Month: February 2012

การเจริญเติบโตของไม้ดอก

Flowering Plant Growth

การเจริญเติบโตของต้นพืชต้องอาศัยขบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในต้น ซึ่งเป็นขบวนการที่ลึกลับซับซ้อนมาก และในที่นี้จะขอกล่าวถึงแต่ละขบวนการอย่างย่อ ๆ เพียงเพื่อให้เข้าใจพอเป็นแนวทางพื้นฐานพอสมควรเท่านั้น

การดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ (absorption) หมายถึงการดูดซึม เป็นการดูด น้ำเข้าไปในราก จะดูดซึมเข้าไปได้ก็ต่อเมี่อสารละลายที่มีอยู่ภายในรากมีความเข้มข้นสูงกว่าสารละลายที่มีอยู่รอบ ๆ รากหรือภายนอกราก การดูดซึมของน้ำเข้าไปในรากโดยผ่าน cytoplasmic membrane นี้เรียกว่า osmosis อีกประการหนึ่งการที่น้ำจะเข้าไปในรากได้โดยเนื่องจากการลด water pressure ภายในต้นพืชซึ่งเกิดจากการ evaporation ของ นํ้าจากใบพืชหรือที่เรียกว่าการคายน้ำ (transpiration)

รากพืชจะได้รับอันตรายเมื่อสารละลายภายนอกรากมีความเข้มข้นสูงเกินไป อาจ เนื่องมาจากการให้ ปุ๋ยมากเกินไป หรือมีอากาศไม่เพียงพอ ถ้าอัตราการ evaporation จาก ใบพืชเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากอุณหภูมิและอากาศ … Read More

การจำแนกไม้ดอก

Classification of Flowering

การจำแนกไม้ดอกนั้น จำแนกได้หลายแบบฅามความเหมาะสม อาจจะจำแนกตามมุ่งหมายของผู้ที่เกี่ยวข้องหรือฅามความนิยมของผู้ใช้ เช่น

๑. จำแนกตามลักษณะของเนื้อไม้

๑.๑ ไม้เนื้ออ่อน (herbaceous) หมายถึงไม้ดอกที่มีเนื้อไม้อ่อน มี ลักษณะนุ่มและอวบน้ำเล็กน้อย (a plant which does not develop much woody tissue I which thus remains soft and succulent) เช่น พิทูเนีย (petunia), เยอบีร่า (gerbera) แกล็ดดิโอลัส (gladiolus), หน้าแมว (pansy) … Read More

แนวทางการปลูกไม้ผลในพื้นที่ดินเปรี้ยว

ไม้ผลส่วนใหญ่จะทำการปลูกในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมโดยธรรมชาติ เช่น ดินมีลักษณะเป็นดินร่วน การระบายน้ำดีไม่ท่วมขัง ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)ของดินเหมาะสม  สภาพภูมิอากาศและการกระจายของฝนพอเหมาะ เป็นต้น แต่พื้นที่ดังกล่าวมีค่อนข้างจำกัด  และปัจจุบันความต้องการพื้นที่การเกษตรขยายตัวมากขึ้นเนื่องจากอัตราการเพิ่มของประชากรอยู่ในระดับสูง ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายขยายพื้นที่ปลูกไม้ผลในพื้นที่ที่มีศักยภาพการผลิตสูง  โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้ที่เกิดจากการทับถมกันของตะกอนน้ำกร่อย มีปฏิกิริยาเป็นกรดจัดที่เกิดจากธาตุกำมะถันในรูปสารประกอบที่เป็นกรดเรียกว่า ดินเปรี้ยว มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช ดินเปรี้ยวดังกล่าวมีพื้นที่กว้างขวางครอบคลุมจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลางคือ นครนายก พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สระบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี สมุทรปราการ นครปฐม สุพรรณบุรี นนทบุรี และกรุงเทพฯ คิดเป็นพื้นที่ดินเปรี้ยวประมาณ 5.5 ล้านไร่ และอยู่ในเขตชลประทานมีระบบควบคุมน้ำได้ทั้งปี ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1.25 ล้านไร่ ลักษณะของดินเปรี้ยวที่สำคัญที่พบเห็นได้ง่ายคือ ดินมีความเป็นกรดจัด … Read More

แมลงศัตรูชมพู่

ชมพู่จัดเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี เป็นที่นิยมรับประทานในหมู่คนไทยตลอดจนชาวต่างชาติที่คุ้นเคย  เนื่องจากรับประทานแล้วมีความรู้สึกสดชื่น  เพราะว่าผลชมพู่มีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่มากนั่นเอง  การปลูกชมพู่ในประเทศไทยนิยมปลูกเป็นการค้ากันมากอยู่ 2 พันธุ์นั่นคือ พันธุ์ทูลเกล้า และพันธุ์สายรุ้ง (หรือพันธุ์ชมพู่เพชร) โดยมีระบบการปลูกที่แตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ พันธุ์ทูลเกล้ามักปลูกกันแบบยกร่อง  โดยมีอายุชมพู่ให้ผลผลิตเพียง 6-7 ปีก็จะโค่นทิ้งแล้วปลูกใหม่ จึงเป็นการปลูกไม้ผลแบบล้มลุก เกษตรกรมีการปลูกเฉลี่ยรายละประมาณ 5-6 ไร่ โดยชมพู่จะให้ผลผลิตตั้งแต่ปีทีสองเป็นต้นไป  และจะให้ผลผลิตดีในปีที่ 4 มักนิยมปลูกกันในแถบจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และสมุทรสาคร  นอกจากนั้นก็มีการปลูกกันประปรายในจังหวัดอื่น ๆ เช่น ปทุมธานี นนทบุรี บางจังหวัดในภาคใต้และภาคเหนือ เป็นต้น ส่วนพันธุ์สายรุ้งเป็นชมพู่ที่ปลูกกันแบบไร่ไม่ยกร่อง  มักนิยมปลูกกันมากในเขตจังหวัดเพชรบุรีแถบอำเภอเมืองเป็นชมพู่ที่มีอายุมากตั้งแต่ 8-30 ปี จัดเป็นไม้ผลยืนต้น  เกษตรกรนิยมปลูกกันไม่มากเพียง 1-2 ไร่เท่านั้น … Read More

การบังคับให้ลิ้นจี่ติดผลที่โคนต้น

จังหวัดเชียงรายเป็นแหล่งปลูกลิ้นจี่ที่สำคัญ มีพื้นที่ปลูกลิ้นจี่ประมาณ 20,000 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 21-23 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา การขายตลาดลิ้นจี่ของเราดีมากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

เมื่อพูดถึงลิ้นจี่เมืองเชียงรายแล้ว ขอเล่าถึงชาวสวนลิ้นจี่รายหนึ่ง ซึ่งส่งลิ้นจี่เข้าประกวดในงานวันลิ้นจี่ที่จังหวัดเชียงรายแล้วได้รางวัลมาครองเกือบทุกปี  บางปีได้รางวัลที่ 1 พันธุ์จักรพรรดิ บางปีได้ฮงฮวย ท่านผู้นั้นคือ ผู้ใหญ่มนัส  เกียรติวัฒน์ หรือพ่อหลวงมนัสของชาวบ้านเวียงพังคำ พ่อหลวงมนัสอายุได้ 73 ปีแล้ว แต่ยังแข็งแรงและมีประสบการณ์มากมายในการปลูกลิ้นจี่ เพราะปลูกมานานถึง 17 ปี

ผู้ใหญ่มนัสมีสวนอยู่เชิงเขา ริมถนนแม่สาย-ดอนตุง ห่างจากถนนพหลโยธินเข้าไป 1,500 เมตร บริเวณสวนเป็นเนินเตี้ย ๆ ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการระบายน้ำค่อนข้างดีในพื้นที่ 60 ไร่ … Read More

มะม่วง:มะม่วงปาล์มเมอร์ที่เขาค้อ

มะม่วงเป็นไม้ผลในบ้านเราที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก อีกทั้งมีพันธุ์มะม่วงให้เลือกมากมายทั้งพันธุ์เก่าและพันธุ์ใหม่แล้วแต่ความชอบของเกษตรกร ตลาดของมะม่วงในขณะนี้ มีทั้งตลาดมะม่วงขายสุก และขายดิบเพื่อทำมะม่วงยำ หรือมะม่วงน้ำปลาหวาน ซึ่งมะม่วงเหล่านี้ล้วนเป็นมะม่วงเพื่อบริโภคสด ในแง่ของมะม่วงเพื่ออุตสาหกรรมแปรรูปแล้ว บ้านเรามีมะม่วงไม่กี่พันธุ์ เช่น มะม่วงแก้ว มะม่วงสามปี สำหรับพันธุ์มะม่วงจากต่างประเทศ ซึ่งสถานีวิจัยหลายแห่งเช่น สถานีวิจัยปากช่อง  ได้มีการนำเอามาปลูกหลายพันธุ์ด้วยกัน หนึ่งในจำนวนหลายพันธุ์นั้น มะม่วงพันธุ์ปาล์มเมอร์เป็นพันธุ์หนึ่งที่ให้ผลผลิตดีและสม่ำเสมอ  ดังเช่นผลการปลูกที่สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งได้นำมะม่วงพันธุ์ปาล์มเมอร์ไปทดลองปลูกที่ระดับความสูง 600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล จึงทำให้ทีมงานเคหการเกษตรต้องติดตามขึ้นไปดู

เป้าหมายเพื่อพัฒนาพืชเมืองหนาว

สถานีวิจัยเพชรบูรณ์เริ่มงานตั้งแต่เมื่อปี 2528 ในรูปของโครงการพัฒนาพืชเมืองหนาว จนกระทั่งปี 2534 โครงการดังกล่าวก็เริ่มก่อตั้งเป็นสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบเกษตรวิกฤติ  เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับสำนักงานอธิการบดี ม.เกษตรศาสตร์  ปัจจุบันสถานีวิจัยเพชรบูรณ์มีแปลงทดลองทั้งหมด 3 แปลงที่ระดับความสูงตั้งแต่ 700-1,200 เมตร … Read More

มังคุด:ราชินีของผลไม้เมืองร้อน

ท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ทุเรียนเป็นราชาของผลไม้เมืองร้อนทั้งปวง” กันอยู่บ่อย ๆ จากปากของนักวิชาการไทย คำกล่าวนี้เป็นของพวกฝรั่งที่ใช้อ้างถึงความนิยมผลไม้ของชาวเอเซีย  โดยเฉพาะพวกเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถือว่าทุเรียนเป็นผลไม้ยอดนิยม หรือราชาแห่งผลไม้ (King of Fruits) มิได้หมายความว่าทุเรียนเป็นราชาของผลไม้ของพวกฝรั่งด้วย เพราะพวกฝรั่งเองนั้นเกลียดทุเรียนยังกะอะไรดี ถึงขนาดตั้งชื่อทุเรียนว่า “ลูกหนามที่เหม็นชะมัด” (โลกดุลยภาพปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ; ทุเรียน. ไพโรจน์  ผลประสิทธิ์) แต่สำหรับมังคุดแล้วไม่ว่าชาติไหนได้ลิ้มรสแล้วเป็นติดใจทุกคน โดยเฉพาะพวกฝรั่ง รสหวานเย็นเคล้าด้วยรสเปรี้ยวนิด ๆ ของกรดไวตามินซีในกลีบขาวน้อย ๆ ที่หุ้มห่อไว้ด้วยเปลือกนิ่มหนาสีม่วงตัดกับสีเนื้อที่ขาวสะอาด ทำให้เกิดมโนภาพของความเยือกเย็นและบริสุทธิ์ ยากที่จะหาไม้ผลเมืองร้อนอื่นที่เต็มไปด้วยความเร่าร้อนมาเทียมได้ ฝรั่งจึงยกให้มังคุดเป็นราชินีของผลไม้เมืองร้อนทั้งปวง  หากไม่เกรงใจเจ้าของถิ่นแล้วเขาคงยกให้เป็น “ราชา” มากกว่า

มังคุดในฐานะเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ

ในอดีตมังคุดมิได้รับความสนใจจากคนในวงการสวนผลไม้มากนักมาระยะหลังสิบกว่าปีมานี้ ชาวต่างประเทศทั้งคนเอเซียและคนฝรั่งรู้จักมังคุดกันมากขึ้น เพราะโลกแคบลงประกอบกับธุรกิจการส่งออกผลไม้ขยายตัวขึ้น … Read More

ดอกหน้าวัว:สวนหน้าวัวกล้วยไม้ส่งนอก


เรื่อง:”ปลายเมฆ”

เจ้าของ:คุณพีระศักดิ์  ฉันท์อุดมโชค

สถานที่:30/3 ม.4 โชคชัย 4 ลาดพร้าว กทม. 10230 โทร. 542-3741

อาจจะดูแปลกอยู่สักหน่อย หากเคหการเกษตรจะพาไปเยี่ยมสวนกล้วยไม้ที่หนองจอก เพราะหลายคนคงคุ้นเคยกับรังกล้วยไม้ชานกรุงแถบหนองแขม ศาลาแดงหรือไม่ก็แถบ จ.นครปฐม จ.ราชบุรี เสียมากกว่า แต่ความจริงแล้วแหล่งกล้วยไม้มีอยู่แทบทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพราะไม้ดอกส่งออกที่เชิดหน้าชูตาของประเทศไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบันคงหนีไม่พ้นกล้วยไม้อยู่นั่นเอง  ปริมาณและมูลค่าส่งออกกล้วยไม้บ้านเราเพิ่มขึ้นทุกปีจนทำให้พันธุ์กล้วยไม้ของไทยแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก  ขณะเดียวกันพันธุ์กล้วยไม้จากต่างประเทศก็ถูกนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในเมืองไทยเช่นกัน

คุณพีระศักดิ์  ฉันท์อุดมโชค คร่ำหวอดอยู่ในวงการกล้วยไม้มานานกว่า 20 ปี เป็นทั้งผู้ปลูกเลี้ยงและผู้ค้าส่งกล้วยไม้ออกสู่ตลาดต่างประเทศ เริ่มเข้าสู่วงการกล้วยไม้ จากการซื้อกล้วยไม้สกุลหวายมาทดลองปลูกเลี้ยง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จล้มลุกคลุกคลานอยู่นานพอสมควร  แต่ไม่เคยย่อท้อพยายามศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ประกอบกับมีเพื่อนเป็นผู้ค้าส่งกล้วยไม้รายใหญ่ออกสู่ต่างประเทศคอยเป็นพี่เลี้ยงให้จึงมีกำลังใจมากขึ้นเวลาต่อมาก็พลิกผันตัวเองเป็นผู้รับซื้อกล้วยไม้ส่งออกอย่างเต็มตัวและพบว่าการเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ใช่เรื่องยากอีกแล้ว … Read More

โป๊ยเซียน:แมลงศัตรูโป๊ยเซียน

เรื่อง:ไสว  บูรณพานิชพันธุ์

ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์

ม.เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200

ปัจจุบันโป๊ยเซียนเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่กำลังได้รับความนิยมและปลูกเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง  ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากได้มีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ที่ให้ดอกขนาดใหญ่และมีสีสันสวยงาม  ตลอดจนใบและลำต้นที่สวยงามมากกว่าสายพันธุ์ที่เคยพบเห็นหรือเคยปลูกเลี้ยงมาก่อน  อีกทั้งเชื่อกันว่าโป๊ยเซียนเป็นไม้มงคลให้โชคลาภแก่ผู้ปลูกเลี้ยงด้วย  ในการปลูกเลี้ยงโป๊ยเซียนปัญหาที่พบเสมอ ๆ เช่นเดียวกับการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ก็คือ ปัญหาอันเนื่องมาจากการเข้าทำลายของแมลงศัตรู  ถึงแม้จะมีคำกล่าวให้ได้ยินบ่อยครั้งว่าโป๊ยเซียนเป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่ายไม่ค่อยมีศัตรูรบกวน ซึ่งก็เป็นจริงในสมัยแรก ๆ ที่ยังปลูกเลี้ยงกันไม่มากนัก  แต่ในปัจจุบันผู้ปลูกเลี้ยงได้ทวีจำนวนมากขึ้นและผู้ผลิตเพื่อการค้ามีการขยายทั้งปริมาณและพื้นที่ปลูกเพื่อสนองความต้องการของตลาด  ในขณะเดียวกันปัญหาอันเนื่องมาจากแมลงศัตรูพืชที่เข้ามาทำความเสียหายให้กับโป๊ยเซียนที่ปลูกอยู่ก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย  ทั้งนี้อาจเนื่องเพราะแมลงเหล่านี้มีอาหารกินอย่างอุดมสมบูรณ์และต่อเนื่องตลอดเวลา  อีกทั้งการปฏิบัติดูแลรักษาของผู้ปลูกเลี้ยงบางครั้งเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แมลงศัตรูโป๊ยเซียนขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณทำความเสียหายให้กับโป๊ยเซียนขึ้นมาได้

แมลงศัตรูโป๊ยเซียนเท่าที่ผู้เขียนได้พบเห็นมาตามแหล่งปลูกโป๊ยเซียนต่าง ๆ และเท่าที่ประสบด้วยตนเองขณะทำการปลูกเลี้ยงโป๊ยเซียนมาได้ประมาณ 2 ปี มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน และที่มีความสำคัญ มี 3 ชนิด คือ

เพลี้ยไฟ Read More

ถ้วยทอง:เรื่องของต้นไม้โตเร็ว

สุขุม  ถิระวัฒน์

ผมเป็นสมาชิกเคหการเกษตร ได้อ่านเรื่องต้นไม้โตเร็ว “ถ้วยทอง” โดยม.ล.จารุพันธ์  ทองแถม (เคหการเกษตร ก.ค.2537) นั้นแล้ว เห็นว่าเป็นเรื่องที่มีคุณประโยชน์อย่างยิ่งแก่ส่วนรวม  จึงขอส่งข้อมูลเพิ่มเติมมา  เพื่อพิจารณานำลงพิมพ์ให้แพร่หลายต่อสาธารณชนต่อไปตามที่จะเห็นสมควร

ต้นไม้โตเร็ว “ถ้วยทอง” คือ EUCALYPTUS MACULATA และไม่ใช่ LATIFOLIA ซึ่งไม่มีในทำเนียบไม้ยูคาลิป  พร้อมกันนี้ได้แนบหลักฐานรูปลักษณะของไม้ยูคาลิป แมคคูลาต้ามาให้ประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว  สำหรับรูปลักษณะของผล  ได้เพิ่มเติมภาพจาก EUCALYPTUS FOR PLANTING ของ FAO มาด้วย  ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าตรงกับภาพประกอบของไม้ถ้วยทองในบทความของ ม.ล.จารุพันธ์ ทองแถม เป็นอย่างยิ่ง

เพื่อความเข้าใจอันดีในรากฐานความเป็นมาของเรื่องไม้ยูคาลิปในเมืองไทย  ผมขอลำดับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องมาด้วยดังต่อไปนี้

ผมเป็นนักเรียนทุนกรมป่าไม้รุ่นรองสุดท้ายในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช และได้กลับมารับราชการในต้น พ.ศ.2475  … Read More