Month: September 2011

สารพัดประโยชน์ของข้าวตามตำราแพทย์แผนไทย

ธรรมชาติบำบัด (รศ.ดร.ไมตรี  สุทธจิตต์/รศ.ศิริวรรณ  สุทธิจิตต์)

เมล็ดข้าว ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ สารอาหารสำคัญข้าวกล้อง

1.  โปรตีน ข้าวแต่ละจานให้โปรตีนสูงเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แม้จะเป็นโปรตีนที่พร่องกรดอะมิโนจำเป็น Lys.และThr.เล็กน้อย แต่เมื่อบริโภคร่วมกับอาหารอื่น ๆ ก็จะได้โปรตีนที่สมบูรณ์

2.  คาร์โบไฮเดรต ข้าวเป็นแหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เป็นโปลีเมอร์ของน้ำตาล

3.  ไขมัน ส่วนมากเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว

4.  ไวตามิน ข้าวเป็นแหล่งสำคัญของไวตามิน B ซึ่งช่วยการย่อยสลาย นำสารอาหารจากข้าวไปใช้ และมีไวตามิน E สูง

5.  เกลือแร่ ข้าวมีแร่ธาตุสำคัญหลายชนิดในปริมาณสูง เช่น แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และไอโอดีน … Read More

ขนมไทยหลากหลายรสชาติจากข้าว

ขนมปลากริมไข่เต่า

ส่วนผสมตัวปลากริมและไข่เต่า

แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย

แป้งข้าวเหนียว 1 ถ้วย

แป้งมัน ½ ถ้วย

น้ำร้อนเดือด 1 ถ้วย

มะพร้าวขาว ½ กิโลกรัม

น้ำดอกไม้สด 3 ถ้วย

วิธีทำ

1.  ผสมแป้งข้าเข้า แป้งข้าวเหนียว และแป้งมันรวมกัน เทน้ำเดือดลงไปแล้วใช้ไม้พายคนให้เข้ากัน นวดแป้งให้เหนียวนุ่มมือ แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง

2.  นำแป้งที่หมักแบ่งเป็น 4 ก้อน แล้วหยิบแป้งมาครั้งละ 1 ก้อน คลึงให้เป็นแท่งยาว จากนั้น กดให้แบนหนาครึ่งนิ้ว กว้างหนึ่งนิ้วครึ่งใช้แป้งมันเป็นแป้งนวล จะช่วยไม่ให้ติดกระดาน … Read More

การเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อแนวเกษตรอินทรีย์

หอยเป๋าฮื้อหรือหอยโข่งทะเล(abalone)เป็นหอยทะเลฝาเดียวที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเลสะอาด ความเค็มสูงระหว่าง 32-33 ส่วนในพัน อาศัยอยู่ตามแนวหินหรือปะการัง จัดเป็นหอยที่กินพืช(Herbivotous feeder)เป็นอาหารโดยขูดกินตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายขนาดเล็กในกลุ่มสีแดง สีน้ำตาลและสีเขียวที่เกาะติดอยู่ตามก้อนหิน

หอยเป๋าฮื้อเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศษรษฐกิจที่นิยมบริโภค เนื่องจากมีรสชาติดีและมีราคาแพง ดังนั้นเมื่อนำหอยเป๋าฮื้อมาเลี้ยงในบ่อบนฝั่งจะนำสาหร่ายทะเลชนิดต่าง ๆ ที่สามารถเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติหรือเพาะเลี้ยงให้เป็นอาหาร เช่น สาหร่ายผมนาง(Gracilaria) หรือสาหร่ายหนาม(Acanthophora)หรืออาจให้อาหารสำเร็จรูปที่วิจัยและพัฒนาโดยกรมประมงซึ่งเป็นอาหารที่มีสาหร่ายและโปรตีนจากพืชเป็นส่วนประกอบจึงไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม กรมประมงประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อชนิด Haliotisasinina ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ต่อจากนั้นกรมประมงได้วิจัยและพัฒนาเทคนิคการเพาะพันธุ์หอยชนิดนี้มาโดยตลอด ปัจจุบันกล่าวได้ว่าสามารถควบคุมทำให้หอยชนิดนี้ปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ได้ตลอดปี และมีผลผลิตเป็นลูกหอยที่พร้อมจะนำไปเลี้ยงต่อในเชิงพาณิชย์อีกด้วย นอกจากนี้กรมประมงยังได้ถ่ายทอดความรู้ในด้านการเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อไปสู่เกษตรกรโดยใช้แนวทางแบบเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้เพื่อให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดนี้เป็นการทำประมงแบบยั่งยืนไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคในขณะเดียวกัน

การเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อแนวเกษตรอินทรีย์

การเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน

1.  รวบรวมพ่อแม่พันธุ์หอยจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ เพื่อนำมาเพาะพันธุ์ในช่วงแรก โดยเก็บเฉพาะพ่อแม่พันธุ์ขนาดความยาวเปลือกตั้งแต่ 8 ซม.ขึ้นไป และรวบรวมโดยไม่ทำลายแหล่งที่อยู่ของหอยทั้งไม่ทำให้หอยเกิดบาดแผลระหว่างการรวบรวม ซึ่งเป็นการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในขั้นตอนแรกของการเพาะพันธุ์

2.  กระตุ้นให้หอยปล่อยเซลล์สืบพันธ์  … Read More

แป้ง:แหล่งที่มาและประโยชน์ของแป้งชนิดต่าง ๆ

ผศ.ศรีสมร  คงพันธุ์

แป้งข้าวเจ้า

ทำมาจากข้าวเจ้า ซึ่งส่วนมากมักใช้ทำขนมหวาน ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ปัจจุบันแป้งข้าวเจ้าที่ขายกันตามท้องตลาดมี 2 ชนิดคือ แป้งข้าวเจ้าชนิดแห้งและเป็นแป้งป่นละเอียดมาก ขาวสะอาด บรรจุในถุงพลาสติก ผลิตโดยโรงงานอุตสาหกรรม อีกชนิดหนึ่งคือชนิดเปียก ชนิดนี้ทำขายวันต่อวัน ถ้าค้างคืนจะเหม็นบูด บางคนที่ทำขนมขายเป็นอาชีพมักจะทำแป้งข้าวเจ้าใช้เอง คือแช่ข้าวสารหรือปลายข้าง ซึ่งเลือกและล้างสะอาดแล้วในน้ำพอท่วมประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วบดให้ละเอียดด้วยโม่หินหรือเครื่องบด ถ้าแห้งที่ออกมายังหยาบจะโม่หรือบดซ้ำใหม่อีกจนกว่าจะได้แห้งที่ละเอียดกรองด้วยถุงผ้า มัดปากถุงให้แน่นแล้วทับให้สะเด็ดน้ำ จะได้แป้งข้าวเจ้าชนิดเปียก ในการทำขนมจะต้องเติมน้ำลงไปในแป้ง และนวดจนกว่าจะได้ลักษณะของแป้งตามต้องการที่ใช้ทำขนมชนิดนั้น ๆ

แป้งข้าวเหนียว

ทำมาจากข้าวเหนียว ลักษณะที่ขายกันตามท้องตลาดและกรรมวิธีทำแป้งข้าวเหนียว มีลักษณะเช่นเดียวกับแป้งข้าวเจ้า ส่วนมากใช้ประโยชน์ในการทำขนมหวาน ในปัจจุบันมีการทำในโรงงานอุตสาหกรรม คือโม่หรือบดเป็นแป้งแห้งบรรจุถุงขาย เช่น แป้งสาลี แป้งข้าวเหนียว

Read More

ปลิงรักษาโรคได้จริงหรือไม่

ภูมิปัญญาไทย พญ.เพ็ญนภา  ทรัพย์เจริญ

เมื่อพูดถึงกระบวนการรักษาแบบหวือหวาในแผนโบราณของไทยเราก็มีเยอะมาก แล้วก็กระเดียดไปทางประหลาด ๆ ก็มากอยู่ ยกตัวอย่างเช่นในสมัยโบราณหรือเดี๋ยวนี้ก็เถอะ เมี่อมีอะไรเข้าตา โบราณเขาให้กลั้นลมหายใจและเอาน้ำรดที่หัวแม่เท้าอาการที่ตาก็จะหายไป บางคนพริกเข้าตายายก็บอกว่าไปเอาน้ำมาขันหนึ่งแล้วกลั้นลมหายใจแล้วให้เทน้ำรดหัวแม่เท้า พลันกก็หายจริง ๆ ด้วยก็แปลกเหมือนกัน ทำให้หมอต้องอุทานในใจว่า ทำไมตาไปเกี่ยวอะไรกับตีนหนอ แต่ตอนหลังหมอมาเรียนแผนไทย หมอถึงรู้ว่าเส้นสิบในทฤษฎีการแพทย์แผนไทยทั้ง 10 เส้น ล้วนตั้งต้นจากตำแหน่งที่ท้องทั้งสิ้น วิ่งไปตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่เท้าจรดศีรษะ และมีอยู่ 2 เส้นที่เรียกว่า “เส้นสหัสรังษี” ออกที่ตาข้างซ้าย “เส้นทุวารี” ออกที่ตาขวา ซึ่งทั้ง 2 เส้นนี้วิ่งผ่านไปที่หัวแม่เท้าและออกที่ตาทั้งสองข้าง ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคนไทยโบราณรู้ได้อย่างไรว่าเส้นเหล่านี้มีผลกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายถึงบำบัดได้ถูกต้อง แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นคงมาจากประสบการณ์ที่สั่งสมมานั่นเอง

จะพูดถึงกระบวนการรักษาที่หวือหวาให้ฟังเรื่องหนึ่ง ไม่ต้องไปทำตาม … Read More

สีผสมอาหาร:การทำสีผสมอาหารจากพืชสมุนไพร

สีเหลืองจากขมิ้นชัน

วิธีทำ-วิธีใช้

ล้างดิน ปอกเปลือก โขลกให้ละเอียด เติมน้ำแล้วกรองเอาแต่น้ำใช้ผสมกับข้าวเหนียวมูน-หน้ากุ้ง ข้าวหมก แกงกะหรี่ แกงเหลือง แกงพุงปลา

สีเหลืองจากขมิ้นอ้อย

วิธีทำ-วิธีใช้

ทำวิธีเดียวกับขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อยจะให้สีเหลืองดอกบวบ เช่น ขนมเบื้องญวน และอื่น ๆ

สีเหลืองจากดอกคำฝอย

วิธีทำ-วิธีใช้

ใช้กลีบดอกตากแห้งให้สีเหลืองอ่อน นำมาต้มกับน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาที กรองอากากทิ้ง ใช้น้ำสีเหลืองผสมขนมต่าง ๆ ที่เป็นสีเหลือง

สีเหลืองจากดอกกรรณิการ์

วิธีทำ-วิธีใช้

ใช้ก้านดอกสีแสด บีบให้ช้ำเติมน้ำเล็กน้อย ใส่ผ้าขาวห่อคั้นเอาแต่น้ำใช้ผสมอาหาร

สีเหลืองจากลูกตาลสุก

วิธีทำ-วิธีใช้

เลือกลูกตาลอย่าให้งอมนัก ลอกเปลือกแข็งออกใส่น้ำพอท่วมนวดเอาเนื้อเละ ๆ ออก เติมน้ำอีกเท่าตัว … Read More

เพาะเห็ดกินเองในครัวเรือนได้อย่างง่าย ๆ

โดยทั่วไป ถ้าพูดถึงเพาะเห็ดแล้ว คนส่วนใหญ่คงจะนึกถึง การใช้พื้นที่เยอะและมีโรงเรือนขนาดใหญ่ มีคนคอยดูแลอย่างเป็นประจำ ซึ่งที่จริงแล้วถ้าเราต้องการจะเพาะเห็ดกินเอง ก็ทำได้ไม่ยากมีพื้นที่ 1 ตารางเมตร ก็สามารถมีเห็ดไว้บริโภคได้ทุกวัน

เราสามารถเลือกเพาะเห็ดกินเองได้หลากหลายชนิด ขึ้นอยู่กับความชอบของเรา แต่ถ้าจะให้ดีควรเลือกเห็ดที่สามารถเพาะง่ายไปก่อนเช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดภูฐาน เห็นขอนขาว เห็ดฟาง ซึ่งเห็ดเหล่านี้ จะออกดอกได้ง่ายและเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิปกติของบ้านเรา เมื่อเกิดความชำนาญดีแล้ว จึงค่อย ๆ ขยายไปเพาะเห็ดที่ยากขึ้น อย่างเช่นเห็ดหอม เห็ดโคนญี่ปุ่น ที่จะออกดอกได้และเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิเย็น 20-30 องศาเซลเซียส)

ส่วนวิธีการเพาะจะประยุกต์มาจากวิธีการที่เพาะเห็ดโดยทั่วไป แต่เราจะมาย่อขนาดให้เล็กลง ถ้าเป็นเห็ดทั่ว ๆ ไป ยกเว้นเห็ดฟาง เราสามารถเพาะในก้อนถุงพลาสติกหรือบนท่อนไม้ก็ได้ ถ้าเป็นเห็ดฟางใช้วิธีเพาะในตะกร้า

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกRead More