Month: October 2012

ว่านขมิ้นขาว(เสน่ห์)

ขมิ้นขาว

ลักษณะ หัว….เล็ก ๆ กลมรีคล้ายหัวกระชาย แตกเป็นหรด จากต้นแม่ที่ขึ้นก่อน แยกออกไปคล้ายรากของต้นหญ้าคา เนื้อในหัวเป็นสีขาวแกมเหลืองอ่อนๆ กลิ่นหอมฉุนเล็กน้อย

ต้น ก้าน ใบ….คล้ายกันกับขมิ้นชัน แต่เล็กกว่า ก้านใบเขียว ปลายใบแหลมเรียว

ดอก….ขึ้นเป็นช่อ ที่กลางยอดของลำต้น บานเป็นชั้นๆ สีขาวแกมเขียว

สรรพคุณ ปลูกไว้เป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมแก่บ้านเรือนร้านค้าดีนัก หัวใช้กินเป็นคงกระพันธ์ชาตรีหรือจะกินให้เป็นพละกำลังก็มีอนุภาพอย่างมหัศจรรย์ไม่น้อย ก่อนกินให้เศกด้วยคาถา “นะโมพุทธายะ” 3 จบเสียก่อน หรือจะใช้หัวนำติดตัวไปไหนๆ ก็เป็นเมตตาไม่น้อยเชียว

วิธีปลูก ให้เลือกวันที่เป็นศิริมงคลกับตัวของเจ้าของว่าน หรือวันที่เป็นมงคลต่าง ๆ เลือกเป็นวันปลูกเอาเถิด ว่านนี้เป็นว่านที่ให้คุณต้นหนึ่ง

Read More

สรรพคุณของขมิ้นขาว

ขมิ้นขาว

ว่านขมิ้นขาวปัดตลอด

ลักษณะ หัวเหมือนขมิ้นอ้อยแต่เล็กกว่า แตกหัวจากต้นแม่ที่ขึ้นก่อน แยกออกเป็นต้น เป็นแง่งออกไปเหมือนขมิ้น เนื้อในหัวเป็นสีขาว กลิ่นฉุนกว่าขมิ้น

ต้น ก้าน ใบ  เหมือนขมิ้น แต่เขียวกว่า ปลายใบแหลม

ดอก  ยังไม่เคยออกให้เห็น

สรรพคุณ ท่านว่านำมาปลูกไว้กับสถานที่ใดๆ ก็จะนำความเป็นมงคลมาให้กับสถานที่นั้นๆ อีกทั้งยังนำโชคลาภ และความเจริญ ตลอดจนเมตตามหานิยมอำนาจมาสู่กับตัวผู้เป็นเจ้าของว่าน อนุภาพของว่านต้นนี้ท่านว่าจะนำความร่มเย็นเป็นสุข ความมั่งคั่งความสมบูรณ์พูลผล ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานมาสู่ดีนัก

หัว….ยังใซ้กินเป็นคงกระพันธ์ชาตรีได้อย่างดียอดเยี่ยมอีกด้วย ผู้ใดที่ปัญญาความจำไม่ดี สมองไม่แจ่มใสท่านว่ากินว่านนี้ไปเป็นประจำท่านว่าจะกลับกลายเป็นคนละคนไปเชียว ท่านว่าหากไม่เชื่อให้ทดลองดูเอาเองเหอะ หากจะนำติดตัวไปก็เป็นเมตตามหานิยม ค้าขายดี ป้องกันพิษว่าน ที่มีอนุภาพเป็นอันตรายต่างๆ ได้อีกด้วย

วิธีปลูก เวลาปลูกท่านให้อธิษฐานเอาเองตามใจปรารถนา จะสมประสงค์ทุกประการแล

Read More

ว่านขันหมาก

ว่านขันหมาก

ลักษณะ ใบคล้ายจำปี หรือใบจำปา แต่เล็กกว่ามีสีเขียว ลำต้นส่วนที่อยู่บนดินมีสีขาวเหลือบ ลำต้นส่วนที่อยู่ใต้ดินและหินมีสีเหลือง ลำต้นเป็นปล้องๆ สีเหมือนว่านกวักทางลายแต่เรียวและเล็กกว่ามีรากยึดติดกับดินและหิน 3 แฉกบ้าง 4 แฉกบ้าง เหมือนกับตีนไก่ ดอกออกเหมือนดอกบอนเล็ก ๆ มีปลียาว ดอกสีเหลืองอ่อนๆ มีผลเหมือนลูกแตงตาหนู (หรือลูกตำลึงเพิ่งออก) ลูกดิบสีเขียว สุกแล้วสีแดงมีถิ่นกำเนิดอยู่ตามเชิงเขาทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย

สรรพคุณ ว่านต้นนี้ผู้ใดสามารถหามาปลูกเลี้ยงไว้ให้รอดตายได้จนมีดอกออกผลสุก ก็หมายว่ามีของวิเศษกายสิทธิ์เป็นสมบัติไว้ เหตุเพราะถ้าได้กินผลสุกแดงของว่านต้นนี้เข้าไปเมื่อใด ย่อมทรงคุณค่าในทางเกิดเสน่ห์แก่ผู้ที่พบเห็นท่าน และเป็นกายสิทธิ์บันดาลให้ผู้ที่กินเข้าไปแล้วทรงความเป็นหนุ่มสาวอยู่ตลอดไป มองดูไม่แก่ เหมือนเมื่อขณะก่อนกินผลว่านนี้เข้าไป (กินเมื่ออายุ 20, 30, 40 หรือ 50 ก็คงสภาพอยู่เหมือนท่านอายุเท่านั้น) ดูไม่รู้จักแก่ อายุยืน, ฟันไม่หัก, ผมไม่หงอก, … Read More

ว่านขมิ้นดำ:สรรพคุณทางยา

ขมิ้นดำ

ลักษณะ ต้น, ใบ และหัวเหมือนกับขมิ้นอ้อยทุกอย่างผิดกันก็ต่อเมื่องอกขึ้นใหม่ๆ จะมีสีแดงเรื่อ ๆ กระดูกหน้าใบสีน้ำตาลไหม้เป็น ทางตลอดปลายใบ หัวเนื้อในสีเขียวดำคลํ้าๆ ว่านต้นนี้มีประโยชน์ในทางยาเท่านั้น

สรรพคุณ ในทางยา ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิในท้อง กินเป็นยาถ่ายพยาธิดีนัก ในตำราของท่านอุตะมะ กล่าวว่า ใช้แก้โรคกษัยต่างๆ และแก้โรคลำไส้ด้วย ในตำราของอาจารย์ชั้น หาวิธีแห่งอยุธยา ท่านกล่าว ว่าเป็นยาถ่ายพยาธิ ถ่ายแก้โรคกษัยต่าง ๆ ถ่ายเพื่อคุณทุกชนิด และถ่ายแก้บิดมีเชื้อ ในตำราของอาจารย์ ร.ต.ถวิล ร.น.ท่านกล่าวว่า เป็นยารักษากระเพาะซึมได้อีกด้วย โดยการนำหัวขมิ้นดำมาต้มแล้วกินน้ำ

วิธีใช้ 1. นำหัวมาโขลกคั้นนํ้ากิน 2. นำหัวมาต้มกินนํ้า 3. นำหัวมาฝนกับสุราก็ได้ นํ้าซาวข้าวก็ได้ 4. … Read More

ว่านขมิ้นทอง

ขมิ้นทอง

ลักษณะ หัว, ต้น, ใบ เหมือนต้นว่านขมิ้นชัน ผิดกันที่ต้นขมิ้นทองนี้มีสีแดง และกระดูกหลังใบแดงเท่านั้น สีของหัวเหลืองแก่กว่าขมิ้นชัน มีกลิ่มหอมเย็น พบชอบขึ้นมากตามป่าสูงๆ แถว อ.ทองผาภูมิ กาญจนบุรี

สรรพคุณทางยา เป็นว่านยารักษาโรคได้หลายอย่างด้วยตัวเอง และผสมกับว่านอื่น ๆ เป็นยารักษาโรคที่เป็นหัวพิษต่าง ๆ เช่น หัวดาว, หัวเดือน, หัวลำมะลอก, หัวหมา หรือเป็นหัวพรากเส้นให้ตำหัวผสมกับน้ำสุราหรือน้ำปูนใส พอกที่หัว เป็นไฟลามทุ่ง, ขยุ้มตีนหมา, งูสวัสดิ์ ให้ฝนกับน้ำสุราหรือนํ้าซาวข้าวทาที่เกิดเป็นขึ้นเป็นประจำ 3 วัน เช้า กลางวัน เย็น เป็นโรคไซง้อหรือแซง้อ คอตีบ ให้ผ่าหัวว่านออกเป็นสี่แล้วอมเอาไว้เป็นประจำ เป็นโรคเจ็บที่ทรวงอกหรือเจ็บภายในท้อง ให้ใช้หัวว่านโขลกใส่น้ำซาวข้าวแล้วคั้นเอานํ้ากิน … Read More

ว่านขอทอง

ว่านขอทอง

ลักษณะ ต้นและใบสีเขียว เหมือนขมิ้นอ้อย แต่หัวเล็กๆ เป็นขอเกี่ยวพันธ์กันเป็นข้อๆ คล้ายกับว่านหนุมานยกทัพ เนื้อในหัวสีเหลือง ใบค่อนข้างเล็กและยาวกว่าขมิ้นอ้อยเล็กน้อย

สรรพคุณ เป็นว่านที่ทรงคุณวิเศษเลิศกว่าบรรดาว่านทั้งปวง ยกเว้นจ่าว่านต้นเดียว มีอิทธิฤทธิ์ ในทางแก้พิษเบื่อเมา ไม่ว่าจะเกิดจากเห็ด, หอย หรือพันธ์ไม้ทีเป็นว่านพิษต่างๆ ทั้งสิ้น หรือจะเป็นพิษจากสัตว์นํ้า, สัตว์บก, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน, ถ้าเรามีอาการจะเกิดอาเจียนหรือท้องร่วง, มีอาการตาแข็งพูดไม่ได้ความ, มีอาการคลื่นเหียนเวียนหัว อันเป็นอาการแสดงว่าถูกพิษร้ายของพืชหรือสัตว์อย่างหนึ่งมา หัวว่านต้นนี้ย่อมสามารถแก้ไขจนหายหรือปลอดภัยได้ทั้งสิ้น ว่านต้นนี้ปลูกไว้ในบ้านยังเป็นเมตตามหานิยมชั้นยอดอีกด้วย และเป็นว่านแก้ทางคุณไสยยาศาสตร์หาได้ยาก ๆ

สรรพคุณทางยา และ วิธีใช้ เมื่อท่านจะใช้แก้พิษเบื่อเมาจากพืช จากสัตว์ และจากอาหารและการแก้ลมเพลมพัด, ลมปราบ ให้นำหัวว่านนี้มาฝน (ฝนกับน้ำปูนใส … Read More

ว่านกงจักรพระอินทร์

ลักษณะ ต้น, ใบ, หัว คล้ายกับขมิ้นอ้อยธรรมดา กระดูก กลางใบแดงเล็กน้อย สีของหัวเหลืองปนเขียว แต่เนื้อในหัวสีเขียวแก่ มีรสร้อนฉุน

ประโยชน์ทางยา รักษาโรคตา แก้โรคตาแดง ตามัว ตาต้อ, ตาเป็นริดสีดวง, ตาลม และตาแฉะ โดยนำหัวมาปอกบางๆ ให้สะอาด แล้วนำหัวย่างไฟแต่พอเกรียมทั่วหัว นำใส่ภาชนะแก้ว เอาเหล้าขาวชนิด 28 ดีกรี ใส่ลงไปให้ท่วมสามเท่าของหัวว่าน นำไปหมกข้าว เปลือกไว้ให้ครบ 3 คืน ก่อนนำไปหมกให้ปิดปากแก้วให้มิด แล้วนำมา คั้นให้สะเด็ด กรองกับผ้าบาง เอาพิมเสนบดให้ละเอียดเติมลงที่น้ำคั้น แล้วนำไปใส่ขวดไว้หยอดรักษาตาบ่อยๆ ตามที่กล่าวแล้ว ตาจะหายจากโรคนั้นๆ เป็นยาวิเศษนัก (ว่านนี้รักษาตา … Read More

ว่านกบ

ว่านต้นนี้นิยมเล่นกันมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพาะในสมัยนั้นมีผู้ทรงคุณวิทยามากมาย มีสำนักอาจารย์ในทางคงกะพันชาตรีมาก ได้พบว่าว่านนี้ เป็นว่านที่มีสรรพคุณ จึงเป็นสิ่งที่ สำนักอาจารย์เหล่านั้นแสวงหามาเลี้ยงไว้จนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงสมัยนื้แต่ปัจจุบันก็ยังหายากมาก เพราะว่านต้นนี้บางครั้งก็หายไปกระโดดหนีไปได้เมื่อเวลาขุด จึงต้องบุกเข้าไปเสาะแสวงหาตามป่า ที่พอยังเหลืออยู่ แถบจังหวัดกาญจนบุรีบ้าง สระบุรีบ้าง ลพบุรี ปราจีนบุรีบ้าง จึงยังพอเป็นพืชพันธุ์ในปัจจุบัน

ลักษณะ หัวคล้ายหัวกบ มีหัว มีตีนสี่ตีนเหมือนกบ เปลือกของหัวก็มีลักษณะคล้ายหนังกบ มีหนวด ออกข้างปากคล้ายหนวดปลาดุก ใบคล้ายกับใบอุตพิต แต่มีจุดคล้ายหนังกบ บางตำราว่าไว้ว่ามีใบเหมือนหมากผู้หมากเมีย หัวว่านนี้มองอีกอย่าง เป็นรูปปลาปักเป้า สีเขียวติดกัน เป็นพืช เป็นตอน ๆ ไปมียางเหนียว ถึงฤดูฝนจึงจะแทงใบเจริญเติบโต เวลาฝนตกจะต้องเรียกหากันได้เหมือนกบ ตัวผู้ตัวเมีย ผู้ปลูกว่านนี้ เพื่อในทางคงกะพันชาตรีโดยมาก

ประโยชน์ในทางเล่นแร่แปรธาตุ ถ้าต้องการนำว่านนี้มาใช้ต้องเขียนยันต์เป็นเลขไทย เขียนใส่ฝ่ามือ … Read More

ว่านกำบังหรือว่านกั้นบัง

ว่านกำบัง

ลักษณะ ต้นและใบคล้ายกับกระชาย มีหัวเล็กๆ ติดกันเป็นแผงเหมือนกล้วยไข่ ลักษณะต้นและโคนต้นเหมือนกับว่านจังงัง และว่านคํ้าคูณ ต้นและใบสีเขียว เนื้อในหัวมีสีขาว ใบแหลมกว่าใบกระชาย เป็นว่านล้มลุก เจริญงอกงามในหน้าฤดูฝน ทิ้งใบต่อเมื่อฤดูหนาว

สรรพคุณ ว่านต้นนี้เป็นว่านสำหรับใช้ป้องกันสรรพภัย จากผู้ปองร้ายด้วยวิทยาคุณต่างๆ และป้องกันพิษหรือโทษจากบรรดาว่านร้ายทั้งปวง ป้องกันการกระทำยํ่ายีด้วยคุณไสยทุกชนิดได้อย่างวิเศษ ยิ่งผู้ใดมีว่านนี้ติดตัวอยู่ จะทำให้แคล้วคลาดจากบรรดาสรรพภัยต่าง ๆ ได้ วิธีเพิ่มคุณภาพให้แก่ว่าน ให้เศกด้วยคาถา “นะโมพุทธายะ” เรื่อยๆ ไป จนกว่าจะหมุนได้เองเหมือนลูกข่าง แล้วจึงนำติดตัวไปไหนๆ ด้วย หรือจะใช้กินหรือทาตัวก็ได้ ตามตำรากล่าวสรรพคุณไว้ว่า สามารถกำบัง ตน ล่องหนหายตัวได้ แต่ไม่ได้บอกไว้ว่าให้ทำอย่างไร

วิธีปลูก เนื่องจากว่านต้นนี้มีสรรพคุณพิเศษสุด จึงมีพิธีการปลูกมากมาย ผู้ปลูกต้องทำความสะอาดร่างกายให้ปราศจากมลทินโทษ โดยเจิมกระแจะจันทร์ทั้งตัวผู้ปลูกและภาชนะที่จะปลูก … Read More

ว่านกาสัก

ว่านกาสัก

ลักษณะ ใบคล้ายใบสักแต่เล็กกว่า ผิดกันที่ใบหนาและสาก ขอบใบเป็นจักห่าง ๆ ลำต้นเป็นปล้องเหมือนไม้สัก หัวเหมือนมันสัมปะหลัง รากเป็นฝอยใหญ่ ๆ มีดอกเป็นช่อ ดอกสีขาวคล้ายดอกเถาคัน ดอกนั้นเมื่อแก่จะเป็นเมล็ด เมล็ดหนึ่งมีรอยผ่าเป็น 4 เมื่อนำมาเพาาะจะได้ สี่ต้น ว่านต้นนี้มีขึ้นอยู่ตามป่ามาก แต่ไม่ค่อยรู้จักกันว่าเป็นว่าน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดต้นสีแดง ชนิดต้นสีเขียว และชนิดต้นสีออกขาวนวลๆ หรือเรียกว่าชนิดขาว แต่นักเลงเล่นว่านมักนิยมหาชนิดต้นสีแดงมาปลูก เพราะชนิดอื่นมีปลูกกันอยู่ทั่วไปตามบ้าน ชาวป่าเห็นว่าต้นนี้ตามบ้านจะหัวเราะ เพราะเขาไม่รู้ว่าเป็นว่านที่มีสรรพคุณทางคงกะพันชาตรี

สรรพคุณ ใช้ใบและหัวกินเป็นคงกะพันชาตรีคงทนต่อ

ศาสตราวุธทั้งปวง มีด ไม้ หอก ธนู ในตำราบอกไว้ว่า ปืนก็ทำอันตราย ไม่ได้ … Read More