Month: July 2012

ไก่ฟ้าหลังดำ

ชื่อสามัญ Silver Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophura nycthemera

เป็นชนิดย่อยของไก่ฟ้าหลังเงินชนิดที่มีขนส่วนใหญ่เป็นสีดำขอบขาว มีถึง 5 ชนิดย่อย

1. Lewis’s Silver Pheasant (L.n.lewisi) พบในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ในป่าเขาสอยดาว เขาสระบาป บนเทือกเขาจันทบุรีและเขาบรรทัดซึ่งกั้นพรมแดนไทย-เขมร และมีการกระจายถิ่นในเขมรด้วย ชอบอยู่ในป่าดงดิบที่สูง 1,500-2,500 ฟุต หากินเป็นฝูง 7-8 ตัว Dr.Jean .Delacour นำไปเลี้ยงที่ฝรั่งเศสเมื่อปี 1928 ปัจจุบันในยุโรปไม่มีการเพาะเลี้ยงอยู่เลย

2. Annamese Silver Pheasant (L.n.annamensis) พบในป่าดงดิบและป่าสนเขา บนที่ราบสูงลังเบียนในเวียดนามตั้งแต่ระดับ 4,000 ฟุตขึ้นไป ไม่ปรากฎว่ามีการเพาะเลี้ยง… Read More

ไก่ฟ้าหลังเงิน

ชื่อสามัญ  Silver Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophura nycthemera

เป็นไก่ฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก แบ่งออกเป็น 14 ชนิดย่อย ตามลักษณะและถิ่นกำเนิด ซึ่งพบในประเทศเวียดนาม ลาว พม่า จีน ไทย และเขมร ตามป่าที่ระดับความสูง 2,500-7,000 ฟุต ที่มีการเพาะเลี้ยงกันมากในประเทศไทย มีอยู่ 3 ชนิด คือ

1. ไก่ฟ้าหลังเงินทั่วไป (True Silver Pheasant) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า L.n. nycthemera พบมากทางภาคใต้ของประเทศจีน กวางตุ้ง ด้านตะวันออกของอ่าวตังเกี๋ย และด้านตะวันตกของแม่น้ำแดง

2. ไก่ฟ้าหลังเงินโจนส์ (Jone’s … Read More

ไก่ฟ้าพญาลอ

ชื่อสามัญ Siamese Fireback Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophura diardi

เป็นไก่ฟ้าชนิดเดียวของไทยที่ทั่วโลก เรียกว่า ไชมีส ไฟร์แบ๊ค ทั้งนี้เพราะถูกนำเข้าไปในยุโรปครั้งแรกโดย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ส่งไปให้พิพิธภัณฑ์แห่งกรุงปารีส เมื่อปี ค.ศ.1862 จำนวน 1 คู่ และได้ถูกตั้งชื่อตั้งแต่ตอนนั้น และไก่ฟ้าคู่นี้ได้ออกไข่ออกลูกในเวลาต่อมา ในปี ค.ศ.1866 เนื่องจากเป็นไก่ฟ้าที่สวยงาม มีความอดทนเลี้ยงให้ รอดได้ง่าย จึงมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของโลก แต่รูปร่างทรวดทรงได้เปลี่ยนไป คือ ตัวจะอ้วนป้อมและต่ำเตี้ยลง อันเป็นลักษณะของสัตว์ป่าที่ถูกนำมากักขังเลี้ยงดู เป็นไก่ฟ้าที่เลี้ยงให้เชื่องได้ง่ายกว่าชนิดอื่นๆ ผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3 ปี ทั้งที่ตัวผู้เริ่มมีสีสวยงามตั้งแต่ปีแรก

ไก่ฟ้าพญาลอมีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของอัสสัม เวียดนามตอนกลาง

Read More

ไก่ฟ้าสวินโฮว์

ชื่อสามัญ Swinhoe’s Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophura swinhoei

เป็นไก่ฟ้าที่มีถิ่นกำเนิดในเกาะฟอร์โมซาหรือเกาะไต้หวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้น อาศัยอยู่ตามป่าบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับนํ้าทะเลจนถึงระดับ 7,000 ฟุต และมีรายงานน้อยมากเกี่ยวกับนิสัยความเป็นอยู่ของมันในธรรมชาติ ถูกค้นพบ โดย Swinhoe นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษในปี ค.ศ. 1862 ในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งกงสุลอังกฤษประจำเกาะไต้หวัน

ไก่ฟ้าสวินโฮว์คู่แรกถูกส่งออกจากเกาะไต้หวันเมื่อปี ค.ศ.1866 และ Baron James de Rothschild ซื้อไก่ฟ้าคู่นี้ ในยุโรปด้วยราคาสูงถึง 250 ปอนด์ และจากการเพาะเลี้ยงต่อมา ปรากฏว่ามันเป็นไก่ฟ้าที่ขยายพันธุ์ได้ดีมาก เพียงสี่ปีต่อมาคือใน ค.ศ.1870 ราคาซื้อขายไก่ฟ้าชนิดนี้ก็เหลือเพียงคู่ละประมาณ 10 ปอนด์เท่านั้น และต่อมาก็มีการเพาะเลี้ยงกันแพร่หลายทั่วไป

ไก่ฟ้าสวินโฮว์ เป็นไก่ฟ้าชนิดหนึ่งที่เลี้ยงง่าย อดทน

Read More

ไก่ป่าเขียว

ชื่อสามัญ Green Junglefowl

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus varius

เป็นไก่ป่าชนิดเดียวที่หงอนไม่มีจักร และมีเหนียงใต้คางเพียงแผ่นเดียวต่างจากไก่ป่าชนิดอื่น ๆ และเนื่องจากหงอนและเหนียงมีหลายสี จึงมีบางคนเรียกว่า ไก่ป่าเจ็ดสี มีถิ่นกำเนิดอยูในเกาะชวา และบริเวณเกาะใกล้เคียงเท่านั้น ชอบอาศัยอยู่บริเวณป่าตํ่าใกล้ชายฝังทะเล ชอบป่าที่แห้งโดยเฉพาะที่มีโขดหินและมีต้นไม้ขึ้นแซมไม่ไกลจากทุ่งนาและสวนของชาวพื้นเมือง มีพบบ้างแต่เป็นจำนวนน้อยที่อยู่ในป่าลึกจากชายฝั่งมาก ๆ และจะพบทางตะวันตกของเกาะชวามากกว่าทางด้านตะวันออก ซึ่งทางด้านนี้จะพบไก่ป่าแดงชนิดย่อย G.g. bankiva อยู่มากกว่า ปกติจะหลบอยู่ตามพุ่มไม้และป่าไผ่ จะออกมาหากินเฉพาะตอนเช้าตรู่และตอนพลบคํ่าเท่านั้น เนื่องจากไม่ค่อยโดนล่าจากชาวพื้นเมือง ไก่ป่าชนิดนี้จึงไม่ตื่นคนมากนัก เป็นไก่ป่าที่ไม่คุมฝูงเหมือนไก่ป่าแดง ปกติจะหากินตัวเดียวหรือเป็นคู่หรือเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน วางไข่ครั้งละ 6-10 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 21 วัน แต่ในการนำมาเพาะเลี้ยง จะออกไข่ประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม และจะให้ไข่ดกกว่าไก่ป่าชนิดอื่น … Read More

ไก่ป่าเทา

ชื่อสามัญ Sonnerat’s Junglefowl

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus sonnerati

เป็นไก่ป่าที่มีหงอนบางและมีส่วนสร้อยคอแปลกกว่าชนิดอื่น มีถิ่นกำเนิดทางตะวันตกและทางใต้ของประเทศอินเดียเรื่อยไปจนถึงภูเขาอาบูทางต้านตะวันออกเฉียงเหนือ และไปทางตะวันออกจนถึงแม่นํ้าโคธาวารี ตลอดจนในอินเดียตอนกลาง แต่ที่พบมากคือทางตะวันตก ไก่ป่าที่พบทางด้านเหนือจะมีสีจางกว่าที่พบทางด้านใต้ ซึ่งจะมีสีเข้มสดใสกว่า อาศัยอยูในป่าและตามดงไผ่ตามเชิงเขาจนถึงระดับความสูง 5,000 ฟุต มีนิสัยเหมือนไก่ป่าทั่ว ๆ ไป แต่ไม่ชอบอยู่เป็นฝูงเหมือนไก่ป่าแดง จะหากินเพียงตัวเดียวหรือเป็นคู่หรือเป็นครอบครัวเล็ก ๆ จะพบเป็นฝูงจำนวนมากตอนพวกมันมากินลูกไม้ที่สุกพร้อมๆ กัน แต่ก็จะเป็นช่วงสั้น ๆ เท่านั้น ฤดูผสมพันธุ์ไม่แน่นอนแล้วแต่ถิ่นที่อยู่ เคยพบว่าพวกที่อยู่ทางเหนือจะวางไข่ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน แต่ในการนำมาเพาะเลี้ยงจะวางไข่ประมาณเดือนเมษายน-กรกฎาคม วางไข่ครั้งละ 4-8 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 20-21 วัน ตัวผู้จะมีสีเต็มตั้งแต่ปีแรก แต่ขนจะสั้นและไม่สดใสเท่าปีต่อไป และจะยังผสมพันธุ์ไม่ได้ จนกว่าจะถึงปีที่สอง … Read More

ไก่ป่าศรีลังกา

ชื่อสามัญ La Fayette’s Junglefowl

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus lafayettei

มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น Ceylon Junglefowl และ Cingalese Junglefowl เป็นไก่ป่าที่หงอนมีจักรเล็กกว่าชนิดอื่น และมีจุดเด่นตรงที่มีแถบสีเหลืองตรงกลางหงอน ลักษณะทั่ว ๆ ไปเหมือนไก่ป่าแดง แต่อกจะมีสีแดงในขณะที่ไก่ป่าแดง อกมีสีดำ มีกิ่นกำเนิดในประเทศศรีลังกา อยูในป่าตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงยอดเขาสูงระดับ 6,000 ฟุด นิสัยโดยทั่วไปเหมือนไก่ป่า แดง นอกจากมันชอบอยู่ในป่ามากกว่า ไม่ชอบมาหากินใกล้บ้านคนหรือไร่นา และไม่ชอบอยู่เป็นฝูงใหญ่ อาศัยอยู่ในภูมิประเทศทุกชนิด ทั้งป่าชื้นบนภูเขาและป่าแห้งที่มีพุ่มไม้เตี้ย ๆ ตามชายฝั่ง วางไข่เกือบตลอดปี โดยวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟัก 20- … Read More

ไก่ป่าแดง

ชื่อสามัญ Red Junglefowl

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus gallus

แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ 5 ชนิด และมีอยู่ 2 ชนิด ที่มีในประเทศไทย คือ

1. ไก่ป่าตุ้มหูขาวหรือไก่ป่าอิสาน (Cochin-chinese red junglefdwl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า G.g. gallus มีตุ้มหูสีขาว โคนหางมีปุยขนสีขาว พบทั่ว ๆ ไปทางจังหวัดภาคอีสานและภาคตะวันออก ตั้งแต่ระยองเลียบชายแดนเขมรไปจนถึงอุบลราชธานี

2. ไก่ป่าตุ้มหูแดงหรือไก่ป่าแดงพันธุ์พม่า (Burmese red junglefowl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า G.g. spadiceus ลักษณะเหมือนชนิดแรก แต่มีตุ้มหูสีแดง ในประเทศไทยมีทางภาคใต้ ภาคดะวันตกเรื่อยไปจนถึงภาคเหนือ … Read More

ไก่ฟ้าไชนีสโมนาล

ชื่อสามัญ Chinese Monal

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophophorus Ihuysi

เป็นไก่ฟ้าโมนาลที่ตัวใหญ่กว่า หางยางกว่า จึงดูสวยกว่าไก่ฟ้าโมนาลอีกสองชนิด และอาจถือได้ว่ามันมีสีขนที่สวยที่สุดในจำนวนไก่ฟ้าทั้งหมด แต่เนื่องจากมันมีรูปร่างเตี้ยสั้น ทำให้ไม่สวยสง่าเท่าที่ควร และทำให้ตัดสินยากว่ามันเป็นไก่ฟ้าที่สวยที่สุดหรือไม่ มีถิ่นกำเนิดในจีนตอนกลาง บริเวณภูเขาทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของ Kokonor และเสฉวนตะวันตก อาศัยอยูในป่าที่มีระดับความสูง 10,000-16,000 ฟุต มักพบในเวลากลางวันเป็นฝูงเล็ก ๆในป่าที่มีหินและทุ่งหญ้า ตอนกลางคืนจะหลบอยู่ตามพุ่มไม้ทึบ และมักจะได้ยินเสียงร้องของมันในตอนเช้าตรู่ อาหารประกอบด้วยราก หัว และหน่ออ่อนของพืชเป็นส่วนใหญ่

นับเป็นร้อย ๆ ปีมาแล้วที่พวกมันถูกมนุษย์ล่าเพื่อเอาทั้งเนื้อและขนอันสวยงามของมัน และเนื่องจากมีการกระจายถิ่นจำกัด มันจึงมีเหลือในธรรมชาติน้อยมาก และถูกจัดให้เป็นไก่ฟ้าหนึ่งในสิบหกชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ มันถูกค้นพบครั้งแรกโดยกงสุลฝรั่งเศส M.Dabry ในปี ค.ศ.1886โดยได้ซากมาจากภูเขาทางเสฉวนตะวันตก มีไก่ที่มีชีวิตน้อยมากที่ส่งไปในอเมริกา และยุโรปมากกว่า 60

Read More

ไก่ฟ้าสแคลทเตอร์โมนาล

ชื่อสามัญ  Sclater’s Monal

ชื่อวิทยาศาสตร์  Lophophorus sclateri

ไก่ฟ้าโมนาลมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด เป็นไก่ฟ้าที่มีรูปร่างป้อมสั้น แต่มีขนหลายสีเป็นมันวาวสวยงามมาก จะมีที่เทียมได้ก็เฉพาะนกปักษาสวรรค์ ซันเบิร์ด และฮัมมิ่งเบอร์ดเท่านั้น มันมีขาสั้นแต่แข็งแรง มีเดือยใหญ่ ปากยาว และปากบนยาว กว่าปากล่าง และงุ้มเพื่อใช้ในการขุดคุ้ยหาอาหารตามพื้นดิน มันเป็นนกแห่งขุนเขาที่อยู่สูง มันจึงไม่กลัวหิมะและเกร็ดนํ้าแข็ง ฤดูหนาวจะอยู่กันกระพักระจาย ตัวผู้และตัวเมียจะแยกกลุ่มกันหากิน มันเป็นพวก Polygamous และผสมข้ามพันธุ์กับไก่ฟ้าชนิดอื่นได้ง่าย เช่น พวกไก่ฟ้าหู, เชียร์, หลังเงิน, หลังเทา, เลดี้ แฮมเฮิร์ส และพวกไก่บ้าน แต่ลูกผสมจะเป็นหมันหมด

ไก่ฟ้าสแคลทเตอรโมนาล มีถิ่นกำเนิดในอัสสัมตอนบน และตะวันออกเฉียงใต้ของธิเบต ไปทางตะวันออกจนถึงด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าและยูนนาน

Read More