Month: March 2011

ลักษณะและวิธีการป้องกันโรคราแป้งในกุหลาบ

โรค


1.  โรคราแป้ง (powdering mildew) โรคนี้เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งสำหรับกุหลาบ ที่ได้ชื่อว่า โรคราแป้ง  เนื่องจากเชื้อที่ทำให้เกิดโรคนี้มีลักษณะเป็นผงสีขาว ๆ คล้ายผงแป้งเคลือบอยู่บนผิวใบ  ทั้งด้านบนและด้านท้องใบ  เกิดขึ้นกับใบอ่อนของกุหลาบ เนื้อเยื่อส่วนที่ราเกาะอยู่จะพองออก (ชาวบ้านเรียกโรคใบพอง) ทำให้ใบบิดงอ  ถ้าเป็นมาก ๆ จะมองเป็นบริเวณที่เป็นโรคมีสีม่วงถึงดำ และร่วงหล่นไปในที่สุด  ทำให้ต้นแคระแกร็น  ถ้าเป็นกับดอกตูม ดอกจะไม่บาน  หากรานี้เกิดกับใบแก่  อันตรายไม่มากนัก  แต่ควรจะกำจัดโดยการตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออก

ราที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้แก่ “เพฟโรธีค่า แพนโนซ่า ”(Sphaerotheca pannosa)  ระบาดมากในท้องที่ ๆ มีอากาศหนาวเย็นและมีน้ำค้างจัด แพร่เชื้อโดยสปอร์ปลิวไปตามลม  ป้องกันด้วยการฉีดพ่นด้วยกำมะถันผง  หรือกำมะถันผงชนิดละลายน้ำ  ซึ่งการใช้กำมะถันผงนี้  ถ้าใช้ในวันที่มีอากาศร้อนจะทำให้ใบไหม้  ดังนั้นควรฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น

Read More

หลักในการตัด(เฉพาะกุหลาบตัดดอก)

หลักในการตัด (เฉพาะกุหลาบตัดดอก)

1.  ตัดกิ่งตายออก  ได้แก่กิ่งที่แห้งตาย  ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นกิ่งในพุ่มและแขนง  จะมีสีดำหรือสีน้ำตาล

2.  ตัดกิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่แมลงทำลายออก  เช่น กิ่งที่เป็นหนามตำ  กิ่งที่มีเพลี้ยแป้ง  หรือเพลี้ยหอยเกาะกิน  ควรจะตัดให้หมดเนื้อไม้ที่เป็นโรค  หรือหมดส่วนที่ถูกแมลงเกาะกินออกให้หมด

3.  ตัดกิ่งไขว้กันออก  คือกิ่งที่เจริญเข้าไปในพุ่ม  รวมทั้งกิ่งที่ห้อยย้อยไปคลุมเกะกะต้นอื่น

4.  ตัดกิ่งแขนงที่แตกออกมาจากต้นตอ  ใต้บริเวณติดตาออก

5.  ตัดกิ่งที่ล้มเอน  เกะกะซึ่งทำให้ไม่สะดวกในการดูแลรักษา

6.  ตัดกิ่งแก่ที่ไม่ต้องการออก

7.  ตัดกิ่งให้สั้นลงตามต้องการ  ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์  สภาพต้นพืชและลักษณะอาการในแต่ละท้องที่  ส่วนมากการตัดกิ่งให้สั้นลงนี้มักจะมี 3 ขนาด หรือ 3 แบบ  แล้วแต่ความเหมาะสม  ดังนี้

–  … Read More

วัตถุประสงค์ในการตัดดอกและการตัดแต่งกิ่งกุหลาบ

การตัดดอก


หลังจากการปล่อยให้กิ่งข้างที่แตกจากตาที่โคนใบที่มีใบย่อย 5 ใบ กิ่งข้างนี้จะเจริญเป็นตาดอกในที่สุด การตัดดอกไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่าย  จะต้องยึดหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ “ตัดให้เหลือใบที่มีใบย่อย 5 ใบ ติดอยู่กับกิ่งนั้นอย่างน้อย 2 ช่อใบ”  ถ้าตัดไปจนหมดถึงโคนกิ่งจะให้ต้นโทรมเร็ว  กิ่งที่แตกมาใหม่มีขนาดเล็ก ขนาดดอกเล็กลง ก้านดอกสั้นและบางกิ่งอาจไม่ให้ดอกอีกเลย

การแต่งกิ่ง

วัตถุประสงค์ในการตัดแต่งกิ่ง

ก.  เพื่อทำให้พุ่มเตี้ยลง  หรือปรับปรุงทรงของพุ่มต้นให้ดีขึ้น  ทั้งนี้เนื่องจากกุหลาบมีการเจริญเติบโตตลอดเวลา  ถ้าปลูกนานไปพุ่มต้นจะสูงเกินไป  จึงต้องตัดแต่งให้เตี้ยลง

ข.  เพื่อบังคับให้มีการแต่งกิ่ง จากส่วนล่าง ๆของต้น  ซึ่งมักจะเป็นกิ่งขนาดโตที่เราเรียก “กิ่งกระโดง”  ผลที่ได้จากกิ่งเหล่านี้  จะมีขนาดใหญ่ขึ้น

ค.  เป็นการขจัดโรคและแมลงที่ติดอยู่กับกิ่ง  ก้านและใบให้หมดไป

กรรไกรที่ใช้ใบในการการตัดแต่งกิ่ง ควรจะเป็นกรรไกรมีด้ามสั้นแบบโค้ง  ถ้าเป็นยี่ห้อเพลโก้ควรจะเป็นเบอร์ … Read More

การเด็ดยอดและการปลิดดอกเพื่อให้ได้กุหลาบที่มีคุณภาพ

การเด็ดยอดและการปลิดดอก

การปลูกพืชทุกชนิดหรือแม้แต่การเลี้ยงสัตว์ก็ตามที  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลี้ยงดูให้ต้นพืชหรือสัตว์นั้น ๆ เจริญเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ถึงขนาดเจริญเต็มวัยพอสมควร  จึงจะปล่อยให้ออกดอกออกผลหรือออกลูกออกหลาน

กุหลาบก็เช่นเดียวกัน  ไม่ว่าจะเป็นกุหลาบจากกิ่งตัดชำ กิ่งตอน  หรือการติดตาบนต้นพันธุ์ดีก็ตาม  จะต้องเลี้ยงดูจนต้นสมบูรณ์ได้ขนาดก่อนใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 3 เดือน  ถ้าในระหว่าง 3 เดือนนี้  กุหลาบแทงดอกออกมาให้เป็นควรรีบปลิดทิ้งทันที  อย่าทั้นให้ดอกโตและบานได้  เมื่อปลิดดอกแล้วยอดที่ถูกปลิดออกจะเริ่มแตกยอดใหม่หลาย ๆ ยอด  แต่ควรจะเก็บเฉพาะยอดที่เกิดจากโคนใบที่มีใบย่อย 5 ใบเท่านั้น และเป็นยอดที่ตรงที่สุด ยอดลักษณะนี้จะเจริญได้กิ่งยาวและเมื่อดอกเริ่มบานจะเป็นดอกที่มีขนาดและความยากของกิ่งที่มีคุณภาพ

สรุปได้ว่าการปลูกกุหลาบจะต้องมีการเด็ดยอดเช่นเดียวกันกับไม้ดอกหลาย ๆ ชนิด ยอดที่ว่านี้อาจจะเป็นตาดอก หรือยังไม่เป็นฟอร์มตาดอกก็ได้

การเด็ดยอดควรจะเด็ดให้กิ่งที่มีใบย่อย 5 ใบ  โดยเด็ให้ชิดข้อที่สุด  กิ่งที่แตกใหม่จึงจะเป็นกิ่งที่สมบูรณ์

Read More

การคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นและความโปร่งของดินในแปลงกุหลาบและข้อควรระวัง

กุหลาบ(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

การคลุมดิน


เนื่องจากกุหลาบต้องการความชื้นสูง  และอากาศในดินดี  เพื่อที่จะช่วยรักษาความชื้นและความโปร่งของดินในแปลง  ให้เป็นไปตามต้องการของกุหลาบ  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวัสดุที่หาง่าย  ราคาถูก หรือไม่จำเป็นต้องซื้อหาเช่น  หญ้าแห้ง  ฟาง  เปลือกถั่วลิสง  ซังข้าวโพด  ชานอ้อย  ขุยมะพร้าว  หรือแกลบดินอย่างใดอย่างหนึ่ง  มาคลุกดินในแปลงรอบ ๆต้นกุหลาบ  หนาประมาณ 2-3 นิ้ว

ข้อควรระวัง ในการใช้วัสดุคลุมดินที่ยังไม่สลายตัว  จะทำให้เกิดปัญหาการขาดอ๊อกซิเจนเกิดขึ้นกับกุหลาบได้  ดังนั้นจึงควรเติมปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนเช่น แอมโมเนียมซัลเฟตหรือ ยูเรียลงไปด้วยทุกครั้งที่คลุมดินเพื่อป้องกันไว้ก่อน  ไม่ควรเติมในปริมาณที่มากเกินไป  ถ้าเป็นไปได้ก่อนคลุมดินควรหาทางทำให้วัสดุที่คลุมชื้นหรือเปียกเสียก่อน  มิฉะนั้นแล้วจะเป็นปัญหาเรื่องความชื้น  เพราะวัสดุที่ใช้คลุมเปียกน้ำได้ยาก  ถ้าไม่ทำให้ชื้นก่อนจะต้องรดน้ำในระยะแรกบ่อย ๆ และหลาย ๆ ครั้ง  มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาการขาดน้ำตามมา  กุหลาบอาจจะเหี่ยวเฉาได้

นอกจากวัสดุคลุมดินจะช่วยรักษาความชุ่มชื้น และการถ่ายเทอากาศในดินแล้ว  … Read More

การใช้สารเคมีโปแตสเซียมไนเตรทบังคับให้มะม่วงออกดอกควรจะคำนึงถึงอะไรบ้าง

ขอย้อนกลับมาถึงการใช้สารเคมีโปแตสเซียมไนเตรท  บังคับให้มะม่วงออกดอกว่าควรจะคำนึงถึงอะไรบ้าง

  • ประการแรก  ควรดูอายุของกิ่งมะม่วงที่อยู่ปลายสุดด้วย  เพราะมะม่วงเป็นพืชที่ออกดอกที่ปลายกิ่งแก่  เช่นเดียวกับลำใย  และเงาะ  โดยทั่วไปมะม่วงจะแตกยอดอ่อนปีละ 1-3 ครั้ง  แล้วแต่อายุและพันธุ์ มะม่วงมีอายุน้อยจะแตกกิ่งหลายครั้งใน 1 ปี มะม่วงอายุ 6-7 ปี มักจะแตกใบอ่อนปีละ 1 ครั้งในช่วงต้นฤดูฝน  ถ้ามะม่วงแตกกิ่งอ่อนครั้งสุดท้าย  ในช่วงเดือนตุลาคม  อายุของกิ่งก็จะน้อยเกินไป  อายุของกิ่งที่แก่พอที่จะใช้บังคับให้ออกดอกควรมีอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป ถ้าอายุมากขึ้นก็ยิ่งดี
  • อีกอย่างหนึ่งที่พอจะสังเกตดูได้จากลักษณะภายนอก  ได้แก่ใบ  ใบที่อยู่ที่ปลายกิ่งจะต้องแก่จัดมีสีเขียวเข้ม  เมื่อขยำใบดูจะกรอบและมักจะมีเสียงดังแกร๊บ  ส่วนตาที่อยู่ปลายกิ่งต้องเป็นตาที่สมบูรณ์ไม่บอด  ไม่มีโรคแมลงรบกวน
  • การใช้สารโปแตสเซียมไนเตรทนั้นมีอยู่หลายรูป เช่น ในรูปของดินปะสิว  ในรูปของปุ๋ย ในรูปของสารที่นำเอาไปผสมเป็นยา หรือในรูปของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ สารโปแตสเซียมไนเตรททุกรูป 
Read More

แหล่งปลูกที่ทำให้มะม่วงออกดอกดีหรือออกดอกก่อนฤดู

เกี่ยวกับแหล่งปลูกนี้  คุณประทีป  กุณาศล  นักวิชาการสถาบันวิจัยพืชสวน  กรมวิชาการเกษตรได้เสนอข้อสังเกตดังนี้  มะม่วงที่ปลูกในสภาพสวนยกร่อง  มีโอกาสที่จะบังคับให้มะม่วงออกดอกหรือออกดอกก่อนฤดูได้ง่ายกว่ามะม่วงที่ปลูกในสภาพพื้นที่ไร่ที่อยู่ทางเหนือ  ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมมะม่วงที่ปลูกบริเวณกรุงเทพฯ หรือ สวนยกร่องทั่วไป  พอมีปัจจัยบางอย่าง เช่น  ความหนาวเย็น หรือสารเคมีบางชนิดมากระทบเพียงเล็กน้อย  ก็อาจทำให้มะม่วงพันุ์ที่ออกดอกง่าย ๆ เช่น พันธุ์น้ำดอกไม้หรือหนองแซงออกดอกได้ จากรายงานของฟิลิปปินส์ได้นำมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ของเราไปปลูกที่ฟิลิปปินส์ และได้บังคับให้ออกดอกก่อนฤดูได้ดี  ทั้งนี้เป็นเพราะสภาพอากาศของฟิลิปปินส์ในฤดูหนาวและฤดูร้อนแตกต่างกันน้อยกว่าอากาศทางภาคเหนือ หรือภาคกลางของเรา  พอมีผลกระทบจากโปแตสเซียมไนเตรทเพียง 1 เปอร์เซนต์  ก็สามารถทำให้มะม่วงออกดอกได้ดี ในบ้านเราต้องใช้ถึง 2.5 เปอร์เซนต์ซึ่งสิ้นเปลืองกว่าและยังเสี่ยงต่อการทำให้ใบมะม่วงไหม้อีกด้วย

 

แต่ถ้ามองอีกแง่หนึ่ง  การที่มะม่วงทางเหนือออกดอกทีหลังภาคกลางประมาณ 1 เดือนก็นับว่าเป็นผลดี  เพราะจะได้มีมะม่วงทะยอยออกสู่ตลาด  ทำให้ลดการแข่งขันของมะม่วงแต่ละแห่ง  ในอนาคตถ้าพัฒนาการปลูกมะม่วงให้ดีขึ้น  โดยปลูกให้ได้ผลผลิตดีทั้งภาคใต้ กลาง อิสาน

Read More

วิธีที่จะทำให้มะม่วงออกดอกดกหรือออกดอกก่อนฤดู

มีวิธีอะไรบ้างที่จะทำให้มะม่วงออกดอกดกหรือออกดอกก่อนฤดู  ได้มีนักวิชาการเกษตรทำการทดลอง โดยใช้สารเอทธีฟอนกับมะม่วงหลายพันธุ์ในบ้านเรา  แต่ก็ไม่ประสพความสำเร็จเท่าที่ควรจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2522-2524  นักวิชาการประเทศไทยหลายคณะได้ทำการทดลองโดยใช้ โปแตสเซียมไนเตรท กับมะม่วงพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อเร่งให้มะม่วงออกดอกก่อนฤดู  ผลการทดลองสรุปได้ว่า โปแตสเซียมไนเตรท  สามารถเร่งให้มะม่วงออกดอกก่อนฤดูได้จริง  แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของต้นมะม่วง สภาพความชื้นภายในดิน แหล่งปลูก พันธุ์ อายุของกิ่ง เป็นต้น

สำหรับสภาพความชื้นภายในดิน  คงไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก แต่จะขอกล่าวถึงสภาพของแหล่งปลูกในสภาพสวนยกร่องและพื้นที่ เช่นดินร่วนปนทรายแถบอำเภอบางคล้าตอนบน จังหวัดฉะเชิงเทรา  ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมะม่วงที่ใหญ่มากแห่งหนึ่ง  คุณมนตรี  วงศ์รักพาณิช  และคณะเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร  ได้ไปทำการทดลองใช้สารโปแตสเซียมไนเตรทและสารอื่น ๆ เพื่อเร่งให้มะม่วงออกก่อนฤดู สวนที่ทำการทดลอง  สามารถสูบน้ำออกจากร่องสวนภายในเดือนตุลคม  ปรากฎว่าการใช้โปรแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 2.5

Read More

ปัจจัยที่ทำให้มะม่วงออกดอกได้ดี

ทำอย่างไรมะม่วงจึงจะออกดอกดี

คุณประทีป  กุณาศล  นักวิชาการสถาบันวิจัยพืชสวน  กรมวิชาการเกษตร  ได้กล่าวว่ามะม่วงจะออกดอกดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังต่อไปนี้

1.  ความอุดมสมบูรณ์ของต้นมะม่วง มะม่วงอายุ 3 ปีขึ้นไป  จะเริ่มให้ผล ถ้าต้นมะม่วงสมบูรณ์มีการเจริญเติบโตดี  ซึ่งขึ้นอยู่กับการใส่ปุ๋ย หลังจากเก็บผลคราวที่แล้ว ก็ต้องมีการให้รางวัลด้วยปุ๋ยมูลวัว 1 ปี๊ปต่อต้น  โรยบริเวณแนวทรงพุ่มพร้อมทั้งเสริมด้วยปุ๋ยเคมีเกรด 15-15-15 จำนวน 1 กิโลกรัมต่อต้น  มะม่วงก็จะงดงามพร้อมที่จะให้ดอกให้ผลต่อไป  โดยที่มะม่วงนี้จะต้องไม่มีโรคแมลงรบกวน  ซึ่งต้องคอยหมั่นตรวจดูเสมอว่ามีแมลงประเภทเพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย แนะหนอนปลอก เข้าทำลายหรือไม่  ถ้าตรวจพบควรใช้ยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึมพ่นป้องกันกำจัดเสีย

2.  ความชื้นภายในดินบริเวณต้นมะม่วง สวนมะม่วงที่ปลูกอยู่ในสภาพสวนยกร่อง  ต้องสูบน้ำออกจากสวนตั้งแต่ช่วงกลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป  ทั้งนี้เพื่อลดความชื้นภายในดิน  ในปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน  มะม่วงดูดน้ำและธาตุอาหารขึ้นไปใช้น้อย จึงทำให้ระดับไนโตรเจนภายในต้นมะม่วงลดต่ำลง  … Read More

กุหลาบที่เป็นต้นตอพันธุ์ที่ดีในการขยายพันธุ์

จากการทดลองของ น.ส. ณัฐยา สามพระยา  เมื่อปี พ.ศ.2518 เป็นการศึกษาความเจริญเติบโตของกุหลาบ พันธุ์มีส ออล อเมริกัน บิวตี้ (Miss All American Beauty) บนต้นตอพันธุ์ต่าง ๆ ที่ปลูกในกระถาง ผลการทดลองปรากฎว่า

ต้นตอ โรซ่า มัลติฟลอร่า (R. multiflora) ให้ผลดีที่สุด แม้ว่าจะมีช่วงอายุการให้ดอกช้ากว่าต้นตอพันธุ์อื่น ๆ ทำให้ต้นพันธุ์ดีที่นำมาติด  มีการเจริญเติบโตดี  ให้ดอกขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว ส่วนต้นตอ โรซ่า ด๊อกเตอร์ ฮุย (Rosa Dr. Heuy) ให้ผลดีรองลงมา  ดอกที่ได้มีขนาดย่อมแต่ดอกดกกว่า  … Read More