Month: July 2012

ไก่ฟ้าหิมาลายันโมนาล

ชื่อสามัญ Himalayan Monal

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophophorus impeyanus

เป็นไก่ฟ้าโมนาลชนิดเดียวที่มีขนหงอนบนหัวเหมือนกับขนหงอนของนกยูงอินเดีย และเป็นชนิดเดียวที่มีการเพาะเลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน มีถิ่นกำเนิดบริเวณเทือกเขาหิมาลัย และมีการกระจายถิ่นกว้างขวางมากจากอัฟกานิสถานตะวันออกไปจนถึงปากีสถาน อินเดียตอนเหนือ เนปาล และภูฐานจนถึงธิเบตตอนใต้ชอบอยู่ป่าโปร่งที่ระดับความสูง 8,000-15,000 ฟุตในฤดูร้อนจะอยู่สูงกว่าไก่ฟ้าทุกชนิด หากินโดยใช้ปากขุดคุ้ยหาอาหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกพืช เช่น ราก, หัว และหน่ออ่อน รวมทั้งเมล็ดพืชและแมลง และจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการขุดคุยหาอาหาร ไก่ฟ้าตระกูลนี้จะไม่ใช้ขาในการคุ้ยเขี่ยหาอาหารเลย ตัวเมียทำรังบนพื้นดินใต้พุ่มไม้ตามซอกหินหรือบริเวณตอไม้ วางไข่ 4-8 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 28 วัน ตัวผู้จะมีสีเต็มเมื่อมีอายุ 2 ปี ปีแรกจะดูเหมือนตัวเมีย สังเกตได้โดยจะมีจุดสีดำที่คอและด้านบนจะเริ่มมีสีเป็นมันวาวบ้างเล็กน้อย

เป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกในอินเดียโดย Lady Impey เป็นผู้เลี้ยงไว้ และเป็นไก่ฟ้าโมนาลชนิดเดียวที่มีการสั่งเข้าไปเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอและมีการเลี้ยงกันมาก

Read More

ไก่ฟ้าโคกลาส (2)

ชื่อสามัญ Koklass Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pucrasia macrolopha

เป็นไก่ฟ้าที่มีรูปร่างขนาดกลาง และสีขนของตัวผู้กับตัวเมียไม่ต่างกันมากนัก เป็นนกแห่งภูเขาเหมือนพวก Tragopan และ Blood Pheasant มันอาศัยอยูในป่าบนภูเขาที่สูงตั้งแต่ 4,000 ฟุต จนถึงระดับที่ไม่มีต้นไม้ขึ้น ประมาณ 15,000 ฟุต ขึ้นสูงหรือลงต่ำตามฤดูกาล ถูกพบในเทือกเขาหิมาลัย และมีการกระจายถิ่นที่กว้างขวางมาก จากอัฟกานิสถานและปากีสถาน ทางตะวันตกต่อเนื่องไปถึงอินเดียตอนเหนือจนถึงเนปาล และจากตะวันออกเฉียงเหนือของธิเบตไปทางตะวันออกจนถึงทางเหนือ และทางตะวันออกของจีน แต่ไม่ปรากฎว่ามีในเทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออกและทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน การกระจายถิ่นถึงแม้จะกว้างขวางแต่ไม่ต่อเนื่อง และปัจจุบันในป่าธรรมชาติยังมีจำนวนมากพอควร ถึงแม้ว่าจะมีการเพาะเลี้ยงไม่แพร่หลาย เหมือนไก่ฟ้าชนิดอื่น ๆ

มันชอบอาศัยอยู่ตามไหล่เขาที่สูงชันปกคลุมด้วยต้นไม้ ไม่ชอบหากินเป็นฝูงใหญ่ ปกติเป็นนกขี้อายและค่อนข้างสันโดษ เป็นพวก monogamous และจะอยู่เป็นคู่ตลอดปี ลูกของมันจะรวมอยู่กับพ่อแม่จนถึงปีต่อไปจึงจะแยกออกไปหากินต่างหากเป็นคู่

Read More

ไก่ฟ้าโคกลาส (l)

ชื่อสามัญ Koklass Pheasant ชื่อวิทยาศาสตร์ Pucrasia macrolopha ไก่ฟ้าโคกลาสซึ่งอยู่ในตระกูล Pucrasia มีเพียงชนิดเดียวคือ Macrolopha แต่เนื่องจากมีการกระจายถิ่นที่กว้างขวาง จึงแบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ถึง 10 ชนิดย่อย และนอกจาก Blood Pheasant แล้ว ไก่ฟ้าโคกลาสจัดว่าเป็นไก่ที่เพาะเลี้ยงได้ยากที่สุด ถึงแม้จะมีการสั่งเข้าไปเลี้ยงในยุโรปหลายครั้ง แต่มีผู้ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงน้อยมาก มันถูกส่งเข้าไปเลี้ยงที่ฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกในปี ค.ค.1864 เป็นชนิด Yellow-Necked Koklass จำนวน 2 คู่ โดยถูกส่งไปจากกรุงปักกิ่งพร้อมกับ Eared Pheasant ตัวแรก และไม่มีรายงานอะไรอีกจนถึงปี ค.ค.1872 ซึ่งเขาระบุว่ามันเป็นไก่ฟ้าที่อดทน ในการส่งมาจากจีน 3 ครั้ง มันไม่ตายเลยในระหว่างเดินทาง … Read More

ไก่ฟ้าคาบอททราโกแพน

ชื่อสามัญ  Cabot’s Tragopan

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tragopan caboti

เป็นไก่ฟ้าที่มีสีสดใสน้อยที่สุดในกลุ่มทราโกแพน และในธรรมชาติเป็นชนิดที่อยู่ทางด้านตะวันออกสุดของกลุ่มด้วย พบเฉพาะในป่าบนภูเขาทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจีนในจังหวัดฟูเกี๋ยน และกวางตุ้ง ชอบอยู่ท่ามกลางดงไม้ที่ระดับความสูง 3,000-5,000 ฟุต ซึ่งนับว่าต่ำที่สุดในจำพวกเดียวกัน มันเป็นนกที่อยู่กับต้นไม้มากกว่าไก่ฟ้าทุกชนิด และมักจะหากินอยู่ระหว่าง กิ่งไม้เป็นประจำ มีผู้เคยพบว่ามันวางไข่บนต้นไม้สูงบนรังเก่าของกระรอก

มันถูกกล่าวถึงตั้งแต่ปี ค.ศ.1857 แต่ไม่มีไก่ฟ้าที่มีชีวิตไปถึงยุโรปเลยจนถึงปี ค.ศ.1882 จึงมีการเลี้ยงกันและขยายพันธุ์ได้ จนมีการเลี้ยงกันทั่วไป ถึงแม้มันจะเลี้ยงง่ายแต่ก็อายุสั้นกว่าชนิดอื่น ๆ ก่อนปี ค.ค.1914 มันเป็นไก่ราคาถูกที่สุดในกลุ่มทราโกแพนในฝรั่งเศส และก็เหมือนชนิดอื่นที่พอหลังสงครามก็หายาก มีการนำเข้าจากจีนอีกในปี ค.ค.1920 และส่งไปที่อเมริกาเหนือด้วย ในปี ค.ศ.1960 ไก่ฟ้าจำนวนหนึ่งถูกส่งจากฮ่องกงไปในอังกฤษและมีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้ จนมีการกระจายไปที่อเมริกา เยอรมัน และ เบลเยี่ยม

Read More

ไก่ฟ้าเทมมิคทราโกแพน

ชื่อสามัญ Temminck.’s Tragopan

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tragopan temmincki

นับว่าเป็นไก่ฟ้าที่มีสีสวยที่สุดในตระกูลนี้ ในอดีตเคยเพาะเลี้ยงกันมากที่สุดและขยายพันธุ์ได้ดีมาก เลี้ยงได้อายุยืนดี ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงมากเป็นอันดับสองรองจากแซทไทร์ ในธรรมชาติมีการกระจายถิ่นกว้างขวางที่สุดในกลุ่มทราโกแพน พบทางด้านตะวันออกของภูเขาหิมาลัย จากด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอัสสัม และพม่าไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของธิเบต และไปทางตะวันออกจนถึงยูนนาน เสฉวน เซนสี และฮูเป๋ ไปทางใต้จนสุดด้านตะวันตกเฉียงเหนือของตังเกี๋ย ชอบอยูในป่าที่เย็นและชื้นที่ระดับความสูง 8,000-10,000 ฟุต เป็นนกที่อดทนและเลี้ยงง่ายกว่าชนิดอื่น อายุยืนและให้ไข่ดก นับเป็นร้อยๆ ปีมาแล้วที่ชาวจีนพยายามหาพวกมันมาเลี้ยงกัน โดยพวกเขาเชื่อกันว่ามันเป็นนกที่จะนำโชคลาภมาให้ผู้เป็นเจ้าของมันไม่เป็นอันตรายกับนกอื่น จึงเลี้ยงรวมกับไก่ฟ้าชนิดอื่น ๆ ได้ และต้องให้อาหารพวกผลไม้และผักสีเขียวจำนวนมากตลอดเวลา ชอบวางไข่ในตะกร้าหรือลังที่แขวนไว้สูงเหนือพื้นดิน โดยวางไข่ 7-8 ฟอง ใช้เวลาฟัก 28 วัน

ไก่ตัวผู้ชุดแรกถูกส่งจากมาเก๊าไปที่อังกฤษเมื่อปี ค.ศ.1864

Read More

ไก่ฟ้าบลิทห์ทราโกแพน

ชื่อสามัญ  Blyth’s Tragopan

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tragopan blythi blythi

เป็นพวกทราโกแพนอีกชนิดหนึ่งที่มีน้อยหาได้ยากทั้งในธรรมชาติและในการIพาะเลี้ยง จึงถูกจัดให้เป็นไก่ฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดบนภูเขาของอัสสัม และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพม่าทางตอนใต้ของเทือกเขาพรหมบุตร และนาจาไปทางตะวันออกถึงพม่าตอนเหนือ และไปทางตะวันออกเฉียงใต้จนถึงเขามณีปุระ และ Chin Hills ชอบอยู่ในป่าที่ทึบและ ชื้นกว่าพวกแซทไทร์ ที่ระดับความสูง 6,000-9,000 ฟุต ชอบอยู่ตามต้นไม้ มีนิสัยสันโดษและเป็นนกประจำถิ่น ขี้อาย และระมัดระวังตัวมาก พบเห็นตัวได้ยาก เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะส่งเสียงร้องและจะเริ่มรำแพนเรียกความสนใจจากตัวเมีย มันแข็งแรงและอดทนเหมือนแซทไทร์ แต่ไข่ไม่ดกเท่า ชอบไข่ในตะกร้าที่แขวนไว้สูง

ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน ค.ศ.1870 และตัวผู้ตัวหนึ่งถูกส่งจากอัสสัมไปเลี้ยงที่สวนสัตว์ กรุงลอนดอนในปีเดียวกัน แต่อยู่ได้ 6 เดือนก็ตาย W.Jamrach นำเข้าไปอีกในปี

Read More

ไก่ฟ้าแซทไทร์ทราโกแพน

ชื่อสามัญ  Satyr Tragopan

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tragopan satyra

เป็นไก่ฟ้าทราโกแพนที่มีมากและแพร่หลายที่สุดทั้งในการเพาะเลี้ยงและในป่าธรรมชาติ มีถิ่นกำเนิดในป่าไม้ บนเขาตอนกลางและด้านตะะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย พบจาก Humaon ในอินเดียไปทางตะวันออกจนถึงเนปาล สิกขิม ภูฐาน และในป่าทางด้านใต้ของธิเบต มันชอบอยู่ในป่าทึบที่ระดับความสูง 8,000-10,000 ฟุต และจะหากินลงต่ำในฤดูหนาวจนถึงระดับ ความสูง 4,000 ฟุต มันมีการกระจายถิ่นที่กว้างขวาง จึงยังคงมีอยู่มากในธรรมชาติ ถึงแม้จะถูกชาวพื้นเมืองล่าเป็นจำนวนมาก ปกติพวกทราโกแพนจะทำรังและวางไข่บนที่สูง แต่ไก่ฟ้าแซทไทร์กลับชอบวางไข่บนพื้นดินโดยจะทำรังอยู่ใต้พุ่มไม้ วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 28 วัน ลูกไก่แข็งแรงและพัฒนาได้เร็วมาก สามารถบินขึ้นไปเกาะกิ่งไม้ได้เมื่อมีอายุเพียง 2-3 วันเท่านั้น ตัวผู้จะมีสีสดใสเต็มที่เมื่ออายุ 2 ปี… Read More

ไก่ฟ้าเวสเทอร์นทราโกแพน

ชื่อสามัญ  Western Tragopan

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tragopan melanocephalus

ไก่ฟ้าในตระกูล Tragopan มีทั้งหมด 5 ชนิด และไก่ฟ้าเวสเทอร์นทราโกแพนเป็นชนิดที่หาได้ยากที่สุดในตระกูลนี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าลึกบนเทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันตก และนับว่าอยู่ตะวันตกสุดในจำนวนทั้งหมด มีผู้รายงานว่ามันอยู่ใน Swat Kohistan และ Azad Kashmir และในสมัยก่อนมันเคยมีอยู่มากที่ Hazara และกระจายไปทางตะวันออกตลอด แคชเมียร์ จนถึง Garhwal ในอินเดีย มันอยูในป่าที่ค่อนข้างแห้งกว่าชนิดอื่นๆ ที่ระดับความสูง 8,000-10,000 ฟุต เมื่ถึงฤดูหนาวจะหากินลงตํ่าจนถึงระดับ 4,000 ฟุต หากินเป็นครอบครัวเล็ก ๆ หรือหากินเพียงตัวเดียวในช่วงก่อนฤดูผสมพันธุ์ และเนื่องจากการหากินลงที่ต่ำในฤดูหนาว มันจึงถูกชาวเขาพื้นเมืองล่าเป็นจำนวนมาก และเนื่องจากมีการกระจายถิ่นจำกัด … Read More

ไก่ฟ้าบลัด (2)

ชื่อสามัญ  Blood Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์  Ithaginis cruentus

เข้าใจกันว่ามันเป็นพวก Monogamous คือจับคู่เพียงคู่เดียว ในฤดูผสมพันธุ์จะแยกจากฝูงออกไปเป็นคู่ ๆ ทำรังเป็นแอ่งใกล้ๆ กับก้อนหิน ตอไม้หรือใต้พุ่มไม้ วางไข่ 5-12 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 27-29 วัน ตัวผู้สีจะเต็มแค่ปีแรก ทั้งคู่รวมทั้งลูก ๆ ของมันจะอยู่ร่วมกันตลอดฤดูหนาว ไก่ฟ้าชนิดนี้ตัวผู้มีเดือย 1 ถึง 3 อัน และบางทีสองข้างก็ไม่เท่ากันด้วย ในอดีตมีไก่ฟ้าชนิดหิมาลายันและยีโอฟรอยด์ จำนวนไม่มากนัก ถูกส่งไปในยุโรป แต่พวกมันไม่เคยมีชีวิตอยู่ได้นาน มีไก่ตัวผู้ชนิดยีโอฟรอยด์ ตัวหนึ่งเลี้ยงที่สวนสัตว์กรุงลอนดอนได้นานถึง 14 เดือน นับว่านานที่สุดของการเลี้ยงไก่ฟ้าชนิดนี้ในยุโรปในสมัยนั้นเลยทีเดียว ปัจจุบันการขนส่งทางเครื่องบินทำให้ไก่ที่มีชีวิตถูกส่งไปยุโรปและอเมริกาได้ในสภาพที่สมบูรณ์ขึ้น … Read More

ไก่ฟ้า:ไก่ฟ้าบลัด(1)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไก่ฟ้า

สัตว์ปีกที่เรียกกันว่าไก่ฟ้านั้น ประกอบด้วยไก่ฟ้าชนิดต่าง ๆ ไก่ป่า นกยูง นกหว้า และนกแว่น รวมทั้งหมด 16 ตระกูล 48 ชนิด ไก่ฟ้าทั้งหมดมีถิ่นกำเนิดอยูในทวีปเอเชียทั้งสิ้น ยกเว้นเพียงชนิดเดียว คือ นกยูงคองโกเท่านั้นที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ไก่ฟ้าเหล่านี้ในธรรมชาติอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับความสูงต่าง ๆ กัน ตั้งแต่ระดับสูงสุด มีหิมะปกคลุมบนเทือกเขาหิมาลัย เช่น ไก่ฟ้า บลัด ทราโกแพน, โคกลาส และ โมนาล จนถึงระดับนั้าทะเล เช่น พวกไก่ป่า นกแว่น ไก่ฟ้าบอร์เนียว และไก่ฟ้าไร้หงอน เป็นต้น ถึงแม้จะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย แต่ไก่ฟ้าเหล่านี้กลับมีชื่อออกไปทางฝรั่ง ทั้งนี้เป็นเพราะการตั้งชื่อไก่ฟ้านั้น ส่วนใหญ่ดังตามชื่อผู้คนพบ … Read More