Month: November 2011

แมลงศัตรูพืช:มอดเจาะลำต้นทุเรียน

ศรุต  สุทธิอารมณ์

อาจจะช้าไปสักหน่อยถ้าจะมาพูดเรื่องโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน ซึ่งเกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา (Phytophthora palmivora (Butler))ที่ระบาดอย่างหนักเมื่อปลายปีที่แล้วในเขตภาคตะวันออก ซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะความชื้นสูง เนื่องจากฝนตกชุกและมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่ อันเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคนี้อย่างสูง และสิ่งที่มักปรากฎควบคู่ไปกับโรครากเน่าโคนเน่าคือ รูพรุนบนกิ่งและลำต้นทุเรียนที่เป็นโรคนี้ รูพรุนขนาดจิ๋วเหล่านี้ก็คือ ร่องรอยการทำลายของมอดตัวเล็กๆ ที่ชื่อ “มอดเจาะลำต้นทุเรียน” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Xyleborus fornicates (Eichhoff) มอดเจาะลำต้น จะเจาะเข้าไปกินในลำต้นและกิ่งของทุเรียน

โดยทั่วไปจะพบมอดทำลายเฉพาะต้นที่ถูกโรครากเน่าโคนเน่าทำลายและเจาะเข้าไปบริเวณที่มีแผลเน่า ซึ่งบางครั้งจะไม่พบรอยเน่าบนผิวไม้ แต่เมื่อใช้มีดเฉือนเนื้อไม้บริเวณนั้น มักจะพบแผลเน่าอยู่ภายในอย่างไรก็ตามยังมีคำบอกเล่าว่าพบมอดทำลายไม้สดเหมือนกัน ข้อมูลนี้คงต้องทำการศึกษาต่อไป ส่วนมากมอดเจาะลำต้นจะทำลายบริเวณโคนต้นและกิ่งที่อยู่สูงจากพื้นดินไม่เกิน 2.5 เมตร (แสวง,2515) ต้นทุเรียนที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายสังเกตได้ง่ายคือ มีรอยรูพรุนขนาดเล็กกว้างประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ตามโคนต้นและกิ่ง บางครั้งรูที่เพิ่งถูกเจาะจะมีขุยละเอียดสีขาวหรือสีน้ำตาลอยู่บริเวณปากรู ซึ่งก็คือมูลของมอดนั่นเอง โดยทั่วไปพบรูที่มอดเจาะลึกประมาณ 2-4 … Read More

ปาล์มประดับ:การตัดแต่งก้านปาล์มประดับ

ดร.ปิยะ  เฉลิมกลิ่น

สาขาวิจัยอุตสาหกรรมการเกษตร

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

จุดสำคัญของการตัดแต่งโคนก้านปาล์มประดับก็อยู่ตรงที่ให้แต่ละก้านมีมุมเอียงเท่ากัน เมื่อตัดแล้วเหลือโคนก้านติดอยู่ยาวเท่าๆ กันรอยตัดจะต้องเรียบ มองดูแล้วเป็นเสมือนบันไดเวียนรอบต้น หรือบิดเป็นเกลียวขนานกันไปตลอดทั้งต้น

จุดเด่นของปาล์มประดับที่ได้รับการยอมรับกันมากก็คือ มีรูปร่างมีขนาด และมีสีสันแตกต่างกันให้เลือกมากมาย จึงมีผู้สรรหาปาล์มประดับชนิดใหม่ ๆ เวียนออกมาป้อนตลาด และกลายเป็นไม้ประดับที่ก้าวขึ้นสู่ความนิยมกันอย่างไม่ขาดสาย

ปาล์มประดับชนิดที่มีลำต้นขนาดใหญ่และมีความสูง จะมีความสง่างามอยู่ในตัวของมันเอง ประกอบกับมีความทนทาน และเจริญเติบโตอยู่ได้ในหลายลักษณะภูมิอากาศ และภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป จึงได้รับความนิยมนำมาปลูกประดับตามบริเวณที่กว้างขวาง ที่โล่งแจ้ง เช่น สนามกอล์ฟ สวนสาธารณะ สวนพักผ่อนที่อยู่หน้าศูนย์การค้า แม้กระทั่งตามริมถนนสายหลักในหมู่บ้านจัดสรร

ข้อดีเด่นที่ต้องยอมรับอีกประการหนึ่งของปาล์มประดับนอกจากที่กล่าวมาแล้วคือ จำนวนก้านใบหรือทางใบรวมที่หลุดร่วงในแต่ละปีมีน้อยมาก เพียงไม่กี่ก้าน จึงไม่ค่อยสร้างปัญหาต่อเจ้าของสถานที่ในการกำจัดหรือเก็บกวาดก้านร่วงเท่าใดนัก แล้วลองเปรียบเทียบดูสิว่า ถ้าปลูกต้นหูกวางหรือต้นประดู่ไว้ในสนามกอล์ฟทั้งหมดละก็ จะต้องจัดเตรียมพนักงานไว้คอยเก็บกวาดใบร่วงกันมาเพียงไหน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าก้านของปาล์มประดับจะติดทนอยู่บนต้นไม่ค่อยยอมร่วงหล่นลงมาง่ายๆ แต่ถ้าเจ้าของยังคงปล่อยให้มีใบแก่ ก้านแห้ง หรือใบที่ขี้ริ้วขี้เหร่ไม่สวยงามติดอยู่บนต้นเต็มไปหมดทุกๆ … Read More

มังคะ:หล่ำล่ำไม้ผลพื้นเมืองของปักษ์ใต้ที่ควรอนุรักษ์

คำนวณ  แก้วช่วง

วิทยาลัยเกษตรกรรมพังงา

จุดเด่นที่น่าสนใจ จะออกดอกและติดผลตั้งแต่โคนต้นจากพื้นดินขึ้นไป โดยจะออกดอกและติดผลตลอดทั้งปี ฉะนั้นในต้นหนึ่งๆจะมีผลผลิตอยู่หลายๆ รุ่นด้วยกัน เช่น ออกดอก ผลอ่อน ผลแก่ และผลสุก

ในป่าทางภาคใต้ของประเทศไทย จะพบพรรณไม้ผลพื้นเมืองหลายๆ ชนิดที่น่ารู้และน่าสนใจ และในปัจจุบันนี้ไม้ผลพื้นเมืองเหล่านี้กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรและผู้ที่สนใจโดยทั่วๆ ไป กันมากขึ้น เนื่องจากกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคตลอดจนสามารถที่จะจำหน่ายได้ในราคาที่อยู่ในเกณฑ์สูงจากในอดีตที่ผ่านมาซึ่งไม้ผลเหล่านี้ไม่ค่อยจะมีราคา

ไม้ผลพื้นเมืองหลายๆ ชนิดเกษตรกรจึงเริ่มพัฒนามาเป็นระบบการปลูกในเชิงการค้ากันแล้ว ผู้เขียนได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลของ “หล่ำล่ำ” ซึ่งเป็นไม้ผลพื้นเมืองของภาคใต้ที่ไม่ค่อยมีใครจะรู้จักกันอย่างแพร่หลายนักนอกจากในท้องถิ่นที่มีไม้ผลพื้นเมืองชนิดนี้ขึ้นอยู่เป็นไม้ผลที่ใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากป่าแล้วก็ว่าได้ และใคร่ขอถือโอกาสแนะนำให้รู้จักกับไม้ผลพื้นเมืองชนิดนี้ เพื่อที่จะได้พัฒนามาเป็นระบบการปลูกในเชิงการค้าเช่นเดียวกับไม้ผลพื้นเมืองอื่นๆ หรือได้ช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ต่อไป

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ผลพื้นเมืองที่มีชื่อพื้นเมืองเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า “มังคะ” แต่เกษตรกรในจังหวัดพังงานิยมเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า “หล่ำล่ำ” จัดเป็นไม้ผลยืนต้นที่มีความสูงประมาณ 3-4 เมตร มีรัศมีทรงพุ่มขนาดเล็กประมาณ 2-3 เมตร … Read More

เมพิควอทคลอไรด์:สารควบคุมความสูงของพืช

นันทกา  แสงจันทร์ เรียบเรียง

“สารกลุ่มนี้จะไปยังยั้งการสร้างหรือการทำงานของจิบเบอเรลลิน (ซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นการยืดตัวและการแบ่งเซลล์) จึงแสดงผลในลักษณะตรงข้ามกับผลของจีเอคือควบคุมความสูงและขนาดทรงพุ่มของพืช”

เมพิควอทคลอไรด์ (mepiquat chloride) เป็นสารสังเคราะห์ที่อยู่ในกลุ่มของสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช (Plant Growth Retardant) ซึ่งคุณสมบัติหลักของสารชะลอการเจริญเติบโตคือ ชะลอการแบ่งเซลล์และการยืดตัวของเซลล์บริเวณใต้ปลายยอดของกิ่งพืช ทำให้พืชได้รับสารมีความสูงน้อยกว่าปกตินั่นคือสารกลุ่มนี้จะไปยับยั้งการสร้างหรือการทำงานของจิบเบอเรลลิน (ซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นการยืดตัวและการแบ่งเซลล์) จึงแสดงผลในลักษณะตรงข้ามกับผลของจีเอคือ ควบคุมความสูงและขนาดทรงพุ่ม่ของพืชเช่นในไม้ดอกไม้ประดับควบคุมความสูงให้มีขนาดกะทัดรัดเหมาะแก่การปลูกในกระถางหรือลดความสูงของต้นทำให้ปล้องสั้นลงในพืชไร่ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการติดผลและคุณภาพผล เพิ่มการออกดอก สารชะลอการเจริญเติบโตมีหลายชนิด เช่น คลอมีควอท (Cholormequat), ดามิโนไซด์ (daminozide), แอนไซมิโดล (ancymidol), เมพิควอทคลอไรด์ (mepiquat chloride) และพาโคลบิวทราโซล (paclobutrazol)

เมพิควอทคลอไรด์ที่มีชื่อสารออกฤทธิ์ว่า 1,1-dimethyl-piperidinium chloride ซึ่งในประเทศไทยที่จำหน่ายตามท้องตลาดมีมาจากหลายๆประเทศเช่น อินเดีย อังกฤษ … Read More

การให้น้ำพืชแบบอัตโนมัติประหยัดได้ปริมาณและคุณภาพสูง

การให้น้ำแต่ละแบบมีความเหมาะสมที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทพืชที่ท่านปลูก ลักษณะการปลูกและสภาพแวดล้อมอื่นๆ เช่น ปริมาณแหล่งน้ำที่มีเงินทุน ตลอดจนความตั้งใจในการผลิตพืชว่าต้องการปริมาณและคุณภาพเพียงใด

เรื่องของการให้น้ำพืชแบบอัตโนมัติที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้นั้นเป็นเรื่องของการว่าตามประสบการณ์ร่วมกับหลักการบางส่วน ขอออกตัวและขออภัยต่อท่านผู้เชี่ยวชาญตลอดจนผู้รู้ในเรื่องนี้ว่า เนื้อหาของบทความนี้อาจจะขัดความรู้สึกของท่านบ้าง เพราะพยายามเขียนให้ชาวสวนเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้เป็นสำคัญ

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเบื้องต้นของการเจริญเติบโตของพืชว่า พืชจะเจริญเติบโตและออกดอกให้ผลผลิตได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบคือ

1.  แสงที่มีความเข้มพอเหมาะเป็นแหล่งพลังงาน

2.  อุณหภูมิที่พอดีกับพืชนั้น

3.  ธาตุอาหารที่จำเป็น

4.  น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและพอดีทั้งในดินและในอากาศ

5.  อากาศเพื่อการหายใจและแหล่งธาตุอาหาร

6.  ดินซึ่งเป็นที่ยึดเกาะของระบบรากและแหล่งธาตุอาหารต่างๆ

พืชแต่ละชนิดต้องการปัจจัยทั้งหกประการในลักษณะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพืชชนิดนั้นๆ

สำหรับดินเป็นเสมือนกับที่ยึดเกาะที่กินที่อยู่ของพืช แม้ปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เช่น ผัก แตง มะเขือเทศ อันเป็นพืชที่มีราคาสูง คุ้มกับระบบการปลูกโดยไม่ใช้ดินที่เรียกว่าไฮโดรโฟนิค แต่การปลูกพืชสำคัญทั่วไปพวกธัญพืชไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ หลายชนิดยังต้องอาศัยการปลูกในดินเป็นสำคัญ

ระบบรากพืชที่หยั่งลงสู่ดินทำหน้าที่เป็นเสาเข็มให้กับต้นไม่ให้โค่นล้มให้สามารถยืนตระหง่านแผ่กิ่งก้านสาขารับลม … Read More

ลองกอง:การควบคุมหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกองด้วยไส้เดือนฝอย

วัชรี  สมสุข  และสุทธิชัย  สมสุข

“กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการค้นคว้าวิจัยหาแนวทางป้องกันกำจัดหนอนชอนเปลือกลองกองทดแทนการใช้สารเคมี โดยมีการนำไส้เดือนฝอย “Steinernema carpocapsae” มาใช้สามารถควบคุมหนอนได้ผลดี”

ผู้ที่ได้ลิ้มรสลองกองมักจะติดใจในความหอมหวานและรสชาติที่แปลกไปกว่าผลไม้ชนิดอื่น ทำให้ลองกองเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างไม่จำกัดปริมาณ ปัจจุบันลองกองจัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่ทำรายได้ดีแก่เกษตรกรผู้ปลูก พื้นที่ปลูกมีแนวโน้มขยายเพิ่มขึ้นตามลำดับ ปัญหาหลักอย่างหนึ่งที่เป็นอุปสรรคสำหรับเจ้าของสวนลองกองคือ การป้องกันกำจัดหนอนกินใต้ผิวเปลือกหรือหนอนชอนเปลือกซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดคือ

ชนิดแรก มีขนาดใหญ่ ลำตัวหนอนเมื่อโตที่สุดยาวประมาณ 4 ซม. มีสีแดงอมชมพูหรือน้ำตาลแดง หนอนเข้าดักแด้อยู่ใต้เปลือกของกิ่งและลำต้น ดักแด้ยาวประมาณ 1-6 ซม. สีน้ำตาล อายุดักแด้ 11 วัน ผีเสื้อมีสีน้ำตาลเทา วัดความกว้างของปีกเมื่อกางออกประมาณ 4 ซม. ตัวเมียวางไข่ได้ถึง 800-1,000 ฟอง… Read More

ซูคีนี:ผักชนิดใหม่เพื่อคุณภาพชีวิต

ดร.สุรพงษ์  โกสิยะจินดา

ซูคีนี เป็นพืชในพวก summer squash(ซัมเมอร์ สคว็อช) ในสกุล Cucurbita (คิวเคอบิต้า) ต่างจากพวกแตงกวา (สกุล Cucumis,คิวคิวมีส) ซูคีนีเป็นพืชประเภทต้นเป็นพุ่ม ซึ่งให้ผลจำนวนมาก โดยทั่วไปควรเก็บเกี่ยวผลที่อ่อน และขนาดเล็ก ซึ่งมักจะช้ำได้ง่าย จึงต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เมื่อเก็บเกี่ยวผลแล้ว ต้องรีบนำไปใช้ประโยชน์ให้เร็วที่สุด

ปัจจุบันซีคีนีมีพันธุ์ลูกผสมชั่วที่หนึ่ง ซึ่งต้นเป็นพุ่มไม้เลื้อย ใช้พื้นที่ปลูกไม่มาก เช่น 0.75×1.00 เมตรต่อต้น แต่ต้องเป็นพื้นที่ที่มีอากาศไม่ร้อนเกินไป เช่น อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 600 เมตร ต้นและผลเจริญเติบโตเร็วมากระยะให้ผลต้องเก็บเกี่ยวเกือบทุกวัน

ซูคีนีมีชื่อพ้อง เช่น อิตาเลียน สคว็อช คูเจทท์และมาร์โรว์ เป็นต้น

ซูคีนีมีเนื้อคล้ายลูกผสมระหว่างแตงและบวบ … Read More

โพลิเมอร์:สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์นำมาใช้ประโยชน์ในวงการเกษตร

สารอุ้มน้ำโพลีเมอร์ เป็นสารปรับปรุงดินชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายในระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา เดิมสารนี้ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในวงการแพทย์และอุตสาหกรรมเช่น ใช้เป็นตัวดูดซับในผ้าอ้อมเด็กและผ้าอนามัยสตรี เป็นต้น การนำสารนี้มาใช้ในวงการเกษตรก็เพื่อวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกันคือ เพื่อเพิ่มการดูดซับและเก็บกักน้ำของดิน มีตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสารอุ้มน้ำโพลีเมอร์ที่นำมาใช้ในการเกษตรกับพืชหลายชนิด เช่น

ได้มีการนำสารอุ้มน้ำชนิดหนึ่งผสมกับดินเหนียวปนทรายชุดกำแพงแสนและดินชุดกำแพงแสนที่ผสมปุ๋ยขี้เป็ด ทรายและแกลบ อัตรา 0, 1, 3 และ 5 กรัมต่อปริมาตรดิน 1 ลิตรเพื่อใช้ในการเพาะกล้าผัก พบว่าการใช้สารอุ้มน้ำอัตราส่วน 5 กรัมต่อดิน 1 ลิตร ทำให้ดินสามารถดูดซับน้ำได้เพิ่มขึ้น 27และ 38℅ โดยน้ำหนักสำหรับดินชุดกำแพงแสนและดินผสมชุดกำแพงแสนตามลำดับ

การทดลองใช้สารอุ้มน้ำโพลีเมอร์เพิ่มความทนแล้งของกล้าไม้ยืนต้น 4 ชนิดคือ ยูคาลิปตัส สะเดา ยางพารา และมะม่วงหิมพานต์ โดยใช้สารอุ้มน้ำโพลีเมอร์ผสมกับดินทรายชุดสตึกในอัตรา … Read More

ลิ้นจี่:เทคนิคทำให้ลิ้นจี่ติดผลดกทุกปี

1.  แปลงลิ้นจี่ต้องสะอาด  ช่วงเตรียมต้นก่อนแทงช่อดอกต้องไม่มีวัชพืชหรือหญ้าแม้แต่ต้นเดียว เพราะหญ้าจะเป็นตัวดูดความชื้น และแย่งอาหาร ส่งผลให้ต้นลิ้นจี่ไม่พร้อมที่จะออกดอก

2.  การรมควัน  เป็นวิธีที่ชาวสวนทำมาช้านาน แม้ปัจจุบันจะมีชาวสวนบางรายหันมาใช้สารเคมีช่วยให้ลิ้นจี่ออกดอก แต่การรมควันยังเป็นวิธีช่วยให้ลิ้นจี่ออกดอกได้ผลดีมาตลอด

3.  ลิ้นจี่แตกใบอ่อนชุดที่ 3 และ 4 ให้ปล่อยให้แมลงกัดทำลายได้ และต้องทำการตัดยอดอ่อนชุดนี้ทิ้งให้หมด เพื่อช่วยให้ลิ้นจี่แทงช่อดอกขึ้นมาใหม่

4.  ปุ๋ยต้องให้ในปริมาณที่เหมาะสม  ซึ่งปุ๋ยเคมีจะให้อยู่ 3 ช่วง คือช่วงบำรุงต้น ติดผลขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว และช่วงที่ลิ้นจี่มีขนาดโตเท่าหัวแม่มือ นอกจากนี้ยังมีการให้ปุ๋ยคอกปีละครั้ง และมีการพ่นฮอร์โมนบ้างเล็กน้อย

5.  น้ำ  หลังออกดอกต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 10 วันต่อครั้ง ถ้าขาดน้ำช่วงติดผลแล้วจะทำให้ลิ้นจี่มีผลขนาดเล็ก ปัจจัยสำคัญในการทำสวนลิ้นจี่ก็คือ แหล่งน้ำ ถ้าหากเกษตรกรท่านใดคิดที่จะทำสวน ปัจจัยแรกที่ต้องคำนึงถึงคือแหล่งน้ำ

Read More

ชีวผลิตภัณฑ์:แนวคิดในการผลิตชีวผลิตภัณฑ์ในเชิงธุรกิจ

ดร.จิระเดช  แจ่มสว่าง

ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ต้องได้รับการทดสอบและคัดเลือกเป็นอย่างดีด้วยวิธีการที่ถูกต้องหรือเหมาะสม ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ(บนอาหารเลี้ยงเชื้อ) ระดับเรือนปลูกพืชทดลอง(บนกล้าพืช,กิ่งตอนฯ) และในสภาพธรรมชาติ(ไร่ สวนของเกษตรกร) โดยพยายามให้สอดคล้องกับวิธีการปฏิบัติต่างๆ ที่เกษตรกรดำเนินการอยู่

2.  ควรมีการพัฒนาสูตร หรือรูปแบบ (formulation) ของผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมทั้งในด้านราคาและเพื่อความสะดวกในการใช้การขนส่ง การเก็บรักษาระหว่างรอจำหน่าย โดยรูปแบบหรือสูตรดังกล่าวสามารถป้องกันการเสื่อมคุณภาพ และคงประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ได้ดี

3.  ต้องมีการควบคุมคุณภาพ (Quality control) ของผลิตภัณฑ์ทุกชุด (batch) ก่อนที่จะนำไปจำหน่ายหรือเพื่อการทดลอง (เช่นในกรณีของชีวผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อว่าไมโคสตอป (Mycostop biofungicide) ที่มีเชื้อแอคติโนมัยซีทชื่อ Streptomyces sp. กำหนดว่าจะต้องมีปริมาณเชื้อสูงกว่า 10⁸ หน่วย โคโลนี (cfu) … Read More