Month: March 2014

ความเป็นพิษของสารเคมีทางการเกษตร

สารเคมีการเกษตรทุกชนิดเป็นสารที่มีพิษทั้งสิ้น แม้แต่ PGRC ก็ตาม  ยิ่งไปกว่านั้น PGRC บางชนิดมีพิษสูงกว่ายาฆ่าแมลงบางชนิดเสียอีก การใช้สารเหล่านี้จึงต้องทำด้วยความระมัดระวังเช่นเดียวกับการใช้สารพิษทั้งหลาย ความเป็นพิษของสารแต่ละชนิดมีระดับไม่เท่ากันสารบางชนิดทำให้คนตายได้แม้จะได้รับสารเข้าไปในร่างกายเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่บางชนิดต้องได้รับเป็นปริมาณมากๆ จึงจะมีโอกาสตาย ดังนั้นจึงมีการกำหนดค่าความเป็นพิษของสารแต่ละชนิดเพื่อใช้บอกระดับอันตรายของสารนั้นๆ ค่าความเป็นพิษของสารที่นิยมใช้กันมาก? LD50 (Lethal Dose Fifty) ค่า LD50 เป็นค่าที่คำนวณขึ้นมาจากปริมาณของสารพิษ (dose) ที่คาดว่าจะทำให้สัตว์ทดลองตายไปครึ่งหนึ่งของประชากรที่ใช้ทดลองเมื่อได้รับสารนั้นในปริมาณดังกล่าวไม่ว่าโดยทางปาก หรือผิวหนังยกเว้นทางเดินหายใจ สัตว์ที่ใช้ทดลองส่วนมากนิยมใช้หนูโดยให้กินสารติดต่อกันระยะหนึ่งเพื่อศึกษาปริมาณของสารที่จะทำให้หนูนั้นตาย หน่วยนํ้าหนักที่นิยมใช้ในการบอกปริมาณของสารพิษคือมิลลิกรัมโดยเทียบกับนํ้าหนักร่างกายสัตว์ทดลองเป็นกิโลกรัม (มก/ กก) เช่นค่า LD50 ของสาร ancymidol เท่ากับ 4,500 มก/ กก หมายความว่าถ้าสัตว์ทดลองนํ้าหนัก 1 กิโลกรัม กินสารนี้เข้าไป 4,500 … Read More

สารเพิ่มประสิทธิภาพทางการเกษตร

สารเพิ่มประสิทธิภาพ หมายถึง สารใดก็ตามที่ใช้ผสมกับ PGRC แล้วทำให้ประสิทธิภาพของ PGRC สูงขึ้น เช่น อาจทำให้การดูดซึม PGRC เข้าไปในพืชดีขึ้น ทำให้สารคงทนอยู่บนใบพืชหรือในต้นพืชนานขึ้น หรืออาจปรับปรุงคุณสมบัติในการละลายของ PGRC ให้ดีขึ้นถ้าจะแบ่งกลุ่มของสารเพิ่มประสิทธิภาพออกเป็นพวกๆ เพื่อสะดวกต่อการเข้าใจจะได้ดังนี้

1. surfactants หรือ surface active agents เป็นสารที่มีผลต่อผิวสัมผัสระหว่างหยดของสารและผิวใบ ซึ่งแบ่งย่อยได้ดังนี้
1.1 สารเปียกใบ หรือยาเปียกใบ (wetting agents) เป็นสารที่ช่วยลดแรงตึผิวของสารละลายจึงมีผลทำให้หยดของสารแผ่กระจายแบนราบไปกับผิวใบ ดังนั้นโอกาสที่สารจะถูกดูดซึมเข้าไปภายในใบจึงมีมากขึ้นเนื่องจากพื้นที่ที่หยดสารสัมผัสกับใบมีมากขึ้น
1.2 สารจับใบ หรือยาจับใบ (stickers หรือ sticking agents) เป็นสารที่ทำหน้าที่คล้ายกาว เมื่อผสมลงไปในสารละลายพ่นให้พืช … Read More

การคำนวณและผสมสารเคมีเพื่อการเกษตร

สารเคมีที่ใช้ในการเกษตรมีการผลิตขึ้นมาหลายรูปเพื่อความสะดวกในการใช้ตามจุดประสงค์ต่างๆ กัน สารเหล่านี้ไม่ใช่สารบริสุทธิ์ แต่จะมีองค์ประกอบหลัก 2-3 อย่างที่สำคัญคือ

1. สารออกฤทธิ์ (active ingredient หรือ a.i.) หมายถึงเนื้อสารจริงๆ ที่จะแสดงผลต่อพืช ได้ตามคุณสมบัติที่สารนั้นมีอยู่ มักจะบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ของสารออกฤทธิ์ในสารผสมทั้งหมด หรือแสดงหน่วยนํ้าหนักต่อปริมาตร (เช่นกรัมต่อลิตร) เช่น Planofix® ระบุว่ามี NAA 4.5% เป็นสารออกฤทธิ์ หมายความว่าสาร Planofix® 1 ขวด ปริมาตร 100 มล. มีเนื้อสาร NAA ผสมอยู่ 4.5 กรัม อย่างไรก็ตามมี PGRC หลายชนิดที่จำหน่ายในประเทศไทยขณะนี้โดยได้ระบุชนิดและปริมาณของสารออกฤทธิ์ที่ผสมอยู่

2. Read More

สารในรูปเคมีภัณฑ์

สารในรูปเคมีภัณฑ์เป็นสารที่มีความบริสุทธิ์สูง ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการทดลองต่างๆ การผลิตสารให้มีความบริสุทธิ์สูงทำได้ยากกว่าสารในรูปสารเคมีเกษตร ดังนั้นราคาจึงมักสูงกว่าทั่วๆ ไป บางกรณีสารเหล่านี้ไม่ได้ผลิตขึ้นมาในรูปสารเคมีเกษตร แต่ถ้าต้องการใช้สารชนิดนั้นๆ เพื่อการผลิตพืชก็อาจหาซื้อได้ในรูปเคมีภัณฑ์ตามร้านที่จำหน่ายสารเคมีทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป แล้วจึงนำมาผสมขึ้นให้ได้ความเข้มข้นตามที่ต้องการ การผสมสารเหล่านี้ขึ้นมาใช้จะต้องทราบถึงคุณสมบัติในการละลายของสารแต่ละชนิด เนื่องจากส่วนใหญ่จะไม่ละลายน้ำ นอกจากนี้ยังต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน เช่น เครื่องชั่งไฟฟ้า เครื่องแก้วสำหรับตวงสารอย่างละเอียด ดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว การเตรียมสารจากเคมีภัณฑ์จึงมักทำได้เฉพาะในห้องปฏิบัติการซึ่งมีอุปกรณ์ดังกล่าวครบถ้วนเท่านั้น

การใช้สารในรูปเคมีภัณฑ์มีวิธีการใช้เหมือนกับสารเคมีเกษตรทั่วไป แต่ในบางกรณีอาจมีข้อเสียเปรียบบางประการ เช่น การดูดซึมน้อยกว่า หรือสลายตัวได้เร็วกว่า อย่างไรก็ตาม ข้อเสียนี้อาจแก้ไขได้โดยการผสมสารเพิ่มประสิทธิภาพ (surfactant) ลงไปด้วยเพื่อช่วยในการ
ดูดซึมดีขึ้น

โดยสรุปแล้ว การนำสารในรูปเคมีภัณฑ์มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรโดยตรงมักจะเป็นไปอย่างจำกัด คือจะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถหาสารในรูปเคมีเกษตรมาใช้ประโยชน์ได้ หรือในกรณีที่ต้องการเตรียมสารขึ้นมาใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างลงไป เช่นใช้ในการทดลองหรือใช้เพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เนื่องจากสารในรูปเคมีภัณฑ์สามารถนำมาเตรียมให้อยู่ในรูปต่างๆ และความเข้มข้นต่างๆ ตามที่ต้องการได้อย่างกว้างขวาง เคมีภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยได้แก่ NAA, IBA, IAA, 2,4-D, … Read More

สารเคมีที่น่าสนใจ

สารที่ได้กล่าวถึงบางชนิดยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย หรือบางชนิด กำลังอยู่ในขั้นทดลองเพื่อหาลู่ทางที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ ดังนั้นสารเหล่านี้จึงมีแนวโน้มที่จะมีจำหน่ายในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้

Ancymidol
ชื่อเคมี: α-cydopropyl-α-(4-methoxyphenyl)-5-pyrimidinemethanol ชื่อการค้า: A-Rest®
รูปผลิตภัณฑ์: สารละลาย 0.026 %
ผู้ผลิต : Elanco Products Co., Division of Eli Lily and Co.
การใช้ประโยชน์: ลดความสูงของต้นไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด เช่น คริสต์มาส ทิวลิป เบญจมาศ อีสเตอร์ลิลลี่ แดฟโฟดิล

Chlorflurenol – methyl ester
ชื่อเคมี : methyl 2-chloro-9-hydroxyfluorene-9-carboxylate… Read More

สารเคมีที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

สารออกฤทธิ์
butane dkioic acid mono (2,2-dimethylhydrazide) (daminozide) 85%
ชื่อการค้า
อาล่าร์ 85 (ALAR® 85)
รูปผลิตภัณฑ์
ผงละลายน้ำ (w.s.p.X
การใช้
ตามคุณสมบัติของ daminozide
ผู้ผลิต
Uniroyal Inc.
ผู้แทนจำหน่าย
บงยิบอินซอยและแย๊คส์ จก.

สารออกฤทธิ์
Sodiummono-nitroquaiacol
ชื่อการค้า
อโทนิค (ATONIK® )
รูปผลิตภัณฑ์
สารละสายเข้มข้น (w.s.c.)
การใช้
เพิ่มผลผลิต เพิ่มการติดผล
ผู้ผลิต
ไม่ระบุ
ผู้จำหน่ายRead More

การใช้สารเคมีกับพืชไร่สำคัญบางชนิด

กาแฟ (Coffea arabica L. และ C. robusta Linden)
เร่งการสุกของผล
การใช้ ethephon อัตรา 480 กรัม/น้ำ 100 ลิตร (ความเข้มข้น 4,800 มก/ล) พ่นทั่วต้นในระยะที่ผลแก่จัด แต่ยังมีสีเขียวอยู่จะช่วยเร่งการสุกได้และมีการสุกสมํ่าเสมอกันมากขึ้น ถ้ามีการเก็บเกี่ยวผลหลายครั้งควรให้สารภายหลังการเก็บเกี่ยวครั้งแรกหรือครั้งที่ 2 แล้ว และควรให้สารสมํ่าเสมอกันทั่วทั้งต้น

ถั่วเขียว (Phaseolus aureus RoxbJ
เพิ่มจำนวนฝัก
การทดลองใช้ mepiquat chloride ความเข้มข้นต่างๆ กัน พ่นทางใบให้กับถั่วเขียวพันธุ์อู่ทอง 1 พบว่าการใช้สารความเข้มข้น 150 มก/ล … Read More

การใช้สารเคมีกับไม้ดอกไม้ประดับ

กล้วยไม้ (Orchids)
ลดความสูง
การทดลองใช้ paclobutrazol ความเข้มข้นตั้งแต่ 60 ถึง 480 มก/ ล โดยการพ่นทางใบกับต้นกล้วยไม้ Dendrobium ‘Hepa’ ในขณะที่กำลังแตกลำใหม่ ปรากฎว่าความสูงของลำใหม่จะลดลงตามความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้กระถางประดับ ความเข้มข้นที่ เหมาะสมคือ 240 ถึง 480 มก/ ล นอกจากนี้การใช้สารดังกล่าวยังช่วยให้เกิดช่อดอกได้เร็วขึ้นด้วย

กุหลาบ (Rosa spp )
เร่งการแตกตา
จากการทดลองใช้สาร BAP ความเข้มข้น 4,000 มก/ ล โดยผสมในรูปครีมลาโนลิน ทาที่ตากุหลาบพันธุ์ดีที่ติดบนต้นตอกุหลาบป่าภายหลังจากตาติดดีแล้ว จะทำให้เปอร์เซ็นต์การแตกตาเพิ่มขึ้นจาก 3 … Read More

สารเคมีกับพืชผัก


กะหล่ำดาว (Brassica oleracea var. gemmifera L.)
เพิ่มผลผลิต
การใช้ daminozide อัตรา 150 กรัมต่อไร่ผสมนํ้า 80 ถึง 110 ลิตร (ความเข้มข้น 1,500 ถึง 2,000 มก/ล) พ่นให้ทั่วต้นจะช่วยในการแตกแขนงข้างดีขึ้น การใช้สารนี้เหมาะสำหรับพันธุ์ที่มีต้นสูงและสูงปานกลาง ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกันทั้งต้น ช่วงเวลาที่เหมาะ สำหรับการให้สารคือ เมื่อแขนงด้านล่างมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 ซม ภายหลังการให้สารแล้วไม่ควรเก็บเกี่ยวภายใน 6 สัปดาห์

ข้าวโพดหวาน (Zea mays var. rugosa)
เพิ่มเกสรตัวผู้
การแช่เมล็ดข้าวโพดหวาน “ไทย … Read More

การใช้สารสังเคราะห์กับไม้ผล

เงาะ (Nephelium lappaceum L.)
เปลี่ยนเพศดอก
NAA สามารถใช้เปลี่ยนเพศดอกเงาะพันธุ์สีชมพูจากดอกกะเทยซึ่งทำหน้าที่ดอกตัวเมียให้เป็นดอกตัวผู้ได้ ความเข้มข้นของสารที่เหมาะสมคือ NAA 80 ถึง 160 มก/ล (ถ้าใช้สาร Planofix ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรจะต้องใช้ความเข้มข้นตํ่ากว่านี้คือใช้ Planofix 0.5-1 มล/ ล ซึ่งจะได้ความเข้มข้นของ NAA เท่ากับ 22.5 ถึง 45 มก/ ล) พ่นสารดังกล่าว ไปที่ช่อดอกเงาะบางช่อในระยะดอกตูมหรือเพิ่งเริ่มบานไม่เกิน 10% ในช่อจะทำให้เกิดดอกตัวผู้ ได้ภายหลังการให้สาร 6 วัน และจะทะยอยกันบานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 11 วัน จึงหมดฤทธิ์ของสาร  วิธีการดังกล่าวใช้กับเงาะพันธุ์โรงเรียนได้เช่นกัน … Read More