Month: November 2012

แววลิไล

แวววิไล

วงศ์สครอบฟูลาริเอซีอี(SCROPHULARIACEAE)

พันธุ์ไม้วงศ์นี้เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก มีประมาณ 220 สกุล 4,500 ชนิด พบในประเทศไทย 30 สกุล 106 ชนิด บางชนิดดำรงชีวิตเป็นพืชเบียน (parasite) หรือภาวะย่อยสลาย (saprophyte) ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้าม หรือแบบบันไดเวียน หรือมีทั้ง 2 แบบในต้นเดียวกัน ดอกช่อออกตรงซอกใบหรือปลายกิ่งมีใบประดับรองรับ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมกันปลายแยกเป็น 5แฉก กลีบดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ส่วนไม่เท่ากัน เกสรตัวผู้ 4 อัน สั้น 2 อัน ยาว 2 … Read More

สะเภาลม

วงศ์อีริเคซีอี(ERICACEAE)

พืชวงศ์นี้มีประมาณ 100 สกุล 3,000 ชนิดทั่วโลก ลักษณะเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มเตี้ย อาจพบที่เป็นไม้ต้นบ้าง ใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับ ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันส่วนปลายแยกเป็น 4-5 แฉก หรือกลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง รูปถ้วย หรือเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4-5 แฉกหรือกลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนเป็น 2 เท่าของกลีบดอก เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่างๆ ของดอก ผลมีหลายแบบทั้งที่มีเนื้อและไม่มีเนื้อ พืชวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีคือ กุหลาบพันปี (Rhododendron spp.)

ต้นแมวน้ำ

Agapetes hosseana Diels.

สะเภาลม, Read More

มะเค็ด

มะเค็ด

วงศ์โลกานิเอซีอี(LOGANIACEAE)

พืชวงศ์นี้มี 7 สกุล 130 ชนิด พบมากในเขตร้อน มีทั้งไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4-5 กลีบ เกสรตัวผู้ 4-5 อัน ติดอยู่ที่หลอดดอกและเรียงสลับกับกลีบ เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่างๆ ของดอก ผลแห้งแก่แล้วแตกตามผนังกั้นรังไข่ เมล็ดมีจำนวนมาก

Gelsemium elegans Benth.

มะเค็ด เพชฌฆาตสีทอง สามใบตาย

ไม้เลื้อย

Read More

กันเกรา

กันเกรา

วงศ์โลกานิเอซีอี (POTALIACEAE)

พืชวงศ์นี้มี 4 สกุล 70 ชนิด เป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่ม ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ขอบใบเรียบ หรือจักซี่ฟัน แผ่นใบมักจะหนา ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบ 5-16 กลีบ แต่ละกลีบซ้อนทับกันแบบกังหัน เกสรตัวผู้ 5-16 อัน เชื่อมติดกับกลีบดอก เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่างๆ ของดอก และอยู่บนจานฐานดอก ผลสดมีเนื้อ เมล็ดมีจำนวนมาก ไม่มีปีก

Fagraea fragrans Roxb.

กันเกรา Read More

หนามแน่แดง

ช้องนาง

วงศ์ทุนเบอร์จิเอซีอี (THUNBERGIACEAE)

ในประเทศไทยพบพืชวงศ์นี้เพียงสกุลเดียว คือ Thunbergia มีประมาณ 10 ชนิด ซึ่งมีทั้งที่เป็นพืช พื้นเมืองของไทยและที่นำเข้ามาปลูกจากต่างประเทศ ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ช้องนาง (Thunbergia erecta T. Anders.) รางจืด (Thunbergia laurifolia Linn.) และสร้อยอินทนิล (Thunbergia grandiflora Roxb.) ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อย ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้าม ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ แต่ละดอกมีใบประดับขนาดใหญ่ 2 อัน กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กเชื่อมติดกันคล้ายวงแหวน ขอบเรียบหรือหยักเว้าตื้นหรือแยกเป็น ริ้วเล็กๆ 10-18 อัน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 4 … Read More

ดาวลดา

ดอกรัก

วงศ์แอสเคลบพิเอเดซีอี (ASCLEPIADACEAE)

พืชวงศ์นี้ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อย ไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก มักมียางขาว ใบออกเป็นคู่ตรงข้าม หรือมีมากกว่า 2 ใบ ออกรอบข้อ ดอกออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นและปลายแยกเป็น 5 แฉก รยางค์เกสรตัวผู้ลักษณะคล้ายกลีบหรือเป็นแผ่น 5 แผ่น เกาะกันเป็นแท่น อับเรณูแทรกอยู่ระหว่างแถวของรยางค์ เรณูรวมกัน เป็นกลุ่มหรือเป็นแผ่น เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่างๆ ของดอก ผลเป็นฝักแห้งแล้วแตก เพียงตะเข็บเดียว ในประเทศไทยพืชในวงค์นี้ที่รู้จักกันดี คือรัก (Calotropis gigantea R. Br.) ไฟเดือนห้า (.Asclepias … Read More

ว่านไก่แดง

เอื้องหงอนไก่

วงศ์เจสเนอริเอซีอี(GESNERIACEAE)

พืชวงศ์นี้มี 120 สกุล 2,000 ชนิด ส่วนมากพบในเขตร้อนและกึ่งร้อน เป็นพืชล้มลุกและพืชอิงอาศัย ไม่พบไม้พุ่มหรือไม้เลื้อย ใบเดี่ยว ส่วนมากออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ขอบใบเรียบหรือจัก ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 กลีบ ดอกมีสมมาตรด้านข้าง เกสรตัวผู้ 2 อัน หรือ 4 อัน สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน อยู่บนจานฐานดอก รังไข่อยู่เหนือชั้นต่างๆ ของดอก ผลแห้งแก่แล้วแตก เมล็ดมีจำนวนมาก … Read More

ดอกร่องไม้

อังกาบสีปูน

วงศ์อะแคนเทซีอี(ACANTHACEAE)

พืชวงศ์นี้มีประมาณ 250 สกุล 2,500 ชนิด กระจายทั่วไปแต่พบมากในเขตร้อน ส่วนมากเป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้าม ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อมักมีใบประดับ และใบประดับย่อยขนาดใหญ่ อาจมีสีสันสวยงาม กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 4 อันติดกับกลีบดอก ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่างๆ ของดอก ผลแก่จะแตก เมล็ดเกาะติดอยู่บนรยางค์ที่มีลักษณะคล้ายตะขอที่ยื่นมาจากแกนกลางของผล พืชชนิดที่รู้จัก กันดีคือ ต้อยติ่ง (Ruellia tuberosa Linn.) เหงือกปลาหมอ … Read More

ดอกดาวดิน

ดอนย่า

วงศ์รูบิเอซีอี (RUBIACEAE)

เป็นวงศ์ที่มีขนาดใหญ่มาก มีประมาณ 500 สกุล 6,000 ชนิด พบได้ตั้งแต่เขตหนาวแถบขั้วโลกจนถึงเขตร้อน โดยทั่วไปพืชวงศ์นี้มีลักษณะเป็นไม้ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้ามหรือมีใบมากกว่าสองใบออกรอบข้อ มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ อาจแยกเป็นอิสระหรือเชื่อมติดกัน ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยง 5 อันมักเชื่อมติดไปกับรังไข่ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 4-10 กลีบ เกสรตัวผู้ 4 ถึง 10 อัน เรียงสับหว่างกับกลีบดอก เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่ตํ่ากว่าชั้นต่าง ๆ ของดอก ผลมีหลายแบบ ทั้งที่แก่แล้วแตกและไม่แตก พืชที่รู้จักกันดีคือ เข็มแดง (Ixora lobbii … Read More

จิงจ้อหลวง

มันเทศ

วงศ์คอนโวลวูเลซีอี (CONVOLVULACEAE)

พืชวงศ์นี้มีประมาณ 50 สกุล 1,800 ชนิดทั่วโลก ในประเทศไทยพบพืชวงศ์นี้ประมาณ 102 ชนิด 22 สกุล กระจายทั่วไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ มักพบตามพื้นที่ที่รกร้างริมถนน หรือชายป่าที่มีแดดส่องถึง ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อย มียางขาว ใบเดี่ยวเรียงสลับ ดอกออกเป็นช่อหรืออาจลดรูปจนมีลักษณะคล้ายดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูปกรวย รูประฆัง หรือรูปถ้วย ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบหรือ 5 แฉกตื้นๆ ตรงกลาง ของกลีบแต่ละกลีบที่เชื่อมติดกันจะมีลักษณะเป็นแถบรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลมชี้ไปยังจุดกึ่งกลางของกลีบดอก ทำให้เห็นลักษณะคล้ายรูปดาว 5 แฉก เกสรตัวผู้ 5 … Read More