Category: Uncategorized

พันธุ์ปลา:เตรียมพันธุ์ปลาพระราชทานช่วยผู้ประสบภัย

นายอำพล  เสนาณรงค์องคมนตรี ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการ พิเศษเพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมของ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระเมตตาต่อการ ประมงไทย เนื่องในวันประมงรำลึกสำนึก ในพระมหากกรุณาธิคุณ 7 พฤศจิกายน 2554ว่ากรมประมงได้จัดเตรียมพันธุปลานํ้าจืดเพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบอุทกภัย เพื่ำอนำไปเพาะเลี้ยงเป็นอาหารและจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัว  ควบคู่กับการปล่อยคืนแหล่งนํ้า ธรรมชาติ เพื่อคงไว้ซึ่งสายพันธุ์ปลานํ้าจืด ไทยในแหล่งนํ้าธรรมชาติต่อไป

ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อ 58 ปีที่แล้ว (วันที่ 7 พ.ย. 2496) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปล่อยพันธุ์ปลาหมอเทศจากบ่อเลี้ยง ส่วนพระองค์ ลงในบ่อเลี้ยงของกรมประมง และได้พระราชทานพันธุ์ปลาแก่ข้าราชการ และเกษตรกร เพื่อน่าไปเลี้ยงเป็นอาหารของ ประชาชน ซึ่งพันธุ์ปลาส่วนนี้ทางกรมประมง … Read More

ขนุน:ปลูกขนุนขายทำเงินเพิ่มรายได้

ขนุนเป็นไม้มงคล โบราณเชื่อว่าการปลูกต้นขนุนในบริเวณบ้านจะหนุนเนื่องบุญบารมี เงินทอง จะมีคนเกื้อหนุนอุดหนุนจุนเจือ ซึ่งขนุนเป็นไม้ผลยืนต้น ปลูกง่ายเติบโตเร็ว สามาถปลูกได้ในดินทั่วไปทุกประเภท สามารถขึ้นได้ทั้งในดินทราย ดินเหนียว ดินร่วนดินลูกรัง แต่ถ้าปลูกในดินดี อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหาร ต้นขนุนก็เจริญเติบโตดีให้ผลดก โดยขนุนสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ เกษตรกรผู้ปลูกขนุนสามารถเก็บผลขายได้เกือบทั้งปี การ “ปลูกขนุนขาย” จึงเป็นอีกหนึ่ง “ช่องทางทำกิน” ที่น่าพิจารณา สำหรับผู้ที่พอจะมีที่ดินและสนใจทำอาชีพชาวสวนผลไม้

สุธรรม  ซื่อตรง เกษตรกรผู้ทำสวนขนุน อยู่ที่หมู่บ้านยางงาม เทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง เล่าว่า สมัยก่อนนั้นพ่อทำสวนทุเรียน แต่ต้องเจอกับปัญหาเรื่องราคาที่ตกต่ำจึงมองหาทางออกโดยเปลี่ยนเป็นทำสวนขนุน เพราะเนื่องจากมีญาติที่ปลูกขนุนพันธุ์ทองประเสริฐ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในตลาด ที่ญาติปลูกอยู่ มาทดลองปลูกดู เริ่มขยายพื้นที่การปลูกโดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จนปัจจุบันก็ปลูกมากว่า 22 ปี ตอนนี้มีพื้นที่ปลูกอยู่ประมาณ 60 … Read More

เห็ดฟาง:การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

อดีตของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยก็คือ สามารถจะใช้วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตสูง สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอนเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือเพื่อใช้กินเองในครัวเรือน

เห็ดฟางชอบอากาศร้อน อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดีทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน ความชื้นเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเห็ดฟาง เป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดที่สำคัญถ้าความชื้นมีน้อยเกินไปเส้นใยของเห็ดจะเดินช้า และรวมตัวเป็นดอกไม่ได้ ถ้าความชื้นมากเกินไป การระบายอากาศภายในกองไม่ดี ถ้าเส้นใยขาดออกซิเจนก็จะทำให้เส้นใยฝ่อหรือเน่าตายไป

การเตรียมดินให้พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค นำตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพออ่อนตัวประมาณ 1 ชั่วโมง ปลายฟางแข็งๆควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไว้ประมาณ 1 คืน ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาให้กองได้เลย… Read More

บัวหิมะ:ประโยชน์ของหัวบัวหิมะ

หัวบัวหิมะเป็นผลไม้ที่เกิดอยู่ในดินตามป่า ซึ่งอยู่ในพื้นที่ระดับน้ำทะเล 1,000 กว่าเมตร เป็น

พืชพื้นเมืองที่มีอยู่ทั่วไปตามแถบเขาในอเมริกาใต้ มีรูปร่างลักษณะเหมือนหัวมันเทศ เปลือกบาง รสชาติออกหวาน กรอบ ฉ่ำน้ำ เป็นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ อุดมด้วยกรดอมิโนที่ร่างกายมนุษย์ต้องการกว่า 20 ชนิด เมื่อปอกเปลือกแล้วกินสดได้ มีสรรพคุณทางสมุนไพร แก้ร้อนใน ท้องผูก แก้อาการอักเสบ ช่วยการทำงานของระบบขับถ่ายและทางเดินปัสสาวะได้ดี ช่วยตับขับถ่ายพิษและมีสรรพคุณช่วยให้หลอดเลือดอ่อนตัว ลดความดันโลหิตสูง ลดเบาหวาน เหมาะสำหรับผู้ที่จะลดความอ้วน ผู้สูงอายุช่วยบำรุงรักษาอาการทางด้านเส้นเลือกและหัวใจ สามารถนำไปปรุงให้สุกต้มกับกระดูกหมูหรือตุ๋นช่วยย่อยอาหารและช่วยระบายท้อง

Read More

นาข้าว:นาข้าวบนที่สูงวันนี้ปลูกได้ดี

ข้าวบนพื้นที่สูงหรือข้าวดอยมีลักษณะการปลูก 2 แบบคือ การปลูกแบบสภาพไร่หรือที่เรียกว่าข้าวไร่ ปลูกตามไหล่เขา ไม่มีคันนาสำหรับเก็บกักน้ำในแปลงปลูก ส่วนมากมักเตรียมดินโดยการถางวัชพืชหรือพืชอื่นออกก่อนแล้วเตรียมดิน หลังจากนั้นจึงทำการปลูกข้าว พื้นที่ปลูกข้าวไร่ส่วนใหญ่มักมีความลาดชันตั้งแต่ 5-60 องศา อาศัยความชื้นในการเจริญเติบโตจากน้ำฝนเพียงอย่างเดียว และอีกสภาพหนึ่งคือการปลูกในสภาพนา โดยเริ่มต้นตั้งแต่เตรียมดิน ตกกล้า ไถ คราด ทำเทือก และปักดำ ดังเช่นการทำนาพื้นราบทั่วไป พื้นที่ปลูกจะอยู่ระหว่างหุบเขามีการทำคันนาสำหรับกักเก็บน้ำ

ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะนาขั้นบันได ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการทำนาในลักษณะนี้มากขึ้น เนื่องจากหลายพื้นที่มีโครงการก่อสร้างฝายทดน้ำจากพื้นที่สูงเพื่อผันน้ำสู่พื้นที่นา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นฝายที่ราษฏรในพื้นที่ถวายฎีกาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานโครงการ และหลังจากที่สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการในโครงการจนแล้วเสร็จราษฎรในพื้นที่นั้นๆ ก็มีน้ำเพื่อการทำนาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการเตรียมพื้นที่เพื่อทำนาของเกษตรกรในพื้นที่สูงนั้นมีการเตรียมพื้นที่ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในเดือนมีนาคม ครั้งที่สองในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม การเตรียมพื้นที่ครั้งที่สองเป็นการเตรียมแบบประณีตเพื่อปลูกข้าว มีการไถคราดทำเทือก ยกร่องเป็นแปลงขนาดเล็กกว้าง … Read More

ถั่วลิสง:ถั่วลิสงพันธุ์ใหม่

จากการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสายพันธุ์ถั่วลิสงพันธุ์ใหม่คือ “พันธุ์ขอนแก่น84-7” หรือ “Khon Kaen 84-7” ซึ่งกรมวิชาการเกษตรประกาศเป็น “พันธุ์พืชรับรอง” ของกรมวิชาการเกษตร เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษาในปี 2554 และเป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรในการใช้พืชพันธุ์ดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งสามารถช่วยสร้างอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมและเพิ่มรายได้อีกด้วย

นายจิรากร  โกศัยเสวี  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น84-7 เดิมชื่อ สายพันธุ์ KK4418 เกิดจากการผสมข้ามระหว่าง พันธุ์ China no.1 กับพันธุ์ EC36892ในปี 2536 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น จากนั้นทีมนักปรับปรุงพันธุ์ได้ทดสอบและคัดเลือกสายพันธุ์ถึง 5 ชั่วรุ่น ซึ่งมีการปลูกเปรียบเทียบกับ พันธุ์ไทนาน9 … Read More

มะละกอ:การปลูกมะละกอเรดแคริเบียน

โดยปกติแล้วมะละกอสามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและมีการระบายน้ำที่ดี เช่น ดินร่วนปนทราย ถ้าพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือดินทรายจัด เราควรปรับปรุงดินก่อนโดยการใส่อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดี การระบายน้ำของแปลงปลูกมะละกอจะต้องดี เพราะต้นมะละกอเป็นพืชที่ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังแฉะโดยเฉพาะถ้าต้นมะละกอยังเล็ก ถ้ามีน้ำขังมาก ๆ ต้นมะละกออาจจะชะงักการเจริญเติบโตและอาจถึงตายได้

มะละกอแขกดำ เรดแคริเบียน เป็นมะละกอสายพันธุ์ใหม่ที่ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร นำเมล็ดพันธุ์มาจากประเทศทางแถบอเมริการกลางและนำมาคัดเลือกพันธุ์นานกว่า 7 ปี ได้ผลผลิตที่มีคุณลักษณะดังนี้ ขนาดผลคล้ายกับมะละกอเรดมาลาดอล์ แต่มีขนาดของผลใหญ่กว่ามาก(ขนาดผลใหญ่กว่าเท่าตัว) น้ำหนักผลเฉลี่ย 2-5 กิโลกรัม เนื้อหนามาก มีสีแดงส้มและรสชาติหวาน จากการปลูกทดสอบในแปลงพบว่าต้นมะละกอแขกดำ เรด แคริเบียน มีความทนทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ดีกว่าพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ ลำต้นมีความแข็งแรงติดผลดกและผลมีขนาดใหญ่เป็นมะละกอที่สามารถบริโภคได้ทั้งผลสุกและผลดิบ โดยเฉพาะผลสุกมะละกอมีรสชาติหวานจัดเนื้อหนา 3-4 ซม. ทานอร่อยมาก ส่วนผลดิบใช้ตำส้มตำได้เหมือนมะละกอแขกดำ

ปัจจุบันทางชมรมฯ … Read More

ปลาสวาย:กินปลาสวายจะได้โอเมก้า3ชั้นดี

กินปลาเยอะๆ แล้วจะฉลาด เพราะเนื้อปลาจะมีโอเมก้า3 ช่วยในการบำรุงสมอง ความคิดนี้เป็นความคิดที่ถูกต้องและดีแต่จะต้องเลือกกินปลาชนิดใดที่จะมีกรดไขมันโอเมก้า3 ตามที่ต้องการ ซึ่งความคิดแบบเดิมๆ ก็คือ ปลาทะเลแต่ในปัจจุบันนี้สามารถทิ้งความคิดนั้นไปได้เลยเพราะตอนนี้ปลาน้ำจืดของไทยโดยเฉพาะปลาสวาย กลายเป็นปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า3 สูงไม่แพ้กับปลาทะเล

ดร.นันทิยา  อุ่นประเสริฐ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ เพราะเนื้อปลามีไขมันน้อยเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นแถมยังมีแร่ธาตุสำคัญที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายมากมาย ปัจจุบันผู้บริโภคในประเทศหันมาบริโภคปลากันมากขึ้นเนื่องจากทราบว่าในเนื้อปลามีกรดไขมันโอเมก้า3 ที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ผู้บริโภคก็จะมักนิยมทานปลาทะเลมากกว่าปลาน้ำจืด เพราะคิดว่ากรดไขมันโอเมก้า3 จะมีเฉพาะปลาทะเลเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วปลาน้ำจืดบ้านเราก็มีกรดไขมันโอเมก้า3ที่สำคัญคือมีสาร DHA ที่จะมีอยู่ในกรดไขมันโอเมก้า3 ซึ่งจะช่วยในการบำรุงสมอง สายตา และช่วยลดคอเลสเตอรอลและสารไตรกลีเซอไรด์ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณสูงจะก่อให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งตัว ระบบประสาททำงานผิดปกติ ฯลฯ สำหรับปลาน้ำจืดของไทยที่มีโอเมก้า3สูงนั่นเป็นเพราะนักวิชาการด้านการประมงของไทยได้มีการสร้างสูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงให้มีไขมันปลาทะเลเป็นส่วนประกอบ จึงทำให้ปลาน้ำจืดทุกชนิดที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรเหล่านี้มีปริมาณโอเมก้า 3 เพียงพอที่จะเป็นแหล่งไขมันจำเป็นได้ตัวอย่างปลาน้ำจืดที่คุณภาพสารอาหารสูงพอๆ กับปลาทะเล แต่ราคาถูกกว่า

และเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเนื้อปลาสวาย วิธีการเลี้ยงและสูตรอาหารจึงกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทางกรมประมงบอกมาว่าจากที่ปลาสวายมีสารอาหารไม่แตกต่างกับปลาทะเลอีกทั้งยังเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว … Read More

ลำไย:แก้ปัญหาราคาลำไยตกต่ำ

สถานการณ์ลำไยในพื้นที่ภาคเหนือ ในขณะนี้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีผลผลิตออกมาสู่ตลาดจำนวน 410,000 ตัน ซึ่งน้อยกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าจะมีผลผลิตออกมาไม่ต่ำกว่า 450,000 ตัน โดยขณะนี้ผลผลิตลำไยออกสู่ตลาดมาแล้วประมาณ 50℅

นายชวลิต  ชูขจร รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าสำหรับปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้สถานการณ์ลำไยในฤดูกาลผลิตนี้ไม่ค่อยมีปัญหา เนื่องมาจากคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคเหนือ ได้วางมาตรการการกระจายผลผลิตลำไยออกนอกแหล่งผลิต โดยมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายระหว่างผู้ผลิต เครือข่ายต่างๆ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม หอการค้า ช่วยกันกระจายผลผลิตประกอบกับการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเวียดนามที่ขณะนี้มีความต้องการซื้อค่อนข้างสูง ที่สำคัญคือในช่วงที่ผ่านมาสภาพอากาศมีความแปรปรวน อากาศหนาวค่อนข้างนาน ทำให้ผลผลิตลำไยออกมาไม่พร้อมกัน และออกช้ากว่าทุกปี จึงไม่เกิดปัญหาผลผลิตออกมามากจนล้นตลาดอย่างเช่นที่เคยเป็นมาตลอด ดังนั้นจึงเชื่อมั่นว่าผลผลิตที่กำลังจะออกมาในช่วงเดือนนี้อีกประมาณ 50℅ที่เหลือจะไม่มีปัญหาเช่นเดียวกัน ราคาน่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอยู่

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาลำไยในพื้นที่ภาคเหนือในระยะยาว ทางอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคเหนือ ได้เชิญตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกลำไย มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในคณะอนุกรรมการชุดนี้ เพื่อจะได้นำเสนอความคิดเห็นจากผู้มีประสบการณ์ตรง สำหรับเป็นแนวทางในการนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและเหมาะสมต่อไป

“เราไม่ต้องการแก้ปัญหาผลผลิตลำไยล้นตลาดแบบปีต่อปี … Read More

การพัฒนาดิน:พัฒนาดินตามพระราชดำริประสบความสำเร็จ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยต่อปัญหาการใช้ประโยชน์จากพื้นดินเพื่อการเพาะปลูก ได้พระราชทานพระราชดำริถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยพระราชทานพระราชดำริเมื่อปี 2522 ให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทราขึ้นเพื่อทำการศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับการสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และเพื่อให้พื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องดินทั้งหลาย สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อีกครั้งหนึ่ง ได้พระราชทานพระราชดำริวิธีการแก้ดินเปรี้ยว โดยให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้งและศึกษาวิธีแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฏรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ในเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลองในกำหนด 2 ปี และใช้ข้าวเป็นพืชเพื่อการทดลองในโครงการนี้ ดำเนินการโดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส

จากการศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับการสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมากจากพระราชดำริทั้ง 2 แห่ง ตลอดจนการทำแปลงสาธิตการพัฒนาที่ดินให้แก่เกษตรกรในบางพื้นที่ที่มีปัญหาในการพัฒนาปรับปรุงดินเสื่อมโทรมด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินทราย ดินดาน ฯลฯ ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 2 แห่ง ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลากว่า 30 ปี ได้ประสบความสำเร็จจนสามารถขยายผลสู่การปฏิบัติใช้ของราษฎรในพื้นที่ขยายผล … Read More