Month: March 2012

จะทำกระท้อนล่าฤดูอย่างไร

เนื่องจากราคาของกระท้อนล่าฤดูค่อนข้างสูงกว่ากระท้อนในฤดู  จึงทำให้ชาวสวนกระท้อนพยายามจะผลิตกระท้อนล่าฤดูออกมาจำหน่ายในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน หลังจากที่กระท้อนในฤดูหมดไปตั้งแต่เดือนมิถุนายน  ดังเช่นที่สวนคุณประภาส ซึ่งเน้นทำกระท้อนล่าฤดูนั้น  คุณประภาสได้ให้รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติไว้ดังนี้

–        กระท้อนที่สวนปลูกเพื่อทำล่าฤดูมีอยู่ 2 พันธุ์คือ พันธุ์ผอบทอง ซึ่งเป็นพันธุ์เบาเช่นเดียวกับพันธุ์ทับทิม แต่มีคุณสมบัติสามารถเก็บผลผลิตได้ก่อนพันธุ์ทับทิม  (ถ้าให้กระท้อนพันธุ์นี้ติดผลในฤดู) และกระท้อนอีกพันธุ์ที่ทำล่าฤดูคือพันธุ์ปุยฝ้าย เป็นกระท้อนผลใหญ่ น้ำหนักผลดี

–        การทำกระท้อนล่าฤดูจะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนหลังจากที่หมดฝนแล้ว(จ.ชลบุรี) กระท้อนตามปกติจะกระทบแล้งจนใบร่วงจากนั้นจะเริ่มแตกใบอ่อนและแทงช่อดอก  ถ้าปล่อยเอาไว้ก็จะเป็นกระท้อนเก็บในฤดู  การทำล่าฤดูต้องป้องกันไม่ให้กระท้อนออกดอกในช่วงนี้ วิธีการก็คือต้องให้น้ำต่อเนื่องพร้อมกับการให้ปุ๋ยสูตรตัวกลางสูงเช่น 12-24-12 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น  โดยน้ำก็ยังให้ต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งใบอ่อนชุดแรกเปลี่ยนเป็นใบแก่  การให้น้ำจะเริ่มลดน้อยลงโดยจะให้น้ำ 4-5 วันต่อครั้งใช้เวลานาน 20-25 นาที แต่ก็ยังคงให้น้ำเพราะอากาศช่วงนี้จะร้อนมาก  และเคยมีประสบการณ์ปล่อยให้กระท้อนอดน้ำนานถึง 7 วัน ปรากฎว่าต้นกระท้อนโทรมมากใบร่วง … Read More

การห่อผลทุเรียนป้องกันหนอนทำลายผล

การศึกษาการห่อผลทุเรียนด้วยวัสดุต่าง ๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนทำลายผลทุเรียน

แมลงศัตรูที่เข้าทำลายผลทุเรียนมีหลายชนิด เช่น หนอนเจาะผลทุเรียน (Conogethes punctiferalis (Guenee)), หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera (Hubner)) และหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน (Mudaria magniphaga (Walker)) หนอนแต่ละชนิดเหล่านี้เข้าทำลายผลทุเรียนในระยะต่าง ๆ ตั้งแต่ติดผลจนเก็บเกี่ยวผลผลิต บางชนิดสร้างความเสียหายเฉพาะผิวเปลือกบางชนิดเจาะเข้าไปทำลายในผล ทำให้ผลผลิตเสียหาย ราคาตกต่ำ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชพ่นป้องกันผลผลิตไว้ตลอดเวลาที่ทุเรียนติดผล  ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย  และแรงงานอีกทั้งการป้องกันยังไม่ให้ผลสมบูรณ์ด้วยนั่นคืออาจมีแมลงเข้าทำลายอีกด้วย  จึงได้มีผู้นำวิธีการห่อผลมาใช้ซึ่งเข้าใจว่าจะใช้ได้ผลเต็มที่ในการป้องกันผลทุเรียนจากการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ

การทดลองนี้เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของการห่อผลทุเรียนด้วยถุงซึ่งทำจากวัสดุต่าง ๆ ในการป้องกันการเข้าทำลายของหนอนว่าถุงชนิดใดมีผลดีต่อการป้องกันการเข้าทำลายผลทุเรียน  ทั้งนี้เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งแทนวิธีการใช้สารเคมี จากการศึกษาสรุปได้ว่า

1.  ถุงที่ใช้ห่อผลทุเรียนทุกชนิดคือ ถุงพลาสติก ถุงกระดาษ ถุงรีเมย์ และถุงตาข่ายไนล่อน สามารถลดความเสียหายจากการเข้าทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนได้… Read More

การออกดอกของมังคุด

การเปลี่ยนแปลงของยอดอ่อนกับอิทธิพลของสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อการออกดอกของมังคุด

การศึกษาปรากฎการณ์ในรอบปี (phonological cycle) เป็นสิ่งจำเป็น  เพื่อให้เข้าใจถึงการเจริญเติบโตของใบ การออกดอก และติดผลของมังคุด ทั้งนี้เพื่อนำมาปรับใช้กับการจัดการเพื่อให้ต้นมังคุดมีความอุดมสมบูรณ์ และออกดอกติดผลได้ดี  รวมทั้งการบังคับให้ต้นมังคุดออกดอกเพื่อให้ได้ผลผลิตนอกฤดูกาล  หรือขยายเวลาการผลิตออกไป  นอกจากนั้นยังต้องศึกษาปัจจัยทางสภาพแวดล้อมหรือภูมิอากาศที่ชักนำให้ต้นมังคุดที่สมบูรณ์เกิดการเปลี่ยนแปลงของปลายยอดจากระยะเติบโตทางลำต้นและใบไปเป็นระยะให้ดอกและผล  นอกจากนี้การศึกษาถึงสารเคมีที่ใช้บังคับให้มังคุดเกิดการชักนำให้เกิดตาดอกก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องศึกษาต่อไป

ในการศึกษาทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของปลายยอดของมังคุดโดยทดลองกับมังคุดที่มีอายุประมาณ 16-17 ปี ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1.  การพัฒนาของมังคุดในรอบปี  พบว่ามังคุดมีการแตกใบอ่อน 2 ชุด ชุดแรกเริ่มเดือนกรกฎาคมจนถึง 100℅ในกลางเดือนสิงหาคมและแตกใบอ่อนชุดที่ 2 เริ่มต้นเดือนกันยายนจนถึง 100℅ในกลางเดือนกันยายน

การชักนำให้เกิดตาดอกของมังคุดเริ่มต้นเดือนพฤศจิกายน  ยังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและรูปร่างของปลายยอด จากระยะการเจริญเติบโตของลำต้น และใบไปเป็นระยะออกดอกและผลในกลางเดือนพฤศจิกายน  จากนั้นตาดอกเริ่มโผล่เห็นเป็นดอกตูมสีม่วงแดงในต้นเดือนธันวาคมจนเห็นชัดทั่ว ๆ ไป เมื่อเกิดดอก 70℅ ในช่วงกลางจนถึงปลายเดือนธันวาคมและดอกมังคุดจะเริ่มบานจนถึง 100℅ … Read More

การปลูกและตัดช่อดอกปทุมมา

ผลของวิธีการปลูกและวิธีการตัดช่อดอกต่อการเจริญเติบโตของปทุมมา

ไม้ประดับเขตร้อนกำลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภคทั่วโลก  ปทุมมานับเป็นไม้ประดับพื้นเมืองของไทยที่สามารถทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายล้านบาท  ปริมาณการส่งออกได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  แต่ในปี 2537 มีการส่งออกลดลงเนื่องจากปัญหาการจัดการที่ไม่เหมาะสมของเกษตรกร  ทั้งที่ความต้องการของตลาดโลกมีสูงถึงปีละ 2 ล้านเหง้า แต่ปทุมมาเป็นพืชใหม่จึงขาดข้อมูลการจัดการแปลงที่เหมาะสมจึงเป็นปัญหาสำคัญในการผลิต  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่เหง้าถูกส่งออกจนเหลือไม่เพียงพอต่อการขยายพื้นที่ปลูกเพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลก  นอกจากนี้เกษตรกรส่วนหนึ่งเชื่อว่าการตัดช่ออ่อนทิ้งจะทำให้ได้เหง้าและรากสะสมอาหารที่สมบูรณ์และมีจำนวนมาก  งานทดลองนี้จึงได้ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตด้านวิธีการปลูกที่เหมาะสมในการขยายพื้นที่ปลูก  และความจำเป็นในการตัดช่อดอกอ่อนทิ้งเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มรายรับแก่เกษตรกร

ได้ทดลองปลูกปทุมมาโดยใช้เหง้าซึ่งมีรากสะสมอาหาร 3-6 รากด้วยวิธีวางเหง้าตั้ง  วางเหง้านอนและผ่าเหง้าตามยาว  แล้ววางซีกหนึ่งให้ตาหงายขึ้น  เมื่อออกดอกจึงตัดช่อดอกขณะที่เพิ่งพ้นยอดได้ 1-2 ซม.  หรือขณะที่มีดอกจริงบานแล้ว 3 ดอก  โดยตัดชิดยอด พบว่าการปลูกทั้ง 3 วิธีมีผลเหมือนกันต่อความสูงของต้น จำนวนเหง้าเกรดเอ และน้ำหนักเหง้า แต่การผ่าเหง้าปลูกทำให้การงอกเกิดช้าลงและมีอัตราการงอกน้อยลง  อาจเนื่องจากเหง้าปกติมีอาหารสะสมในเหง้าและในรากสะสมอาหารอยู่มากแต่เหง้าที่ถูกผ่าราว 1 เท่าตัว อีกทั้งการเกิดรอยแผลทำให้เหง้าปทุมมาสังเคราะห์เอธิลีนขึ้นเป็นผลให้การงอกถูกชะลอลงและมีผลทำให้อายุที่ดอกจริงเริ่มบานและอายุการตัดดอกยาวขึ้นด้วย  ความยาวก้านมากขึ้น  แต่มีจำนวน coma … Read More

การปลูกบัวดิน

บัวดิน (Zephyranthas sp.) เดิมทีบางคนเรียกบัวสวรรค์ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกบัวดินหรือบัวจีนมากกว่าเมื่อประมาณ 2 ปีก่อนมีไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายดอกบัวสีชมพู  มีลักษณะต้นและใบคล้ายพุทธรักษา  ในตลาดเรียกพืชชนิดนี้ว่าบัวสวรรค์แทนที่บัวดิน อย่างไรก็ตาม หากพูดถึงบัวดินทุกคนคงนึกถึงไม้หัวขนาดเล็ก มีใบติดดิน แล้วเวลาฝนตกก็จะชูช่อดอกออกมาให้ชื่นชม ลองมาดูในรายละเอียดดีกว่า

บัวดินนี้อยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae ซึ่งมีพืชชนิดอื่น ๆ ร่วมอยู่หลายอย่าง เช่น ว่านสี่ทิศ พลับพลึง หอม กระเทียม ฯลฯ จัดเป็นไม้หัวขนาดเล็กหัวจะมีลักษณะกลม ใบมีขนาดเล็ก แบนบางชนิดเป็นเส้นมีใบยาวประมาณ 15-30 ซม.  ดอกเป็นรูปกรวย มีกลีบ 6 กลีบ ชั้นเดียว ก้านช่อดอกยาวประมาณ 10-30 ซม. กลวงและตั้งตรง มีหลายสีหลายพันธุ์ … Read More

ปาล์มประดับขุดล้อม

ในการพัฒนาที่ดินเพื่อจัดทำเป็นสนามกอล์ฟ สวนสาธารรณะ แหล่งพักผ่อน ศูนย์การค้า หรือแม้แต่โครงการบ้านจัดสรร ผู้ประกอบการย่อมต้องการให้ต้นไม้ในพื้นที่นั้น ๆ มีความร่มรื่น เขียวขจี เป็นระเบียบเหมือนกับจะเนรมิตรให้ต้นไม้นั้นโตและสวยได้อย่างทันทีทันใด วิธีดังกล่าวทำได้อย่างเดียวเท่านั้น คือ การขุดล้อม (ball and burlap) ย้ายต้นไม้ขนาดใหญ่ตามต้องการเอาเข้ามาปลูก

ต้นไม้ใหญ่มาจากไหน

ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่วงการจัดสวนต้องการมากมักจะมีลักษณะเด่นที่ทุกคนยอมรับเช่น มีทรงต้นสวยงาม แตกกิ่งเป็นพุ่มเป็นชั้น มีกิ่งก้านสมดุล มีดอกสวย ดอกมีกลิ่นหอม เช่น พญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด ต้นทุ่งฟ้า ต้นปีบ ต้นกระพี้จั่นหรือบี้จั่น ต้นกะบุยหรือเที๊ยะ (Alstonia spathulata) ต้นศรีตรัง ต้นกุ่มบก ต้นลำดวน โมกมัน ราชพฤกษ์หรือคูน ประดู่แดง ทองกวาว สารภี … Read More