Month: March 2011

เว็บบอร์ดแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเกษตร

บล็อก thaikasetsart.com ได้สร้างขึ้นมาเพื่อรวบรวมความรู้ วิชาการด้านการเกษตร แต่ข้อจำกัดของบล็อก คือ การสื่อสาร ตอบโต้ แลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้ยาก ดังนั้น ทางทีมงานไทยเกษตรศาสตร์ดอทคอม จึงได้จัดทำเว็บบอร์ดขึ้นมา สำหรับผู้ที่สนใจในวิชาการด้านการเกษตร จะได้มาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน

ทุกท่านสามารถเข้าไปที่เว็บบอร์ดได้ ตาม URL ด้านล่าง ครับ

http://forums.thaikasetsart.com

Read More

มะม่วงก่อนฤดูกาล

มะม่วงปลูกได้ทุกภาคก็จริง  แต่ทว่าผลผลิตและรสชาติในภาคกลางรู้สึกว่าจะได้เปรียบกว่าภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา  อันเป็นแหล่งปลูกมะม่วงมาช้านานและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศ

โดยปกติมะม่วงจะตกดอกออกช่อในเดือนธันวาคม  ผลจะแก่ในราวปลายเดือนมีนาคมต่อต้นเดือนเมษายนของทุกปี  บางปีก็ตก บางปีออกช่อติดผลมาก แต่ก็ร่วงหล่นภายหลัง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นและสภาพแวดล้อม

มาระยะ 4-5 ปีมานี้  กรมวิชาการเกษตร และบริษัทขายผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรได้ทดลองใช้สารเคมีต่าง ๆ ช่วยให้มะม่วงออกผลก่อนฤดู  พบว่ามะม่วงหลายพันธุ์มีผลตอบสนองต่อการใช้พอตัสเซียมไนเตรดมากกว่าสารอื่น เป็นผลให้มีมะม่วงก่อนฤดูออกมาวางตลาดทำรายได้ให้แก่เจ้าของสวนมากกว่ามะม่วงตามฤดูกาลถึง 3-4เท่า

คุณพนัส  บุญสว่าง 2 หมู่ 6 ต.สาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ประธานกลุ่มชาวสวนมะม่วงสาวชะโงก เป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการบังคับให้มะม่วงออกผิดฤดู

คุณพนัส มีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ มีอาชีพทำสวนมะม่วง  สืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษเป็นเวลานานหลายสิบปี ระยะแรก ๆ ปลูกปล่อยตามธรรมชาติ … Read More

ปลูกมะละกอในพื้นที่ 1 ไร่ ควรใช้เมล็ดพันธุ์เท่าไหร่?

ในพื้นที่ 1 ไร่ถ้าใช้ระยะปลูก 2.5 x2.5 เมตร ก็จะได้จำนวนต้นทั้งหมด 256 ต้น สำหรับจำนวนเมล็ดที่จะใช้นั้นขึ้นกับวิธีการปลูก  ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1  ปลูกโดยตรงในแปลง โดยหยอดเมล็ดลงหลุมที่เตรียมไว้หลุมละ 5-8 เมล็ด  เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ ตัดทิ้งให้เหลือหลุมละ 3 ต้น  แล้วรอจนออกดอกดูว่าต้นไหนเป็นต้นสมบูรณ์เพศก็เอาไว้  ต้นตัวเมียหรือต้นตัวผู้ตัดทิ้ง  เหลือไว้เพียงต้นเดียว  ในกรณีที่พบแต่ต้นตัวเมียทั้งหมด  ก็ตัดทิ้ง 2 ต้น เหลือไว้เพียงต้นเดียวเช่นกัน  ดังนั้นเมล็ดที่ใช้ประมาณ 1,500-2,000 เมล็ด หรือคิดเป็นน้ำหนักเมล็ดก็ประมาณ 20-35 กรัม

วิธีที่ Read More

ส่วนประกอบจากการวิเคราะห์ผลมะละกอสุก

จากการวิเคราะห์ผลมะละกอสุก  ในส่วนที่ใช้รับประทานได้ 100 กรัม  จะมีส่วนประกอบดังนี้

น้ำ                                  86.4 เปอร์เซนต์

คาร์โบไฮเดรท                  12.2 กรัม

โปรตีน                              0.6 กรัม

ไขมัน                                0.2 กรัม

พลังงาน                          48.0 แคลลอรี่

เส้นใย                                         0.6 กรัม

เถ้า                                 0.6 กรัม

โปแตสเซียม                  204.0  มิลลิกรัม

แคลเซียม                        23.0  มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส                     10.0  มิลลิกรัม

โซเดียม                           3.0 มิลลิกรัม

เหล็ก                               0.7  … Read More

การเก็บผลผลิตและการสกัดยางปาเปนของมะละกอ

  • การเก็บมะละกอ โดยทั่วไป  จะเก็บเมื่อผลเริ่มมีการเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีเหลือง  หรือสีแดงบริเวณปลายผล  ถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้สุกเกินไป  อาจโดนแมลงวันผลไม้เข้าทำลายได้  เมื่อเก็บผลมาแล้ว ทิ้งไว้อีกประมาณ 4-5 วัน ก็สุก  รับประทานได้  ถ้าจะเก็บผลเอาไว้ให้นานขึ้นควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 8-12 องศาเซลเซียส ถ้าเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 7 องศาเซลเซียส ผลจะเกิดความเสียหายเนื่องจากความเย็นได้

มะละกอจะให้ผลผลิตสูงในช่วง 3 ปีแรกของการปลูก  อาจให้ผลประมาณ 30-50 ผลต่อต้นต่อปี หลังจากปีที่ 3 ผลผลิตจะลดลง ชาวสวนโดยทั่ว ๆ ไปจึงนิยมปลูกใหม่

  • การสกัดยางปาเปน ทำได้โดยกรีตผลที่ยังอ่อนอยู่  ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร กรีต 3-4 รอยต่อครั้ง ทุก
Read More

แมลงศัตรูสำหรับมะละกอและวิธีการกำจัด

  • สำหรับแมลงศัตรูมะละกอ ก็มีเช่น

1.  แมงมุมแดง ทำให้ใบร่วงก่อนแก่  ลดความแข็งแรงของต้น  โดยแมงมุมแดง  จะดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ  ผล และลำต้น  จะเห็นว่า ใบที่มีสีฝุ่นจับเป็นจุดทั่วไป ป้องกันกำจัด โดยใช้ยาฆ่าแมลง เช่น มาลาไธออน หรือ วี 80 ผสมกับแลนเนท

2.  เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน ทำลายเช่นเดียวกับแมงมุมแดง  การป้องกันกำจัดก็เช่นเดียวกับการป้องกันแมงมุมแดง และควรทำแปลงปลูกให้สะอาด

3.  แมลงวันผลไม้ ซึ่งมักจะทำลายผลที่สุกจวนเก็บได้  ดังนั้นควรเก็บผลมะละกอก่อนที่จะสุกและผลสุกที่หล่นในแปลง ควรเก็บทิ้งให้หมด

อย่างไรก็ตาม  ควรป้องกันไว้ก่อนดีกว่าที่จะหาทางกำจัดทีหลัง  แต่ต้องระวังเรื่องยาที่ใช้  เพราะมะละกอ เป็นพืชที่ไวต่อสภาพแวดล้อม และสารเคมีต่างๆ มาก ควรใช้ในปริมาณที่น้อย 

Read More

โรคที่เกิดกับมะละกอได้ง่าย

1.  โรคโคนเน่า หรือ แดมปิ้งออฟ(damping off) เกิดกับต้นอ่อนในแปลงเพาะกล้า เกิดบริเวณโคนต้นเหนือดิน มีอาการเน่าช้ำ และตายในที่สุด  ในกรณีที่เกิดโรคนี้  ต้องถอนย้ายกล้าที่เหลือทันที  เพื่อป้องกันการระบาดไปยังต้นอื่น ๆ ต่อไป  วิธีป้องกัน  ทำได้โดย  อบดินที่ใช้เพาะกล้าด้วยความร้อน หรือใช้ยากันรา เช่น ไดเทน เอ็ม 45 เป็นต้น

 

2.  โรคไฟทอปเทอร่ารอท(Phytophtora rot) เกิดกับผลและลำต้น ทำความเสียหายมาก เพราะทำให้ตายได้ทุกช่วงของการปลูก ระยะแรกที่เกิด  ยางจะไหลออกมาตามรอยแผล มีสีขาวขุ่น เปลือกอวบน้ำ นุ่มคล้ายฟองน้ำ  จากนั้นจะเน่ารอบ ๆโคนต้น แล้วต้นก็หักโค่นในที่สุด … Read More

การปลูกและการขยายพันธุ์ : มะละกอ

ในการปลูกมะละกอนั้น ก็เช่นเดียวกับการปลูกต้นไม้ทั่วไป ในสวนการค้า  อาจปลูกลงในแปลงที่เตรียมไว้ได้เลย  ในกรณีที่มีเมล็ดจำนวนมาก โดยหยอดหลุมละ 5-8 เมล็ด  เมื่อต้นกล้างอกได้ประมาณ 1 สัปดาห์  ตัดให้เหลือ 3 ต้น  จนกระทั่งออกดอกจึงตัดให้เหลือเพียง 1 ต้นต่อหลุมและต้นที่เหลือไว้  ต้องเป็นต้นสมบูรณ์เพศ ในกรณีที่มีแต่ต้นตัวเมีย  ก็ตัดให้เหลือไว้เพียงต้นเดียวเช่นกัน แต่ถ้าเมล็ดมีน้อย ก็ใช้วิธีเพาะในกระบะเพาะก่อน  จากนั้นเมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 2 สัปดาห์  ก็ย้ายลงถุงพลาสติกที่มีดินผสมกับทราย  อาจผสมปุ๋ยคอกได้นิดหน่อย  แต่ต้องระวังปุ๋ยคอกที่ใช้ไม่ได้ที่อาจทำให้ต้นกล้าเป็นโรคได้  จากนั้นอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็ย้ายลงแปลงปลูกที่เตรียมหลุมไว้แล้ว  โดยขุดหลุมขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร  รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก  … Read More

ดอกมะละกอแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

มะละกอ มีชื่อสามัญ คือ papaya ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Carica papaya L. เป็นพืชที่จัดว่ามีดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย ดอกสมบูรณ์เพศอยู่ในต้นเดียวกัน แต่โดยทั่ว ๆ ไป จะแยกเป็นต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย และต้นสมบูรณ์เพศ ลำต้นของมะละกอ เป็นประเภทไม้เนื้ออ่อน อวบน้ำ มีลำต้นเดียว ใบเกิดเป็นกระจุกบริเวณยอด และแต่ละช่อของลำต้นก็จะมีดอกเกิดขึ้น ดอกมะละกอแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

1.  ดอกตัวผู้ เป็นดอกที่มีช่อดอกยาว ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นช่อ  แล้วแยกส่วนปลายเป็น 5 กลีบ  มีเกสรตัวผู้ 10 อัน

Read More

“มะละกอ” ไม้ผลที่น่าสนใจ

ในอนาคตอันใกล้นี้  มะละกอจะเป็นพืชเศรษฐกิจ  ที่สำคัญของประเทศที่สามารถจะทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้มากพืชหนึ่ง  เพราะแนวโน้มการนำมะละกอไปใช้เป็นวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมนั้นมีมากมายหลายชนิด แต่น่าประหลาดใจที่มะละกอกลับถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดายและประการสำคัญ  นักวิทยาศาสตร์การเกษตรที่ทำการค้นคว้าวิจัย  เกี่ยวกับมะละกออย่างจริงจัง  เท่าที่ทราบมานั้นมีเพียง 2 ท่านเท่านั้นคือ อาจารย์ ดร.จันทรวิภา ธนะโสภณ  แห่งภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม และอาจารย์สิริกุล  วะสี  แห่งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกทดลอง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ฉะนั้นทางกอง บก.จึงหวังว่า บทความเกี่ยวกับมะละกอ ของ อ.สิริกุล  วะสี  คงจะเป็นประโยชน์สำหรับบรรดาท่านพี่น้องเกษตรกรและผู้ที่สนใจได้มาก และถ้าท่านอาจารย์มีเวลาว่าง  ก็คงจะเขียนเรื่องมะละกอ มาลงในนิตยสาร “ชาวเกษตร” ฉบับต่อ ๆ ไป

ถ้าจะพูดถึงมะละกอแล้ว  ทุกคนย่อมรู้จักและเคยรับประทานกันมาแล้วแน่นอน  เพราะมะละกอเป็นไม้ผลที่เรียกได้ว่า มีปลูกแทบทุกบ้าน

Read More