Month: November 2013

จุกโรหินี


ชื่อวิทยาศาสตร์ Dischidia rafflesiana Wall.
ชื่อวงศ์ ASCLEPIADACEAE
ชื่ออื่น โกฐพุงปลา (กลาง), กล้วยไม้ (เหนือ), เถาพุงปลา
(ระนอง, ตะวันออก) นมตำไร (เขมร), บวบลม (นครราชสีมา, อุบลราชธานี)
ลักษณะทั่วไป ไม้เถาเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น มีรากตามลำต้นส่วนต่างๆ ของเถามีนํ้ายางสีขาวเหมือนน้ำนม


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบหนาอวบน้ำ รูปค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 -2 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เนื่องจากถูกมดเจาะ เข้าอาศัยทำให้มีลักษณะโป่งเป็นถุง ยาว 5-10 ซม. กว้าง 3-5 … Read More

จำปี

(White Champaka)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia alba DC.
ชื่อวงศ์ MAGMOLIACEAE
ถิ่นกำเนิด ตอนใต้ของจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 8-10 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งจำนวนมาก ที่ยอดค่อนข้างทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน เทาหรือมีหลายสี ลวดลายสวยงาม แตกเป็นร่องตื้นๆ ถี่ๆ ตามแนวยาว


ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรูปรีแกมรูปขอบขนานกว้าง 5-10 ซม. ยาว 15-25 ซม.และมีรอยแผลของหูใบปลายใบเรียวแหลมโคนใบแหลม หรือรูปลิ่ม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย … Read More

จำปาเทศใบเล็ก

(Champa Thet bai Lack)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterospermum diversifolium Bl.
ชื่อวงศ์ STERCULIACEAE
ชื่ออื่น กะหนาย ขนาน จำปาเทศ ลำป้าง
ถิ่นกำเนิด มาลายูและภาคใต้ของประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 7-10ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปเจดีย์หรือรูปกรวยกว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาล ต้นมีอายุมากแตกหลุดล่อนเป็นสะเก็ด


ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 5-6.5 ซม. ยาว 7.5-15 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ โคนใบรูปหัวใจเบี้ยว … Read More

จำปาดะ

(Champadak)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus integer (Thunb.) Merr.
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่ออื่น จำดะ จำปา
ถิ่นกำเนิด มาเลเซียและภาคใต้ของประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 ม. ขนาดทรงพุ่ม 8-12 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมแน่นทึบ คล้ายขนุน เปลือกต้นสีนํ้าตาลอมดำ เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นๆ ตามแนวยาว


ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 6-8 ซม. ยาว 15-18 ซม. โคนใบมน … Read More

ดอกจำปา

(Champaea, Orange Champaka)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Magnolia champaca (L.) Bailion ex. Pierre
Var. champaea
ชื่อวงศ์ MAGMOLIACEAE
ชื่ออื่น จำปากอ จำปาเขา จำปาทอง
ถิ่นกำเนิด อินเดีย จีนตอนใต้ และประเทศอินโดจีน
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 ม. ขนาดทรงพุ่ม 6-8 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปกรวยควํ่า แตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด ค่อนข้างทึบ กิ่งอ่อนมีขน ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นสีเทาอ่อนหรือสีนํ้าตาล ค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นร่องไม่เป็นระเบียบ


ใบ Read More

จามจุรี

(Monkey ‘Pod, Rain Tree)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Samanea saman (Jacq.) Merr.
ชื่อวงศ์ LEGUMIMOSAE – MIMOSOIDEAE
ชื่ออื่น ก้ามปู จามจุรีสีชมพู ฉำฉา ซึก ตุ๊ดตู่
ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อนไปจนถึงบราซิล
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-30 ม. ขนาดทรงพุ่ม 20-40 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปร่มแผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาวแล้วเปลือกที่กั้นสลับร่องลึกแตกเป็นกาบหนา มีรูปร่างไม่แน่นอน หลุดล่อนได้ง่าย


ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่เรียงเวียนสลับแกนกลาง ใบประกอบยาว 10-18 ซม. … Read More

จันทน์ผา


ชื่อวิทยาศาสตร์ Draeaenacear loureiri Gagnep.
ชื่อวงศ์ DRACAENACEAE
ชื่ออื่น ลักกะจันทน จันทน์แดง
ถิ่นกำเนิด ไทย
ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปทรงไข่ เมื่อต้นโตจะแผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลหรือน้ำตาล อมเทา แตกเป็นร่องตามยาว
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนลลับถี่ๆ ที่ปลายกิ่ง ใบรูปแถบยาวแคบ กว้าง 4-5 ซยาว 45-60 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ก้านใบเป็นกาบหุ้มซ้อนทับกันรอบลำต้น


ดอก สีขาวออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบ กลีบดอก 6 กลีบ ตรงกลางดอกมีจุดสีแดง เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ … Read More

เงาะโรงเรียน

(Rambutan)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Naphelium lappaceum L.
ชื่อวงศ์ SAPINDACEAE
ชื่ออื่น เงาะนาสาร ลิ้นจี่ขน
ถิ่นกำเนิด สุราษฎร์ธานี
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 4-10 ม. ขนาดทรงพุ่ม 6-8 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมแผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา ค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดละเอียด


ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับ แกนกลางใบ ประกอบยาว 12-18 ซม. มีใบย่อย 3 คู่ เรียงตรงข้ามหรือเยื้องกัน เล็กน้อย รูปไข่กลับ กว้าง 2-8 … Read More

ไคร้ย้อยหรือสารภีน้ำ

(Khrai yoi)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeocarpus grandiflorus J. E. Sm.
ชื่อวงศ์ ELAEOCARPACEAE
ชื่ออื่น จิก ดอกปีใหม่ แต้วน้ำ สารภีน้ำ
ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5-10 ม. ขนาดทรงพุ่ม 4-6 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มค่อนข้างกลม แผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนค่อนข้างเรียบ มีรอยด่างสีขาวสลับสีน้ำตาลเข้มกระจาย ทั่วทั้งลำต้น


ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีหรือรูปใบหอก กว้าง 3-6 ซม. ยาว 10-15 … Read More

โคลงเคลงช้าง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Melastoma malabathridum L.
ชื่อวงศ์ MELASTOMATACEAE
ลักษณะทั่วไป คล้ายโคลงเคลง ต่างกันที่ต้นสูง 2.5 ม. ลำต้น และกิ่งมีเกล็ดยาวเรียวแหลม สีม่วงตั้งตรง
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่สลับ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปรี ถึงรูปขอบขนานแกมรูปหอก ใบยาว 10-15 ซม. กว้าง 3-4.5 ซม. ผิวใบมีเกล็ดเล็กแหลมสั้นๆ ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลมโคนใบแหลม


ดอก สีม่วงตั้งตรง ดอกขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 7-8 ซม. ถ้วยรองดอกมีขนหนาปกคลุม ยาวประมาณ 1 ซม.
ผล รูปถ้วยปากผาย มีขนปกคลุมบางๆ … Read More