์ เนื่องจากอับสปอร์มีช่วงการเจริญสั้น พืชพวกนี้ที่พบมากในเมืองไทย ได้แก่ Frullaniaceae และ Lejeuneaceae

วงศ์ไทรโคโคลิเอซีอี (TRICHOCOLEACEAE)

ลิฟฟิลิเวอร์เวิร์ธวงศ์นี้มีใบแยกเป็นฝอยคลุมต้น ต้นแยกสาขาในแนวระนาบเดียวกัน และขึ้นซ้อนกันเป็นกลุ่มๆ

Trichocolea sp.

Trichocolea sp.

ไทรโคโคเลียชนิดนี้เป็นลิฟฟีลิเวอร์เวิร์ธที่พบขึ้นในประเทศไทยที่ระดับความสูง ตั้งแต่ 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป มักขึ้นเป็นกลุ่มบนหิน ตามริมลำธาร หรือตามพื้นป่าที่ร่มและชื้น … Read More

ข้าวตอกฦาษี

ข้าวตอกฤาษี

BRYOPSIDA

พืชพวกมอสมีจำนวนชนิดประมาณ 14,500 ชนิด ซึ่งมากที่สุดในกลุ่มไบรโอไฟท์ พบได้ทั่วไปมากกว่าพวกลิเวอร์เวิร์ธและฮอร์นเวิร์ธ ลักษณะคล้ายต้นไม้เล็ก ๆ และมักจะพบอับสปอร์รูปคล้ายผอบเล็ก ๆ มีฝาปิดเจริญอยู่บนต้นที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ในประเทศไทยมีไบรโอไฟท์ที่มีชื่อไทยเพียงชื่อเดียวคือ ข้าวตอกฤาษี (Sphagnum spp.) นอกนั้นยังไม่มีชื่อในภาษาไทย

วงศ์สะแฟกเนซีอี (SPHAGNACEAE)

มอสวงศ์นี้พบได้ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ชอบขึ้นในที่ชื้นและในแอ่งนํ้า และมีคุณสมบัติพิเศษคือ ทำให้น้ำและดินบริเวณใกล้เคียงกับที่มอสวงศ์นี้ขึ้นอยู่มีสภาพเป็นกรด ดังนั้นต้นส่วนล่างที่ตายไปแล้วจึงสลายตัวช้า สภาพแวดล้อมที่มีมอสวงศ์นี้ขึ้นอยู่มีสังคมพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะเฉพาะ นอกจากนั้นใบของมอสชนิดนี้ยังมีลักษณะคล้ายฟองนํ้า ทำให้ซึมซับน้ำได้ดี จึงมีความสำคัญในธรรมชาติโดยเป็นแหล่งรักษาความชุ่มชื้นของป่า

sphagnum sp.

ข้าวตอกฤาษี มีส่วนปลายยอดที่ประกอบด้วยกิ่งหลายขนาด ได้แก่ กิ่งขนาดยาวและห้อยลงแนบต้น ทำหน้าที่ดูดซับน้ำจากส่วนโคนต้น กิ่งยาวแยกตั้งตรงข้ามกับกิ่งแบบแรกซึ่งต่อมาจะหักออกได้ต้นใหม่ และกิ่งประเภทที่ 3 เป็นกิ่งที่ทำหน้าที่สร้างอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์

Read More

หวายทะนอย

หวายทะนอย

PSILOPSIDA

พืชกลุ่มไซลอบซิดา เป็นกลุ่มพืชที่เป็นตัวแทนของพืชที่มีลักษณะโบราณ คือ ยังไม่มีรากและใบที่แท้จริง ต้นแยกสาขาเป็นคู่ มีเพียง 1 วงศ์ 2 สกุล 2-7 ชนิด

วงศ์ไซโลเทซีอี (PSILOTACEAE)

พืชในวงศ์นี้มีเพียง 2 สกุล คือ Psilotum และ Tmesipteris พบขึ้นเฉพาะแห่งในเขตร้อน

Psilotum nudum (Linn.) Beauv.

หวายทะนอย

ปัจจุบันหวายทะนอยเป็นพืชที่ค่อนข้างหายากและพบขึ้นเป็นจำนวนน้อย ในธรรมชาติขึ้นเป็นกอเล็ก ๆ ตามซอกหิน คบไม้ หรือตามพื้นดิน ที่มีใบไม้ผุสะสมไม่หนานัก มีลักษณะที่รู้จักได้ง่าย คือ ลำต้นเหนือดินไม่มีใบ มีแต่ต้นซึ่งสูงประมาณ 20-50

Read More

พืชวงศ์ซีแลกจีเนลเลซีอี

วงศ์ซีแลกจีเนลเลซีอี (SELAGINELLACEAE)

พืชวงศ์นี้มีจำนวนประมาณ 600 ชนิด ในประเทศไทยพบขึ้นตามพื้นป่าทั่วๆ ไป เช่น กูดเฟือย พ่อค้าตีเมีย กูดหิน เป็นต้น ขนาดตั้งแต่ 3 ซม. ขึ้นไปจนถึงยาวหลายเมตร มีลักษณะร่วมกับ วงศ์ไลโคโพดิเอซีอีที่ตำแหน่งและที่เกิดของอับสปอร์แต่จะต่างกันที่การเรียงตัวของใบของพืช ในวงศ์นี้ซึ่งมี 4 แถวที่บิดตัวมาอยู่ในระนาบเดียวกัน สร้างกิ่งพิเศษที่ไม่มีใบลงมายึดเกาะกับดิน คล้ายเป็นกิ่งค้ำยันไม่ให้กิ่งที่มีใบแตะกับพื้นดิน สร้างอับสปอร์ 2 ชนิดในต้นเดียวกัน อับสปอร์มักเกิดที่บริเวณปลายยอด

Selaginella chrysorhizos spreng.

ต้นขนาดเล็กขึ้นอยู่บนดิน ใบบริเวณใกล้ยอดที่สร้างอับสปอร์ขนาดใหญ่กว่าใบทั่วๆไป ตามลำต้นอับสปอร์เห็นชัดเมื่อดูจากด้านล่าง พบขึ้นตามพื้นป่าโปร่งได้รับแสงค่อนข้างมาก

Read More

หางสิงห์

หางสิงห์

LYCOPSIDA

เมื่อสามร้อยกว่าล้านปีมาแล้วพืชกลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สุด มีมากมายหลายขนาดไปจนถึงขนาดไม้ต้น (tree) แต่ต่อมาได้สูญพันธุ์ไปจนปัจจุบันเหลือเพียง 3 วงศ์ 5 สกุล 850 ชนิด สกุลที่รู้จักกันมากได้แก่ Lycopodium และ Selaginella

วงศ์ไลโคโพดิเอซีอี (LYCOPODIACEAE)

เป็นพืชขนาดเล็กไม่มีเนื้อไม้ กระจายอยู่ตามถิ่นต่าง ๆ ในเขตร้อนและเขตอบอุ่น มีจำนวนประมาณ 200 ชนิด ลักษณะเด่นคือต้นแยกสาขาเป็นคู่ใบ ขนาดเล็กเรียงหมุนเวียนรอบต้นค่อนข้างแน่น ที่ซอกใบมีอับสปอร์รูปคล้ายเมล็ดถั่ว จำนวนหนึ่งอับสปอร์ต่อใบ ในประเทศไทยพบ 9 ชนิด เช่น หางสิงห์ สร้อยนางกรอง ช้องนางคลี่ สามร้อยยอด  เป็นต้น

Lycopodium squarrosum Forst.Read More

หญ้าถอดปล้อง

หญ้าถอดปล้อง

SPHENOPSIDA

พืชพวกหญ้าถอดปล้องเคยมีจำนวนมากและหลายชนิดมีขนาดใหญ่จัดเป็นไม้ต้น พบมากในยุคสมัยเดียวกับ Lycopsida แต่ได้สูญพันธุ์ไปเกือบหมด ปัจจุบันเหลือเพียง 1 สกุลคือ Equisetum ซึ่งมีประมาณ 25 ชนิด ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วงศ์อิควิซิเทซีอี (EQUISETACEAE)

ลักษณะเด่นของพืชกลุ่มนี้ คือ ต้นคล้ายหญ้า แต่ใบลดรูปลงเป็นเกล็ดเล็ก ๆ โคนใบเชื่อมติดกันเป็นปลอกหุ้มเหนือข้อ ผิวลำต้นมีสันและร่องตามยาว กิ่งเกิดได้หลายกิ่งจากข้อเดียวกัน อับสปอร์เกิดที่แผ่นรูปโล่ซึ่งเรียงซ้อนกันเป็นชั้นเห็นเป็นกลุ่มที่ปลายยอด ในประเทศจีนและญี่ปุ่น จัดหญ้าถอดปล้องเป็นวัชพืชในนาข้าว ที่กำจัดยากคล้ายหญ้าแห้วหมู

Equisetum debile Roxb. ex Vauch.

หญ้าถอดปล้อง พบขึ้นในที่ชื้นและกลางแจ้ง หรือริมลำธาร ขนาดของต้นต่างกันค่อนข้างมากตามความอุดมสมบรูณ์ของพื้นที่ เส้นผ่านศูนย์กลางต้น 3- 7 มม.

Read More

บัวแฉก

บัวแฉก

วงศ์ไดเทอริเดซีอี(DIPTERIDACEAE)

เฟินวงศ์นี้มีเพียง 1 สกุล 6 ชนิด ลำต้นทอดขนานปกคลุมด้วยขน ใบเดี่ยว ขอบหยักเว้าลึก กลุ่มอับสปอร์กลมไม่มีเยื่อคลุม

Dipteris conjugata Renw.

บัวแฉกมีลำต้นทอดขนานยาว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปคล้าย พัด ขอบใบหยักเว้าลึกเข้าหาฐานใบ ปลายพูแหลม ขอบพูหยักเป็นฟัน เส้นใบหลักแยกเป็นสาขาเป็นคู่และสานกันเป็นร่างแหบริเวณใกล้ขอบใบ แผ่นใบเหนียวเหมือนแผ่นหนัง กลุ่มอับสปอร์ขนาดเล็ก มีรูปร่างไม่แน่นอน เรียงตัวกระจัดกระจายทั่วไปทางด้านล่างของแผ่นใบ พบขึ้นบนดินบริเวณที่ได้รับแสงเต็มที่ หรือบริเวณกึ่งร่ม ตามไหล่เขาที่ระดับความสูงเหนือระดับนํ้าทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป บัวแฉกจัดเป็นเพีนที่หายากชนิดหนึ่ง

Read More

เถานาคราช

เถานาคราช

วงศ์โอลีแอนเดรซีอี (OLEANDRACEAE)

เป็นเฟินวงศ์เล็กมี 4 สกุล ลำต้นตั้งตรงหรือทอดขนาน ใบมีทั้งที่เป็นใบเดี่ยวและใบประกอบ แบบขนนกหนึ่งชั้น กลุ่มอับสปอร์มีเยื่อคลุม ตัวอย่างของเฟินวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีคือ เฟินใบมะขาม (Nephrolepis spp.)

Oleartdra musifolia (Bl.) Presl

เถานาคราชเป็นพืชอิงอาศัย ลำต้นทอดขนานยาว ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวยาว ฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ เส้นกลางใบเป็นสันทางด้านล่างของแผ่นใบ แผ่นใบบางฝี เขียวอ่อน เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ใกล้เส้นกลางใบ กลุ่มอับสปอร์รูปไตอยู่บนเส้นใบ สองข้างของเส้น กลางใบ พบขึ้นเกาะลำต้นของต้นไม้ใหญ่ หรือขึ้นบนหิน ในบริเวณกลางแจ้งหรือบริเวณกึ่งร่ม ที่ระดับ ความสูงเหนือนํ้าทะเล ประมาณ 1,000-1,500 เมตร

Read More

กูดฮอก

FILICOPSIDA

เฟิน จัดเป็นกลุ่มพืชไร้ดอกที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด ประมาณ 10,000 ชนิด พบขึ้นกระจายในสภาพถิ่นอาศัยหลายแบบทั้งบนดิน บนหิน บนต้นไม้ ริมน้ำ และลอยตามผิวน้ำ จัดจำแนกออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ได้แก่ กลุ่มเฟินตีนนกยูง กลุ่มว่านกีบแรด กลุ่มกูดต่างๆ กลุ่มผักแว่น และกลุ่มจอกหูหนู

วงศ์โพลีโปดิเอซีอี (POLYPODIACEAE)

เป็นเฟินวงศ์ใหญ่มีประมาณ 50 สกุล ประมาณ 600 ชนิด ส่วนใหญ่พบบริเวณเขตร้อน มักเป็นพวกอิงอาศัย ลำต้นทอดขนาน ใบมีทั้งที่เป็นเดี่ยวและใบประกอบ เส้นใบมักจะสานกันเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์ไม่มีเยื่อคลุม ตัวอย่างของพืชวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีคือ ข้าหลวงหลังลาย (Asplenium nidus Linn.) ชายผ้าสีดา (Platycerium … Read More

มะเมื่อย

GNETOPSIDA

พืชกลุ่มนี้เป็นที่รู้จักกันน้อย มีลักษณะประจำกลุ่มคือ ใบเกิดตรงข้ามหรือรอบข้อ เมล็ดมีใบประดับรองรับและที่ปลายเมล็ดมีเปลือกชั้นในของเมล็ดยืดตัวยาวเป็นหลอดหรือเส้นเล็ก ๆ มีเพียง 3 วงศ์ ๆ ละ 1 สกุล ได้แก่ พวกมะเมื่อย (Gnetum spp.) พวกมั่วอึ๊ง (Ephedra spp.) และ Welwitschia bainesii (Hook.f.) Carr. สกุลหลังพบแห่งเดียวในทะเลทรายของอัฟริกาตอนใต้

วงศ์นีเทซีอี (Gnetaceae)

พืชวงศ์ มะเมื่อย พบเฉพาะในป่าดิบเขตร้อน ทั้งหมดมีจำนวน 30 ชนิด เกือบทุกชนิดเป็นไม้เลื้อย ในประเทศไทยมี 8 ชนิด เรียกทั่ว ๆ … Read More