Month: November 2012

ต้นคล้า

คล้า

วงศ์มารันเทซีอี (MARANTACEAE)

พืซวงศ์นี้มักเรียกว่า คล้า หรือคล้าลาย มีประมาณ 30 สกุล 350 ชนิด ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อน ลักษณะเป็นกอคล้ายพุทธรักษา แต่ความสูงของต้นแตกต่างกันมาก มีหัวหรือเหง้าใต้ดิน ใบเรียงตัว 2 แถว แผ่นใบสีเขียวล้วนหรือมีลวดลายสีสันต่างๆ เส้นใบแบบขนนก เรียงขนานกันค่อนข้างชิด ดอกออกเป็นช่อแน่น มีใบประดับรองรับกลีบดอก 6 กลีบ สีขาว หรือสีอื่น ๆ เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์มีเพียง 1 อัน อีก 5 อัน เปลี่ยนรูปไปคล้ายกลีบดอก รังไข่อยู่ตํ่ากว่าชั้นอื่นๆ ของดอก พืชที่รู้จักกันดีส่วนใหญ่ เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูก เช่น ว่านนกยูงตัวเมีย … Read More

ดอกดุสิตา

ดอกดุสิตา

วงศ์เลนติบูลาริเอซีอี (LENTIBULARIACEAE)

เป็นพืชในเขตร้อน พบในนํ้า ที่ชื้น และบางชนิดเกาะอยู่บนต้นไม้อื่น มีประมาณ 9 สกุล 180 ชนิด ต้นขนาดเล็ก ระบบรากน้อย ใบมีการเปลี่ยนแปลงเป็นโครงสร้างพิเศษเพื่อทำหน้าที่ดักแมลง ใบมักเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อย 2-5 ดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมกัน ส่วนปลายแยกเป็น 2-5 แฉก กลีบดอกเชื่อมกัน ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก แบ่งเป็น 2 ส่วนไม่เท่ากัน ส่วนล่างมีจงอยยื่นคล้ายดอกเทียน เกสรตัวผู้ 2 อันเชื่อมติดกับกลีบดอก เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่างๆ ของดอก … Read More

ปาล์มค้อ

วงศ์อะเรคาซีอี(ARECACEAE)หรือวงศ์ปาล์มี(PALMAE)

พืชพวกปาล์มพบมากในเขตร้อนและกึ่งร้อนของโลก มีประมาณ 217 สกุล 2,500 ชนิด ลำต้นตั้งตรงมักไม่แตกสาขา หรือเป็นไม้เลื้อยเช่น หวาย (Calamus spp.) ใบเดี่ยวหรือใบประกอบ มักออกเป็นกลุ่มที่ปลายยอด หรือในกลุ่มที่เป็นไม้เลื้อยใบจะออกกระจายทั่วไป โคนก้านใบมักจะแผ่เป็นกาบหุ้มรอบข้อ ดอกออกเป็นช่อที่ยอด มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มอยู่ ดอกอาจแยกเพศหรือมีทั้งสองเพศในดอกเดียวกัน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกลักษณะคล้ายกันอาจแยกหรือเชื่อมติดกันก็ได้ในแต่ละชั้น เกสรตัวผู้ 6 อัน เรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 3 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่าง ๆ ของดอก ผลแก่แล้วไม่แตก มีเนื้อหรือมีเนื้อนุ่ม อาจมี 1 เมล็ดหรือมากกว่า พืชวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีคือ … Read More

ปอกระสา

ปอสา

วงศ์มอเรซีอี(MORACEAE)

พืชวงศ์นี้มีประมาณ 75 สกุล 3,000 ชนิด พบมากในเขตร้อนและกึ่งร้อน ส่วนใหญ่เป็นไม้ต้นและไม้พุ่ม ทุกส่วนมียางขาว ใบเดี่ยวเรียงตัวแบบบันไดเวียนหรือออกเป็นคู่ตรงข้าม หูใบมีลักษณะคล้ายกรวยคลุมยอดอ่อน เมื่อใบแก่หูใบจะร่วงหลุดไป ดอกขนาดเล็กแยกเพศ ออกรวมกันเป็นช่อแบบพิเศษ ผลมีลักษณะคล้ายช่อดอกแต่ขยายขนาดใหญ่ขึ้น บางชนิดมีเนื้อรับประทานได้ พืชที่รู้จักทั่วไปในวงศ์นี้ เช่น ขนุน (Artocarpus heterophyllus Larnk.) หม่อน (Morus alba Linn.) โพธิ์ (Ficus religiosa Linn.) และไทรต่าง ๆ (Ficus spp.)

Broussonettia papyrifera Vent.

ปอสา ปอกระสา Read More

ส้มโหลก

ส้มโหลก

วงศ์ยูฟอร์บิเอซีอี(EUPHORBIACEAE)

พบมากในเขตร้อน มีทั้งไม้ล้มลุก ไม้พุ่มและไม้ต้น จำนวนประมาณ 300 สกุล 5,000 ชนิด ที่รู้จักทั่วไปและเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ยางพารา (Hevea brasiliensis Muell. Arg.) มัน- สำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) ฯลฯ ทุกส่วนมักจะมีนํ้ายางสีขาว ใบส่วนใหญ่เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน มีหูใบ ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ออกตรงซอกใบหรือปลายกิ่ง ส่วนมากดอกแยกเพศ ในแต่ละช่อมักมีดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมีย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบหรือลดรูป มักจะไม่มีกลีบดอก เกสรตัวผู้ 1 อันถึงจำนวนมาก เกสรตัวเมีย 1 อัน … Read More

ฟอร์เกตมีนอทป่า

ฟอร์เกตมีน็อตป่า

วงศ์บอแรกจิเนซีอี(BORAGINACEAE)

พืชวงศ์นี้มีประมาณ 100 สกุล 2,000 ชนิด พบได้ในเขตร้อน กึ่งร้อนและเขตอบอุ่น ส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับ อาจพบที่ออกเป็นคู่ตรงข้ามได้บ้าง ดอกออกเป็นช่อ โดยช่อจะโค้งงอเหมือนลานนาฬิกา และดอกย่อยออกสลับซ้ายขวา กลีบเลี้ยง 5 กลีบแยกจากกันหรือเชื่อมติดกันที่โคน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ คล้ายระฆัง เกสรตัวผู้ 5 อัน เรียงสลับกับกลีบดอก เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่าง ๆ ของดอก ผลขนาดเล็ก 4 ผลอยู่ชิดกัน เปลือกแข็งแก่แล้วไม่แตก มี 1 เมล็ด … Read More

ว่านดอกสามสี

ดอกสามสี

วงศ์ออโรบันเคซีอี(OROBANCHACEAE)

พืชวงศ์นี้ทุกชนิดเป็นพืชเบียนตามรากของพืชอื่น โดยหยั่งรากลึกลงไปในดินและเจริญแทรกเข้าไปในรากพืชอื่นเพื่อดูดอาหารมาเลี้ยงตัวเอง ทุกส่วนไม่มีสีเขียว ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นลำต้นตั้งตรงขึ้นไป มีใบเป็นเกล็ดสีนํ้าตาลเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อออกที่ปลายสุดของลำต้น เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบเชื่อมติดกันตรงโคนเล็กน้อย กลีบดอกเชื่อมติดกันและเป็นแบบสมมาตรด้านข้าง เกสรตัวผู้ 4 อัน มี 2 ขนาดสั้นยาวต่างกันเป็นคู่ ผลเป็นฝัก แตกเมื่อแก่ เมล็ดจำนวนมาก

พืชวงศ์นี้มีประมาณ 14 สกุล 180 ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น ยังไม่พบชนิดใดที่มีคุณค่าในทางเศรษฐกิจ แต่บางชนิดอาจทำให้ผลผลิตของพืชให้อาศัยลดตํ่าลงได้ ตัวอย่างที่พบในเมืองไทยเช่น ดอกดิน (Aeginetia pedunculata Wall.) ดอกดินแดง (Aeginetia indica Roxb.) … Read More

ว่านมหากาฬ

วงศ์แอสเทอเรซีอี(ASTERACEAE)หรือ วงศ์คอมโพซีตี(COMPOSITAE)

เป็นพืชวงศ์ใหญ่มี 900 สกุล ประมาณ 13,000 ชนิด ขึ้นกระจัดกระจายทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก หรือไม้พุ่มเล็กๆ ใบเดี่ยวเรียงสลับ หรือออกตรงกันข้ามเป็นคู่ ดอกออกเป็นช่อ มีใบประดับเรียงเป็นวงซ้อนกันเป็นชั้นรองรับดูคล้ายเป็นดอกเดี่ยว แต่ละช่อมีดอก 2 แบบ ดอกที่อยู่รอบนอกมักจะไม่มีเพศหรือเป็นดอกตัวเมีย กลีบเลี้ยงคล้ายเส้นขน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น ๆ ปลายแผ่เป็นแผ่น 1 แผ่น ดอกที่อยู่เป็นกลุ่มตรงกลางช่อดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงคล้ายเส้นขนเช่นเดียวกัน แต่กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น ๆ ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน อับเรณูเชื่อมติดกัน รังไข่อยู่ใต้ชั้นต่างๆ ของดอก ผลเป็นผล … Read More

บาเหลือง

บาเหลือง

วงศ์เมนยันทีเอซีอี(MENYANTHEACEAE)

พืชวงศ์นี้มีจำนวนน้อย ประมาณ 5 สกุล 40 ชนิด เป็นพืชน้ำ หรือพืชล้มลุกที่ขึ้นในที่ชื้น มีลำต้นใต้ดิน หรือทอดไปตามผิวดิน ใบเรียงแบบสลับ โคนก้านใบแผ่เป็นกาบ ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ส่วนโคนเชื่อมกัน กลีบดอก 5 กลีบ ส่วนโคนเชื่อมกัน สีเหลือง สีขาว หรือสีชมพู และมักมีขนปกคลุม เกสรตัวผู้ 5 อันเชื่อมติดที่โคนของ หลอดดอก เรียงสลับกับกลีบดอก เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือ ชั้นต่างๆ ของดอก ผลแห้งแล้วแตก … Read More

ดอกหรีด

วงศ์เจนทิเอเนซีอี (GENTIANACEAE)

พันธุ์ไม้วงศ์นี้เป็นไม้ล้มลุก มีประมาณ 80 สกุล 900 ชนิด พบในประเทศไทย 7 สกุล 28 ชนิด ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม หรือเรียงวนเป็นรัศมีใกล้ผิวดิน ไม่มีหูใบ ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ออก ตรงซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกัน ส่วนปลายแยก 4-5 แฉก กลีบดอก 4-5 กลีบ โคนเชื่อมกันเป็นรูประฆังหรือรูปหลอดยาว เกสรตัวผู้มีจำนวนเท่ากับกลีบดอกและเชื่อมติดบนกลีบดอกเรียงสลับกับแฉกของกลีบ เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่าง ๆ ของดอก ผลส่วนมากเป็นแบบแห้งแล้วแตก เมล็ดมีจำนวนมาก ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ เช่น หญ้าดีควาย (Swertia … Read More