Month: October 2011

แมลง:แมลงที่สามารถกินได้

องุ่น  ลิ่ววานิช

กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร

แมลงเป็นสัตว์ที่มีมากชนิดที่สุดในโลกที่ทราบแล้วมีมากกว่า ๘๐๐,๐๐๐ ชนิด แมลงมีวิวัฒนาการปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุด จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในแหล่งอาศัยต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้แมลงจึงสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว การนำแมลงมาประกอบเป็นอาหารได้กระทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณในหมู่ชนพื้นเมืองของประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเซีย ออกเตรเลีย และอเมริกา โดยมีวิธีการประกอบเป็นอาหารต่าง ๆ กัน

ในประเทศไทยชาวบ้านในแถบชนบทนิยมนำแมลงมากินเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

การที่ทราบว่าแมลงชนิดใดกินได้หรือไม่นั้น เป็นความรู้สืบทอดต่อ ๆ กันมา แมลงที่กินได้บางชนิดพบมีอยู่เฉพาะที่ จึงรู้จักกินกันเฉพาะท้องถิ่นนั้น ๆ แต่บางชนิดมีอยู่ทั่ว ๆ ไปในประเทศจึงรู้จักกินกันอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทย และบางครั้งสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด แมลงกินได้ที่พบในประเทศไทยเท่าที่สำรวจได้มีมากกว่า ๕๐ ชนิด (นฤมล ๒๕๒๕ วรากรและคณะ ๒๕๑๘) แต่ในที่นี้จะเขียนถึงแมลงกินได้เพียงบางชนิดที่เป็นที่รู้จักนิยมกินกัน… Read More

กรีดยางหน้าฝนระวังโรคหน้ากรีด

การกรีดยางเพื่อให้สะดวกต่อการกรีด และยังคงรักษาความสะอาดของถ้วยรองรับน้ำยางนั้นควรคำนึงถึงระดับความเอียงของรอยกรีดและความคมของมีดที่ใช้กรีด ซึ่งต้องคมอยู่เสมอเวลากรีดยาง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกรีดยางมากที่สุดคือ ช่วง 06.00-08.00 น.

เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สามารถมองเห็นต้นยางได้อย่างชัดเจนและได้ปริมาณน้ำยางใกล้เคียงกับการกรีดยางในตอนเช้ามืด แต่การกรีดยางในช่วงเวลา 01.00-04.00 น. จะให้ปริมาณยางมากกว่าการกรีดยางในตอนเช้าอยู่ร้อยละ 4-5 ซึ่งเป็นช่วงที่ได้ปริมาณน้ำยางมากที่สุดด้วย แต่การกรีดยางในตอนเช้ามืดมีข้อเสีย คือ ง่ายต่อการกรีดบาดเยื่อเจริญส่งผลให้เกิดโรคหน้ายางทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองและไม่มีความปลอดภัยจากสัตว์ร้ายหรือโจรผู้ร้าย

การหยุดพักกรีด ในฤดูแล้ง ใบไม้ผลัดใบหรือฤดูที่มีการผลิใบใหม่ จะหยุดพักการกรีดยางเนื่องจากมีผลต่อการเจริญเติบโตของใบและต้นยางการกรีดยางในขณะที่ต้นยางเปียกจะทำให้เกิดโรคเส้นดำหรือเปลือกเน่าได้ การเพิ่มจำนวนกรีด สามารถเพิ่มจำนวนวันกรีดได้โดย การเพิ่มวันกรีด สามารถกรีดในช่วงผลัดใบ แต่จะได้น้ำยางในปริมาณน้อย ไม่ควรเร่งน้ำยางโดยใช้สารเคมี ควรกรีดเท่าที่จำเป็นและในช่วงฤดูผลิใบต้องไม่มีการกรีดอีก

การกรีดยางชดเชย วันกรีดที่เสียไปในฤดูฝนสามารถกรีดทดแทนได้แต่ไม่ควรเกินกว่า 2 วัน ในรอยกรีดแปลงเดิม และสามารถกรีดสายในช่วงเวลา 06.00-08.00 น. หากเกิดฝนตกทั้งคืนการกรีดสาย เมื่อต้นยางเปียกหรือเกิดฝนตกสามารถกรีดหลังเวลาปกติโดยการกรีดสาย ซึ่งจะกรีดในช่วงเช้าหรือเย็นแต่ในช่วงอากาศร้อนจัดไม่ควรทำการกรีด

อย่างไรก็ตามล่าสุด … Read More

ข้าว:อาหารจากข้าว

ฝ่ายฝึกอบรม สถาบันวิจัยข้าว

เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ

ข้าวตังเมี่ยงลาว

เครื่องปรุง

หมูบดหรือหั่นสี่เหลี่ยม ๑/๒ กก.

ถั่วลิสงคั่วทุบ ๑ ถ้วย

กุ้งแห้งป่น ๑/๒ ถ้วย

ขิงหั่นฝอย ๑ แง่ง

หอม กระเทียม หั่นบาง ๆ เจียวให้เหลือง น้ำตาลปีบ น้ำปลา ใบผักกาดดอง พริกขี้หนู หรือพริกเหลือง ข้าวตัง

วิธีทำ

๑.  ทำไส้  นำหมูรวนให้แห้ง เคี่ยวน้ำตาล น้ำปลาให้เหนียว ใส่หมูลง กุ้งแห้ง ขิง หอมกระทียมผัดให้แห้งอย่าให้เป็นน้ำ… Read More

การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย

อาวุธ  ณ ลำปาง

กรมวิชาการเกษตร บางเขน กรุงเทพฯ

น้ำฝน-ปัจจัยที่ถูกจำกัดโดยธรรมชาติ

ข้อจำกัดโดยธรรมชาติแต่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปลูกพืชในประเทศไทยก็คือน้ำ แม้ว่าจะมีน้ำจากการชลประทาน แม่น้ำ ลำคลอง ตลอดจนน้ำใต้ดินในบางท้องที่เป็นผลมาจากน้ำฝนที่ตกลงมาในแต่ละปี อิทธิพลของฝนที่มีต่อการเพาะปลูกพืชของประเทศเห็นได้อย่างชัดเจนจากการผลิตข้าวโพด ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ และ พ.ศ. ๒๕๓๑

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ นั้นเป็นปีที่แห้งแล้งมาก พื้นที่ปลูกข้าวโพดลดลงเหลือ ๑๐.๙๔ ล้านไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ ๒๕๔ กก. และปริมาณผลผลิตทั้งประเทสมีเพียง ๒.๗๘ ล้านตัน แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ มีฝนดีตั้งแต่ต้นฤดูเพาะปลูก และดกอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเพิ่มมากขึ้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้สำรวจและพยากรณ์ว่า พื้นที่ปลูกข้าวโพดทั้งต้นฝนและปลายฝนรวมเป็นพื้นที่ ๑๒.๑๘ … Read More

การกำจัดหนอนเจาะดอกมะลิ

หนอนเจาะดอกมะลิ (Hendacasis duplifascialis Hampson.) เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของมะลิ และเข้าทำลายดอกมะลิตั้งแต่ระยะเป็นดอกตูมขนาดเล็ก ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงมีการแนะนำแนวทาง เพื่อลดความเสียหายของดอกมะลิที่ถูกหนอนทำลาย ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การควบคุมโดยธรรมชาติ วิธีเขตกรรม วิธีกายภาพ วิธีกล รวมทั้งการใช้สารกำจัดแมลง และในปัจจุบันมีความจำเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของหนอน อนึ่งการใช้สารกำจัดแมลงจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น และต้องใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการทำสอบประสิทธิภาพของสารกำจัดแมลงสรุปได้ว่า

สารจำกัดแมลงพาร์ซอน หรือ ไซเปอร์เมทิน + ฟอสซาโลน (cypermetrin + phosalone 28.75%) อัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ผลดีมากในการป้องกันหนอนเจาะดอกมะลิ ส่วนสารจำกัดแมลงที่ให้ผลดีรองลงมา คือ ไบทรอยด์ … Read More

วิธีปลูกต้นเฟิร์นให้สวยงาม

การปลูกเฟิร์นให้งามไม่ใช่เรื่องยาก โดยสิ่งที่ระวัง คือ เรื่องน้ำต้องระบาย ถ้าน้ำขังต้นเฟิร์นจะตาย ฉะนั้นก่อนปลูก การปิดก้นกระถางสำคัญที่สุด ไม่ควรใช้เศษแผ่นกระถางแบนๆ ปิดรูก้นกระถาง จะทำให้ระบายน้ำไม่ได้ ต้องใช้เศษกระถางแตกที่มีลักษณะโค้งงอ โดยคว่ำปิด อย่าหงายปิด

และกระถางดินเผาจะต้องจุ่มน้ำก่อนปลูก ไม่ว่าจะปลูกต้นไม้อะไรก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ที่ต้องการน้ำมาก ถ้าเราไม่จุ่มกระถางลงในน้ำก่อน แล้วนำไปปลูกเลย เวลารดน้ำลงไป กระถางจะแย่งดูดซึมน้ำ ต้นไม้ก็จะได้รับน้ำไม่เพียงพอ อาจตายได้ทั้งๆที่เราคิดว่ารดน้ำให้เขาพอแล้ว

ก่อนที่จะใส่ดิน ให้รองก้นกระถางด้วยเศษถ่านเล็กๆเสียก่อน เพื่อให้โปร่งและเย็น

เฟิร์น ต้นใหญ่ควรใช้กระถางดินเผา ดีกว่ากระถางพลาสติก เพราะกระถางพลาสติกไม่เย็น น้ำระเหยไม่ได้ ทำให้ดินแฉะ ถ้าเราผสมดินให้โปร่้งในช่วงแรกก็พอช่วยได้ แต่พอรดน้ำนานๆเข้า ดินจะอัดกันแน่น ดินแฉะจะทำให้เฟิร์นไม่งาม

ขนาด ของกระถาง ควรสัมพันธ์กับขนาดของต้น ถ้าปลูกเฟิร์นต้นเล็ก แต่ใช้กระถางขนาดใหญ่เกินไป … Read More

ถั่วเหลือง:การผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้งที่ จ.พิษณุโลก

สมชาย  บุญประดับ

สถานีทดลองพืชไร่พิษณุโลก

สถาบันวิจัยพืชไร่

กรมวิชาการเกษตร

จังหวัดพิษณุโลกเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้ง ปีพ.ศ.๒๕๓๐/๒๕๓๑ ทั้งหมด ๓๘,๓๙๔ ไร่ แหล่งปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้งแหล่งใหญ่พบอยู่ใน ๒ อำเภอ คือ พรหมพิราม และ อ.เมือง ประมาณร้อยละ ๔๗ และ ๒๘ ของพื้นที่ปลูกทั้งหมดตามลำดับ เนื่องจากแหล่งปลูกทั้ง ๒ แห่งเป็นเขตที่มีแหล่งน้ำจากชลประทานและบ่อน้ำบาดาล จึงสามารถเพาะปลูกถั่วเหลืองในฤดูแล้งได้ดีกว่าแหล่งปลูกอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรอาศัยน้ำฝน

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้งที่ ต.บึงพระ อ.เมือง ซึ่งเป็นแหล่งปลูกใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดและได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้ง สามารถผลิตถั่วเหลืองได้ผลผลิตประมาณ ๓-๔ กระสอบต่อไร่ หรือประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ กก./ไร่ … Read More

ลิ้นจี่:ลิ้นจี่พันธุ์ใหม่ไกวเม่พิ้งค์

ศรีมูล  บุญรัตน์

สถานีทดลองพืชสวนฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ในการพัฒนาการปลูกลิ้นจี่เพื่อการส่งออก สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาขึ้น ที่อำเภอฝาง ระหว่างวันที่ ๘-๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๑ เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องของผู้ปลูกลิ้นจี่ และผู้ส่งขายลิ้นจี่ภายในและต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการปลูกลิ้นจี่ในประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า โดยทางสมาคมฯ ได้เชิญนักวิชาการ ผู้ชำนาญการปลูกลิ้นจี่ ชาวสวนลิ้นจี่ภาคเหนือ และผู้ส่งออกลิ้นจี่ออกนอก มาร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนั้น ที่ประชุมได้กล่าวเน้นถึงความสำคัญของเรื่องการหาลิ้นจี่พันธุ์ดีมาทดแทนพันธุ์ที่มีอยู่แล้ว เพื่อทำให้ลิ้นจี่ของเมืองไทยพัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป โดยการหาลิ้นจี่พันธุ์ใหม่ลูกผสมที่มีคุณภาพ และนำลิ้นจี่พันธุ์ดี ๆจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแหล่งลิ้นจี่พันธุ์ดีและแหล่งกำเนิดปลูกลิ้นจี่ของโลก ทำการศึกษาและทดสอบการปลูกในเมืองไทย

ในการเสาะแสวงหาลิ้นจี่พันธุ์ดีที่เหมาะสมกับเมืองไทย สภานีทดลองพืชสวนฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการเรื่องนี้มาไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปี … Read More

บุก:ประโยชน์ของบุก


หรรษา  จักรพันธุ์ ณ อยุธยา

กองพฤกษศาสตร์และวัชพืช กรมวิชาการเกษตร

เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ

ถึงแม้ว่า “บุก” หรือที่ชาวบ้านในแถบอิสานเรียกว่า “กะบุก” จะเป็นพืชไทยแท้แต่โบราณ แต่ความรู้เรื่องบุกสำหรับกสิกรและคนไทยทั่ว ๆ ไป ยังมีอย่างกระท่อนแระแท่น เนื่องจากยังมีการวิจัยเกี่ยวกับ “บุก” ไม่ละเอียดเท่าที่ควร เรื่องของพืชหัวชนิดนี้มีเนื้อหาที่น่าสนใจ หากผู้ที่รักธรรมชาติเป็นมักอนุรักษ์พันธุ์พืชจะไม่มองข้ามพืชโบราณชนิดนี้ มีหลักฐานทางด้านพฤษษศาสตร์ที่กรมป่าไม้ และที่กรมวิชาการเกษตรแล้วว่า มีนักพฤษษศาสตร์ต่างชาติได้เข้ามาศึกษารวบรวมพืชจำพวกบุกไว้มากถึง ๒๐ ชื่อ เมื่อประมาณ ๓๐-๔๐ ปีแล้ว “บุก” มี ๔ วงศ์ ขณะนี้ยังมี “บุก” อีก ๔ ชนิดที่นักวิชาการของกรมวิชาการเกษตรได้นำมาจากถิ่นอื่น … Read More

พริกไทย:ผลิตภัณฑ์จากพืชเครื่องเทศ

สายสนม  ประดิษฐ์ดวง

คณะอุตสาหกรรมเกษตร

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ

เครื่องเทศเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพืช ซึ่งมนุษย์ได้รู้จักนำมาใช้ปรุงแต่งอาหารมานานเต็มที แต่มักจะถูกลืมไปเมื่อเทียบกับพืชสมุนไพรที่โด่งดังอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีผู้คนสนใจมาก มีการเขียนตำรับตำราค้นคว้าเกี่ยวกับสมุนไพรกันแพร่หลายมาก แต่พืชเครื่องเทศนั้นถูกกล่าวถึงน้อยมากและบังเอิญพืชสมุนไพรกับพืชเครื่องเทศนี้ยากจะแยกออกจากกันได้อย่างเด่นชัดได้สำหรับบางชนิด แต่การนำไปใช้ประโยชน์นั้นย่อมแตกต่างกัน

พืชเครื่องเทศจะเน้นประโยชน์ในแง่ของการปรุงแต่งกลิ่นในอาหารเป็นสำคัญ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ในแง่ของยารักษาโรคเลย เพราะการใช้บางกรณีจะเน้นแต่กลิ่นของพืชพวกนี้เท่านั้น มักจะไม่นิยมรับประทานส่วนของพืช เช่น การใช้ตะไคร้ ใบมะกรูดในต้มยำ ผู้บริโภคจะไม่นิยมบริโภคส่วนของพืชทั้งสองในอาหารจานนั้น แต่ก็จะไม่ยอมรับต้มยำที่ขาดพืชเครื่องเทศทั้งสองชนิดนี้เช่นกัน

ในฐานะที่ผู้เขียนอยู่ในวงการของอุตสาหกรรมอาหาร จึงอยากจะเน้นการมองประโยชน์พืชเครื่องเทศในอีกทิศทางหนึ่งที่อาจจะเป็นประโยชน์ในการลงทุนหรือพัฒนาพืชเครื่องเทศที่สามารถปลูกได้มากมายหลายชนิดในบ้านเราให้มีมูลค่าสูงขึ้นและสามารถนำส่งไปจำหน่ายในตลาดโลกได้ เพราะตลาดสินค้าประเภทนี้ยังเป็นตลาดใหญ่ที่เราควรจะมองดูบ้าง

ถ้าหากมองย้อนไปในอดีตจะเห็นว่าประเทศที่ส่งสินค้าเครื่องเทศไปจำหน่ายในตลาดโลกมักจะเป็นประเทศที่เรียกตัวเองให้เก๋หน่อยคือประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น อินเดีย ซีลอน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อาจจะรวมประเทศไทยด้วย และรูปแบบของสินค้าเครื่องเทศจะอยู่ในรูปของเครื่องเทศแห้งที่ยังคงรูปแบบเดิมอยู่เป็นส่วนใบก็ยังเห็นเป็นใบ เป็นเง่า อย่างเช่นขิง ก็ยังอยู่ในรูปเง่าขิงแห้ง กระบวนการผลิตทำอย่างง่าย ๆ และนิยมใช้วิธีดั้งเดิม คือ … Read More