Month: July 2012

ไก่ฟ้าหางลายขวาง

ชื่อสามัญ  Bar-Tailed Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์  Syrmaticus humiae

ในป่าธรรมชาติมีอยู่น้อยมาก ถูกจัดอยูในประเภทใกล้จะสูญพันธุ์มี 2 ชนิดย่อย คือ

1. Hume’s Bar-Tailed Pheasant มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า S.h. humiae พบตามบริเวณภูเขาที่มีระดับความสูง 4,000-10,000 ฟุต ชอบอยู่ตามป่าโปร่งและตามเชิงลาดที่เป็นหินมีวัชพืชขึ้นแซม บริเวณเทือกเขานาคาทางภาคตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศอินเดีย บริเวณภูเขามณีปุระและทางตอนใต้ของภูเขาวิคตอเรีย ทางตะวันตกของแม่น้ำอิระวดีและทางเหนือของประเทศพม่า ถูกนำเข้าไปในประเทศอังกฤษครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1961 เนื่องจากความสวยงาม อดทนและเลี้ยงง่าย ทำให้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วไป

2. Burmese Bar-Tailed Pheasant มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า S.h. burmamicus มีลักษณะทั่ว ๆไปเหมือน … Read More

ไก่ฟ้ารีฟ

ชื่อสามัญ  Reeves’s Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์  Syrmaticus reevesi

มีถิ่นกำเนิดในป่าบนภูเขาตอนกลางของประเทศจีน ทางเหนือของแม่น้ำแยงซีเกียง ที่ระดับความสูง 1,000-6,000 ฟุต พบเป็นฝูงหรือครอบครัวเล็ก ๆ ซึ่งในฤดูใบไม้ผลิจะแยกออกไปเป็นคู่หรือ 3 ตัว เป็นนกที่บินได้เร็วมาก ในธรรมชาติ จะทำรังอย่างหยาบ ๆ บนพื้นดินตามพงหญ้าสูง ๆ หรือใต้พุ่มไม้วางไข่ครั้งละ 7-14 ฟอง ใช้เวลาฟัก 24-25 วัน

มันเป็นไก่ฟ้าที่อดทน เลี้ยงง่าย ตัวผู้จะมีหางที่ยาวเต็มที่ถึง 5 ฟุต จึงต้องใช้กรงที่กว้างเป็นพิเศษ มันมีข้อเสียตรงที่เป็นไก่ที่ก้าวร้าว ดุร้ายรุนแรงกว่าไก่ชนิดอื่น บางครั้งจะตีคนเลี้ยงและโดยเฉพาะมักจะตีคู่ของมันจนตาย จึงต้องใช้ตัวเมีย 2-3 ตัวต่อตัวผู้หนึ่งตัว … Read More

ไก่ฟ้ามิกาโด

ชื่อสามัญ  Mikado Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์  Syrmaticus mikado

มีถิ่นกำเนิดเพียงแห่งเดียว บนภูเขาบริเวณตอนกลางของเกาะไต้หวัน ที่ระดับความสูง 6,000-10,000 ฟุต ชอบอยู่ตามป่าทึบที่มีต้นโอ๊ก ต้นไซเปรส และสนปะปนด้วยไม้เล็ก ๆ ที่ขึ้นหนาแน่น จะออกมาหาอาหารในที่โล่งเฉพาะดอนเช้าตรู่และพลบค่ำ มักจะหากินเป็นคู่หรือ 3 ตัว เป็นไก่ฟ้าที่พบเห็นได้ยาก ปัจจุบันมีน้อยมาก ถูกจัดเป็นพวกที่ใกล้จะสูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่ง

ไก่ฟ้าชนิดนี้ถึงแม้จะมีสีเข้มดำ แต่ก็สวยงามและเลี้ยงง่าย เป็นไก่ที่อดทน ไม่ขี้ตื่น ตัวผู้อายุเพียง 5 เดือนก็จะมีสีขนสวยเหมือนตัวโตเต็มวัย ตัวเมียอาจวางไข่ได้แค่ปีแรกถ้าเลี้ยงให้สมบูรณ์พอ แต่อายุ 2 ปี จึงจะให้ผลแน่นอนกว่า ในการเลี้ยงที่ประสบความสำเร็จ เขาใช้ตัวผู้หนึ่งตัวต่อตัวเมีย 2-3 ตัว ไข่ของมันมีขนาดใหญ่กว่าไข่ของไก่ฟ้าในตระกูลเดียวกันเกือบเท่าตัว … Read More

ไก่ฟ้าคอบเป้อร์

ชื่อสามัญ  Copper Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Syrmaticus soemmerringi

ชาวญี่ปุ่นเรียกมันว่า Yamadori ซึ่งแปลว่านกแห่งขุนเขา อาศัยอยู่ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนถึงระดับ 3,000 ฟุต พวกที่อยู่บนภูเขาสูงเมื่อถึงฤดูหนาวจะลงมาที่ตํ่า ปกติเป็นนกประจำถิ่น ชอบทำรังตามพงหญ้า หรือตามโคนต้นไม้ใกล้ถนนหรือแหล่งเพาะปลูก วางไข่ตอนปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนกรกฎาคม ในรังจะมีไข่ 6-13 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 24-25 วัน ในฤดูผสมพันธุ์พวกมันจะต่อสู้กันอย่างรุนแรง มันเป็นไก่ฟ้าที่มีนิสัยดุร้าย ชอบตีตัวเมียและไก่อื่นจนตาย

ถูกนำเข้าไปในยุโรปครั้งแรกเมื่อปี ค.ส.1864 แต่เมื่อถึงปี ค.ศ.1914ไม่มีเหลืออยู่เลย ต้องสั่งไก่จากญี่ปุ่นอีกในปี ค.ศ.1925 และเลี้ยงได้มากพอควร แบ่งออกเป็น 5 ชนิดย่อย พวกที่อยู่ทางใต้อากาศอบอุ่นกว่าและแผ่นดินอุดมสมบูรณ์กว่า จะมีสีสวยกว่าพวกที่อยู่ทางเหนือ ชนิดที่รู้จักกันแพร่หลาย มีการส่งออกและเลี้ยงกันมากที่สุดคือ

Read More

ไก่ฟ้าอีเลียต

ชื่อสามัญ  Elliot’s Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์  Syrmaticus ellioti

จัดว่าเป็นไก่ฟ้าที่มีสีสวยมากตัวหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดตามป่าทึบบนภูเขาทางภาคตะวันออกของประเทศจีน เป็นไก่ฟ้าที่พบเห็นได้ยาก มักจะพบเป็นคู่หรือครอบครัวเล็ก ๆ แล้วแต่ฤดูกาล เป็นไก่ที่มีสัญชาตญาณป่าสูง กลัวคน ในถิ่นที่อยู่ของมันถูกชาวจีนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงตัดไม้ทำลายป่าไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ไก่ฟ้าพวกนี้ต้องไปอาศัยอยู่ตามป่าไผ่และป่าละเมาะ การถูกดักและล่า ทำให้จำนวนของมันลดลงมาก ปัจจุบันมักถูกขึ้นทะเบียนเป็นไก่ฟ้าชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์

ไก่ฟ้าชนิดนี้ตัวแรกถูกส่งไปในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1874 และต่อมาในปี ค.ศ.1879 ก็ได้มีการสั่งเข้าไปอีก 1 คู่ และสามารถขยายพันธุ์ได้ในปีถัดไป ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกในการเพาะเลี้ยง และหลังจากนั้นก็มีผู้สั่งไก่จากประเทศจีนเข้าไปอีกในปี ค.ศ.1882 และมีการสั่งเข้าเรื่อย ๆ แต่ปัจจุบันหาได้ค่อนข้างยากมากในยุโรป ทั้งนี้เนื่องมาจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ยังมีเลี้ยงกันไม่น้อยในอเมริกา มันเป็นไก่ฟ้าที่อดทน เลี้ยงง่าย ให้ไข่ดก แต่บางครั้งตัวผู้จะดุมาก

Read More

ไก่ฟ้าเชียร์

ชื่อสามัญ  Cheer Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์  Catreus wallichi

เป็นไก่ฟ้าเพียงหนึ่งเดียวในตระกูลนี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางด้านตะวันตกและตอนกลางของภูเขาหิมาลัย เป็นไก่ฟ้าที่มีการกระจายถิ่นจำกัดมาก จะพบเฉพาะที่ระดับความสูง 4,000-10,000 ฟุต เมื่อถึงฤดูหนาวพวกที่อยู่สูง ๆ จะลงมาที่ต่ำ เป็นไก่ฟ้าที่ชอบอยู่บนพื้นดิน ปกติจะนอนบนพื้นดิน ไม่ชอบอยู่บนต้นไม้ มันมีปากแข็งแรงที่ใช้ประโยชน์ในการขุดคุ้ยหาอาหารจากพื้นดิน พวกหัวและรากอ่อนของพืช อาศัยอยู่ทั่วไปไนสภาพที่เป็นป่า หากินเป็นฝูงเล็กๆ 6-15 ตัว โดยธรรมชาติเป็นไก่ฟ้าที่เชื่องมาก ขาสั้น ทำให้มันค่อนข้างเชื่องช้า ไม่ปราดเปรียวเหมือนไก่อื่น ๆ ฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนเมษายน-มิถุนายน ทำรังตามพื้นดินใต้พุ่มไม้ วางไข่ 9-14 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 26 วัน

ไก่ฟ้าชนิดนี้ตัวผู้กับตัวเมียเหมือนกันมาก เป็นพวก Monogamous … Read More

ไก่ฟ้าหูสีน้ำเงิน

ชื่อสามัญ Blue Eared-Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Crossoptilon auritum

เป็นไก่ฟ้าที่มีการเพาะเลี้ยงกันมากที่สุดในตระกูล Crossoptilon ซึ่งรวมทั้งในแหล่งธรรมชาติ ก็ยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก มีถิ่นกำเนิดเป็นบริเวณกว้างทางตอนกลางด้านเหนือของจีน ชาวจีนเรียกมันว่า Maki เป็นไก่ฟ้าที่มีนิสัยและพฤติกรรมเหมือนกับไก่ฟ้าในตระกูลนี้ทั่วไป โดยเฉพาะ Brown Eared-Pheasant ซึ่งจะเหมือนกันทั้งรูปร่าง นิสัย และเสียงร้อง เป็นไก่ฟ้าที่ ชอบอยู่บนภูเขาและหากินประจำถิ่น มันมีขนที่สวยที่สุดในกลุ่มนี้ มันจึงถูกมนุษย์ล่ามาเป็นร้อย ๆ ปีแล้ว เพื่อเอาขนของมันมาประดับบนหมวกของพวกขุนศึก และต่อมาความนิยมนี้ก็แพร่ไปในยุโรปโดยเอาไปประดับบนหมวกของสตรี จากความต้องการขนของมันทำให้ชาวพื้นเมืองพัฒนาขึ้นโดยเก็บไข่ของมันมาให้แม่ไก่บ้านฟัก แล้วเลี้ยงมันจนโตเพื่อถอนเอาขน แต่หลังจากความนิยมในเรื่องใช้ขนนกเป็นเครื่องประดับลดลง มันก็ถูกฆ่า แต่ก็ยังดีที่พวกที่อยู่ในป่าก็โดนล่าน้อยลงไปด้วย ปกติมันบินไม่เก่ง เวลาตกใจจะวิ่งขึ้นที่สูงแล้วบินลงไปที่ต่ำ

เป็นไก่ฟ้าชนิดสุดท้ายในตระกูลนี้ที่ถูกนำไปเพาะเลี้ยงในยุโรป โดยมันถูกส่งจากจีนไปเพาะเลี้ยงที่ฝรั่งเศสจำนวนหนึ่งในปี ค.ศ.1929 ในระยะแรก ๆ

Read More

ไก่ฟ้าหูสีนํ้าตาล

ชื่อสามัญ Brown Eared-Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Crossoptilon mantchuricum

มีถิ่นกำเนิดบนภูเขาทางด้านตะวันตกของจีน และไม่ปรากฏว่ามีในแมนจูเรียอย่างที่เข้าใจกัน จนเคยเรียกกันว่า Manchurian Eared-Pheasant มาระยะหนึ่ง ในประเทศจีนเรียกไก่ฟ้าชนิดนี้ว่า Hoki ซึ่งชื่อนี้ก็เป็นที่รู้จักกันในยุโรปด้วย พบมากในบริเวณภูเขาทางด้านเหนือของชานสี ซึ่งยังมีสภาพเป็นป่า มันถูกศึกษาครั้งแรกโดย Pere David ซึ่งพบมันบนภูเขาทางเหนือของกรุงปักกิ่งในปี ค.ศ.1862 และไก่ฟ้าที่มีชีวิตถูกส่งจากปักกิ่งไปฝรั่งเศสครั้งแรกในปี ค.ศ.1864 จากตัวผู้เพียงหนึ่งตัว และตัวเมีย 2 ตัวในครั้งนั้น สามารถขยายพันธุ์ได้ถึงสองร้อยกว่าตัวในปี ค.ศ.1869 และจากนั้นก็มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วยุโรป โดยไม่ปรากฏว่ามีการสั่งไก่ป่าเข้าไปอีกเลย ซึ่งหมายความว่า ไก่ฟ้าที่เลี้ยงกันทั้งในยุโรปและอเมริกาต่างก็มาจากสายพันธุ์ที่เพาะได้ในฝรั่งเศสทั้งสิ้น ปัจจุบันนี้มีการเพาะเลี้ยงกันทั่วโลก แต่อาจจะเนื่องจากการผสมพันธุ์ในระบบเลือดชิดมานาน ทำให้ไข่ไม่ค่อยมีเชื้อ เป็นจำนวนมาก และบางทีตัวผู้ก็ไม่มีเดือยหรือบางทีตัวเมียกลับมีเดือย เป็นต้น… Read More

ไก่ฟ้าหูสีขาว

ชื่อสามัญ White Eared-Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Crossoptilon crossoptilon

เป็นหนึ่งใน 3 ชนิดของไก่ฟ้าในตระกูล Crossoptilon และเป็นชนิดเดียวที่แผงขนหูไม่ยื่นออกไปเหนือคอ มีถิ่นกำเนิดในจีนและธิเบต เป็นนกประจำถิ่น แบ่งเป็น 5 ชนิดย่อย

1. Szechuan White Eared-Pheasant (C.c.crossoptilon) พบที่ระดับความสูง 10,000 ฟุต จนกึงระดับที่มีหิมะปกคลุมบนภูเขาทางด้านตะวันตกของเสฉวน และส่วนที่ติดกับด้านตะวันออกเฉียงใต้ของธิเบต เป็นไก่ฟ้าที่มีการเพาะเลี้ยงมากที่สุดในจำนวนชนิดย่อยทั้งหมด

2. Yunnan White Eared-Pheasant (C.c.lichiangense) พบทางตะวันตกเฉียงเหนือของยูนนานที่ระดับความสูง 12,000-14,000 ฟุต ลักษณะเหมือนชนิดแรกแต่ปีกเป็นสีเทาอ่อน

3. Tibetan White Eared-Pheasant … Read More

ไก่ฟ้าหางขาว

ชื่อสามัญ Bulwer’s Wattled Pheasant

ชื่อวิทยาศาลตร์ Lophura bulweri

มีถิ่นกำเนิดในป่าต่ำและตามภูเขาเตี้ย ๆ จนถึงระดับความสูง 2,200 ฟุต ด้านในของเกาะบอร์เนียว ห่างไกลจากผู้คน ชอบอาศัยตามป่าที่แห้งบนภูเขาเตี้ย ๆ และจะลงมาที่แหล่งนํ้าวันละ 2 ครั้งเป็นประจำ เพราะนิสัยเช่นนี้ทำให้มันถูกชาวพื้นเมืองวางกับดักตามทางที่มันใช้ประจำไปเป็นจำนวนมาก ในธรรมชาติไม่มีผู้ใดทราบรายละเอียดเรื่องรังและเวลาฟักไข่ จากรายงานของ่ชาวพื้นเมือง มักจะเห็นลูกเพียง 2 ตัวหากินอยู่กับพ่อแม่ ฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนเมษายน

ถูกค้นพบในปี ค.ค.1874 และมีการสั่งเข้าไปเลี้ยงในยุโรปหลายครั้งแต่จำนวนไม่มากนัก และไม่มีใครขยายพันธุ์ได้เลย จนถึงปี ค.ศ.1969 Mr.Sivelle สั่งไก่จากบอร์เนียวเข้าไปในอเมริกา 12 คู่ และแยกไปเลี้ยงหลายแห่ง Dr.Estudillo Lopez แห่งเม็กซิโกลงทุนไปที่บอร์เนียวด้วยตนเองเพื่อหาไก่ชนิดนี้ … Read More