Month: September 2012

การผสมพันธุ์พืช

ตามปกติเราแยกพืชออกตามลักษณะการผสมพันธุ์ได้ 2 ชนิด คือ

1. พืชผสมตัวเอง พืชพวกนี้ละอองเกสรจะผสมกับไข่ในดอกเดียวกัน ปกติดอกพืชพวกนี้จะบานช้า คือบานต่อเมื่อได้รับการผสมแล้ว การที่ดอกไม่บานจึงเป็นการบังคับให้ละอองเกสรผสมกับไข่ในดอกเดียวกัน พืชพวกนี้ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวสาลี ฯลฯ

2. พืชผสมข้าม พืชพวกนี้ละอองเกสรอาจผสมกับไข่ของคนละดอก ที่อยู่บนต้นเดียวกัน หรือคนละต้นก็ได้ เช่นข้าวโพด มีดอกตัวผู้อยู่ที่ยอด และช่อดอกตัวเมียอยู่ด้านข้าง และฟักทองซึ่งมีดอกตัวผู้ตัวเมียแยกกันอยู่

การผสมพันธุ์พืช เป็นการขยายพันธุ์โดยใช้เครื่องเทศ (เมล็ด) การผสมและปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นวิธีการที่มนุษย์จัดทำขึ้น ด้วยเหตุที่เราต้องการประโยชน์จากพืชมากขึ้น เช่น ความต้องการเรื่องอาหารเพิ่ม ต้องการลักษณะพิเศษเฉพาะอย่าง หรือต้องการให้มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้น เราจึงต้องมีการบังคับการผสมพันธุ์ขึ้น เช่น ข้าวโพดลูกผสม กข. … Read More

การขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์ของพืชมี 2 แบบคือ

1. การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ( Sexual Reproduction)

2. การขยายพันธุ์โดยใช้สวนต่าง ๆ ของพืช (Asexual Reproduction)

การขยายพันธุ์โดยเมล็ด เป็นวิธีขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของพืชที่มีดอก โดยที่การผสมพันธุ์จะเกิดบนต้นเดียวกันหรือคนละต้นก็ได้ การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดมีข้อดีและข้อเสีย ดังนี้

ข้อดี                                                                       ข้อเสีย

-แพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว                                              -ให้ผลิตผลช้า

-มีระบบรากแข็งแรงดีอายุยืน                                  -เมล็ดเน่าเสียการงอกต่ำ

-การกลายพันธุ์ทำให้เกิดพันธุ์ใหม่                          -อาจมีการกลายพันธุ์

-มีรากแก้ว ใช้รากเก็บอาหาร (ผักกาดหัว มันเทศ)  -เก็บรักษายาก อาจถูกโรค

และแมลงรบกวน

เปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ

-ได้พืชที่สมบูรณ์ ขนาดมาตรฐานเท่ากัน (อายุ การออกดอก…)

-สะดวก … Read More

การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจ

การปลูกมะพร้าว

มะพร้าวที่ปลูกกันทั่ว ๆ ไปมี 2 พวกใหญ่ ๆ คือ มะพร้าวสูง (ตกผลเมื่อ อายุ 5-6 ปี ขึ้นไป) เช่นมะพร้าวใหญ่ มะพร้าวปากจก มะพร้าวกะโหลก ฯลฯและมะพร้าวเตี้ย (ตกผล เมื่ออายุ 3-4 ปี) เช่น มะพร้าวเบา มะพร้าวหมูสี มะพร้าวนกคุ่ม มะพร้าวทุ่งเคล็ค เป็นต้น นอกจากนี้อาจจะมีมะพร้าวกลาง ซึ่งมีอายุการตกผลและขนาดของลูกอยู่ระหว่างมะพร้าวใหญ่และเตี้ย(ตกผลใน 4- 5 ปี)

มะพร้าวขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด เช่นดินร่วน ดินทราย และดินเหนียว (แต่ต้องระบายน้ำได้ดี ไม่ขังแช่) หน้าดินลึกไม่มีหินหรือดินดานข้างใต้… Read More

การปลูกพืชเศรษฐกิจ

ถั่วเขียว

-ชอบดินแทบทุกชนิด ดินเป็นกลาง  (pH 6.8-7.2)

-พันธุ์: ถั่วเขียวธรรมดา, ถั่วทอง ถั่วเขียวเม็ดใหญ่

-ฤดูปลูก: ต้นฝน ปลายฝน, หลังเก็บเกี่ยวข้าว

-วิธีปลูก: หว่านใช้เมล็ด 10-12 ก.ก./ไร่ หยอดหลุม ๆ ละ 4-5 เมล็ด ระยะระหว่างหลุมXแถว =25×75 ซ.ม. หรือ 30×50 ซ.ม. เรียงเมล็ดในร่อง โดยโรยเมล็ดห่างกัน 3-5 ซ.ม. และร่องแหวกไว้ห่างกัน 60-70 ซ.ม.

-ใส่ปุ๋ยสูตร 10-20-20 จำนวน 30 ก.ก/ไร่ … Read More

เรือนเพาะชำไม้ดอกไม้ประดับ

เรือนเพาะชำ (Nursery) เป็นสถานที่ที่ใช้เพื่อดูแลรักษาไม้อ่อน กิ่งตอน กิ่งชำ ของไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ ที่จะต้องปลูก เพาะขยายพันธุ์และต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ เรือนเพาะชำมีประโยชน์ต่อการปลูกพืชหลายประการ เช่น

1. เป็นสถานที่เพาะเมล็ดและปักชำ และเพาะเลี้ยงไม้อ่อน

2. เป็นสถานที่สำหรับเลี้ยงพันธุ์ไม้ที่ต้องการความชื้นสูง แต่ต้องการแสงแดดแต่พอควร เช่น หน้าวัว กล้วยไม้ ดาดตะกั่ว เฟิร์น เป็นต้น

3. เป็นที่เก็บรักษาพันธุ์ไม้ให้ปลอดภัยจากสัตว์ทำลาย

4. เป็นที่รวมพันธุ์ไม้ และเพื่อการพักฟื้นพันธุ์ไม้ที่นำมาใหม่

5. เป็นที่เก็บเมล็ดพันธุ์ เครื่องมือและอุปกรณ์การปลูกพืช หรือจัดเป็นที่โชว์สินค้า

การสร้างเรือนเพาะชำ

1. สถานที่ ควรเป็นบริเวณที่นํ้าไม่ท่วม ใกล้แหล่งนํ้าดินระบายน้ำดี … Read More

การปลูกผักและการบำรุงรักษา

การทำสวนผัก หมายถึง การปลูกพืชล้มลุกหรือพืชที่มีอายุสั้นเพียงไม่เกินหนึ่งปี เช่นพวกผักต่างๆ ได้แก่ ผักกาด ผักคะน้า พริก หอม มะเขือ แตงต่างๆ ฯลฯ

ผักที่ให้ประโยชน์แก่มนุษย์มี 7 ประเภทคือ

ก. พวกผักกินใบ เช่น ผักกาด กะหล่ำปลี ผักบุ้ง คะน้า สะระแหน่ ตำลึง ฯลฯ

ข. พวกผักกินผล เช่น มะเขือเทศ มะเขือต่าง ๆ พริก ฟักทอง แตงกวา มะระ บวบ ฯลฯ

ค. พวกผักกินหัว ได้แก่ … Read More

การป้องกันและกำจัดหนู

1. โดยการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู เช่น การถางหญ้าวัชพืช ตามคันนา คูนํ้า หรือบริเวณไร่นาให้โล่งเตียนอยู่เสมอ เป็นการลดที่อยู่อาศัยและหลบซ่อนของหนู นอกจากนี้ยังทำให้แลเห็นรูหนูได้ง่ายและสะดวกต่อการกำจัด

2. โดยใช้วิธีกล เช่น ใช้กับดัก ใช้วิธีการขุดรูหนู การล้อมตีหนู วิธีดังกล่าวจะต้องออกไปทำงานเป็นหมู่ ๆ หมู่ละหลายๆ คน และที่ทำเป็นประจำ คือ 2-3 เดือนทำหนึ่งครั้ง หรือจะทำควบคู่ไปกับการใช้ยาเคมีเบื่อหนู ก็ได้ผลดี

3. โดยใช้ยาเคมีกำจัดหนู ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

3.1 กรณีที่พบความเลียหายหรือร่องรอยของหนูมีน้อย ให้กำจัดโดยใช้ยาประเภท ออกฤทธิ์ช้า เช่น ราคูมิน หรือวอร์ฟาริน ผสมกับเหยื่อ นำไปวางในไร่นา ตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งจะมีผลเป็นการป้องกันไม่ให้หนูขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นรวดเร็ว จึงสามารถรักษาระดับจำนวนหนูในไร่ในนาให้มีจำนวนน้อยอยู่เสมอซึ่งทำให้ต้นพืชไม่ได้รับความเสียหาย … Read More

ปลวกและการกำจัด

ปลวกเป็นศัตรูที่ร้ายกาจของเกษตรกร เพราะปลวกกัดกินพืชที่ปลูก ป่าไม้ ท่อนซุง ไม้แห้ง ไม้สด พวกเศษหญ้า เศษฟาง อินทรีย์วัตถุ หนังสัตว์ กระดาษ พรม ผ้า และแม้กระทั่งพวกพลาสติกต่าง ๆ ปลวกกัดกินพวกเยื่อใยได้ดี เพราะในกระเพาะของปลวกมีพวกแบคทีเรีย โปรโตซัว และราบางชนิด ที่จะช่วยย่อยเยื่อใยและเศษพืชให้เป็นอาหารของมัน ปลวกสามารถสร้างรังอยู่บนต้นไม้ บนพื้น บนดิน กองไม้ หรือจะสร้างรังอยู่ใต้ดินก็ได้ ปลวก สามารถสร้างรังได้เร็วกว่ามดและผึ้ง ปลวกที่อยู่ในระยะตัวอ่อนและเป็นปลวกทหารจะเป็นศัตรูที่ก่อความเสียหายแก่บ้านเรือน ต้นไม้ เครื่องมือของใช้อย่างมาก แค่ปลวกก็มีศัตรูธรรมชาติอยู่มากเช่นกัน เช่นแมลงเม่าที่บินมาเล่นแสงไฟในเวลากลางคืน จะมีพวกจิ้งจก กิ้งก่า งู กบ แมลงปอ นกคอยจับกิน พวกปลวกทหารและปลวกงานที่อยู่ในรังจะมีศัตรูเช่น พวกงู … Read More

ยาพิษและการแก้พิษ

ยาพิษ สารพิษ                          ยาแก้ วิธีแก้พิษ (Antidotes)

กรด                                         น้ำปูนใส น้ำสบู่ ไข่ขาวดิบ แมกนีเซียม

และผงชอล์คละลายน้ำ

แอลกอฮอลล์                            กาแฟดำ

แอมโมเนีย                               น้ำส้มสายชู

สารหนู                                    น้ำปูนใส ไข่ขาวดิบ นม ทำให้อาเจียน

แล้วตามด้วยเฟอรัสอ๊อกไซด์ หรือตีไข่ขาวใส่ในนมและแมกนีเซียม

โซดาไฟ                                   น้ำส้ม น้ำมะนาว ไข่ขาวดิบ

ไซยาไนด์                                 ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

ไอโอดีน                                   นํ้าแป้งเปียก

ตะกั่ว                                       ไข่ขาวดิบ น้ำนม

เกลือของปรอท                        น้ำนม ไข่ขาวดิบ

เกลือทองแดง สังกะสี               ไข่ขาวดิบ กาแฟ… Read More

เคมีภัณฑ์เกษตรและการกำจัดศัตรูพืช

เคมีภัณฑ์เกษตร

ในปัจจุบันบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ได้ผลิตเคมีภัณฑ์ออกมามากมายหลายชนิด เช่น ฮอร์โมนสำหรับพืชสัตว์ ยาปราบเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ยาฆ่าแมลงและไส้เดือนฝอย ยาฆ่าหญ้า และยาสัตว์ชนิดต่าง ๆ แต่ทว่าเกษตรและประชาชนทั่วไปยังไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างละเอียด จึงทำให้การใช้ยาไม่ได้ผล หรือใช้ยาเกินอัตราที่กำหนด จนก่อให้เกิดอันตรายต่อคนและสัตว์ ทั้งนี้เพราะเขามิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเข้มงวด เช่น ใช้ยาเข้มข้นเกินไป ไม่เห็นแมลงก็ฉีดกันไว้ก่อน ฉีดยาผิดประเภท ฉีดยาก่อนเก็บเกี่ยวเพียง 1-2 วัน ฉีดตอนผลผลิตสูง เครื่องมือ ไม่ถูกวิธี ฉีคยาโดยไม่สวมเสื้อ รองเท้า หน้ากาก ฉีดยาทวนลม สูบบุหรี่ขณะฉีดยา และไม่ชำระร่างกายหลังจากฉีดยา ฯลฯ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรรู้จักชนิด หน้าที่ประโยชน์ และวิธีใช้เคมีภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ไว้ด้วยจึงจะปลอดภัยด้วยกันทุกฝ่าย… Read More