Month: October 2011

มะม่วงของฟิลิปปินส์

อำพล  เสนาณรงค์ กรมวิชาการเกษตร

มะม่วงของฟิลิปปินส์โดยเฉพาะมะม่วงพันธุ์ “ควาย” หรือ “คาราวาน” ซึ่งจัดว่าเป็นพันธุ์มะม่วงคู่แข่งสำคัญของไทยและครองตลาดของญี่ปุ่นอยู่ขณะนี้ ปีหนึ่ง ๆ ส่งไปยังญี่ปุ่นมากกว่า ๒,๐๐๐ ต้น ฉะนั้นจึงขอนำเรื่องมะม่วงฟิลิปปินส์เท่าที่เห็นและฟังมาเล่าสู่กันดังนี้

๑.  ค้นคว้าหาพันธุ์มะม่วงที่เหมาะสมแก่การส่งออก ฟิลิปปินส์ซุ่มค้นคว้าหาพันธุ์และวิธีการส่งมะม่วงไปจำหน่ายต่างประเทศนานกว่าไทยหลายปี ในขณะที่ไทยเรามัวแต่ภูมิใจในรสชาติ และคุณภาพของมะม่วงของเราสำหรับตลาดในบ้านว่าเป็นเลิศ แต่พอจะส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ จึงพบว่ามะม่วงพันธุ์ดีของเราส่วนใหญ่ มีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะกับการขนส่ง เช่น เปลือกบางเกินไป เมื่อสุกแล้วเนื้อเละ รสก็หวานจัดเกินไป แต่พันธุ์คาราวานของฟิลิปปินส์ ซึ่งมีลักษณะและขนาดไปทางมะม่วงพิมเสนทองของเรา เมื่อสุกจัดก็ไม่หวานเกินไปออกจะอมเปรี้ยวเสียด้วยซ้ำ

๒.  การหามาตรการให้ญี่ปุ่นยอมรับและอนุญาตให้นำเข้าประเทศ ฟิลิปปินส์ได้ขอความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นล่วงหน้าก่อนไทยไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปี และใช้เวลาค้นคว้าทดลองกว่า ๑๐ ปี ญี่ปุ่นจึงได้ยอมรับ

๓.  วิทยาการหลังเก็บเกี่ยว … Read More

การแก้ปัญหาผลผลิตข้าวล้นของไต้หวัน

พินัย  ทองสวัสดิ์วงศ์

กองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร

บางเขน กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

ไต้หวันปลูกข้าวเหลือกิน

ไต้หวันกำลังประสบปัญหาที่เมื่อสัก ๓-๔ ปีก่อนดูจะเป็นเรื่องแปลกคือเกษตรกรปลูกข้าวมากเกินไป สำหรับหลาย ๆ ประเทศเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่สำหรับไต้หวันกรณีนี้ทำให้รัฐบาลต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และประสบปัญหาหนักเกี่ยวกับการขาดแคลนสถานที่ใช้เก็บข้าว โดยมีปริมาณข้าวที่เกินถึง ๑.๓ ล้านเมตริกตัน รัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหานี้โดยการชักชวนให้เกษตรกรผลิตข้าวน้อยลง

ปัญหาผลผลิตข้าวล้นนี้เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากความสำเร็จของแผนงานการเพิ่มผลผลิตข้าวของรัฐบาลในอดีต

นายหวัง ยู เชา ประธานสภาการเกษตรได้อธิบายว่า “ในปี ค.ศ. ๑๙๗๒ และ ๑๙๗๓ เราผลิตข้าวเปลือกได้เพียงปีละ ๒.๒๕ ล้านเมตริกตัน และในขณะนั้นก็มีการขาดแคลนข้าวอยู่เล็กน้อย ทำให้ราคาข้าวพุ่งสูงขึ้น”

เนื่องจากข้าวมีความสำคัญในฐานะที่เป็นอาหารหลัก สภาการเกษตรจึงต้องการที่จะเพิ่มผลผลิต และให้มีการประกันราคา

“ภายในชั่วระยะ ๒-๓ … Read More

การเพิ่มผลผลิตถั่วโดยใช้ไรโซเบียม

นันทกร  บุญเกิด   กองปฐพีวิทยา  กรมวิชาการเกษตร บางเขน กรุงเทพฯ

คำนำ

ถั่วเป็นพืชที่ให้คุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะโปรตีน ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต ถั่วส่วนใหญ่มีโปรตีนสูงกว่าพืชอื่น ๆ โดยเฉพาะถั่วเหลืองมีประมาณร้อยละ ๓๖ การที่ถั่วมีโปรตีนสูงจึงต้องการปุ๋ยไนโตรเจนสูงเพื่อการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต ดินที่ทำการเพาะปลูกมานานมักขาดไนโตรเจน และประเทศไทยก็ยังไม่มีโรงงานที่สามารถผลิตปุ๋ยชนิดนี้ให้เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร จึงทำให้ผลผลิตพืชส่วนมากไม่สูงเท่าที่ควรและทำให้เกษตรกรมีรายได้น้อย

ที่กล่าวมาข้างต้นว่าถั่วต้องการธาตุไนโตรเจนสูงนั้น บางท่านอาจมีความรู้สึกว่าไม่เหมือนกับที่ได้รู้มาว่าเมื่อปลูกถั่วแล้วไม่ต้องใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ความเข้าใจอันนี้ก็ถูกอีกเหมือนกัน เพราะการได้ธาตุไนโตรเจนนั้นไม่จำเป็นต้องได้จากปุ๋ยเสมอไป เนื่องจากถั่วมีลักษณะพิเศษคือมีกิจกรรมร่วมกับจุลินทรีย์ดินชนิดหนึ่งเรียกว่า “ไรโซเบียม” สามารถเปลี่ยนแก๊สไนโตรเจนที่มีอยู่มากมายในอากาศให้เป็นปุ๋ยที่สามารถนำไปใช้ได้ และเรียกขบวนการนี้ว่า “การตรึงไนโตรเจน”

ไรโซเบียม คืออะไร

บางท่านอาจสงสัยว่าเชื้อ “ไรโซเบียม” นี้คืออะไร?

ไรโซเบียมก็คือแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดินมันมีความสามารถพิเศษคือสามารถเข้าไปในรากถั่วที่เหมาะสมกับมัน แล้วทำให้รากถั่วเกิดเป็นปมขึ้นมา และไรโซเบียมจะทำการเพิ่มปริมาณขึ้นมาเป็นล้าน ๆ เซลล์ภายในหนึ่งปม ไรโซเบียมที่อยู่ในปมถั่วนี้จะสามารถเปลี่ยนแก๊สไนโตรเจนในอากาศให้เป็นปุ๋ยที่พืชถั่วใช้ได้ ดังนั้นปมถั่วแต่ละปมก็เปรียบเสมือนกับโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจน โดยมีเชื้อไรโซเบียมเป็นผู้ดำเนินการผลิต

ถั่วที่มีเชื้อไรโซเบียมที่มีประสิทธิภาพหรือขยันจะมีการเจริญเติบโตให้ผลผลิตสูง … Read More

นกเอี้ยง:ประโยชน์ของนกเอี้ยง

ประจง  สุดโต สถาบันวิจัยการทำฟาร์ม บางเขน กรุงเทพฯ

ในเมืองไทยมีนกอยู่มากมายหลายชนิด กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ได้จัดแบ่งออกเป็น ๒ พวกใหญ่ ๆ ได้แก่ นกพวกแรก เป็นพวกที่มีประโยชน์สีสรรสวยงามหายากหรือใกล้จะสูญพันธุ์ นกกลุ่มนี้ห้ามฆ่าโดยเด็ดขาด ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งนั้น นกพวกที่สอง เป็นพวกที่มีทั้งประโยชน์และโทษ ขยายพันธุ์ง่าย มีทั้งสีสวยและไม่สวย สามารถฆ่าได้ในบางฤดูกาลเท่านั้น

ชนิดของนกเอี้ยง

นกเอี้ยง จัดอยู่ในพวกหลัง นกเอี้ยงมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น

นกเอี้ยงหงอน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า นกเอี้ยงควาย มีลักษณะขนสีดำ มีขนยาวโผล่ที่หัวซึ่งชาวบ้านเรียกว่าหงอน ชอบหากินอยู่ใกล้ ๆ โค กระบือ ชอบกินเหา แมลง หนอน … Read More

โรคเน่าดำของถั่วเขียวผิวดำ

โรคเน่าดำของถั่วเขียวผิวดำ(Charcoal rot of black gram)

กัญจนา  พุทธสมัย  ปรีชา  สุรินทร์

กองโรคพืชและจุลชีววิทยา  กรมวิชาการเกษตร เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ

ถั่วเขียวผิวดำ (Black gram : Vigna mungo)

เป็นพืชที่ปลูกตามหลังพืชหลักอื่น ๆ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง และข้าวฟ่าง แหล่งที่ปลูกมากได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์และจังหวัดในภาคกลาง เช่น ชัยนาท ลพบุรี เป็นต้น ผลผลิตที่ได้ร้อยละ … Read More

การเพิ่มผลผลิตไรแดงในบ่อซีเมนต์

สำรวย  เสร็จกิจ(หัวหน้างานผลิตอาหารธรรมชาติ กลุ่มวิจัยอาหารสัตว์น้ำ สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ กรมประมง ๒๕๓๐)

สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ

ชีวประวัติของไรแดง

ไรแดง เป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง เป็นอาหารธรรมชาติประเภทสัตว์ที่มีขนาดเล็ก มีขนาด ๐.๔-๑.๘ มิลลิตเมตร สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีคุณค่าทางอาหารสูง เหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งจะทำให้มีอัตราการอยู่รอดและอัตราการเจริญเติบโตสูง ไรแดงที่ทำการผลิตกันมี ๒ ชนิด มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก มีลำตัวสีแดงเรื่อ ๆ ถ้าอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากจะเห็นสีแดงชัดเจน ในบ่อผลิตที่มีออกซิเจนต่ำไรแดงจะมีสีแดงมากกว่าในบ่อผลิตที่มีออกซิเจนสูง ตัวอ่อนของไรแดงจะมีสีจางกว่าตัวเต็มวัย ไรแดงเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าไรแดงเพศผู้ มีลำตัวอ้วนเกือบกลม ขนาดเฉลี่ย ๑.๒๕ มิลลิเมตร

ไรแดงมีการสืบพันธุ์ได้ ๒ แบบ คือ

๑)  Read More

นมผึ้ง:การผลิตนมผึ้ง(รอยัลเยลลี่)

รอยัลเยลลี่หรือที่เรียกว่า “นมผึ้ง” นั้น คืออาหารสำหรับตัวอ่อนผึ้งและผึ้งนางพญา มีลักษณะคล้ายครีม หรือนมข้นหวาน หรือแป้งเปียกข้น ๆ มีกลิ่นออกเปรี้ยว และรสค่อนข้างเผ็ดเล็กน้อย ผลิตขึ้นโดยผึ้งงานซึ่งมีอายุประมาณ 5-15 วันหรือเราเรียกว่า ผึ้งพยาบาลซึ่งมีหน้าที่เป็นผึ้งพี่เลี้ยง เลี้ยงดูตัวอ่อน ผึ้งวัยนี้จะมีต่อมไฮโปฟาริงจ์คู่หนึ่งอยู่ในส่วนหัวต่อมนี้อยู่ติดกับต่อมน้ำลายในบริเวณส่วนหัว ทำหน้าที่ผลิตรอยัลเยลลี่ รอยัลเยลลี่จะถูกผลิตออกมาทุกวันในระยะนี้ผึ้งงานจะคายรอยัลเยลลี่ออกจากปากใส่ลงในเซลล์ตัวอ่อน และป้อนให้กับผึ้งนางพญาในขณะที่ผึ้งงานรุมล้อมทำความสะอาดด้วยการเลีย และป้อนอาหารด้วยปากให้กับผึ้งนางพญา

ผึ้งงานจะนำรอยัลเยลลี่ที่ผลิตขึ้นมาได้นี่ไปเลี้ยงตัวอ่อนของผึ้งทุกชนิดที่อายุไม่เกิน 3 วัน ตัวอ่อนของผึ้งแม่รังนั้นจะได้รับอาหารชนิดนี้อย่างมากจนเกินพอ ทำให้ตัวอ่อนผึ้งแม่รังเจริญเติบโตรวดเร็วกว่า ตัวอ่อนผึ้งงานและตัวอ่อนผึ้งตัวผู้และทำให้การพัฒนาทางสัณฐานวิทยาและทางสรีระผิดไป ฮอร์โมนบางชนิดที่ขับปนออกมาด้วย อาจมีส่วนเสริมพัฒนาการของผึ้งแม่รัง

จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทางด้านชีวเคมีพบว่า รอยัลเยลลี่มีส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งเป็นสารอาหารที่สมบูรณ์มาก องค์ประกอบทางเคมีของสารต่าง ๆ ในรอยัลเยลลี่ ได้แก่

คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน เถ้าหรือธาตุอื่น … Read More

สตรอเบอรี่:สตรอเบอรี่ดอย

สตรอเบอรี่ดอยเป็นพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ป่า เป็นสายพันธุ์ที่ถูกพบโดยทั่วไปในตอนกลางและทางใต้ของอเมริกา ทางเหนือและตอนกลางของยุโรป ตลอดจนในแถบเอเซียพบว่าอยู่กระจายทั่วไปในเขตไซบีเรีย อัลมาเนีย และทางเหนือของซีเรีย ได้มีการนำสายพันธุ์เหล่านี้มาผสมกันเพื่อให้เกิดสตรอเบอรี่พันธุ์ใหม่

ในประเทศไทย สตรอเบอรี่ดอยสามารถปลูกได้ในหลายระบบ เช่น แบบยอกร่องสูง ปลูกในภาชนะที่เป็นถุง หรือกระถางพลาสติกวางเรียงเป็นแถวยาว และปลูกตามยาวภายในรางไม้ไผ่หรือท่อพลาสติกพีวีซี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 นิ้ว ผ่าครึ่งยกสูงจากพื้นดินวางเรียงเป็นชั้น ๆ เพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยวผลผลิต

Read More

มะยงชิด:มะยงชิดชีวภาพเมืองปราจีนบุรี

คุณวันเพ็ญ  สนลอย  เกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จังหวัดปราจีนบุรี ประสบผลสำเร็จในการปลูกมะยงชิดและทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยอาศัยเทคนิคทางชีวภาพ จากช่วงก่อนหน้านี้เคยเพาะกล้าผลไม้จำหน่ายและทำสวนผลไม้ ซึ่งผลผลิตและรายได้ไม่ค่อยแน่นอน เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูง ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง

ต่อมาได้หันมาปลูกมะยงชิด โดยใช้ปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างมาก ซึ่งทั้งปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพที่ใช้นั้น วันเพ็ญ พยายามทดลองทำ ทดลองใช้อยู่หลายครั้งหลายคราวด้วยกันกว่าจะได้สูตรที่ลงตัวสำหรับพืชที่ปลูก  โดยจุดเริ่มต้นเกิดจากการฟังรายการวิทยุและดูรายการโทรทัศน์ ได้เห็นเกษตรกรที่มาออกรายการ เล่าให้ฟังถึงกระบวนการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพใช้ในสวนผลไม้จากนั้นก็ทดลองไปซื้อวัสดุอุปกรณ์มาทำบ้าง ช่วงแรก ๆ ที่ทำ หมักแล้วเศษผัก ผลไม้ไม่สลายบ้าง เอามาใส่แล้วต้นไม้เหี่ยวเฉาบ้าง แต่ก็ไม่หยุดคิดหยุดทำ จนได้ผลดีในวันนี้

ทั้งนี้ การใช้ปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักและยาไล่แมลง ก็ได้ผลผลิตไม่ต่างกับการใช้วิธีการทางเคมี แต่ที่สิ่งต่างกันคือ ต้นทุนการผลิต โดยที่การผลิตปุ๋ยและน้ำหมักใช้เองนั้น มีต้นทุนน้อยมาก ไม่ต้องไปกู้เงินไปซื้อปุ๋ยและยาฆ่าแมลงเหมือนแต่ก่อน ในขณะที่คุณภาพของดินก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ หลังจากเลิกใช้เคมีแล้วดินจะไม่แห้ง … Read More