Month: March 2011

กุหลาบพันธุ์ต่างๆที่ใช้เป็นต้นตอในการขยายพันธุ์

โดยทั่วไปแล้วเรามักจะสรรหากุหลาบที่จะนำมาใช้เป็นต้นตอ  โดยคัดเลือกจากพันธุ์กุหลาบป่าที่มีระบบรากดี  ทรงพุ่มแข็งแรง  ทนหนาว ทนร้อน มีอายุอยู่ได้นาน ต้านทานโรค  เช่น.-

1.  โรซ่า มัลติฟลอร่า (Rosa multiflora) มีถิ่นกำเนิดในญี่ปุ่น  มีระบบรากดี ทรงพุ่มแข็งแรง ช่อดอกใหญ่ อายุยืน ทนหนาว ทนร้อน ทนต่อโรคใบจุด (black spot) แต่ไม่ทนต่อโรคราขาว (powdery mildew) และโรคเหี่ยว(verticillium wilt) มีข้อสั้น

อีกประการหนึ่งคือ กุหลาบต้นนี้ดูดธาตุโบรอนและคลอรีน สะสมไว้ในใบมากกว่ากุหลาบชนิดอื่น ๆ จึงเป็นผลให้พันธุ์ดีเกิดอาการไหม้ตามขอบใบในฤดูร้อน

 

2. โรซ่า อินดิค่า (Rosa indica) … Read More

การขยายพันธุ์กุหลาบด้วยวิธีการต่อกิ่งและการติดตา

การต่อกิ่ง (grafting)

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้  นิยมทำกับกุหลาบที่ปลูกในกระถาง  ไม่นิยมทั่วไป  เพราะเสียเวลาและไม่มีความแน่อน  อีกทั้งต้องใช้ฝีมือพอสมควร

การติดตา (budding)

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้  ดูเหมือนว่าจะเป็นที่นิยมมากที่สุด  ทั้งนี้เพราะสามารถขยายพันธุ์ดีได้เร็วกว่า คนที่มีความชำนาญในการติดตา  จะสามารถทำการติดตาได้มากกว่า 1,000 ต้นต่อวัน ต่อสองคน อีกทั้งยังสามารถคัดเลือกต้นตอทีเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละท้องถิ่น  และแต่ละพันธุ์ของกุหลาบพันธุ์ดีที่จะนำมาติด

นอกจากนี้  ถ้าตาพันธุ์ดีที่นำมาติดสามารถเข้ากันได้ดีกับต้นตอ  จะช่วยส่งเสริมความดีเด่นในลักษณะต่าง ๆ ของกุหลาบพันธุ์ดีที่นำมาติดด้วย  ยิ่งไปกว่านั้นกุหลาบที่ใช้เป็นต้นตอส่วนมากจะมีระบบรากที่แข็งแรงกว่ากุหลาบพันธุ์ดี  ทำให้การปลูกกุหลาบแต่ละครั้งมีอายุให้ผลยาวนานและผลผลิตสูงกว่าการปลูกกุหลาบจากการตอนกิ่ง  หรือการตัดชำ

กุหลาบที่ใช้ทำเป็นต้นตอ ส่วนมากเป็นกุหลาบป่า (Wild species) หรือกุหลาบเลื้อยบางพันธุ์  กุหลาบแต่ละชนิด แต่ละพันธุ์ ใช่ว่าจะเป็นต้นตอที่ดีที่สุดของกุหลาบพันธุ์ดีทุกพันธุ์เสมอไป

Read More

การขยายพันธุ์กุหลาบด้วยวิธีการตอนกิ่ง

การตอนกิ่งกุหลาบ

ก.  การตอนแบบทับกิ่ง เป็นการขยายพันธุ์กุหลาบเลื้อยที่ทำกันมานานแล้ว  ปัจจุบันยังมีทำกันอยู่บ้าง  ด้วยเหตุที่ให้ผลดีและแน่นอน  มีข้อเสียอย่างเดียวคือได้จำนวนน้อยและเสียเวลา

กิ่งที่ใช้ตอน  ควรจะเป็นกิ่งที่เคยให้ดอกมาแล้ว (ไม่อ่อนเกินไป) เป็นกิ่งอวบสมบูรณ์  ควั่นกิ่งให้ห่างจากยอดประมาณ 6-8 นิ้ว ความยาวของรอยควั่นประมาณครึ่งนิ้ว ลอกเอาเปลือกออก  ขูดเอาเยื่อเจริญออกให้หมด  ทาด้วยฮอร์โมนเร่งราก เอ็น .เอ็น.เอ.  ผสมกับ ไอ.บี.เอ. ในสัดส่วน 1 ต่อ 1 ความเข้มข้น 4,500 ส่วนต่อล้าน (ppm) ทิ้งไว้ให้แห้ง  หุ้มด้วยขุยมะพร้าวเปียก  หรือกาบมะพร้าวที่ทุบให้นุ่ม  แล้วแช่น้ำทิ้งไว้หนึ่งคืนในต่างประเทศใช้สแพกนั่มมอสชื้น ๆ ห่อด้วยแผ่นพลาสติก  มัดหัวท้ายให้แน่นประมาณ 10-12 วันจะมีรากงอกออกมา  สามารถตัดไปปลูกได้

Read More

การขยายพันธุ์กุหลาบด้วยวิธีตัดชำทำได้อย่างไร

2.  การตัดชำ(Cutting)

การขยายพันธุ์กุหลาบด้วยวิธีตัดชำนี้  ทำได้ทั้งการตัดชำราก (root cutting)ตัดชำใบ (leaf cutting) และตัดชำต้น (stem cutting)

การตัดชำราก  ไม่นิยมทำกันเพราะสาเหตุหลายประการ  การตัดชำใบก็เช่นกัน  ทั้งนี้เนื่องจากออกรากช้า  เปอร์เซ็นต์ความเสียหายสูง และอัตราการเจริญเติบโตในระยะแรก ๆ ต่ำมาก  จึงนิยมใช้การตัดชำต้นเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

ก. การตัดชำกิ่งอ่อน (softwood cutting)  กิ่งที่ใช้ในการปักชำไม่ควรมีอายุเกิน 45 วัน  ส่วนมากมักจะได้จากกิ่งที่กำลังบานดอก  หรือหลังจากบานดอกแล้วประมาณ 7 วัน

การตัดกิ่งควรจะทำให้ตอนเช้าความยาวของกิ่งมีประมาณ 12-15 ซม.  รอยตัดควรจะอยู่ใต้ข้อพอดี  … Read More

วิธีการขยายพันธุ์กุหลาบโดยการเพาะเมล็ด

การขยายพันธุ์กุหลาบโดยการเพาะเมล็ด

กุหลาบเป็นไม้ดอกที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายกว่าไม้ดอกอื่น ๆ หลายชนิด คือ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด  การตัดชำทั้งด้วยกิ่งและด้วยราก การตอนกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง  ตลอดจนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

1.  การเพาะเมล็ด

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้  มุ่งที่จะได้พันธุ์ใหม่ ๆ แปลก ๆ เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากกุหลาบที่ปลูกอยู่ทุก ๆวันนี้เป็นลูกผสมทั้งหมด  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงทำให้ได้ทันที  ไม่เหมือนพ่อแม่และไม่เหมือนกันเลยระหว่างลูกด้วยกัน  จึงไม่เหมาะที่จะใช้โดยทั่วๆ ไป  แต่เหมาะสำหรับนักผสมพันธุ์เพื่อที่จะหาพันธุ์ใหม่  ที่มีลักษณะดีเด่นกว่าต้นพ่อต้นแม่

การเพาะเมล็ดกุหลาบแตกต่างจากการเพาะเมล็ดไม้ดอกทั่วๆ ไป  เริ่มต้นจากเมล็ดกุหลาบที่มีการฟักตัวอยู่ชั่วขณะหนึ่ง  หลังจากเก็บเมล็ดมาจากต้นแล้ว  นำมาเพาะทันทีเมล็ดจะไม่งอกแม้จะปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมอย่างไรก็ตาม  ด้วยเหตุนี้  จึงต้องนำเมล็ดไปทำให้พ้นสภาพการฟักตัวเสียก่อน

ก.  การทำให้เมล็ดพ้นจากสภาพการฟักตัว  อาจทำได้ 2 วิธีคือ

1. … Read More

วิธีการปลูกและสรรพคุณของสมุนไพร : กะเพรา

สมุนไพร

กะเพรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum Linn.

ชื่ออื่น ๆ กะเพราขาว กะเพราแดง(ภาคกลาง) กอมก้อ(ภาคเหนือ)

ลักษณะของพืช เป็นไม้ล้มลุกที่มีทรงพุ่มใหญ่และสูงได้ 30-60 ซม.  มีขนปกคลุม

ทั่วไป เนื้อใบบางและนุ่ม  ก้านใบยาว 1-3 ซม.  ตัวใบรูปร่างรีหรือรี

ขอบขนาน กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 2-4.5 ซม.  ปลายใบและโคนใบ

อาจแหลมหรือมน  ขอบใบค่อนข้างหยัก  เส้นใบทั้ง 2 ด้านมีขนปก

คลุม ดอกออกรวมกันเป็นช่อ  ยาว 8-14 ซม.  … Read More

ปริมาณของผลผลิตและราคาจำหน่ายหน่อไม้ฝรั่ง

ปริมาณของผลผลิต

ต้นฤดูฝน (มิ.ย.-ก.ย.)  ผลผลิตจะสูงมาก เมษายนผลผลิตจะลดลงในช่วงฤดูหนาว (ต.ค.-ม.ค.)  ผลผลิตจะลดลงมาก

ราคาจำหน่าย

คิดราคาตามเกรด  คือ  เกรดเอพิเศษ  จำหน่าย กก.ละ  40  บาท

เกรดเอ  จำหน่าย  กก.ละ  35-40  บาท

เกรดบี  จำหน่าย  กก.ละ 30  บาท

เกรดซี  จำหน่าย กก.ละ  8  บาท

Read More

ขั้นตอนของการปลูกหน่อไม้ฝรั่งโดยสรุป

ขั้นตอนของการปลูกหน่อไม้ฝรั่งโดยสรุป

1. เพาะกล้านาน 4-5 เดือน

2.  ย้ายกล้าไปปลูกในแปลงใหญ่  เลี้ยงต้นให้เจริญเติบโตสมบูรณ์นาน 7-10 เดือน  ซึ่งเป็นระยะเริ่มตัดหน่ออ่อนได้

3.  ก่อนตัดหน่ออ่อน 7 วัน  ใส่ปุ๋ย  ตัดหรือถอนต้นแก่ออกบ้างให้เหลือกอละ 3-4 ต้น  แล้วพูนดินกลบโคน

4.  เก็บหน่อวันนเว้นวัน  พร้อมกับใส่ปุ๋ยตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในรายละเอียดเรื่องการใส่ปุ๋ย

5.  ต้นเดือนพฤศจิกายน  หยุดตัดหน่อ  ใส่ปุ๋ยปล่อยให้ต้นเจริญเติบโตไปจนสมบูรณ์ดีประมาณ 2-3 เดือน  ใส่ปุ๋ย ปล่อยให้ต้นเจริญเติบโตไปจนสมบูรณ์ดีประมาณ 2-3 เดือน ใส่ปุ๋ยอีกครั้ง  แล้วตัดหรือถอนต้นแก่ออกบ้าง  เหลือไว้ก่อน 3-4 ต้น

6.  ต่อมาอีก

Read More

หลักการและวิธีในการตัดหน่ออ่อนของหน่อไม้ฝรั่ง

วิธีการตัดหน่ออ่อนทำดังนี้

การตัดหน่อขาว ถ้าต้องการตัดเป็นหน่อขาว  ส่งโรงงานอุตสาหกรรม  ก็เลือกหน่อที่โผล่พ้นดินขึ้นมายาวประมาณเซนติเมตร คุ้ยดินรอบๆหน่อออก แล้วใช้มีดคม ๆ ตัดตรงโคนหน่อ  ระวังอย่าให้กระทบกระเทือนถึงหน่ออื่นที่กำลังแทงขึ้นมา  หลังจากตัดหน่อแล้วต้องพูนดินกลบโคนไว้ให้เรียบร้อยตามเดิม

สำหรับหน่อไม้ฝรั่งชนิดขาวที่ผู้รับซื้อนำไปบรรจุกระป๋อง  จะให้ราคาตามขนาดหรือเกรดของหน่อ  ขนาดของหน่อไม้ฝรั่งบรรจุกระป๋อง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศการแบ่งขนาดไว้แล้ว  โดยแบ่งขนาดตามเส้นผ่าศูนย์กลางของหน่อ  หมายถึง ความกว้างที่วัดได้จากส่วนที่โตที่สุดของหน่อ  วัดให้ตั้งฉากกับความยาวของหน่อไม้ฝรั่ง

การเก็บหน่อเขียว หน่อเขียวเป็นหน่อชนิดที่ใช้บริโภคสด  ถ้าเก็บหน่อเขียวต้องปล่อยให้หน่ออ่อนแทงหน่อพ้นดินขึ้นมาเสียก่อน  หน่อจะมีสีเขียว  เพราะถูกแสงแดดจนกระทั่งมีความสูงประมาณ 20-24 เซนติเมตรจากระดับดิน  ก็ทำการเก็บคุ้ยดินโคนหน่อออก ให้มีดคม ๆ ตัดชิดโคน  ระวังอย่าให้กระทบกระเทือนหน่อที่กำลังแทงขึ้นมา  ตัดแล้วพูนดินกลบโคนให้เรียบร้อย  สำหรับหน่อเขียวที่มีขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร  พ่อค้าจะไม่รับซื้อ  ควรตัดออกไว้รับประทานเอง

หน่ออ่อนที่ตัดได้ในปีแรกส่วนใหญ่จะเป็นขนาดเล็ก  ในปีถัดไปจึงจะให้หน่อที่มีขนาดโตขึ้น  … Read More

เกษตรกรควรเลือกเก็บเกี่ยวหน่อไม้ฝรั่งชนิดใดบ้าง

  • การเก็บเกี่ยว หลังจากย้ายกล้าไปปลูก  ในแปลงปลูกประมาณ 7-10 เดือน  ถ้าต้นสมบูรณ์ดีก็เริ่มเก็บหน่อได้  ซึ่งการเก็บหน่อทำได้ 2 วิธี คือ

–           การเก็บหน่อขาว

–           การเก็บหน่อเขียว

เกษตรกรจะเลือกเก็บหน่อชนิดไหน ย่อมสุดแล้วแต่การตัดสินใจของผู้ปลูกเอง  ว่าจะเก็บขายเป็นหน่อขาวหรือหน่อเขียว หน่อขาวนั้น พ่อค้าผู้รับซื้อจะนำไปบรรจุกระป๋อง  ถ้าเป็นหน่อเขียวก็เป็นหน่อชนิดที่พ่อค้าจำหน่ายแก่ผู้นำไปบริโภคสด  ราคาก็แตกต่างกัน  แต่โดยปกติราคาหน่อขาวจะแพงกว่าหน่อเขียวเล็กน้อย  เพราะการเก็บหน่อชนิดขาวต้องใช้แรงงานเพิ่มขึ้น  ในเรื่องการพูนดินกลบโคนและการขุดหน่อ

ก่อนจะเริ่มเก็บหน่ออ่อนประมาณ 1 สัปดาห์ ต้องตัดหรือถอนต้นหน่อไม้ฝรั่งที่แก่ทิ้งเสียบ้าง  ถ้าใช้วิธีตัดต้นต้องตัดให้ชิดดิน  เหลือต้นที่สมบูรณ์ไว้เลี้ยงกอประมาณ 3-4 ต้นเท่านั้น และใส่ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีตามวิธีการใส่ปุ๋ยดังกล่าวแล้วข้างต้น  ทั้งนี้เพื่อให้ต้นหน่อไม้ฝรั่งได้รับอาหารสมบูรณ์เต็มที่ แล้วพูนดินกลบโคนในปีแรกของการเก็บหน่อควรพูนดินสูงประมาณ 10-12 เซนติเมตร ไม่ควรสูงเกิน 15 เซนติเมตร  … Read More