Month: November 2012

ดอกวนารมย์

ทองหลาง

วงศ์ฟาเบซีอี (FABACEAE)

พืชวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีคือ พวกถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง (Glycine max Merr.) ถั่วลันเตา (Pisum sativum Linn.) ถั่วลิสง (Arachis hypogaea Linn.) แค (Sesbania grandiflora (Linn.) Poir) และทองหลาง (Erythrina spp.) เป็นต้นลักษณะมีทั้งที่เป็นไม้ต้นไม้พุ่ม หรือไม้ล้มลุกใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับอาจพบใบเดี่ยวบ้าง ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกมี 5 อัน ขนาดและรูปร่างไม่เหมือนกัน และแยกจากกันเป็นอิสระ มีการจัดเรียงตัวคล้ายรูปผีเสื้อ (papilionaceous) กลีบบนสุดมีขนาดใหญ่ที่สุด … Read More

พรรณพฤกษชาติ:แก้ว

ดอกแก้ว

วงศ์รูเทซีอี(RUTACEAE)

พืซที่รู้จักกันดีคือ ส้มชนิดต่าง ๆ (Citrus spp.) มะนาว (Citrus aurantifolia Swing.) มะตูม (Aegle marmelos Corr.) และแก้ว (Murraya paniculata Jack) พืชวงศ์นี้มีประมาณ 150 สกุล 900 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อน และเขตอบอุ่น ส่วนใหญ่เป็นไม้ต้นและไม้พุ่ม ลักษณะเด่นอยู่ที่การมีหยดนํ้ามันขนาด เล็กกระจายอยู่ทั่วไปตามใบ ซึ่งมีทั้งใบเดี่ยวและใบประกอบออกเรียงสลับ ดอกมีกลีบดอกแยกกันหรือเชื่อมกัน 4-5 กลีบ มีต่อมนํ้าหวานอยู่ที่หมอนรองดอก เกสรตัวผู้ 8-10 อัน รังไข่อยู่สูงกว่าวงกลีบเลี้ยง และมีโอวูลจำนวนมาก ผลเป็นผลสดที่มีเนื้อนุ่ม… Read More

พรรณพฤกษชาติ:แพรวไพลิน

ฮองดง

วงศ์ไฮแดรนจีเอซีอี (HYDRANGEACEAE)

พืชในวงศ์นี้ส่วนใหญ่พบในเขตอบอุ่น ชนิดที่เป็นไม้ประดับและรู้จักกันค่อนข้างมาก คือ ไฮแดรนเยีย (hydrangea) หรือดอกสามเดือน ดอกหกเดือน ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ประดับ ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ Dichroa febrifuga Lour. มีชื่อพื้นเมืองเรียก ฮอมดง ใน ภาคเหนือและในภาคใต้เรียก ยายคลังใหญ่ ลักษณะเฉพาะของวงศ์นี้คือ ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบค่อนข้างใหญ่ มีก้านใบ ดอกสีขาว ชมพู หรือฟ้า ดอกเกิดเป็นช่อค่อนข้างแน่น กลีบเลี้ยงมักจะขยายใหญ่ มี 4-5 แฉก กลีบดอก 4-5 กลีบ เกสรตัวผู้จำนวน 2 เท่าของกลีบดอก … Read More

พรรณพฤกษชาติ:ขี้ครอก

วงศ์มัลเวซีอี(MALVACEAE)

เป็นพืชที่พบกระจายอยู่เกือบทั่วโลก มีประมาณ 80 สกุล 1,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุกและไม้พุ่ม มีพบที่เป็นไม้ต้นบ้าง ใบเดี่ยว ออกแบบเรียงสลับ ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบ เลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกัน ตามปกติมักพบใบประดับติดอยู่ด้านล่าง บางชนิดใบประดับอาจมีลักษณะเหมือนกลีบเลี้ยงมาก กลีบดอก 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ แต่มักเชื่อมติดกับก้านเกสรตัวผู้ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรตัวผู้เชื่อมเป็นหลอดหุ้มเกสรตัวเมียเอาไว้ ส่วนของเกสรตัวเมียที่ยื่นโผล่พ้นออกมาคือ ส่วนปลายของก้านเกสรตัวเมียซึ่งแยกออกเป็นหลายแฉก ผลแห้งและแตก พืชวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีเช่น ฝ้าย (Gossypium barbadense Linn.) กระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa Linn.) ชบา (Hibiscus … Read More

พรรณพฤกษชาติ:ตะมองคอง

ตะมองคอง

วงศ์เมมีไซเลซีอี (MEMECYLACEAE)

พืชวงศ์นี้เดิมจัดอยู่ในวงศ์เมลาสโทเมเทซีอี (MELASTOMATACEAE) มี 4 สกุล ประมาณ 360 ชนิด พบทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้าม ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน กลีบดอก 4 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ เกสรตัวผู้มี 8 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ในประเทศไทยพบเฉพาะพืชสกุล Memecylon มีประมาณ 16 ชนิด กระจายทั่วไปตามพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย รู้จักกันทั่วไปในชื่อของ พลอง (Memecylon spp.)

Memecylon celastrinum KurzRead More

พรรณพฤกษชาติ:สาวสนม

ต้นสาวสนม

วงศ์เมลาสโทเมเทซีอี(MELASTOMATACEAE)

พืชวงศ์นี้มีประมาณ 240 สกุล 3,000 ชนิด พบมากในเขตร้อนของโลก ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่ม หรือเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก อาจพบที่เป็น ไม้เลื้อยหรือไม้ล้มลุกบ้าง ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้าม และใบแต่ละคู่จะตั้งฉากกับใบคู่ถัดไป ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 4-5 กลีบ กลีบดอก 4-5 กลีบ แยกจากกัน เกสรตัวผู้มีจำนวนเป็น 2 เท่าของกลีบดอก ก้านเกสรตัวผู้หักงอคล้ายหัวเข่า และมักจะมีรยางค์ลักษณะต่างๆ เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่างๆ ของดอก หรืออาจอยู่ต่ำกว่าชั้นต่างๆ โดยการเชื่อมติดกับฐานรองดอก ผลอาจมีเนื้อหรือไม่มีก็ได้ พืชในวงศ์นี้ที่รู้จักกันดี คือ โคลงเคลง (Melastoma … Read More

พรรณพฤกษชาติ:เทียนคำ

ดอกเทียนคำ

วงศ์บัลซามิเนซีอี (BAISAMINACEAE)

พืชวงศ์นี้มีประมาณ 4 สกุล มากกว่า 500 ชนิด กระจายทั่วใปในเขตอบอุ่น และเขตร้อน ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ล้มลุกอวบนํ้า พบที่เป็นไม้พุ่มบ้าง ใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ หรือออกเป็นคู่ตรงข้าม ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ แยกจากกัน อาจพบ 5 กลีบบ้างแต่น้อยมาก กลีบเลี้ยงอันล่างมีลักษณะคล้ายกลีบดอก และมีจงอยยื่นออกมา กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน 4 กลีบด้านข้างมักเชื่อมติดกัน ส่วนกลีบบนสุดตั้งตรง เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านเกสรตัวผู้สั้น อับเรณูอยู่ชิดกันหุ้มรังไข่เอาไว้ เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่างๆ … Read More

พรรณพฤกษชาติ:เครือเขามวก

เครือเขามวก

วงศ์คอมบรีเทซีอี(COMBRETACEAE)

พืชวงศ์นี้มีประมาณ 20 สกุล 600 ชนิด พบทั่วไปในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ต้น ไม้พุ่มและไม้เลื้อยที่มีเนื้อไม้ พวกที่เป็นไม้ต้นอาจมีความสูงได้ถึง 50 เมตร ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้าม หรือแบบเรียงสลับ ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงตามปกติมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันและเชื่อมติดกับรังไข่ กลีบดอก 4-5 กลีบ หรืออาจลดรูปจนไม่มี เกสรตัวผู้ 4-10 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่ต่ำกว่าชั้นต่างๆ ของดอก ผลส่วนมากมีปีกที่สัน พืชวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีในประเทศไทยคือ หูกวาง (Terminalia catappa Linn.) สมอไทย (Terminalia … Read More

พันธุ์พฤกษชาติ:ส้มเสี้ยวเถา

ส้มเสี้ยวเถา

วงศ์ซีซาลพินิเอซีอี(CAESALPINIACEAE)

ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ในเขตร้อน มีประมาณ 150 สกุล 2,200 ชนิด พบในประเทศไทย 20 สกุล 113 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มและไม้ต้น ไม้ล้มลุกมีน้อยมาก ที่รู้จักทั่วไปได้แก่ คูน (Cassia fistula Linn.) หางนกยูงฝรั่ง (Delonix regia Raf.) ฯลฯ ใบเดี่ยวหรือใบประกอบ มีหูใบ ดอกออกเป็นช่อตรงซอกใบ หรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกหรือเชื่อมกัน กลีบดอก 5 กลีบ แยกกัน เกสรตัวผู้ 10 อัน … Read More

พรรณพฤกษชาติ:อินทนิลน้ำ

ดอกอินทนิล

วงศ์ลิทเทรซีอี (LYTHRACEAE)

พันธุ์ไม้วงศ์นี้มีทั้งที่เป็นไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม และไม้ต้น มีประมาณ 22 สกุล 450 ชนิด ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและรู้จักกันทั่วไปได้แก่เสลา (Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn.) อินทนิล (Lager- stroemia macrocarpa Wall.) และยี่เข่ง (Lagerstroemia indica Linn.) ใบเดี่ยว การจัดเรียงตัวของใบ ส่วนใหญ่เป็นแบบตรงข้าม ดอกช่อมักออกตรงปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 4 หรือ 6 กลีบ เชื่อมเป็นหลอด กลีบดอกจำนวนเท่ากับกลีบเลี้ยง กลีบแยกกัน ลักษณะเป็นแผ่นบางยับย่น โคนกลีบเล็กเรียวลงไปเป็นก้าน เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก … Read More