Month: September 2013

สารเคมีที่ใช้ควบคุมโรคพืช

CHEMICALS USED IN DISEASE CONTROL
สารเคมีที่ใช้ในการควบคุมโรคเป็นสารเคมีกลุ่มต่างๆ ที่จำแนกออกได้โดยอาศัยหลักเกณฑ์ของ
1) ชนิดของสารเคมี
2) แบบของปฏิกิริยา และ
3) พื้นฐานของการใช้ประโยชน์กับพืช
ชนิดของสารเคมี
แบบของปฏิกริยา การแบ่งโดยอาศัยปฏิกริยาของสารเคมีสามารถแบ่งได้ 2 วิธีคือ
1. การแบ่งโดยใช้ปฏิกริยาของสารที่มีต่อพืชเป็นกระจายทั่วต้น (systemis action) และไม่กระจายทั่วต้น (non-systemic action)
2. การแบ่งโดยใช้ปฏิกริยาของสารที่มีต่อเชื้อโรค เป็นสารที่ใช้ป้องกัน (protectants) สารที่ใช้รักษา (therapeutants) และสารที่ใช้กำจัด (eradicants)
สารที่ใช้ป้องกัน จะใช้ได้ผลก่อนที่เชื้อเข้าสู่พืช สารที่ใช้ควบคุมเชื้อรา (fungicide) ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติเป็นสารในประเทศนี้ สารที่ใช้รักษาเป็นสารเคมีที่แทรกซึมเข้าไปฆ่าเชื้อภายในพืช … Read More

การควบคุมโรคพืช

PLANT DISEASE CONTROL
การควบคุมโรคพืช เป็นการกระทำใดๆ ก็ตามที่สามารถลดความรุนแรงของโรคเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดจากโรค การควบคุมโรคจะเป็นการป้องกัน (protection) และกำจัดโรคที่เกิด (elimination) เพื่อไม่ให้มีโรคเกิดขึ้นและลดความร้ายแรงของโรคโดยการทำลายเชื้อในส่วนของพืชที่เป็นโรค ไม่ให้สร้าง inoculum ไปทำลายส่วนหรือพืชปกติอื่นอีก การควบคุมโรคไม่ใช่เป็นการรักษา (cure) การรักษาจะได้ผลน้อย เนื้อเยื่อพืชที่ถูกทำลาย หรือแสดงอาการของโรคแล้ว ไม่สามารถคืนสู่สภาวะปกติได้ ผลผลิตของพืชจะต่ำลง เนื่องจากพืชขาดระบบหมุนเวียนแบบมนุษย์และสัตว์ และการรักษาจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก การสิ้นเปลืองยาในการป้องกันโรค 1 กก. หากเป็นการรักษาอาจต้องใช้ถึง 16 กก. เป็นต้น
การวางแผนในการควบคุมโรคให้ได้ผลดี จะต้องอาศัยความรู้ด้านต่างๆ เช่น ทางโรควิทยา การเจริญของเชื้อโรค วงจรของโรค การเจริญของพืช และปัจจัยต่างๆ ของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อเชื้อโรคพืช และต่อการเจริญของโรค … Read More

อิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่มีต่อโรคพืช

INFLUENCE OF THE ENVIRONMENT ON PLANT DISEASES
โรคพืชจะเกิดขึ้นได้ต้องประกอบด้วยปัจจัย 4 อย่าง ที่เกิดขึ้นพร้อมกันคือ
1) การเป็นโรคง่ายของพืชอาศัย
2) ความรุนแรงของเชื้อสาเหตุโรค
3) สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค และ
4) เวลา
สภาพแวดล้อมที่มีต่อพืช ประกอบด้วยอากาศและดินที่พืชเจริญอยู่โดยรอบ ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญของโรค มีอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง ความดันของบรรยากาศ ลม ฝน น้ำค้าง และดิน ปัจจัยเหล่านี้อาจมีอิทธิพลต่อการเจริญของโรคเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ซึ่งอาจแยกกันหรือร่วมกัน อิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่มีต่อโรค พอจะสรุปได้ดังนี้
1. สภาพของอากาศ เป็นสิ่งกีดขวางที่สำคัญในการแพร่กระจายของเชื้อและการระบาดของโรค สามารถจำกัดโรคให้เกิดอยู่เฉพาะบางท้องถิ่น … Read More

โรคที่เกิดกับเมล็ดและพืชหลังการเก็บเกี่ยว

SEED PATHOLOGY AND POST HARVEST DISEASES
โรคที่เกิดกับเมล็ด Seed Pathology
เมื่อปลูกพืชด้วยเมล็ดที่มีเชื้อโรคติดมาด้วย เชื้อโรคนั้นจะเป็นสาเหตุทำให้พืชที่งอกและเจริญเติบโตอยู่ได้รับความเสียหายจากโรคอย่างมาก เช่น โรคที่ติดมากับเมล็ดของข้าวฟ่าง ได้ทำความเสียหายในไร่ส่วนตัวถึง 5% และบางครั้งสูงขึ้นถึง 50% นอกจากต้นกล้าที่เป็นโรค เชื้อยังแพร่สปอร์ระบาดไปยังต้นปกติอื่นๆ ในไร่หรือไปสู่ท้องถิ่นที่ไม่มีโรคนี้มาก่อน เช่น โรคแอนแทรคโนสของพริก โรคเหี่ยวที่เกิดจาก Fusarium ของพืช โรครานํ้าค้างของข้าวโพด ข้าวฟ่าง เป็นต้น การระบาดของโรคโดยเชื้อติดไปกับเมล็ดที่ใช้ทำพันธุ์ โรคจะสามารถระบาดได้อย่างแน่นอนและสู่ท้องถิ่นอื่นๆ ได้ไกล
โรคแอนแทรคโนสของพริกที่เกิดจาก Collletotrichum capsici and C. piperatum จากผลพริกที่เป็นโรคเก็บจากตลาดในกรุงเทพมหานคร เมล็ดเป็นโรคและเคลื่อนย้ายไปต้นกล้ามีถึง 28.5% … Read More

กลไกป้องกันโรคของพืช

MECHANISMS OF PLANT DEFENSE
พืชโดยทั่วไปมีกลไกป้องกันโรค โดยต่อต้านเชื้อโรคทนโรคทำให้พืชได้รับความเสียหายจากโรคน้อยลง พืชเจริญเติบโตได้ดีให้ผลผลิตสูงอย่างน่าพอใจ การป้องกันโรคของพืชอาจเกิดจากลักษณะโครงสร้าง ของพืชเอง ทำให้เกิดการกีดขวางและยับยั้งการเข้าสู่พืชหรือเจริญลุกลามของเชื้อในพืช ซึ่งเป็นปฏิกริยาที่เกิดขึ้นทางฟิสิกส์ หรือปฏิกริยาทางชีวะเคมีในเซลและเนื้อเยื่อพืช โดยการสร้างสารที่เป็นพิษต่อเชื้อโรคหรือไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ
การป้องกันของพืชทางโครงสร้าง (Structural defense)
พืชอาจมีโครงสร้างและส่วนประกอบที่เหมาะสมสามารถป้องกันการเข้าสู่พืชของเชื้อโรคอยู่แล้ว เช่น ขี้ผึ้งและ cuticle ของเซลผิว ขนาดและรูปร่างของปากใบ ฯลฯ หรือพืชเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขัดขวาง การเข้าทำลายของเชื้อ หลังจากเชื้อเข้าสู่พืชแล้ว ไม่ให้เจริญลุกลามต่อไป เช่นการเกิดเซลอัดกันเป็นชั้น เป็นต้น ลักษณะและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและเชื้อโรค
โครงสร้างป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลายพืช (Preexisting defense structure)
ผิวเป็นส่วนแรกของพืชที่เป็นเกาะป้องกันการเจาะผ่านของเชื้อ ลักษณะของโครงสร้างคุณสมบัติ และปริมาณของส่วนประกอบ จะเกี่ยวข้องโดยตรงต่อพืชในการป้องกันโรคดังนี้
1. ขี้ผึ้งที่คลุมใบและผลป้องกันหยดนํ้าเกาะติดผิวพืช … Read More

สรีระวิทยาของพืชเป็นโรค

PHYSIOLOGY OF INFECTED PLANTS
เชื้อโรคเจริญและตั้งรกรากในพืช จะมีผลทำให้โครงสร้างและหน้าที่ต่างๆ ของเนื้อเยื่อพืชเปลี่ยนแปลง เพราะการผิดปกติของเซล ได้แก่ ขนาด รูปร่าง จำนวนเซล ปริมาณของ protoplasm ในเซล โครง สร้างของส่วนต่างๆ และส่วนประกอบอื่นๆ ของเซล ตลอดจนโครงสร้างของพืช หรือการมีเชื้อโรคในเซลพืชปกติซึ่งไม่เคยมีมาก่อน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการผิดปกติทางสรีระวิทยาของพืชเนื่องจากเชื้อโรคเป็นสาเหตุ คือทางด้าน osmoregulation การสังเคราะห์แสง (photosynthesis) การหายใจ (respiration) การคายน้ำ (transpiration) การเคลื่อนย้ายน้ำ และธาตุอาหารในพืช (translocation of water and nutrients in plants) การ … Read More

พันธุศาสตร์ที่เกี่ยวกับพืชและเชื้อโรค

GENETICS OF PLANT-PATHOGEN INTERACTION
กลไกการเข้าทำลายของเชื้อและการป้องกันตนเองของพืชจะถูกกำหนด โดยพันธุกรรมของเชื้อและะพืชตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้นทางพันธุกรรมของเชื้อจะทำให้ได้เชื้อ races ใหม่ๆ ซึ่งแต่ละ race จะมีความแตกต่างกันในความสามารถของการทำให้เกิดโรคและอาจเข้าทำลายพืชที่มีความต้านทานโรคได้ และในลักษณะเดียวกัน พันธุ์ใหม่ของพืชที่เกิดขึ้น อาจมีความต้านทานต่อโรคสูงขึ้น อันจะมีผลทำให้เชื้อ race ใหม่และพืชพันธุ์ใหม่นั้นมีแนวโน้มที่จะมีชีวิตยืนยาวออกไป โดยเชื้ออื่นๆ ที่ไม่สามารกทำให้พืชเป็นโรค และพืชพันธุ์อื่นซึ่งเป็นโรคง่ายกว่าก็จะสูญสิ้นไป การเกิดโรค และการเจริญของโรคจะดีต่อเมื่อเชื้อมี race ที่รุนแรงพบกับพืชที่เป็นโรคง่าย และโรคจะไม่เกิดขึ้นหากเชื้อไม่รุนแรงหรือพืชมีความต้านทานต่อโรค แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ซึ่งมีผลโดยตรงต่อเชื้อและ/หรือต่อพืช ปฏิกริยาที่มีต่อพืชและเชื้อโรค ขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการต้านทานของพืชและความสามารถในการเป็นปรสิตของเชื้อภายใต้สภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยให้ วิทยาการทางพันธุศาสตร์ของการต้านโรคของพืช มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผสมพันธุ์หาพันธุ์ที่ควบคุมโรคได้
กลไกนี้จะกล่าวเฉพาะการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดกับเชื้อโรคเท่านั้น
การขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ (asexual reproduction)
การขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศนี้ … Read More

การตั้งรกรากของเชื้อในพืช

(Colonization of infected plants)
เชื้อเมื่อผ่านผนังเซลเข้าสู่พืซ มิได้หมายความว่าเชื้อนั้นทำให้พืชเป็นโรคได้แล้ว เพราะถ้าพืชมีความต้านทานต่อการเข้าทำลายเชื้อก็จะหยุดชงัก เจริญต่อไปไม่ได้ เชื้อจะต้องเจริญเพื่อตั้งรกรากในเนื้อเยื่อพืช ใช้อาหารจากพืช ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการ metabolism ของพืชตามปกติ โดยที่พืชเริ่มมีปฏิกริยาตอบโต้การเข้าทำลายของเชื้อและโครงสร้างต่างๆ ของพืชไม่ทำงาน มีอาการ necrosis เกิดขึ้นในลักษณะ ต่างๆ การตั้งรกรากของเชื้อมีดังนี้
1. การเจริญและทวีจำนวนของเชื้อ
เชื้อราที่เป็นเส้นใยจะเจริญเพิ่มจำนวนหลังจากเข้าสู่ภายในพืชแล้ว โดยการเจริญออกทางปลายของเส้นใย และอาจแตกกิ่งสร้าง haustorium ขึ้นตรงส่วนที่แก่กว่าของเส้นใยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ การเจริญจะใช้สารประกอบต่างๆ เช่น น้ำตาล amino acid และ cofactor สำหรับการเจริญของเชื้อ ซึ่งได้จากการสลายตัวของส่วนประกอบของเซลพืช เช่น โปรตีน เยื่อหุ้ม cellulose … Read More

การแทงผ่านของเชื้อโรคสู่พืช

การแทงผ่าน (Penetration)
การผ่านเข้าสู่พืชดังโครงสร้างและส่วนประกอบของเซลปกติ มีกลไกเกี่ยวข้องอยู่ 2 แบบ
การแทงผ่านเข้าสู่พืชด้วยความดันกล (Mechanical pressure)
การแทงผ่านเข้าสู่พืชนี้เกิดขึ้นจากการเจริญของปรสิต หรือเชื้อเอง พบเกิดจากเชื้อราส่วนมาก ไส้เดือนฝอยและพืชชั้นสูงที่เป็นปรสิต ไม่พบเกิดจากวิสา และบักเตรี ความดันกลที่ใช้บนผิวพืชในการแทงผ่านระดับแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเชื้อผิวพืช และระดับการอ่อนตัวของผิวพืชจากเอนไซม์ที่เชื้อสร้างขณะที่สัมผัสพืชอยู่ ทำให้เข้าสู่พืชได้โดยทางตรง (direct penetration) การแทงผ่านของเชื้อราและพืชชั้นสูงที่เป็นปรสิต เกิดขึ้นโดยเส้นใยเชื้อหรือรากยึด (rootlet) ยึดติดพืชด้วยแรงระหว่างโมเลกุลที่เกิดขึ้นระหว่างเชื้อหรือรากยึดกับผิวพืชที่สัมผัสกัน เส้นใยหรือรากยึดนั้นจะแผ่เป็นตุ่มเรียกว่า appressorium แล้วเพิ่มเนื้อที่ยึดแน่นมากขึ้น Appressorium จุดสัมผัสยึดพืชมากที่สุดเรียกว่า penetration peg เจริญออกเป็น penetration tube แทงผ่าน cuticle และ/หรือผนังเซล ผนังเซลที่อ่อนการแทงผ่านจะง่าย หากผนังเซลแข็งการแทงผ่านเป็นไปได้ยาก แรงดันที่เกิดที่ … Read More

การสัมผัสเชื้อของพืช

การเกิดโรคติดเชื้อของพืชเป็นปฏิกริยาระหว่างพืชและเชื้อโรคภายใต้สภาพแวดล้อม โดยเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เชื้อมาสัมผัสพืช การแทงผ่านผิวพืชสู่ภายใน และการตั้งรกรากของเชื้อในพืช
การสัมผัสพืชของเชื้อ (Contact or prior to entrance)
เชื้อราและบักเตรีส่วนมากมาสัมผัสพืชโดยปลิวมาตามลม (wind-borne spores) หรือติดมากับนํ้า (water-borne spores) วิสาและบักเตรีส่วนมาก รวมทั้งเชื้อราบางชนิดมาสัมผัสพืชได้เพราะมีแมลง และพาหะอื่นๆ นำมา ส่วนเชื้อโรคในดิน (soil-borne pathogen) เคลื่อนที่ได้ เข้าหาพืชได้ด้วยการชักนำ
เชื้อราและบักเตรีส่วนมากมาสัมผัสพืชโดยปลิวมาตามลม (wind-borne spores) หรือติดมากับนํ้า (water-borne spores) วิสาและบักเตรีส่วนมาก รวมทั้งเชื้อราบางชนิดมาสัมผัสพืชได้เพราะมีแมลงและพาหะอื่นๆ นำมา ส่วนเชื้อโรคในดิน (soil-borne pathogen) เคลื่อนที่ได้ สามารณเข้าหาพืชได้ด้วยการชักนำของสารเคมีที่ซึมออกมาทางรากพืช
สภาพแวดล้อมที่มีต่อพืชทางฟิสิกส์ต่างๆ … Read More