โรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย

โรคไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne)
ไส้เดือนฝอยรากปม เข้าทำลายพืชได้กว้างขวางไม่น้อยกว่า 2,000 species พบในเขตอบอุ่นเขตร้อน และการเพาะปลูกในเรือนกระจก เข้าทำลายปลายราก ทำให้พองเป็นปม พืชชงักการเจริญเติบโต สามารถทำความเสียหายได้ตั้งแต่ระยะกล้า ซึ่งถ้าเป็นพันธุ์พืชที่เป็นโรคง่าย พืชจะตาย ถ้าเป็นกับต้นแก่ พืชจะให้ผลผลิดตํ่า
เชื้อสาเหตุโรค : Meloidogyne sp.
ไส้เดือนฝอยเพศผู้และเพศเมียเมื่อโตเต็มวัย มีลักษณะต่างกันอย่างแน่ชัด เพศผู้มีลักษณะเรียวยาว ขนาดประมาณ 1.2-1.5 มม. X 30-36 µm ส่วนเพศเมียมีลักษณะคล้ายลูกแพร์ ขนาด 0.40-1.30 X 0.27-0.75 มม. เพศเมียวางไข่ครั้งหนึ่งได้ 500 ฟองปนมากับเมือกที่ไส้เดือนฝอยสร้างขึ้น กาฟักเป็นตัวและเจริญมีตามลำดับดังนี้

ระยะที่ 1 เกิดตัวอ่อนในไข่ มีการลอกคราบหนึ่งครั้ง แล้วออกจากไข่ลงดิน เคลื่อนที่ในดิน จนพบพืชอาศัย
ระยะที่ 2 ตัวอ่อนซึ่งมีลักษณะคล้ายพยาธินั้น และระยะนี้เป็นเพียงระยะเดียวของไส้เดือนที่จะเข้าทำลายพืช โดยตัวอ่อนจะเข้าสู่รากแล้วเจริญเพิ่มขนาดอยู่ภายในราก มีรูปร่างคล้ายไส้กรอก ไส้เดือนฝอย ยื่นหลอดดูดอาการและปล่อยนํ้าลายลงสู่เซลข้างเคียง นํ้าลายจะกระตุ้นให้เซลขยายใหญ่ขึ้น และย่อยส่วนประกอบบางส่วนของเซล แล้วไส้เดือนฝอยดูดกินต่อไป ระยะนี้ไส้เดือนฝอยจะลอกคราบเป็นครั้งที่ 2
ระยะที่ 3 ไส้เดือนฝอยลอกคราบเป็นครั้งที่ 3
ระยะที่ 4 ระยะนี้ตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยเริ่มมีความแตกต่างให้เห็นระหว่างเพศผู้และเมียเพศผู้มีลักษณะคล้ายพยาธิและขดงอ แล้วไส้เดือนฝอยจะลอกคราบเป็นครั้งที่ 4 ออกจากรากลงดินมีชีวิต อย่างอิสระ ส่วนเพศเมียจะเจริญเพิ่มขนาดความหนา อาจด้านยาวด้วย และลอกคราบเป็นครั้งสุดท้ายได้ตัวเต็มวัยมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ ต่อมาตัวพองเพิ่มขึ้น วางไข่โดยมีเมือกห่อหุ้มร่วมด้วย ไข่อาจผ่านหรือไม่ผ่านการผสมกับเพศผู้ก็ได้ ไข่อาจอยู่ในเนื้อเยื่อภายในรากหรือนอกราก ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ไส้เดือนฝอยอยู่ ไข่อาจฟักออกเป็นตัวทันที หรือฟักตัวอยู่จนกว่าจะพ้นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม แล้วจึงออกเป็นตัวเมื่อมีสภาพเหมาะสม ปกติชีพจักรของไส้เดือนฝอยใช้เวลาประมาณ 25 วันที่อุณหภูมิ 27°ซ.
ตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยระยะที่ 2 นั้น อาจเคลื่อนย้ายไปเซลข้างเคียง ทำลายราก หรือออกมาจากรากแล้วไปทำลายรากอื่นในพืชต้นเดียวกันได้ ปกติไส้เดือนฝอยมักอยู่รอบรากประมาณ 5-25 ซม. ใต้ ผิวดิน
พืชที่เป็นโรคเกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม มักได้รับความเสียหายจากราสาเหตุโรคบางชนิดได้ง่ายขึ้น เพราะเนื้อเยื่อที่รากจะอ่อนแอและเซลขยายใหญ่ง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อ เช่น Pythium, Fusarium และ Rhizoctonia เป็นต้น
การควบคุมโรค
1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค
2. การเพาะปลูกในเรือนกระจกควบคุมโรคโดยการฆ่าเชื้อในดินด้วยความร้อนจากไอนํ้า หรืออบดินด้วยสารเคมีที่ใช้กำจัดไส้เดือนฝอย เช่น methyl bromide
3. การอบฆ่าไส้เดือนฝอยในดินด้วยสารเคมีในไร่ ให้ใช้ DD, DBCP หรือ EDB
4. สารเคมีฆ่าไส้เดือนฝอยประเภทดูดซึม เช่น aldicarb, oxamyl และ phenamiphos ก็ใช้ได้ผลดี
โรคไส้เดือนฝอย cyst ( Heterodera )
โรคไส้เดือนฝอยพวก cyst ส่วนมากเกิดในประเทศเขตหนาว บาง species ทำลายพืชได้เพียง 2-3 ชนิดเท่านั้น พืชที่เป็นโรคจะมี cyst อยู่ที่ราก ทำให้ต้นแคระแกรน ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองก่อนอายุ และร่วงก่อนกำหนด ต้นออกดอกน้อยและเมล็ดเล็ก หากพืชปลูกในดินที่อุดมสมบูรณ์มากและมีความชื้นดี พืชอาจแสดงอาการ chlorosis เพียงเล็กน้อยเมื่อพืชมีอายุมากเท่านั้น

ภาพวงจรโรต cyst ของถั่วเหลืองเกิดจากไส้เดือนฝอย Heterodera glycines (ที่มา:Agrios, 1969)
เชื้อสาเหตุโรค :
Heterdera sp. เช่น H. glycincs สาเหตุโรคของถั่วเหลือง เป็นต้น
ไส้เดือนฝอยอยู่ข้ามฤดูเป็น cyst สีน้ำตาลในดิน Cyst เป็นไส้เดือนฝอยเพศเมียมีผิวย่นและไข่อยู่เต็ม การเจริญมีลำดับดังนี้
ระยะที่ 2 ไข่ใน cyst จะเจริญเป็นตัวอ่อน เมื่ออุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม จะออกจาก cyst เข้าทำลายรากของพืชอาศัยอยู่ในรากประมาณ 4-6 วัน ก็จะลอกคราบ เข้าสู่ระยะ 3
ระยะที่ 3 ตัวอ่อนจะมีขนาดใหญ่หรืออ้วนขึ้น เจริญอยู่ประมาณ 5-6 วันก็จะเข้าสู่ระยะ 4
ระยะที่ 4 ตัวอ่อนของเพศเมียจะเจริญเป็นรูปคณโฑ ขนาดประมาณ 0.40 X 0.12- 0.17 มม. ใน 12-15 วัน ซึ่งทำให้เพศผู้และเมียนี้มีความแตกต่างเห็นได้ชัด โดยเพศผู้มีลักษณะคล้ายพยาธิ ขนาดประมาณ 1.3 มม. X 30-40 µm และจะอยู่ในรากประมาณ 2-3 วัน เพื่อผสมกับเพศเมีย หรือไม่ได้ผสมก็ตาม แล้วจะเคลื่อนที่ลงดิน และตายในเวลาต่อมา
เพศเมียเมื่อเจริญเต็มที่ รูปร่างคล้ายผลมะนาว Clemon-shaped) ขนาดประมาณ 0.6-0.8 X 0.3-5.5 มม. มีสีขาวถึงเหลืองอ่อน แล้วเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลอ่อนในที่สุด ช่องว่างในลำตัวจะเกิดไข่เต็ม ขณะสร้างไข่จะทำให้เซล cortex ของพืชชํ้า ผิวรากแตก ทำให้โผล่ออกจากรากและมีเมือกปนเศษพืชกันสิ่งสกปรกต่างๆ โดยรอบ เพศเมียแต่ละตัววางไข่ได้ 300-600 ฟอง
การดูดกินอาหารของไส้เดือนฝอย (ตัวอ่อนระยะ 2) นี้เจริญในเซลของ cortex ส่งหลอดดูดอาหารไปถึง endodermis และ pericycle ทำให้เซลพืชเปลี่ยนรูปและตายได้ การเปลี่ยนรูปนั้นมีเซลขยายใหญ่เป็นกลุ่มโดยมีเซลเดี่ยวขนาดเล็กล้อมโดยรอบ ทำให้เรียกว่า syncytia
การควบคุมโรค
1. การกำจัดไส้เดือนฝอยที่ cyst และตัวอ่อนในไร่มักไม่ได้ผลสมบูรณ์ โดยไส้เดือนฝอยที่เหลือตกค้างอยู่สามารถเจริญและเพิ่มจำนวนได้เร็ว ทำให้ต้องใช้ยาใหม่อีก เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป จึงไม่
แนะนำวิธีนี้
2. การกักพืชไม่ให้ปรสิตแพร่เข้าไปในแหล่งปลูกที่ไม่มีไส้เดือนฝอยนี้อยู่ มีความสำคัญยิ่ง เช่น ไม่ให้ดิน ผลผลิตต่างๆ ติดเครื่องมือการเกษตรเข้ามา เป็นต้น
3. ปลูกพืชหมุนเวียนทุก 2-3 ปี โดยใช้พันธุ์ต้านทานปลูกร่วมด้วย
โรคไส้เดือนฝอยรากแผล (Pratylenchus)
ไส้เดือนฝอยรากแผลพบทั่วไป เข้าทำลายรากพืชได้ทุกประเภท เช่น พืชไร่ ธัญพืช พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ และไม้พุ่มต่างๆ พืชที่เสียหายจากรากเป็นแผลนี้ อาจทำให้พืชเจริญเติบโตน้อยลง และเป็นโอกาสให้เชื้อรา บักเตรีอื่นๆ เข้าทำลายซ้ำเติมได้ ทำให้รากเน่า ผลผลิตตํ่า และพืชตายได้


เชื้อสาเหตุโรค : Pratylenchus sp.
ไส้เดือนฝอยมีขนาดประมาณ 0.4-0.7 มม. X 20-25 µm มีลักษณะอ้วน เรียว หัวใหญ่แข็งหางใหญ่ปลายกลม ไส้เดือนฝอยเป็นปริสิตอยู่ภายในราก การเจริญและขยายพันธุ์ค่อนข้างช้า การครบชีพจักร ต้องใช้เวลา 45-65 วัน ไส้เดือนฝอยอยู่ข้ามฤดูในรากที่เป็นโรค หรือดิน ในลักษณะของไข่ หนอน และตัวเต็มวัยยกเว้นเพศเมียที่กำลังมีไข่ซึ่งไม่สามารถอยู่ข้ามฤดูหนาวได้ ตัวแก่และตัวอ่อนสามารถเข้าสู่รากและ ออกจากรากพืชอาศัยได้ เพศเมียวางไข่เดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มภายในราก ซึ่งอาจผ่านการผสมจากเพศผู้หรือไม่ก็ตาม ไข่จะฟักเป็นตัวแล้วถูกปล่อยลงดินเมื่อเนื้อเยื่อเปื่อย ตามลำดับดังนี้
ระยะที่ 1 มีการลอกคราบครั้งที่ 1 ในไข่
ระยะที่ 2 ตัวอ่อนที่ได้จะเคลื่อนลงดิน หรือเข้าสู่พืช แล้วเจริญเป็นตัวเต็มตัวโดยผ่านการลอกคาบอีก 3 ครั้ง การเข้าทำลายพืชสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระยะตัวอ่อน-ตัวเต็มวัย
พืชที่เป็นโรคแสดงอาการเหี่ยวในวันที่มีอากาศร้อนจัด แล้วใบเริ่มเหลืองเป็นสีนํ้าตาลอ่อนในที่สุด ระยะนี้ถอนพืชได้ง่ายเนื่องจากระบบรากทั้งหมดถูกทำลาย ไส้เดือนฝอยเจริญอยู่ในรากระหว่าง endodermis กับ epidermis แผลที่รากแผลหนึ่งๆ อาจเกิดจากไส้เดือนฝอยมากกว่าหนึ่งตัว บางครั้งอาจพบถึง 3 ตัว
การควบคุมโรค
1. ควบคุมโรคด้วยสารเคมีฆ่าไส้เดือนฝอยโดยฉีดลงดินเป็นแถวก่อนปลูกพืช เช่นใช้ DD, EDB เป็นต้น
2. พลิกดิน ตากแดดในฤดูร้อน จะช่วยลดปริมาณของไส้เดือนฝอยลงได้มาก
3. การปลูกพืชหมุนเวียนจะใช้ไม่ได้ผล เพราะไส้เดือนฝอยมีพืชอาศัยกว้างขวางมาก
โรคไส้เดือนฝอยทำลายลำต้นและหัว (Ditylenchus)
ไส้เดือนฝอยทำลายลำต้นและหัว มักพบทำความเสียหายมากแก่พืชที่เพาะปลูกในเขตหนาว เช่น กับต้นหอม ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์ สตรอเบอรี่ เป็นต้น เป็นสาเหตุทำให้พืชตายระยะต้นกล้า พืชแคระแกรน หัวถูกทำลาย บิดเบี้ยว ลำต้นบวมและบิด ใบร่วง ผลผลิตลดลง
อาการพืชที่ใบเลี้ยงมักเป็นรอยแตก ต้นกล้าจะตายภายใน 3 สัปดาห์หลังการเพาะปลูก และกล้าที่เหลือตายในเวลาต่อมา หากเพิ่งปลูกในดินที่มีไส้เดือนฝอย พืชจะแสดงอาการแคระแกรนใน 3 สัปดาห์ มีจุดเหลืองพองและการเป็นแผลเปิดบนใบ ใบม้วน
เชื้อสาเหตุโรค : Ditylenchus sp.
ไส้เดือนฝอยมีขนาด 1.0-1.3 มม. X 30 µm รูปร่างเรียว มีหางแหลมทั้งเพศผู้และเมีย เพศเมียวางไข่ได้ตัวละ 200-500 ฟอง การลอกคราบครั้งที่ 1 เกิดในไข่ ตัวอ่อนออกจากไข่ซึ่งเป็นระยะที่ 2 แล้วลอกคราบอีก 3 ครั้งจนถึงระยะที่ 4 โดยการลอกคราบครั้งสุดท้ายนี้ผ่านการเข้าสู่พืชแล้ว ทำให้ไส้เดือนฝอยมีลักษณะแตกต่างของเพศผู้และเพศเมียให้เห็น เพศเมียวางไข่หลังจากได้รับการผสมกับเพศผู้แล้ว ไส้เดือนฝอยนี้เป็นปริสิตภายในพืช การเจริญครบชีพจักรใช้เวลาประมาณ 19-25 วัน
ไส้เดือนฝอยที่ทำลายหัวของต้นหอม (D. dipsaci) ปกติจะมาสะสมอยู่ที่โคนของหัว มีสีขาวเทา
คล้ายสำลี และมีชีวิตอยู่ได้เป็นปี ไส้เดือนฝอยเข้าทำลายพืชได้ตั้งแต่เมล็ดเริ่มงอก หรือเป็นต้นกล้า โดยเข้าที่จุดใกล้หมวกราก แล้วไปเจริญอยู่ระหว่างเซล parenchyma ของ cortex โดยเซลที่ใกล้หัวจะสูญเสียส่วนประกอบไปเป็นอาหารของไส้เดือนฝอย ทำให้เซลที่อยู่รอบๆ ขยายใหญ่และมีการแบ่งเซลเพิ่มขึ้น เกิดการบวมพอง เปลี่ยนรูป ผิวต้นมักแตก เป็ดโอกาสให้เชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ เข้าทำลายได้
ไส้เดือนฝอยเคลื่อนที่จากใบลงสู่ส่วนล่างของพืชผ่านทางช่องว่างระหว่างเซลและคลานบนผิวพืช แล้วแทงผ่านกาบใบเข้าไปในหัว ทำให้เกิดช่องว่างเพราะการสลายตัวของ middle lamella และส่วนของเซลที่ไส้เดือนฝอยกินเป็นอาหาร หัวที่ถูกไส้เดือนฝอยทำลายนี้เกิดได้ทั้งในไร่ต่อเนื่องมาถึงเก็บรักษา

ภาพวงจรที่หัวและลำต้นเกิดจากไส้เดือนฝอย Ditylenchus dipsaci (ที่มา: Agrios, 1969)
การควบคุมโรค
1. ปลูกพืชหมุนเวียน ทุก 2-3 ปี ด้วยพันธุ์พืชที่ต้านทานต่อโรค เพื่อลดปริมาณของไส้เดือนฝอย
2. แช่เมล็ดที่สงสัยว่าเป็นโรคในนํ้าอุ่น 46 °ซ. เป็นเวลา 1 ชั่วโมงก่อนนำเมล็ดไปปลูก
3. เมล็ดของต้นหอมอาจใช้อบฆ่าด้วย methyl bromide ที่อุณหภูมิ 24°ซ. ในภาชนะที่มิดชิด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
4. หัวของไม้ดอกควรใช้แช่ในน้ำยาฟอร์มาลิน เข้มข้น 0.5% ที่ 43°ซ. เป็นเวลา 4 ชั่วโมง
5. การอบฆ่าไส้เดือนฝอยในไร่ก่อนปลูกพืชด้วย DD, Vidden D, Telone ในอัตรา 40 แกลลอนต่อเอเคอร์
6. โดยการใส่ Nemafos ในแถวพืชก่อนปลูก และใส่หลังปลูกในภายหลัง ด้วย dazomet, aldicarb หรือ thionazin เป็นต้น
โรคไส้เดือนฝอยทำลายใบ (Aphelenchoides)
ไส้เดือนฝอยทำลายใบเป็นปรสิตอยู่ภายนอก และปรสิตภายในที่ส่วนบนของพืช Species ที่สำคัญได้แก่ Aphelenchoides ritzemahosi ปรสิตของเบญจมาศ พบระบาดทำความเสียหายทั่วไปในยุโรป อเมริกา และทวีปเอเซีย
ไส้เดือยฝอยทำลายตา ส่วนเจริญของลำต้น ทำให้เจริญเป็นพุ่ม มีข้อปล้องสั้น โดยทำให้หน่อเจริญผิดปกติแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบที่เกิดจากตาที่เป็นโรคจะมีขนาดเล็ก และบิดเบี้ยว ลำต้นและก้านใบที่ไส้เดือนฝอยดูดกินอยู่ภายนอก จะมีแผลเป็นสีน้ำตาลให้เห็น ไส้เดือนฝอยสามารถคลานจากส่วนล่างไปทำลายในส่วนบนได้
เชื้อสาเหตุโรค : Aphelenchoides ritzemahosi
ไส้เดือนฝอยมีลักษณะยาว เรียว ขนาดประมาณ 1 มม. x 20 µm เพศเมียโตเต็มวัยจะวางไข่ในช่องว่างระหว่างเซลของใบ ไม่ฟักเป็นตัวแล้วเจริญเป็นตัวอ่อน และโตเต็มวัยในที่สุด ใช้เวลาให้ครบชีพจักรประมาณ 2 สัปดาห์ ไส้เดือนฝอยเหล่านี้จะไม่ใช้ชีวิตส่วนใดส่วนหนึ่งในดิน อยู่ข้ามฤดูในรูปของตัวเต็มวัยในใบที่ตายแล้ว หรือในตาที่เป็นโรค
ไส้เดือนฝอยไปทำลายพืชโดยการว่ายนํ้าที่เป็นคาบคลุมลำต้นในระหว่างฝนตก หรือเมื่ออากาศมีความชื้นสูง จนถึงใบพืช แล้วเข้าสู่พืชทางปากใบ ไปอยู่ในระหว่างเซล ทำให้เซลเป็นสีน้ำตาล และแตกออกเกิดช่องว่างใหญ่ใน mesophvll ผิวใบแตก หงิกงอ ใบร่วง

ภาพวงจรโรคใบหงิกของเบญจมาศเกิดจากไส้เดือนฝอย Aphelenchoides ritzemabosi (ที่มา:Agrios, 1969)
การควบคุมโรค
1. ทำความสะอาดแปลงปลูก เก็บใบเศษพืชเผาเป็นต้น
2. ใบ ลำต้น ควรแห้งพอสมควร เช่น มีการระบายอากาศที่ดี การให้นํ้าอย่าให้เปียกเกินความจำเป็น เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายและการแพร่กระจายของไส้เดือนฝอย
3. กิ่งตัด หรือเครื่องมือเพาะปลูก ควรผ่านการแช่น้ำอุ่นอุณหภูมิ 50 °ซ. เป็นเวลา 5 นาที หรือในอุณหภูมิ 44 °ซ. เป็นเวลา 30 นาที
4. ฉีดพ่นพืชด้วย parathion หรือ malathion
โรคไส้เดือนฝอยรากกุด (Tnchodorus)
ไส้เดือนฝอยรากกุดพบทำลายพืชในแหล่งปลูกทั่วไป ทำให้ข้าวโพด มะเขือเทศ กระหลํ่าปลี องุ่น ท้อ ฯลฯ เป็นโรค โดยไส้เดือนฝอยทำลายปลายราก พืชชงักการเจริญเติบโต มีรากน้อย
พืชแคระแกรน และแสดงอาการ chlorosis ทั้งต้น ผลผลิตและคุณภาพลดลง แต่พืชจะไม่ตาย
อาการที่รากมีการเจริญผิดปกติที่รากแขนง ปลายรากที่มีปรสิตอยู่จะไม่แสดงอาการ necrosis แม้ว่าจะมีสีดำกว่าปกติ ปลายรากจะมีกิจกรรมและการเจริญของรากชงัก แต่เซลอาจขยายใหญ่ขึ้นทำให้ปลายรากบวมหรือพองได้
เชื้อสาเหตุโรค : Tnchodorus christei
ไส้เดือนฝอยมีขนาดประมาณ 0.65 มม. X 40 µm เป็นปรสิตอยู่ภายนอกพืช โดยเกาะกินเซล epidermis ที่บริเวณและใกล้ปลายราก แต่ไม่เข้าไปในราก อาศัยในดินส่วนบนที่ลึกไม่เกิน 30 ซม. วางไข่ในดินแล้วฟักเป็นตัวและเจริญเติบโตเต็มวัย ชีพจักรของไส้เดือนฝอยจะครบสมบูรณ์ใน 20 วัน
ไส้เดือนฝอยนี้มีหลาย species ที่เป็นพาหะของวิสา โดยถ่ายทอดจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง
การควบคุมโรค
1. ใช้สารเคมีอบฆ่าดินในไร่ด้วย methyl bromide,chloropicrin, DD, EDB แต่จะควบคุมได้ผลประมาณ 6-8 สัปดาห์เท่านั้น ถ้าปลูกพืชอาศัยที่เป็นโรคง่าย เพราะไส้เดือนฝอยที่เหลือนั้นสามารถเพิ่มจำนวนได้เร็วมาก
2. การใช้สารเคมีฆ่าไส้เดือนฝอยที่ออกฤทธิ์ช้า เช่น D B C P จะป้องกันการเพิ่มจำนวนของไส้เดือนฝอยให้ช้าลงได้

ภาพวงจรโรครากกุดเกิดจากไส้เดือนฝอย Trichodorus christei (ที่มา:Agrios, 1969)

ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช