Month: July 2012

นกแว่นพาลาวัน

ชื่อสามัญ Palawan Peacock Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyplectron emphanum

เป็นนกแว่นที่ตัวเล็กที่สุดในจำพวกนกแว่นด้วยกัน โดยมีขนาดเท่ากับนกแว่นสีนํ้าตาล นกแว่นพาลาวันถูกยกย่องว่าเป็นนกแว่นที่มีสีสวยที่สุด โดยมีจุดเด่นที่ขนปีกและหลังมีสีนํ้าเงินแกมเขียวเป็นมันวาว ตัวผู้จะมีขนหงอนยาวสีเขียวเข้ม ใต้ตามีแถบสีขาว และบางตัวมีแถบสีขาวพาดอยู่ด้านบนของตาอีกด้วย ซึ่งจะไม่มีในนกแว่นชนิดอื่น ตัวผู้มีเดือยข้างละ 2 เดือย ตัวเมียหงอนสั้นกว่าและไม่มีเดือย

นกแว่นชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดเพียงแห่งเดียวในเกาะพาลาวันของประเทศฟิลิปปินส์ ในธรรมชาติชอบอยู่ป่าลึกและทึบที่อยู่ในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง ไม่ชอบออกหากินในป่าโปร่งหรือที่โล่ง เป็นนกที่มีนิสัยขี้ตื่นตกใจและชอบซุกซ่อนตัวเหมือนนกแว่นทั่ว ๆ ไป ชอบวางไข่ในรังที่อยู่สูงจากระดับพื้นดิน วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง เมื่อไข่ถูกเก็บไปก็จะออกไข่ชุดใหม่อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ ใช้เวลาฟักไข่เพียง 18-19 วัน น้อยกว่านกแว่นชนิดอื่นๆ ตัวผู้จะโตเต็มวัยในปีที่สอง โดยปีแรกจะดูเหมือนกับตัวเมีย แต่ตัวจะใหญ่กว่าหงอนยาวกว่าและสีจะเริ่มออกให้เห็นบ้างแล้ว ตัวผู้เวลารำแพนเกี้ยวตัวเมียจะสวยงามมาก … Read More

นกแว่นสุมาตรา

ชื่อสามัญ  Bronze-Tailed Peacock Pheasant

ชื่อวิทยาศาลตร์ Polyplectron chalcurum

ผู้เพาะเลี้ยงของไทยมักจะเรียกนกแว่นชนิดนี้ทับศัพท์ว่านกแว่นบรอนซ์เทล เป็นนกแว่นที่ตัวค่อนข้างเล็ก ไม่มีหงอน ขนสร้อยคอ และโดยเฉพาะเป็นนกแว่นชนิดเดียวที่ไม่มีแว่นที่เป็นวงกลมรูปไข่อยู่บนขนเหมือนนกแว่นชนิดอื่น ๆ แต่จะลายขวางบนขนหางเป็นจุดเด่นแทน ข้อแตกต่างอีกอย่างหนึ่งคือมันมีหางเหมือนพวกไก่ฟ้าสีทอง ซึ่งมีลักษณะปลายแหลมไม่กลม มนและจะแผ่ขึ้นในแนวตั้ง

นกแว่นชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย ซึ่งเหมือนกันมาก มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อยคือ

1. South Sumatran Peacock Pheasant มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า p.c. chalcarum

2. North Sumatran Peacock Pheasant มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า p.c. scutulatum

ทั้งสองชนิดมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้และตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ชอบอาศัยอยู่บนภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล

Read More

นกแว่นสีน้ำตาลบอร์เนียว

ชื่อสามัญ  Bornean Peacock Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyplectron malacense schleiermacheri

เป็นชนิดย่อยหนึ่งในสองชนิดของนกแว่นสีนํ้าตาล มีถิ่นกำเนิดในเกาะบอร์เนียวและซาราวัค เฉพาะในเกาะบอร์เนียวจะพบอยู่เพียงครึ่งเกาะ คือทางด้านตะวันออกของเกาะเท่านั้น จากเหนือสุดไปทางตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีผู้บันทึกไว้ว่าเคยพบทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะด้วย ในธรรมชาติเป็นนกที่หาได้ยากมาก ปกติอาศัยอยู่ป่าต่ำและมีพฤติกรรมโดยทั่ว ๆ ไปเหมือนนกแว่นมาเลย์ ทั้งลูกนกและข้อมูลที่เกี่ยวกับไข่ยังไม่มีผู้ใดบันทึกหรือรายงานรายละเอียดไว้ หนังสือ Pheasants of the world ระบุไว้ว่านกแว่นชนิดนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดเพาะเลี้ยงอยู่ในกรงเลย

นกแว่นบอร์เนียวมีขนาดและลักษณะโดยทั่ว ๆ ไปเหมือนกับนกแว่นมาเลย์ แต่ขนตลอดลำตัวจะมีสีสันมากกว่า ตัวผู้มีขนหงอนสั้น ขนคลุมต้นคอมีสีเทาอ่อน แต่ปลายขนจะเป็นสีฟ้าอมม่วง ขนส่วนหลังเหมือนนกแว่นมาเลย์แต่ออกแดงกว่า หางสั้นกว่าและแว่นบนหลังและหางออกสีเขียวและเล็กกว่า ใต้คางและอกตอนบนเป็นสีขาวเห็นได้ชัดเจน อกที่เหลือเป็นสีเขียว เหลือบนํ้าเงิน ตัวเมียเหมือนนกแว่นมาเลย์ ต่สีออกแดงกว่า หางสั้นกว่า … Read More

นกแว่นสีน้ำตาลมาเลย์

ชื่อสามัญ  Malay Peacock Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyplectron malacense malacense

เรียกกันในหมู่นักเพาะเลี้ยงว่า “นกแว่นใต้” เป็นชนิดย่อยหนึ่งในสองชนิดของนกแว่นสีนํ้าตาล มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมาเลย์ตลอดเทือกเขาตะนาวศรี จนถึงแหลมมลายูและในเกาะสุมาตรา ในประเทศไทยมีในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป มันมีรูปร่างเหมือนนกแว่นสีเทา แต่ตัวเล็กกว่า มีสีตลอดลำตัวออกเป็นโทนสีนํ้าตาล ตัวผู้มีขนหงอนสีนํ้าเงินเหลือบเขียว แว่นมีสี เขียวอมเหลืองและเหลือบสีม่วงแดง มีจำนวนแว่นมากกว่านกแว่นสีเทา มีเดือยข้างละ 2 เดือย ตัวเมียหงอนสั้นกว่าและไม่มีเดือย เป็นนกที่อยู่ตั้งแต่ระดับนํ้าทะเลจนถึงระดับความสูง 3,000 ฟุต แต่ปกติจะอยู่ต่ำกว่าระดับ 1,000 ฟุต ชอบอยู่ตามป่าทึบชื้นที่มีต้นไม้ขึ้นอย่างหนาแน่น เป็นนกที่ชอบซุกซ่อนตัว ไม่ค่อยให้พบเห็นได้ง่าย ๆ ทำให้รู้พฤติกรรมตามธรรมชาติของมันน้อยมาก ชอบหากินตามลำพังตัวเดียวหรือบางครั้งเป็นคู่ชอบกินแมลง เมล็ดพืช ผลไม้สุก ใบไม้อ่อน … Read More

ไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิรสท์

ชื่อสามัญ  Lady Amberst’s Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chrysolophus amherstiae

บางแห่งเรียกไก่ฟ้าสีเงิน จัดอยู่ในพวก Ruffed Pheasant เหมือนกับไก่ฟ้าสีทอง รวมทั้งมีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ และพฤติกรรมเหมือนกันด้วย เป็นไก่ฟ้าที่มีผู้นิยมเพาะเลี้ยงกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง สามารถผสมกับไก่ฟ้าสีทองได้โดยลูกผสมที่เกิดมาไม่เป็นหมัน แต่ไม่เป็นที่นิยมกันในหมู่ผู้เพาะเลี้ยงไก่ฟ้า ไข่มีสีนํ้าตาลอ่อนเหมือนกับไข่ของไก่ฟ้าสีทอง แต่มีขนาดใหญ่กว่า และปลายแหลมกว่า ใช้เวลาฟักเท่ากันคือ 22 วัน ลูกของไก่ฟ้าทั้งสองชนิดนี้ตัวเล็ก แต่แข็งแรงและเลี้ยงง่าย สามารถแยกเพศได้โดยดูจากสีของนัยน์ตา ถ้าเป็นตัวเมียนัยน์ตาจะเป็นสีนํ้าตาลเข้ม ตัวผู้จะเป็นสีอ่อน

ไก่ฟ้าชนิดนี้ ถูกนำจากจีนเข้าไปในประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.1828 โดยลอร์ด แอมเฮิรสท์ โดยครั้งแรกนำตัวผู้ไปเลี้ยงในกรุงลอนดอนเพียง 2 ตัว จนกระทั่งปี ค.ศ.1869 จึงได้มีการนำเข้าไปใหม่
Read More

ไก่ฟ้าดาร์คโทรต

ชื่อสามัญ  Dark-Throated Golden Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chrysolophus pictus, mut. obscurus

เนื่องจากไก่ฟ้าสีทองได้รับความนิยมและมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 และจากการที่มีสายเลือดของไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิร์สปนอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย ทำให้มีพวกผ่าเหล่าเกิดขึ้นหลายชนิด ไก่ฟ้าดาร์คโทรต ก็เป็นอีกชนิดหนึ่งที่มีสีสวยงามได้รับความนิยมและมีเลี้ยงกันเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในอเมริกาและนับเป็นชนิดแรก อีกด้วย โดยเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 เผยแพร่ให้โลกรู้จักโดย Schlegel ไก่ฟ้าชนิดนี้มีลักษณะที่แตกต่างออกไปคือ ตัวผู้จะมีสีของขนทั่ว ๆ ไปเข้มกว่าชนิดธรรมดาเล็กน้อย บริเวณหน้าลำคอส่วนล่างและหน้าอกส่วนบนเป็นสีดำเทาและไม่มีเหลือบสีเขียว ขนหางคู่กลางเป็นลายขวางและไม่มีจุดแต้ม ตัวเมียจะมีสีของลำตัวทั่วไปเป็นสีนํ้าตาลอมแดงดูเข้มกว่าชนิดธรรมดา นอกจากนี้ยังมีอีก 2 ชนิดคือ

1. Salmon Golden Pheasant (C.p.mut.infuscatus) ชนิดนี้สีจะออกเข้มกว่าไก่ฟ้าเยลโล่คือจะออกเป็นสีชมพู แบบเนื้อปลาแซลมอน ผสมพันธุ์โดย … Read More

ไก่ฟ้าเยลโล่

ชื่อสามัญ  Yellow Golden Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chrysolophus pictus, mut. luteus

ในจำพวกไก่ฟ้าที่เกิดจากการผ่าเหล่าหรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของไก่ฟ้าสีทอง ไก่ฟ้าเยลโล่นับได้ว่าได้รับความนิยมมากที่สุด รวมทั้งมีการเพาะเลี้ยงกันแพร่หลายมากกว่าชนิดอื่น ๆ บางแห่งเรียกไก่ฟ้าชนิดนี้ว่า Chigi’s Golden Pheasant เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ Dr.A.Ghigi ชาวอิตาเลียนแห่งเมือง Bologna ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นผู้ผสมพันธุ์ไก่ฟ้าชนิดนี้ และเริ่มมาจากการผ่าเหล่าของไก่เพียงตัวเดียว จนเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถาวร คือเมื่อผสมกันในระหว่างพวกผ่าเหล่าด้วยกัน ก็จะได้ลูกออกมาเหมือนพ่อแม่ทุกครั้ง

เริ่มแรก Dr.Ghigi ได้ไก่ผ่าเหล่าสีเหลืองตัวผู้มาตัวหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวแรกของไก่ฟ้าชนิดนี้ เป็นไก่ใหญ่แล้ว โดย Mr. Alexander Hampe จากเมือง Cobrug เป็นผู้นำมาให้ในปี ค.ศ.1952

Read More

ไก่ฟ้าเขียว

ชื่อสามัญ Green Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phasianus versicolor

เป็น True Pheasant ที่มีถิ่นกำเนิดเฉพาะบนเกาะญี่ปุ่น แบ่งเป็น 3 ชนิดย่อย ซึ่งแตกต่างกันพอสังเกตได้คือ พวกที่อยู่ทางด้านเหนือของเกาะจะมีสีอ่อนและออกเขียว พวกทางใต้สีจะเข้มและออกสีนํ้าเงิน

1. Southern Green Pheasant (P.V.versicolor) มีในเกาะกิวชิวและทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะฮอนโด ตัวค่อนข้างใหญ่ ขนมีสีเข้มออกเป็นสีนํ้าเงินมากกว่า

2. Pacific Green Pheasant (P.v.tanensis) มีทางด้านที่ชื้นและอบอุ่นกว่าของเกาะฮอนโด หมู่เกาะอิชู หมู่เกาะทาเนกาชิม่าและโอชิม่า ซึ่งอยู่ทางใต้ของเกาะกิวชิว

3. Northern Green Pheasant (P.v.robustipes) มีอยู่บนพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะฮอนโดและเกาะชิโกกุ มีสีอ่อนกว่า … Read More

ไก่ฟ้าสีทอง

ชื่อสามัญ Golden Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chrysolophus pictus

จัดอยู่ในพวก Ruffed Pheasant คือไก่ฟ้าที่มีขนระย้าด้านหลังลำคอ เป็นไก่ฟ้าที่มีผู้นิยมเลี้ยงแพร่หลายมาก มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติอยู่บนภูเขาสูง ทางภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศจีน นอกจากนี้ยังพบทางภาคใต้ของจีน เช่น ตามแถบภาคเหนือของพม่า และในธิเบตอีกด้วย เป็นไก่ฟ้าที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีเป็นเยี่ยม สามารถทนทานต่อความหนาวแถบบริเวณที่มันอาศัยอยู่ได้ และยังสามารถทนต่ออากาคร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร เช่น ประเทศไทย ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แต่ถ้าเลี้ยงไว้ในสถานที่ ๆ มีแสงสว่างมากเกินไปแล้ว สีขนตามลำตัวจะซีดลง และไม่มันแวววาวเท่าที่ควร โดยเฉพาะชนิด Yellow golden และ Salmon golden จะไวต่อแสงสว่างมาก

ในธรรมชาติเป็นไก่ฟ้าที่มีนิสัยอยู่รวมกันเป็นแบบครอบครัวขนาดใหญ่ คือตัวผู้ตัวเดียวจะคุมตัวเมียหลายตัว แต่ไม่ควรเลี้ยงตัวผู้ไว้ในกรงเดียวกัน เพราะมันจะต่อสู้กันจนถึงตายได้ โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์

Read More

ไก่ฟ้าคอแหวน

ชื่อสามัญ Ring-Necked Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phasianus colchicus

เป็นหนึ่งในสองชนิดของไก่ฟ้าที่เรียกกันว่า True Pheasant หรือ Common Pheasant ซึ่งเป็นพวกไก่ฟ้าที่เพาะเลี้ยงไว้เพื่อนำไปปล่อยให้คนล่าเป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่ง ไม่ค่อยนิยมนำมาเพาะเลี้ยงเป็นไก่ฟ้าสวยงามเหมือนตระกูลอื่น ๆ แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีผู้เพาะเลี้ยงกันบ้าง ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ ข้อแรก มันก็เป็นไก่ฟ้าที่สวยงามไม่แพ้ไก่ฟ้าอื่น ๆ และข้อสอง น่าที่จะเลี้ยงโดยการคัดพันธุ์แท้ไว้เพราะในธรรมชาติมันจะผสมกันในระหว่างชนิดย่อยทำให้หาพันธุ์แท้ยากขึ้นทุกที ไก่ฟ้าตระกูลนี้แบ่ง ออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. Phasianus colchicus เป็นไก่ฟ้าที่มีถิ่นกำเนิดกว้างมากที่สุดในจำพวกไก่ฟ้าทุกตระกูล คืออยู่ทางด้านซีกเหนือของทวีปเอเชีย จากด้านตะวันตกตามแนวทะเลดำข้ามมาเอเชียไปทางตะวันออกจนถึงแมนจูเรีย เกาหลี จีน และเกาะไต้หวัน และเนื่องจากมีการกระจายถิ่นกว้างมากจึงแบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ถึง 31 … Read More