Month: October 2011

การผลิตพันธุ์อ้อยปลอดโรค

คนึงนิตย์  เหรียญวรากร, สัญชัย  ตันตยาภรณ์

กองโรคพืชและจุลชีววิทยา

กรมวิชาการเกษตร

อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้ประเทศปีหนึ่งหลายพันล้านบาทจากการส่งน้ำตาลทรายออกไปจำหน่วยยังต่างประเทศ นอกจากใช้ผลิตน้ำตาลทรายแล้วอ้อยยังใช้ทำประโยชน์อื่น ๆ ได้อีกมาก เช่น นำมาผลิตแอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชู ปุ๋ยหมัก เยื่อกระดาษ ไม้อัด และใช้เป็นวัสดุในการเพาะเห็ด เป็นต้น

เป็นที่น่าสังเกตว่าการผลิตอ้อยในระยะหลายปีที่ผ่านมาผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่มีแนวโน้มลดลง การเพิ่มผลผลิตทำโดยขยายเนื้อที่เพาะปลูกทั้งนี้เป็นเพราะว่าการปลูกอ้อยต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย

โรคเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตลดลง จากการสำรวจโรคอ้อยในประเทศไทยพบว่ามีอยู่ประมาณ ๕๐ โรค ในบรรดาโรคเหล่านี้ โรคที่เกิดจากเชื้อวิสาและมายโคพลาสมา นับว่าสำคัญมาก ที่แพร่ระบาดรุนแรงในประเทศไทยได้แก่โรคใบด่างและโรคใบขาว ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีชนิดใดป้องกันหรือกำจัดก็ได้ และเนื่องจากเชื้อติดอยู่ในท่อนพันธุ์จึงทำให้แพร่ระบาดไปได้เรื่อย ๆ กับท่อนพันธุ์

ในประเทศคิวบา ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำตาลทรายมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากบราซิล ได้มีการศึกษาพบว่าโรคใบด่างของอ้อยที่มีสาเหตุจากเชื้อวิสาเพียงโรคเดียวทำให้ผลผลิตลดลงถึงร้อยละ ๗๕ สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาถึงความเสียหายที่เกิดจากโรคนี้ … Read More

ถั่วเหลือง:การปลูกถั่วเหลืองในฤดูแล้ง

ถั่วเหลือง เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศชนิดหนึ่ง สามารถขึ้นได้ดีในสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศไทย ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง เป็นพืชที่ให้โปรตีนสูง และราคาถูกเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์

แหล่งปลูกในประเทศไทย ได้แก่ ภาคเหนือ และภาคกลาง เช่น สุโขทัย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก แพร่ ลำปาง ตาก กำแพงเพชร ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง กาญจนบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นแหล่งที่มีสภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสม สามารถกระจายเนื้อที่ปลูกให้กว้างออกไปได้อีก ส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเลย นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี มหาสารคาม หนองคาย ซึ่งเป็นแหล่งที่มีน้ำสำหรับปลูกถั่วเหลืองในฤดูแล้งได้ … Read More

ทุเรียนน้ำ:เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับทุเรียนน้ำ

ทุเรียนน้ำ มีปลูกประปรายทางภาคอีสานและภาคกลาง มีขายในตลาดชนบท ทุเรียนน้ำหรือทุเรียนเทศ ไม่ใช่พืชจำพวกทุเรียนแต่เป็นน้อยหน่าขนาดยักษ์ที่มีหนามอ่อน ๆ คล้ายทุเรียน มีปลูกมากทางภาคใต้ พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศแถบร้อนชื้น เพราะชอบฝนชุกมีผลใหญ่ บางครั้งหนักกว่า ๒ กิโลกรัม ผลสุกสีเขียวปนน้ำตาลอ่อน เนื้อหวานอมเปรี้ยวมีวิตามินซีสูง นิยมคั้นน้ำดื่มชุ่มคอ แถบอเมริกากลางใช้ทุเรียนน้ำทำเหล้า เยลลี่ และขนมพื้นบ้าน

Read More

ปรับปรุงและบำรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกข้าว

สัญชัย  สัตตวัฒนานนท์

กองปฐพีวิทยา

กรมวิชาการเกษตร

ดินเปรี้ยว พบในประเทศไทยในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ฝั่งตะวันออก รวมเป็นพื้นที่ประมาณ ๙ ล้านไร่ ดินเปรี้ยวส่วนใหญ่ใช้ในการทำนา

เนื่องจากดินเปรี้ยวมีแต่ไพโรท์เป็นส่วนประกอบสูง เมื่อดินมีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี ไพโรท์จะทำปฏิกิริยากับอ๊อกซิเจนเกิดกรดกำมะถัน กรดที่เกิดขึ้นมีปริมาณมากจนเกินความสามารถของสารมีฤทธิ์เป็นด่างในดินจะเสทิน(หมายถึงเป็นกลางหรือไม่มีสภาพเป็นกรดหรือด่าง) ได้หมด ทำให้ดินเปรี้ยวจัดและเกิดการก่อตัวของแร่จาโรไซท์ที่มีสีเหลืองฟางเด่นชัด อันเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของดินเปรี้ยว แร่จาโรไซท์ที่เกิดขึ้นไม่คงตัวต่อมาจะสลายตัวให้กรดกำมะถันอีก

จากการวิจัย ปัญหาของดินเปรี้ยวที่มีต่อการปลูกข้าว ได้แก่ อันตรายเกิดจาก ไฮโดรเจนไอออน ความเป็นพิษของเหล็ก อะลูมิเนียม และ ซัลไฟต์ การขาดฟอสฟอรัสและธาตุด่าง และ การจำกัดของปฏิกิริยาจุลินทรีย์ในดิน

ดินเปรี้ยวในประเทศไทยถูกแบ่งตามความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น ดินเปรี้ยวจัด พีเอช(ค่าความเป็นกรดด่างของดิน ค่าน้อยจะแสดงว่าดินเป็นกรด ๑-๖ และค่ามากแสดงว่าดินเป็นด่าง ๘-๑๓ ส่วนค่า ๗ … Read More

สารเคมีคลุกหรือแช่เมล็ดข้าวเพื่อการป้องกันกำจัดโรค

ดร.สมคิด  ดิสถาพร

กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร

เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ

สารเคมีที่ใช้คลุกหรือแช่เมล็ดข้าวป้องกันกำจัดโรคข้าว เช่น โรคถอดผักดาบ และโรคกล้าแห้ง นับวันจะมีการผลิตเพื่อให้ใช้ป้องกันเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดและเชื้อที่อยู่ในดินเพิ่มชนิดมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้เพราะมีการนิยมใช้สารเคมีดังกล่าวแพร่หลายขึ้น

การใช้สารเคมีคลุกหรือแช่เมล้ดข้าวก่อนปลูก นับว่าเป็นการป้องการการเกิดโรคในเบื้องต้น ลดระดับแหล่งระบาด ที่ลงทุนต่ำแต่ให้ผลคุ้มค่า อาจกล่าวได้ว่า การคลุกหรือแช่เมล็ดข้าวก่อนปลูก เป็นปฏิบัติการที่ให้หลักประกันในการป้องกันกำจัดการแพร่ระบาดของโรคข้าวสำคัญที่มีเชื้อติดเมล็ดและอยู่ในดิน ตลอดฤดูกาลปลูกในแต่ละครั้งอย่างได้ผลดี

โรคถอดฝักดาบ

เป็นโรคที่ติดมากับเมล็ด เฮ็มมิและคณะ (ค.ศ. ๑๙๓๑) รายงานว่าโรคเข้าทำลายในระยะข้าวออกดอก เมล็ดที่ติดเชื้อรุนแรงจะแสดงอาการเป็นจุด(ผง)สีชมพูแดงบนเมล็ด นั่นคือกลุ่มเม็ดสืบพันธุ์ของเชื้อรา เมื่อนำเมล็ดติดเชื้อโรคไปเพาะก็จะแสดงอาการโรค ซึ่งมีทั้งต้นเตี้ยแคระแกรนไปจนถึงข้าวแสดงอาการสูงชลูดผิดปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อว่ามีมากน้อยแค่ไหน

การคลุกหรือแช่เมล็ดป้องกันกำจัดโรคถอดฝักดาบ

ในปัจจุบันมีสารเคมีหลายชนิดที่ผ่านการทดสอบแล้ว และกลุ่มงานวิจัยโรคข้าวกองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำ ๒ ชนิด … Read More

กำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยในสวนไม้ผลแบบยกร่อง

มานะ  สุวรรณรักษ์ (กองวัตถุมีพิษการเกษตร กรมวิชาการเกษตร)

คำนำ

ประเทศไทยเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยผลไม้นานาชนิด ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนออกสู่ตลาดให้ซื้อหาบริโภคได้ตลอดทั้งปี

มะม่วงเป็นพืชที่ปลูกกันมากที่สุดทั้งในรูปแบบเพื่อบริโภคเองและการค้า โดยบางบ้านที่พอมีเนื้อที่ว่างอยู่บ้างก็จะปลูกมะม่วง ๑-๒ ต้น หรือมากกว่านั้น เพื่อไว้บริโภคเอง สำหรับมะม่วงที่ปลูกเป็นการค้ามีพื้นที่ที่ปลูกทุกภาคของประเทศรวมกันแล้วถึง ๑,๐๓๘,๔๒๙ ไร่ แหล่งปลูกที่สำคัญคือ ฉะเชิงเทรา สระบุรี ราชบุรี นครปฐม และจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผลไม้อีกประเภทคือส้ม ซึ่งมีทั้งส้มโอ และส้มเขียวหวาน ส้มโอเป็นผลไม้ที่สามารถเก็บไว้ได้นานจึงคาดว่ามีอนาคตการส่งออกที่ดีมาก พื้นที่ปลูกจึงเพิ่มมากขึ้นทุกปี หรือประมาณ ๗๘,๒๖๑ ไร่ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘/๒๙ แหล่งปลูกที่สำคัญคือจังหวัด นครปฐม ชัยนาท ปราจีนบุรี ฯลฯ

สำหรับส้มเขียวหวานเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าสูงทางโภชนาการ ทำให้ความต้องการส้มเขียวหวานมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี … Read More

ไหมพันธุ์ไทย:ข้อมูลบางประการของไหมพันธุ์ไทย

ไชยยงค์  สำราญถิ่น  สถานีทดลองหม่อนไหมขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ด้วยเอกลักษณ์ของไหมไทย คือ ความเลื่อมมัน ปุ่มปม และคงทนต่อการใช้งาน ทำให้ไหมไทยได้รับความสนใจ และเป็นที่นิยมของผู้ใช้ผ้าไหมทั้งในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าผลผลิตเส้นไหมของเกษตรกรในประเทศถึงแม้จะเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอใช้ผลิตผ้าไหมออกจำหน่ายจนทำให้ประเทศต้องนำเส้นไหมจากต่างประเทศมาใช้ปีละเป็นจำนวนมากเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าไหมออกจำหน่ายทั้งในและนอกประเทศ

จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้รัฐเพิ่มความสนใจในการพัฒนางานหม่อนไหม โดยให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบพัฒนาความสามารถของเกษตรกรในการผลิตไหมทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ ดังจะเห็นได้ชัดจากผลการดำเนินงานของสถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร ทำให้เกษตรกรได้รับหม่อนและไหมพันธุ์ดีไปใช้ทำพันธุ์หลายพันธุ์ในปัจจุบัน

เพื่อให้ท่านที่มีความสนใจได้รับทราบข้อมูลและรายละเอียดบางประการของไหมพันธุ์ไทย จึงขอเสนอข้อมูลที่น่าสนใจพอสังเขปดังต่อไปนี้

ลักษณะพันธุ์ไหมไทย

(ก)  ไหมพันธุ์ไทยเป็นไหมที่ฟักตัวเองได้ตลอดปีมีวงจรชีวิตประมาณ ๔๐-๔๕ วัน

(ข)  รังไหมมีรูปร่างกลมรี หัวท้ายแหลม มีสีเหลืองแก่ เหลืองอ่อน จนถึงเหลืองตุ่นแล้วแต่ชนิดของพันธุ์

ชื่อพันธุ์ไหม

ชื่อไหมพันธุ์พื้นเมืองส่วนใหญ่จะมีคำว่า “นาง” นำหน้า เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงจะเรียกชื่อตามผู้ที่เลี้ยงคนก่อนที่เลี้ยงมาอย่างต่อเนื่องจนได้ผลดี และมีคุณสมบัติดีเด่นเฉพาะตัว … Read More

ตัดยอดถั่วลิสงใช้เป็นอาหารสัตว์

ประจง  สุดโต  สถาบันวิจัยการทำฟาร์ม บางเขน กรุงเทพฯ

ปัจจุบันการเลี้ยงโคเนื้อ-โคขุน กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรมากเนื่องจากมีตลาดรับซื้อในราคาสูงพอสมควร แต่การเลี้ยงโคก็มีปัญหาเรื่องอาหารมาก โดยเฉพาะหน้าแล้งที่ขาดหญ้าธรรมชาติ ทำให้น้ำหนักสัตว์ลดลง เกษตรกรก็ต้องต้อนสัตว์ไปเลี้ยงในบริเวณใกล้แหล่งน้ำซึ่งมีหญ้าขึ้นบ้าง ให้กินฟางบ้าง เพื่อประทังไปก่อนจนกว่าฤดูฝนจะมาถึง ในขณะเดียวกันก็มีเกษตรกรอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งปลูกพืชเป็นอาชีพหลัก เมื่อเก็บผลผลิตแล้ว มีเศษพืชเหลือมากพอทีจะนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ ดังนั้นก็น่าที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกพืชทำการเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไปด้วย โดยให้มีจำนวนสัตว์ที่เลี้ยงพอกับเศษพืชที่มีอยู่

ถั่วลิสง  เป็นพืชหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูก เพราะว่าระดับราคาค่อนข้างสม่ำเสมอ ทนทานต่อสภาวะแห้งแล้วดีพอสมควร มีใบมาก มีโปรตีน ประมาณร้อยละ ๑๒-๑๔

จากการวิจัยโดยทดสอบการตัดยอดถั่วลิสงที่มีอายุต่าง ๆ กัน โดยคำนึงถึงผลผลิตว่าจะต้องไม่ลดลงมาก และเมื่อเอายอดถั่วลิสงไปตากแห้งแล้วนำไปเลี้ยงสัตว์จะได้ผลคุ้มกับผลผลิตของถั่วลิสงที่ลดลง เมื่อทราบน้ำหนักแห้งของยอดถั่วลิสงที่ต้องการใช้เลี้ยงสัตว์แล้ว ก็สามารถที่จะนำไปคำนวณได้ว่า การปลูกพืชในพื้นที่เท่าไร จึงพอเหมาะกับจำนวนสัตว์ที่จะเลี้ยง ซึ่งโดยปกติสัตว์ที่เลี้ยง ๑ ตัว กินอาหารประมาณวันละ ๒๐-๒๕ … Read More

ส้มเขียวหวาน:ส้มเขียวหวานปทุมธานี

สำนักงานเกษตรจังหวัด อ.เมือง จ.ปทุมธานี

ส้มเขียวหวานเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่คนไทยรู้จักดีและนิยมบริโภคกันมานาน เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง

แหล่งกำเนิด

การปลูกส้มเขียวหวานในประเทศไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไรยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่เล่ากันมาว่าชาวจีนเป็นผู้นำมาประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว และปัจจะบันได้มีการปลูกแพร่หลายทั่วไปในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคเหนือของประเทศไทย

ในภาคกลางได้มีการปลูกกันมาประมาณ ๖๐-๗๐ ปีมาแล้ว บริเวณตำบลบางมด เขตราษฎร์บูรณะและเขตบางขุนเทียน เรียกส้มที่ปลูกกันว่า ส้มบางมด ซึ่งมีลักษณะเป็นส้มเปลือกล่อน รสหวานจัดอมเปรี้ยวเล็กน้อย

ส้มเขียวหวานที่ปลูกกันในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครและอำเภอบางขุนนนท์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เรียกว่าส้มบางบน มีลักษณะเปลือกหนากว่าส้มบางมด รสไม่หวานแหลม

สำหรับส้มเขียวหวานในเขตทุ่งหลวงรังสิต มีการปลูกกันมากว่า ๒๐ ปีแล้ว แต่ปลูกจำนวนไม่มากนัก พันธุ์ที่ปลูกกันคือ พันธุ์ที่นำมาจากนนทบุรีและบางมด กทม.ซึ่งได้ทำให้เกษตรกรในเขตนี้มีรายได้ดีขึ้น ในเวลาต่อมาจึงได้มีการปลูกกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

เกษตรกรที่ปลูกส่วนหนึ่งก็ย้ายมาจากตำบลบางมด เขตราษฎร์บูรณะและเขตตลิ่งชัน เพราะพบกับปัญหาน้ำเสีย จึงได้อพยพมาทำการเพาะปลูกในอำเภอหนองเสือ อำเภอลำลูกกา … Read More

ข้าวเสาไห้:ลักษณะดีและไม่ดีของข้าวพันธุ์เสาไห้

สมพล  อุชชิน, วีระศักดิ์  ศรีอ่อน (สถาบันวิจัยข้าว เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ)

เมื่อพูดถึงข้าวเสาไห้ในหลายปีก่อน ประชาชนผู้บริโภค พ่อค้าข้าวและเจ้าของโรงสีในแถบภาคกลาง คงจะรู้จักกันดี เพราะเป็นข้าวที่ขายดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ในปัจจุบันก็ยังสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายข้าวสารทั่ว ๆ ไปในกรุงเทพฯ สระบุรี อยุธยา แต่ถ้าจะเปรียบเทียบกับสมัยก่อนแล้วก็คงจะเห็นว่ามีปริมาณลดน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากคุณภาพของข้าวเสาไห้ในปัจจุบันไม่เหมือนเมื่อก่อน

พันธุ์ข้าวเสาไห้พันธุ์เดิมที่ปลูกอยู่ในเขตอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรีนั้นเกือบ ๆ จะสูญพันธุ์ไปแล้ว ที่ยังมีเกษตรกรบางรายปลูกข้าวเสาไห้อยู่บ้างก็เพื่อใช้บริโภคในครอบครัวเท่านั้น ส่วนข้าวเสาไห้ที่ขายอยู่ในปัจจุบันนี้นั้นเป็นข้าวพันธุ์อื่น ๆ ที่นำมาสีรวมกันและขายในชื่อข้าวเสาไห้

ประวัติพันธุ์ข้าวเสาไห้

ชื่อที่จริงของข้าวเสาไห้ คือ ข้าวพันธุ์ “เจ็กเชย” โดยเมื่อประมาณ ๖๐ กว่าปีที่ผ่านมา มีพ่อค้าข้าวชาวจีนชื่อ “เจ็กเชย” … Read More