Month: November 2012

สนสามใบ

CONIFEROPSIDA

พืชกลุ่มนี้ได้แก่ สนต่างๆ และแปี๊ะก๊วย ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ในเขตอบอุ่น จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญใช้ได้ทั้งเนื้อไม้และยาง ตลอดจนใช้เป็นไม้ประดับ พืชพวกสนส่วนใหญ่เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ มีเรือนยอดรูปทรงคล้ายเจดีย์หรือรูปทรงคล้ายร่ม ใบมักจะมีขนาดเล็กเป็นเกล็ดหรือเป็นเส้นกลมยาว ใบมีอายุได้หลายปี ทั่วทุกส่วนภายในมีต่อมสร้างน้ำยาง ยางสนค่อนข้างใสสีน้ำตาลอ่อนอมส้มและมีกลิ่นหอม เมล็ดเกิดบนกิ่งที่แผ่เป็นแผ่นแข็งและเรียงซ้อนแน่นรอบแกน เป็นทรงพุ่ม พืชพวกสนมีจำนวนกว่า 500 ชนิด บางชนิดมีขนาดใหญ่มาก เช่น Sequoiadendron giganteum เป็นพันธุ์ไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

ในประเทศไทยมีพืชพวกสน 4 วงศ์ รวม 11 ชนิด ได้แก่ สนสองใบ (Pinus merkusii Jungh.& de VrieS) สนสามใบ (Pinus kesiya Royle … Read More

ปรงทะเล

CYCADOPSIDA CONIFEROPSIDA GNETOPSIDA พืช 3 กลุ่มนี้ ได้แก่ พวกปรง (Cycado- psida) พวกสน (Coniferopsida) และพวกมะเมื่อย (Gnetopsida) เป็นพวกที่มีเนี้อไม้ และสร้างเมล็ด แต่ยังไม่มีอวัยวะที่เรียกว่า ดอก CYCADOPSIDA พืชพวกปรงจัดเป็นพืชทนแล้ง มีลักษณะคล้ายกับพืชพวกปาล์มขนาดเล็ก ต้นปกติจะไม่แยกสาขา มีใบประกอบแบบขนนก เรียงซ้อนหมุนเวียน เป็นกระจุกที่ยอด ใบมักจะมีอายุนานหลายปี ต้นแยกเพศเป็นต้นตัวผู้กับต้นตัวเมีย พืชพวกนี้เจริญเติบโตช้ามาก วงศ์ไซคาเดซีอี (CYCADACEAE) ปรงในวงศ์นี้มีจำนวนชนิดมากกว่าปรงชนิดอื่นๆ พบขึ้นกระจายหลายทวีปทั้งในเขตร้อน และเขตอบอุ่น ในประเทศไทยพบ 6 ชนิด มีชื่อเรียกทั่ว ๆ ไปว่า ปรง
Read More

กล้วยไม้สกุลเข็มชมพู

วงศ์ออร์คิเดซีอี (ORCHIDACEAE)

ประเทศไทยนับเป็นแหล่งหนึ่งในโลกที่มีกล้วยไม้ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมากถึงพันชนิด และเป็นที่รู้จักกันค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ไม้อื่นๆ มีชื่อไทยเรียก เช่น เอื้องหวายและ ว่าน นำหน้าชื่อกลุ่มต่างๆ ได้แก่ เอื้องคำ (Den- drobium chrysotoxum Lindl.) หวายแดง (Renan- thera coccinea Lour.) ว่านเพชรหึง (Grammato- phyllum speciosum Bl.) เป็นต้น ลำต้นมักจะอวบนํ้า มีข้อปล้องเห็นได้ชัด ใบเดี่ยวและมักจะ หนา ดอกช่อหรือดอกเดี่ยว มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบ กลีบดอกหนึ่งกลีบมีลักษณะพิเศษคือ มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปมาก อาจจะเป็นแผ่นใหญ่หรือเล็กกว่ากลีบอื่น ๆ หรือแยกเป็น 2 … Read More

หงอนเงือก

หงอนเงือก

วงศ์คอมเมลิเนซีอี (COMMELINACEAE)

ไม้ล้มลุกค่อนข้างอวบนํ้า ใบเดี่ยวเรียงสลับหรือเรียงแบบบันไดเวียน โคนแผ่นใบแผ่เป็นกาบหุ้มกิ่งหรือลำต้น ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบหรือปลายยอด กลีบเลี้ยง 3 กลีบแยกจากกัน กลีบดอก 3 กลีบ แยกจากกัน บางชนิดกลีบดอกอาจเชื่อมติดกัน เกสรตัวผู้ 6 อันหรือน้อยกว่า เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่างๆ ของดอก ผลตามปกติจะแตกเมื่อแก่ พืชวงศ์นี้มีประมาณ 38 สกุล 400 ชนิดทั่วโลก ในประเทศไทยที่รู้จักกันดีได้แก่ ว่านกาบหอย (Rhoeo spathacea Stearn) ผักปลาบนา (Cyanotis axillaris Roem & Sohult.) หัวใจม่วง … Read More

ต้นหนอนตายหยาก

หนอนตายหยาก

วงศ์สตีโมเนซีอี (STEMONACEAE)

พืชวงศ์นี้มี 1 สกุล 25 ชนิด พบในบริเวณเอเชียตะวันออก ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และภาคเหนือของออสเตรเลีย เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงหรือเลื้อย ใบเดี่ยว เรียงสลับหรืออยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่หรือเป็นวงรอบข้อ เส้นใบหลายเส้น ออกจากโคนใบขนานกัน ไปตามความยาวของแผ่นใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยว หรือออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ มีกลีบ 4 กลีบเรียงกัน 2 วง เกสรตัวผู้ 4 อัน ก้านเกสรตัวผู้สั้นมาก เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่างๆ ของดอก ผลเป็นแบบผลแห้งแก่แล้วแตก ตัวอย่างเช่น … Read More

บัวสวรรค์

บัวสวรรค์

วงศ์ซินจิเบอร์เรซีอี (ZINGIBERACEAE)

พืชวงศ์นี้มีประมาณ 49 สกุล 1,300 ชนิด พบกระจายทั่วไปในเขตร้อนของโลก เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นใต้ดินที่แตกสาขา อาจพบลำต้นเหนือดินแต่มักมีขนาดเล็กสั้น ใบเดี่ยวเจริญจากลำต้นใต้ดิน โคนใบแผ่ออกเป็นกาบ ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ กลีบแบ่งเป็นสองชั้น กลีบชั้นนอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบชั้นใน 3 กลีบ มักจะเชื่อมติดกันและแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนล่างมักมีขนาดใหญ่กว่า ส่วนของดอกทั้งหมดมีใบประดับซึ่งมีลักษณะเป็นกาบรองรับ เกสรตัวผู้ 1 อัน และมักพบเกสรตัวผู้ที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปคล้ายกลีบดอก เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่ใต้ชั้นต่างๆ ของดอก ผลมีเนื้อหรือแห้งและไม่แตก เมล็ดมักมีเยื่อหุ้ม พืชที่รู้จักกันดีในประเทศไทย คือ … Read More

หญ้าข้าวก่ำ

วงศ์เบอร์แมนนิเอซีอี (BURMANNIACEAE)

พืชวงศ์นี้ส่วนมากเป็นไม้ล้มลุกหนึ่งฤดูหรือเป็นพืชหลายฤดู ลำต้นมีสองส่วนคือส่วนที่อยู่ใต้ดินและส่วนที่อยู่เหนือดิน ใบมักไม่พบ แต่ถ้ามีใบจะพบอยู่บริเวณโคนของลำต้น ลักษณะใบยาว แคบคล้ายใบหญ้า หรืออาจลดรูปเป็นแผ่นบางๆ ขนาดเล็ก ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกวงนอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดและมักแผ่ออกเป็นปีก 3 ปีก เกสรตัวผู้ 3 อัน มักจะไม่มีก้านเกสรตัวผู้ หรือมีสั้นมาก เรียงในตำแหน่งที่ตรงข้ามกับกลีบดอก ชั้นในเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่ต่ำกว่าชั้นต่างๆ ของดอก ผลแห้งแตกตามยาว เมล็ดมีขนาดเล็ก พืชวงศ์นี้มีประมาณ 16 สกุล 125 ชนิด พบกระจายอยู่ในบริเวณเขตร้อน

ดอกดิน

Burmannia Read More

อุตพิด

อุตพิด

วงศ์อะเรซีอี(ARACEAE)

พืชวงศ์นี้เป็นพืชล้มลุกทั้งหมด มีทั้งที่เป็นพืชบก พืชนํ้า และพืชอิงอาศัย มีประมาณ 110 สกุล 2,000 ชนิด ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อน มีเพียงส่วนน้อยอยู่ในเขตอบอุ่น เกือบทุกส่วนของพืชพวกนี้มีน้ำยางใส ๆ และผลึกรูปเข็มภายในเซลล์ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคันหรือเป็นผื่นคันเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง ลักษณะเด่นของวงศ์อะเรซีอีอยู่ที่ช่อดอก ซึ่งเป็นแท่งยาว มีใบประดับแผ่นใหญ่รองรับ หรือห่อหุ้มไว้ ใบประดับบางชนิดมีสีสวยสดใส และทำหน้าที่คล้ายกลีบดอก ดอกขนาดเล็ก มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศเรียงตัวกันแน่นอยู่รอบแกนช่อ ผลมีเนื้อนุ่ม บางชนิดรับประทานได้ พืชที่รู้จักกันดีมักเป็นไม้ประดับ เช่น หน้าวัว (Anthurium andraeanum Lindl.) พลูด่าง (Scindapsus aureus Engler) และสาวน้อยประแป้ง (Dieffenbachia spp.)… Read More

ผักตบไทย

ผักตบไทย

วงศ์พอนทีเดอริเอซีอี(PONTEDERIACEAE)

พันธุ์ไม้นํ้าวงศ์นี้มีประมาณ 9 สกุล 34 ชนิด พบทั้งที่ลอยน้ำ เจริญขึ้นเหนือนํ้า หรือเจริญตามริมน้ำ บางชนิดเป็นวัชพืชน้ำที่สำคัญ ที่พบทั่ว ๆ ไป ได้แก่ ผักตบชวา (Eichhornia crassipes (Mart.) Solms) ขาเขียด (Monochoria vaginalis (Brum.f.) Presl) ลักษณะของลำต้นเป็นเหง้าทอดไปตามผิวน้ำ หรือเป็นลำต้นเหนือดิน ใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบบันไดเวียน โคนก้านใบแผ่เป็นกาบซ้อนกัน เป็นกลุ่มๆ ตามข้อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีลักษณะเหมือนกันอย่างละ 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 6 อัน เกสรตัวเมีย 1 … Read More

หญ้าขจรจบ

วงศ์โปเอซีอี (POACEAE) หรือ วงศ์แกรมมินี (GRAMINAE)

พืชวงศ์นี้มีจำนวนมากกว่า 9,000 ชนิดใน 650 สกุล พบทั่วทุกเขตสภาพอากาศของโลก มีลักษณะเป็นไม้ล้มลุกอายุหนึ่งฤดู หรือหลายฤดู อาจพบที่มีลักษณะคล้ายไม้พุ่ม หรือไม้ต้นบ้างแต่น้อยมาก ใบเดี่ยวออกที่ข้อแบบบันไดเวียน หรืออาจเกิดเป็นกลุ่มบริเวณโคนลำต้น โคนใบมีลักษณะเป็นกาบ บริเวณรอยต่อของแผ่นใบกับก้านใบมีเกล็ดบาง ๆ ยื่นออกมา ดอกช่อมีทั้งที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศ ช่อดอกย่อยด้านล่างสุดมีใบประดับ 2 อัน เรียก ‘กลูม’ (glume) ส่วนดอกย่อยแต่ละดอก ประกอบด้วยใบประดับย่อย 2 อัน มีขนาดไม่เท่ากัน อันใหญ่กว่าเรียก ‘เลมมา’ (lemma) อันเล็กเรียก ‘พาเลีย’ (palea) กลีบดอกลดรูปจนไม่มีหรืออาจพบเป็นแผ่นเล็กๆ … Read More