Month: June 2012

การปลูกหน้าวัว

ที่มา:วันดี ใจนิ่ม

สถานีทดลองพืชสวนบางกอกน้อย

ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าหน้าวัวเป็นไม้ตัดดอกที่ตลาดต้องการมาก มีรูปทรงของดอกที่แปลกคือมีจานรองดอกเป็นรูปหัวใจ สีสวย บานทน มีอายุการใช้งานนานวัน ที่สำคัญคือออกดอกได้ตลอดปี ปลูกเลี้ยงง่าย ถึงแม้จะทิ้งไว้ในแปลงปลูก หรือในกระถางนานนับปี หากมีการให้นํ้า ให้ปุ๋ยอีก ต้นหน้าวัวก็ยังคงสภาพอยู่ได้

หน้าวัวต้นแรกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2440 เป็นเวลานานถึง 91 ปีแล้ว แต่หน้าวัวยังไม่สามารถผลิตเป็นไม้ตัดดอกที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย หรือเป็นอุตสาหกรรมผลิตดอกดังเช่นที่มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนำไปปลูกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2432 ก่อนประเทศไทยเพียง 8 ปี แต่สามารถพัฒนาเป็นไม้ตัดดอกเพื่อส่งไปจำหน่ายยังสหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมันและญี่ปุ่น ในปี พ.ศ.2527 สามารถทำรายได้ให้สูงถึง … Read More

การผลิตไม้ดอกกระถางของกองสวนสาธารณะ

ที่มา:วันเพ็ญ เชาวนปรีชา, สุจิตรา ตันติสุวรรณา จิราภรณ์ กัลยาณพงศ์

นักวิชาการเกษตร 5 กองสวนสาธารณะ สำนักสวัสดิการสังคม

ปัจจุบันการประดับตกแต่งต้นไม้ในอาคารสถานที่ราชการ งานพระราชพิธีและงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ งานปีใหม่ งานสงกรานต์ งานต้อนรับผู้นำประเทศต่าง ๆ และการประดับตกแต่งต้นไม้ตามเกาะกลางถนนสายสำคัญ เช่น ถนนราชดำเนินตลอดสาย อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และบริเวณสี่แยกไฟแดงที่สำคัญ ๆ นั้น ผู้บริหารของ กรุงเทพมหานครมีนโยบายให้ใช้ไม้ดอกทั้งหมดในการประดับตกแต่ง ด้วยเหตุนี้ กองสวนสาธารณะซึ่งเป็นหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การผลิตไม้ดอกกระถางเพื่อใช้ในงานดังกล่าวประดับในงานพระราชพิธี งานพิธี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 5 รอบ ของพระบาทสมเด็จ … Read More

สารเร่งดอกมะม่วง

ที่มา:พีรเดช ทองอำไพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

การผลิตมะม่วงในปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้วิชาการต่าง ๆ เข้าช่วย เพื่อควบคุมการเติบโตของมะม่วงให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ เรื่องการออกดอกติดผลของมะม่วงในอดีตเป็นปัญหาสำคัญซึ่งทำให้การผลิตมะม่วงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร แต่ขณะนี้เราสามารถบังคับให้มะม่วงมีการออกดอกได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ โดยการใช้สารเคมีบางประเภท ซึ่งเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเกษตร และยังเป็นแนวทางในการผลิตพืชนอกฤดชนิดอื่นอีกต่อไป

การออกดอกของมะม่วงนั้น มีหลักการอยู่ที่ว่า ต้นต้องมีความสมบูรณ์ และมีระดับฮอร์โมนภายในอย่างเหมาะสม ซึ่งในบรรดาฮอร์โมนทั้งหลายนั้น พบว่า จิบเบอเรลลิน (gibberellins) มีความสำคัญอย่างมากต่อการออกดอกของมะม่วงจิบเบอเรลลิน เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นเอง และมีผลกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์ จึงทำให้กิ่งก้านยืดยาวออก แต่ที่สำคัญคือ จิบเบอเรลลินเป็นฮอร์โมนที่เร่งการเติบโตทางด้าน กิ่งใบ และยับยั้งการออกดอก ดังนั้นสภาพใดก็ตามที่ทำให้มีจิบเบอเรลลินภายในต้นมาก ก็จะทำให้เกิดการเติบโตแต่ทางด้านกิ่งใบเพียงอย่างเดียวโดยไม่ออกดอก เช่น ในสภาพที่ดินชื้นหรือมีนํ้ามากเกินไป มีปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป แต่ในทางตรงกันข้าม คือถ้าในสภาพดินแห้ง … Read More

เยอบีร่า

ที่มา:วันดี ใจนิ่ม

นักวิชาการเกษตร 6 สถานีทดลองพืชสวนบางกอกน้อย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

เยอบีร่าเป็นไม้ตัดดอกที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอัฟริกาใต้ มีชื่อสามัญว่า Barberton daisy หรือ Africa daisy ชื่อวิทยาศาสตร์ Gerbera jamesonii จัดอยู่ในตระกูล Compositae มีการนำเยอบีร่าเข้ามาปลูกในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 70 ปีแล้ว จนมีพันธุ์เยอบีร่าที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์สามารถปลูกเป็นการค้าในเขตชานเมืองกรุงเทพฯ ทำรายได้ให้กับเกษตรกร ได้ดีมาก ในระยะหลัง ๆ เยอบีร่าพันธุ์ยุโรปซึ่งเป็นเยอบีร่าที่ได้รับการพัฒนาเป็นไม้ตัดดอกจากประเทศเนเธอร์แลนด์ และปลูกเลี้ยงในโรงเรือนที่ปรับอุณหภูมิได้ มีลักษณะดอกที่แตกต่างไปจากดอกเยอบีร่าพนธุไทย กลีบดอก ย่อยชั้นอก 2-3 ชั้น กลีบดอกกว้างหนา มีความยาวเท่า ๆ … Read More

การใช้สารสกัดจากเมล็ดสะเดาป้องกันกำจัดแมลง

ที่มา:รศ.ดร. ขวัญชัย สมบัติศิริ

ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เมื่อพูดถึงสะเดา หลายท่านคงนึกถึงนํ้าปลาหวานสะเดากับปลาดุกย่างหรือกุ้งนางเผา ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติอย่างหนึ่งที่คนไทยรู้จัก บริโภคกันมาเป็นเวลานาน เหตุไฉนจึงจะเอาของที่ใช้เป็นอาหารไปใช้ฆ่าแมลงเสียล่ะ ถ้าสารที่ได้จากสะเดามีพิษในการฆ่าแมลง ประชาซนทั่วไปที่รับประทานดอกและใบสะเดาจะไม่ได้รับอันตรายไปด้วยหรือ ปัญหานี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ต้องบรรยายให้ทราบ ไม่เช่นนั้นต่อไปจะไม่มีคนกล้ารับประทานสะเดา

ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับสารหลายชนิดที่เราใช้บริโภค ยกตัวอย่างเกลือ ถ้าใช้ในปริมาณที่เหมาะสมก็เป็นประโยชน์ แต่ถ้าบริโภค เข้าไปมาก ๆ ก็จะเป็นเหมือนสารพิษ ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้เหมือนกัน กลับมาถึงเรื่องสะเดา หลายท่านคงเคยเห็นนกชอบกินผลสะเดาสุก และนกก็ไม่เคยตายเพราะกินผลสะเดา เช่นเดียวกับที่เราไม่เคยเห็นมนุษย์ที่บริโภคสะเดาแล้วได้รับอันตราย แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าสะเดานั้นปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะแม้แต่ยาที่เรากินรักษาโรคภัย ต่าง ๆ ยังมีผลร้ายต่อร่างกายได้ถ้ากินมากเกินไป หรืออาจมีผลข้างเคียงบ้าง อย่างไรก็ตาม เท่าที่มีประสบการณ์จากการรับประทานสะเดามาเป็นเวลามากกว่า 20 ปีแล้ว ก็ไม่เคยมีอาการผิดปกติแต่อย่างใด

ท่านคงจะสนใจว่าสารอะไรในสะเดาเป็นตัวที่ทำให้แมลงตาย … Read More

การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในต้นจามจุรีสีชมพู

ที่มา:รศ.ดร. สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ และ จิตตวดี รอดเจริญ

ต้นจามจุรีสีชมพู (Raintree, Samanea saman Merr.) มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกาใต้ ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเป็นเวลาช้านานแล้ว แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่านำเข้ามาปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ.ใด จัดเป็นไม้ประดับยืนต้นที่มีค่าชนิดหนึ่งของประเทศไทย รูปทรงลักษณะและดอกสวยงาม ดอกจามจุรีเป็นแหล่งนํ้าหวานแก่แมลงที่มีประโยชน์ เช่น ผึ้ง แมลงภู่ เป็นต้น และยังมีความสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเป็นพืชที่ใช้เพาะเลี้ยงครั่งได้ดี นอกจากนั้นที่สำคัญต้นจามจุรีมีประโยชน์ในการให้ร่มเงาแก่ถนนหนทาง สวนสาธารณะ บริเวณสถานที่ราชการ และบ้านเรือนทั่วไป โดยเฉพาะยังเป็นสัญลักษณ์ประจำสถาบันของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกด้วย เมื่อต้นไม้เหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่มีอายุมากปลูกกันมาช้านาน และลำต้นขนาดใหญ่ต้องถูกทำลายลงโดยแมลงศัตรูต่าง ๆ ให้ตายได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องหาวิธีการดำเนินการ ปกป้องและอนุรักษ์ไม้มีค่าเหล่านี้ไว้อย่างเร่งด่วนและจริงจัง

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 เป็นต้นมา … Read More

บัววิคตอเรีย

ที่มา:กิตติศักดิ์ แสงวิจิตร

บัววิคตอเรีย (บัวกระด้ง)

บัวกระด้งหรือบัววิคตอเรีย เป็นบัวที่มีฃนาดใหญ่ที่สุดในโลกในทุก ๆ ส่วน ตั้งแต่ใบ ดอก ก้านใบ และทุกส่วน ดังกล่าวเต็มไปด้วยหนามที่แหลมคมแข็งแต่เปราะหากตำเข้าไปในเนื้อจะหักเสมอผิวหนังทำให้เป็นที่คร้ามเกรงของเจ้าหน้าที่ที่ลงไปทำความสะอาดบ่อนํ้าเป็นอย่างยิ่ง มีถิ่นกำเนิดแถบลุ่มนํ้าอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้ มีชื่อสามัญว่า Giant Water Lily, Amazon Lily หรือ Royal Water Lily

ชื่อพฤกษศาสตร์ Victoria regia Lindl. หรือ Victoria amazonica Sowerby สำหรับชื่อบัวกระด้งที่คนไทยนิยมเรียก คงจะเรียกตามลักษณะของใบที่แผ่กว้างค่อนข้างกลม และขอบใบตั้งขึ้นโดยรอบคล้ายกระด้งฝัดข้าว

ของคนไทย พันธุ์ที่ปลูกอยู่ในเมืองไทยนั้นตามประวัติเท่าที่ทราบมิได้นำมาจากแหล่งกำเนิด … Read More

ปาล์ม

ที่มา:จิราภรณ์ กัลยาณพงศ์

ปาล์ม เป็นพันธุ์ไม้ในเขตร้อน ที่มีหลายลักษณะคือ เป็นไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น และไม้เลื้อย เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นพันธุ์ไม้ที่น่าศึกษา และน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นตระกูลหนึ่งที่มีอะไร ๆ พิเศษ และแปลกกว่าพันธุ์ไม้ในตระกูลอื่น ๆ มาก เช่น เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลำต้นสูงชะลูด ไม่มีกิ่งก้าน หรือแขนง ยกเว้นพวก Doum palm บางซนิดมีลำต้นเลื้อยเป็นเถา บางชนิดแตกเป็นหน่อเป็นกอ บางชนิดมีลำต้นเป็นหนาม ขนาดของลำต้นอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดได้ 3-5 ฟุต หรือบางชนิดไม่มีลำต้นเลย ลำต้นไม่มี Cambium ลักษณะใบมีหลายลักษณะคือ ใบรูปใบพัด ใบขนนก บางชนิดมีใบใหญ่ บางชนิดใบเล็ก … Read More

สมุนไพรใช้ฆ่าเหา

น้อยหน่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona squamosa Linn.

ชื่ออื่น ๆ เตียบ น้อยแน่ มะนอแน่ มะแน่ (เหนือ) ลาหนัง (ปัตตานี)

ชื่ออังกฤษ Sugar Apple, Sweet Sop, Custard Apple

วงศ์  Annonaceae

ลักษณะต้น ไม้ยืนต้นสูง 3-5 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตัวแบบสลับ ใบเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม ดอกเกิดที่ซอกใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือเกิดเป็นกระจุก 2-4 ดอก ดอกสีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 … Read More

สมุนไพรแก้เล็บขบมีหนอง

เทียนกิ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lawsonia inermis Linn.

ชื่ออื่น ๆ  เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนแดง เทียนไม้

ชื่ออังกฤษ Henna tree, Egyptian Privet

ลักษณะต้น ไม้พุ่มสูง 3-6 เมตร แตกทรงพุ่ม กิ่งอ่อน มีลักษณะสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตัวตรงข้าม ใบรูปไข่ยาว ก้านใบสั้น ดอกมีสีขาวหรือสีแดง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงติดกันมี 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้ 8 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน … Read More